คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY
นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็น 1 ใน 5 ทีม นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568เมื่อวันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้นำทีมนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ประจำปี 2568 ณ ห้องประชุม 105 อาคารประเสริฐ ณ นคร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีและกล่าวเปิดโครงการ ซึ่งเป็นเวทีให้นักศึกษาได้มีโอกาสนำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและยกระดับศักยภาพของชุมชนในครั้งนี้ คณะวิศวกรรมฯ ได้ร่วมมือกับ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ส่งทีมนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันภายใต้ชื่อทีม "ชาลำ บำรุงสุข" ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 ทีมที่ได้นำเสนอผลงาน ในรอบนี้ ทีมชาลำ บำรุงสุข ได้ร่วมพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง บ้านสันป่าเหียน จังหวัดลำพูน โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้มากขึ้นการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ การพัฒนาแนวคิดเชิงธุรกิจ และการทำงานร่วมกับชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตอย่างยั่งยืน
11 เมษายน 2568     |      82
ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมลงนามในฐานะผู้แทนฝ่ายเจ้าภาพ ณ อาคารคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พิธีลงนามในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อวางรากฐานความร่วมมือในด้านการเรียนการสอนและการใช้ทรัพยากรร่วมกันในช่วงสถานการณ์วิกฤต อาทิ ภัยธรรมชาติ เหตุเพลิงไหม้ หรือเหตุการณ์ไม่สงบที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษา โดยทั้งสองหน่วยงานตกลงร่วมมือกันในการสนับสนุนการใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารสถานที่ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องมือ และวัสดุต่าง ๆ ตามความเหมาะสม โดยยังคงอยู่ภายใต้การดูแลและความรับผิดชอบของแต่ละสถาบัน ทั้งในด้านค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้จ่ายจากการใช้ทรัพยากรเฉพาะกรณีความร่วมมือครั้งนี้ยังครอบคลุมถึงการผลักดันกิจกรรมวิจัย การบริการวิชาการ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอาหารและผลิตผลเกษตร โดยมุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการพัฒนาโครงการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมจริงภายหลังพิธีลงนาม คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พาคณะผู้บริหารและบุคลากรจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ (FIN) รวมถึงอาคารเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงงานต้นแบบ และอาคาร CMU BIOPOLIS ซึ่งถือเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ความร่วมมือระหว่างทั้งสองสถาบันในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการและวิจัยของประเทศ พร้อมร่วมกันผลักดันความเจริญก้าวหน้าในภาคอุตสาหกรรมเกษตรอย่างมั่นคงและยั่งยืนCr :ขอบคุณรูปภาพจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
11 เมษายน 2568     |      101
"เปิดมุมมองใหม่ของการเกษตร ด้วยโดรนสำรวจ!"
ในรายวิชา 10401456 โดรนสำรวจและการออกแบบฟาร์มเกษตร คุณจะได้เรียนรู้การใช้โดรนในการเก็บข้อมูลสำคัญ เช่น เส้นชันความสูง เพื่อวิเคราะห์ภูมิประเทศ ค่าดัชนีพืชพรรณ NDVI เพื่อตรวจสุขภาพพืช ภาพ 3 มิติ สำหรับการออกแบบพื้นที่อย่างแม่นยำ...และยังมีค่าต่างๆ อีกมากมายที่ช่วยให้คุณเข้าใจสภาพแวดล้อมทางการเกษตรได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น พร้อมทั้งฝึกฝน การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ และการนำไปใช้จริงยกระดับความรู้ด้านการเกษตรแม่นยำด้วยเทคโนโลยีโดรน แล้วมาค้นพบศักยภาพใหม่ๆ ไปพร้อมกัน!#โดรนเกษตร#การสำรวจฟาร์ม#เกษตรแม่นยำ
26 มีนาคม 2568     |      94
กิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษา 2566
วันที่ 14 มีนาคม 2568 คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดกิจกรรม ปัจฉิมนิเทศนักศึกษา สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดี กล่าวเปิดงานและให้โอวาทแก่นักศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินันท์ รัตนพรหม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและการต่างประเทศ ร่วมต้อนรับและให้ข้อคิดแก่นักศึกษา ไฮไลต์ของกิจกรรม การบรรยายพิเศษ หัวข้อ "สัมภาษณ์อย่างไรให้ได้งาน และการเขียนหนังสือสมัครงาน" โดย คุณวุฒิชัย วิชัยขัทคะ การแนะนำโครงการ "พัฒนาผู้บริหารโรงงานรุ่นใหม่" จาก บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเทค จำกัด (มหาชน) โดย คุณบุญฤทธิ์ ธรรมจิตต์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลโรงงาน เป็นผู้บรรยาย และ คุณพูนลาภ ภัทรอนันตนพ ผู้อำนวยการฝ่ายการผลิตเบเกอรี่ โรงงานลำพูน ให้เกียรติร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ขอขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่มาร่วมสร้างแรงบันดาลใจและแนะแนวทางให้นักศึกษาเตรียมพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน ขอให้น้องๆ ทุกคนประสบความสำเร็จในเส้นทางอาชีพที่เลือกเดินค่ะ!
26 มีนาคม 2568     |      62
กิจกรรม Eng-Agro Pitching Day
เมื่อวันเสาร์ที่ 1 มีนาคม 2568 งานบริการวิชาการและวิจัยได้จัดโครงการนักวิจัยสู่ภาคธุรกิจ ประจำปีงบประมาณ 2568 ในกิจกรรม Eng-Agro Pitching Day โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักวิจัย นักศึกษา ได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดธุรกิจและการวางแผนธุรกิจเบื้องต้น เป็นการเพิ่มช่องทางในการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการในการสร้างนวัตกรรมแก่นักศึกษา และสร้างโอกาสให้เกิดการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีที่เกิดจากผลงานวิจัยและพัฒนาผลงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีศักยภาพในปี 2568 นี้ ได้มีทีมนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขัน Pitching จำนวน 5 ทีม โดยผลการแข่งขันมีดังนี้ รางวัลชนะเลิศ : ทีม Rubber Go Green จากสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ "กรีนมัลช์ผ้าคลุมดินย่อยสลายได้" ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาทรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 : ทีม The Chosen Ones จากสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ "ซอสพริกลาบบรรจุขวด" ได้รับเงินรางวัล 3,000 บาทรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 : ทีม BioFlare จากสาขาวิศวกรรมเกษตร โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ " Biochar Furnace" ได้รับเงินรางวัล 1,000 บาทรางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล 500 บาท จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ทีม HarvestScale จากสาขาวิศวกรรมอาหาร โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ " Image analysis application for Harvest" และทีม Sunny Sunday จากสาขาวิศวกรรมเกษตร โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ "Weathereye Pro"ขอแสดงความยินดีกับน้องนักศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้รับรางวัลด้วยนะคะแล้วพบกับ Eng-Agro Pitching อีกครั้งในปีหน้าค่ะ
26 มีนาคม 2568     |      89
Engineering and Agro-Industry Students Win 26 Awards at ARC2025 on the International Stage!
The Faculty of Engineering and Agro-Industry at Maejo University successfully hosted the 11th Southeast Asian Agricultural and Food Engineering Student Chapter Annual Regional Convention 2025 (ARC2025) in collaboration with The Malaysian Society of Agricultural and Food Engineers (MSAE) from February 23-27, 2025. Themed "Intelligent Agriculture and Novelty in Agrofood Industry for Wellness," the event aimed to enhance students’ academic skills through international competitions, providing valuable experiences that equip them with the knowledge and abilities to compete at a global level.ParticipantsTotal participants: 142Participating countries: 3 (Thailand, Malaysia, Indonesia)Participating universities:Maejo UniversityUniversiti Putra Malaysia, Serdang CampusUniversiti Putra Malaysia, Bintulu CampusUniversiti Teknologi MARA, Jasin CampusUniversiti Malaysia PerlisUniversiti Sultan Zainal AbidinPOLITEKNIK KOTA BHARUUniversitas Gadjah MadaAndalas UniversityBrawijaya UniversitySuranaree University of TechnologyKing Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang, Prince of Chumphon CampusAwards Won by Maejo University Students ?Maejo University students excelled at the event, winning 26 awards in total, categorized as follows:ARC Maze Race (Team Competition) Gold Medal: Apirak Panyaboon, Punyanuch Chaorenu, Napharat Khamluagtoem Silver Medal: Kamolchat Suthisumran, Chanyauch Wandee, Kantthida Khongchroeyniwat, Suchanat Khunkaew Bronze Medal: Oorpha Lungpan, Paemruethai Saorayawiset, Nawarat Ca-ToInteractive Poster Presentations Gold Medal (1 award):“Effect of Illumination and MJ-Hydroponics Nutrient Solution on Isolated Strain Plant of Wolffia Globosa Cultivation”Prangwalee Injam, Sirinthon Sittikai, Somkiat Jaturonglumlert Silver Medals (3 awards):“Design and Proof of Concept for Fruit Juice Squeezing Auxiliary Device”Kamonwan Bangpong, Thanchanok Suriyawong, Phubet Yimtim, Jaturapatr Varith“Sustainable Plant-Based Meat Jerky Product”Tukdanai Nualnak, Thayida Phuouet, Nathamon Khwanthai, Kornpaka Arkanit, Theeraphol Senphan“Utilization of Ethanol Vapors Inhibits In Vitro Development of Key Pathogen Causing Anthracnose and Stem-End-Rot in 'Nam Dok Mai' Mango”Kanokon Puraso, Phuripat Khamdet, Aunyamanee Tasai, Preuk Choosung Bronze Medals (18 awards):“Development of Image Processing System to Identify Dehiscence Zone Coordinates for Durian Dehusking Robotics Arm”“Optimizing of Temperature and Time for Dried Cocoa Nibs”“Development of a Real-Time Notification System Using Line Notify”“Automated Corn Shelling Machine Development”“Kinetics of Lychee Wine Fermentation and Production Scale-up”“Bamboo Mushroom Infused Fragrant Tea Olive Beverage”“Comparison of Seed Drying Methods of Rice and Maize Seeds”“Anti-Corrosion Coating of Steel with Natural Rubber Latex”“Comparison of the Quality and Quantity of Biochar Produced from a Conventional Kiln and a Modified Kiln”“Banana Sheet Pressing Machine Design”“Design and Development of Equipment for Water Level Control in Frozen Tuna Thawing to Reduce Wet Surface Area”“Design of a Biomass Conveyor Belt Dryer Using a Hot Air System”“Plasma Bubble-Activated Water”“Study of Factors Affecting the Culture of Wolffia in Prototype Farms to Create Future Food”“Analysis of Kinetics Model from Hot Air Drying of Bananas”“MN Save Track”“Effect of Water Contamination in Refrigeration Systems”“Effects of Hot Water Treatments and Calcium Chloride on the Quality of Fresh-cut Guava (Cv. Kimju)”Special Awards Best Presentation Award: “Plasma Bubble-Activated Water”Phonphong Niphoncharoenchot, Apatcha Jittriwas, Nichada Thamnao, Kanjana Narkprasom Best Innovation Award: “Effect of Illumination and MJ-Hydroponics Nutrient Solution on Isolated Strain Plant of Wolffia Globosa Cultivation”Prangwalee Injam, Sirinthon Sittikai, Somkiat JaturonglumlertA Proud Achievement on the International StageThis outstanding performance highlights the capabilities of Maejo University students in the field of agricultural and food engineering. Their success reflects the university’s commitment to fostering innovation, technical expertise, and global competitiveness. Congratulations to all the winners!
26 มีนาคม 2568     |      32
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมวันฝึกซ้อมใหญ่ พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 47
วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร พร้อมด้วยคณาจารย์ เข้าร่วม วันฝึกซ้อมใหญ่ พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 47 เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพิธีสำคัญนี้ และร่วมให้กำลังใจแก่บัณฑิตและมหาบัณฑิตที่เตรียมตัวเข้าสู่วันแห่งความสำเร็จในโอกาสนี้ คณาจารย์จากคณะฯ ได้เข้าร่วมพิธี ถ่ายภาพหมู่ร่วมกับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ตลอดจนถ่ายภาพร่วมกับบัณฑิตและมหาบัณฑิต เพื่อเป็นที่ระลึกในช่วงเวลาสำคัญของชีวิต ขอให้ทุกท่านก้าวสู่อนาคตอย่างมั่นคงและประสบความสำเร็จ#คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร#มหาวิทยาลัยแม่โจ้#พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งที่47
26 มีนาคม 2568     |      30
การฝึกอบรมมาตรฐานสินค้าเกษตร
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 คณะวิศวกรรมและอุตสาหดรรมเกษตร ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ จัดโครงการฝึกอบรมมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร : การปฎิบัติาทางสุขลักษณะที่ดี (มกษ.9023-2564) และระบบการวิเคราะห์อันตราย และจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม และแนวทางการนำไปใช้ (มกษ.9024-2564) ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ให้แก่ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจ รวมถึงนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และสาขาวิชาเทคโนโลยีทางการเก็บเกี่ยว เข้าร่วมอบรม โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร อาจารย์ ดร.แพรวพรรณ จอมงาม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยี นวัตกรรมและจัดหารายได้ และนายสุมิตร เชื่อมชัยตระกูล หัวหน้าศูนย์บริการวิชาการและวิจัย เข้าร่วมและกล่าวต้อนรับเปิดโครงการ และได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณวิรัชนี โลหะชุมพล และคุณจีรจิต ดิตสนะ จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เป็นวิทยากรให้ความรู้
26 มีนาคม 2568     |      29
ประธานประจำหลักสูตรสาขาวิศวกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้เชี่ยวชาญในงาน PRC SMEP Symposium and Innovation Exhibition 2025
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์ประธาน?ประจำหลักสูตรสาขาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับเชิญให้เป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้คำแนะนำ (Commentator) ในงาน 4th PRC SMEP Symposium and Innovation Exhibition 2025 (PRC SMEP SIE 2025) ซึ่งจัดโดยหน่วยงานส่งเสริมอัจฉริยภาพผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคาร 100 ปีกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะการนำเสนอผลงานเชิงวิชาการในรูปแบบภาษาอังกฤษ และเตรียมความพร้อมสำหรับการนำเสนอผลงานในเวทีระดับนานาชาติ โดยมีการนำเสนอผลงานจากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในหลากหลายหัวข้อ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และนวัตกรรมการมีส่วนร่วมของรองศาสตราจารย์ ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์ ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ และสามารถพัฒนาทักษะการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นับเป็นอีกหนึ่งบทบาทสำคัญที่ช่วยยกระดับการเรียนรู้ของเยาวชนและสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาศักยภาพสู่ระดับนานาชาติคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอแสดงความยินดีในบทบาทของคณาจารย์ที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพเยาวชนและสนับสนุนการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในครั้งนี้
26 มีนาคม 2568     |      31
ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนเชียงราย เยี่ยมชม คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ หัวหน้าหน่วยวิจัยสมาร์ทฟาร์มและโซลูชั่นทางการเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้การต้อนรับครูและบุคลากร จำนวน 3 คน การศึกษาดูงานครั้งนี้เน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) สำหรับการเกษตรอัจฉริยะ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลและทักษะอาชีพ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพและสมรรถนะของครูบุคลากรในสถานศึกษาและผู้เรียน ประชาชนทั่วไป สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการพัฒนาการเกษตรด้วยเทคโนโลยีร่วมกัน
26 มีนาคม 2568     |      27
ทั้งหมด 9 หน้า