คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY
ประกาศรับสมัครทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปี 2567 จำนวน 41 ทุน ๆ ละ 6,000 บาท
ประกาศรับสมัครทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปี 2567 จำนวน 41 ทุน ๆ ละ 6,000 บาทคุณสมบัติ1. เป็นนักศึกษาของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ชั้นปีที่ 2-42. ไม่ถูกพักการศึกษา ไม่ถูกลงทางวินัย และไม่ได้รับทุนการศึกษาอื่นใด ยกเว้น กยศ.3. มีผลการเรียนเฉลี่ย ไม่น้อยกว่า 2.00การรับสมัครเปิดรับสมัครตั้งแต่วันประกาศถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 โดยผู้สมัครสแกน QR Code กรอกรายละเอียดและอัพโหลดเอกสารแนบ (บัตรนักศึกษาและสำเนาผลการเรียน) สอบถามเพิ่มเติมงานกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดี ชั้น 1 อาคารเรียนรวมสาขาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
20 กรกฎาคม 2567     |      13
ครงการนักวิจัยพบแหล่งทุนภายนอก โดยครั้งนี้ จัดในหัวข้อเรื่อง "การขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุน FTA"
งานบริการวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรขอเชิญชวนบุคลากรทุกท่าน เข้าร่วมโครงการนักวิจัยพบแหล่งทุนภายนอกโดยครั้งนี้ จัดในหัวข้อเรื่อง "การขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุน FTA"วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00-12.00 น.ผ่านระบบ microsoft Teamกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนเงินทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ในการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ปฏิรูปผลิตผลทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพ การแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและอาหารhttps://www.ftaoae.com/index
20 กรกฎาคม 2567     |      10
การประชาสัมพันธ์ โครงการ Kubota smart farmer camp 2024 ตอน Real-Life Agri Journey
วันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2567 บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด เข้ามาประชาสัมพันธ์โครงการ Kubota Smart Farmer Camp 2024 ตอน Real-Life Agri Journey เพื่อชักชวนมาร่วมสัมผัสประสบการณ์มันส์ๆกับการทำเกษตรแบบจริง ทำจริง ขายจริง และสนุกไปกับเพื่อนใหม่ต่างสถาบันทั่วประเทศ ในปีนี้เราจัดวันที่ 1-4 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-หนองผักบุ้ง จ.เพชรบูรณ์น้องๆสามารถสมัครเข้าร่วมได้เลย เพียงแค่ Scan QR Code เท่านี้ก็สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้แล้ว สมัครได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ลิ้งค์สมัคร https://forms.gle/nRBnWvwZPPDTPGXi8 แอดไลน์ : @kubotacamp apply now for free! No cost Line official: @kubotacamp
20 กรกฎาคม 2567     |      17
The 16th International Conference on Science, Technology and Innovation for Sustainable Well-Being (STISWB2024
14-17 July 2024Assistant Dr.Tithinun Rattanaplome as an associate dean for academic affairs and international and many faculty staffs attended “The 16th International Conference on Science, Technology and Innovation for Sustainable Well-Being (STISWB2024)” at Nha Trang University, Vietnam? Assistant Prof. Dr.Tithinun Rattanaplome was a chairman for session “Materials Engineering (MTE)” and presented “The influence of sulfur vulcanization system on the mechanical properties of pseudo ceramic material adding natural rubber latex”? Assistant Prof. Dr.Kanokwan Tandee was a chairman for session “Agricultural Biological and Food Engineering (ABE)” and presented “Development of Date fruit wine”. She also received “Best paper award” for session “Health Science and Innovation (HSI)”.? Associated Dr. Wiwat Wangcharoen presented “Sensory and chemical analysis of low fat date palm ice cream” and got “Best presentation award” for session “Other Field and Related topics (OFT)”? Mrs. Mookrin Nookong presented “Development of a low-cost sensor-based kit for analyzing egg freshness”and received “Best presentation award” for session “Agricultural Biological and Food Engineering (ABE)”.? Assistant Prof. Dr. Teeraphol Senphan presented “Enhancing protein and calcium content of Nam Prik Nam Yoi with cricket powder” and his graduate student Mr. Nattapong Mungmuang “Comparative study of stabilizers on the quality characteristics of plant-based hamburgers patties” session “Agricultural Biological and Food Engineering (ABE)”.? Dr. Chitraporn Ngampeerapong presented “Physical properties of house cricket oils processed by various methods for potential use in food” in the session “Health Science and Innovation (HIS)”
20 กรกฎาคม 2567     |      24
Grand Opening "Magrow Holding Company"
วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 คณะผู้บริหารคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร พร้อมด้วยรองคณบดี และผู้ช่วยคณบดี ได้เข้าร่วมพิธีเปิด "Magrow Holding Company" ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ห้องอาคม กาญจนประโชติ ชั้น 4 อาคารอำนวย ยศสุข มหาวิทยาลัยแม่โจ้"Magrow Holding Company" เป็น University Holding Company ลำดับที่ 10 ของประเทศไทย ที่มุ่งเน้นการการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยภายในงานได้มีการจัดแสดงผลงานวิจัยที่พร้อมออกสู่เชิงพาณฺชย์ ซึ่งคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มีผลิตภัณฑ์เข้าร่วมจัดแสดงผลงานได้แก่ ผลิตภัณฑ์น้ำยางเคลือบกันสนิม (Rubber Guard) ผลิตภัณฑ์ Daoruang X จากดอกดาวเรือง และผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
20 กรกฎาคม 2567     |      14
ยินดีกับนักศึกษาได้รับรางวัล Pitching : MAID Starup 2024
ยินดีกับนักศึกษาได้รับรางวัล Pitching : MAID Starup 2024• ทีม Gold Getters• 4B Plusได้รับรางวัลจากการแข่งขัน Pitching: MAID Startup 2024 เวทีคัดเลือกแนวคิดและต้นแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพในย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้เพื่อต่อยอดทางธุรกิจร่วมขับเคลื่อนระบบนิเวศนวัตกรรมด้านเกษตรและอาหารของประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)มหาวิทยาลัยแม่โจ้ย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหารแม่โจ้Y&Archer, Korea
20 กรกฎาคม 2567     |      1
สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ระดับปริญญาตรี เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ด้วยเกณฑ์ AUN-QA Version 4.0
วันที่ 21 มิถุนายน 2567 ผศ.ดร.ฐิตินันท์ รัตนพรหม รองคณบดีคณะฝ่ายวิชาการและการต่างประเทศ ให้การต้อนรับคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา พร้อมด้วยคณาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารเรียนรวมสาขาวิศวกรรมศาสตร์โดยการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2566 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวได้รับผลการประเมินในระดับ #คะแนน3ซึ่งทุกหลักสูตรของคณะฯ ได้ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีและได้รับความร่วมมือจากบุคลากรของหลักสูตรและคณะในการเตรียมรับการประเมินเป็นอย่างดีเสมอมา
20 กรกฎาคม 2567     |      0
กิจกรรม "นวัตกรรมเกษตรอาหารเข้าใจง่าย"
ย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ ร่วมกับคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม "นวัตกรรมเกษตรอาหารเข้าใจง่าย"- เรียนรู้นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหาร-รู้จักเครื่องมือในการแปรรูปอาหาร-ฝึกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ พร้อมวิทยากรอธิบายอย่างใกล้ชิด-ได้ผลิตภัณฑ์ไปทดลองขายจริงเพื่อสร้างรายได้#รับจำนวนจำกัด 30 คนวันที่ 27-28 มิถุนายน 2568 เวลา 09.00 - 16.30 น. ณ โรงงานต้นแบบการแปรรูปอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรสนใจติดต่อ งานบริการวิชาการและวิจัย 053-875000 ต่อ 106หรือ 082-4354500
20 กรกฎาคม 2567     |      0
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร กำหนดดำเนินกิจกรรมปฐมนิเทศ นักศึกษาประจำปีการศึกษา 2567 ในวันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2567 ณ ห้อง E 101 ชั้น 1 อาคารเรียนรวมสาขา วิศวกรรมศาสตร์
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร กำหนดดำเนินกิจกรรมปฐมนิเทศ นักศึกษาประจำปีการศึกษา 2567 ในวันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2567 ณ ห้อง E 101 ชั้น 1 อาคารเรียนรวมสาขา วิศวกรรมศาสตร์11.00 12.00 น. ลงทะเบียน ณ บริเวณหน้าห้อง E 10112.00 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน13.00 14.00 น. คณบดีกล่าวต้อนรับ และให้โอวาทแก่นักศึกษาใหม่- แนะนำประธานอาจารย์ผู้รับผิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี หรือผู้แทน- คณบดี ประธานฯหลักสูตร คณาจารย์ ร่วมผูกข้อมือรับขวัญ นักศึกษาใหม่14.00 16.00 น. นักศึกษาพบอาจารย์ที่ปรึกษา ตามสาขาวิชา- สาขาวิศวกรรมเกษตร ชั้น 2 ห้อง E212- สาขาวิศวกรรมอาหาร ชั้น 1 ห้อง E117- สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ชั้น 1 ห้อง E101- สาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ชั้น 1 ห้อง E122- สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ชั้น 1 ห้อง E123
20 กรกฎาคม 2567     |      2
แบบสำรวจความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของคณะ
ขอความอนุเคราะห์บุคลากรและนักศึกษา คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร กรอกแบบสำรวจความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของคณะข้อมูลที่ได้จะนำไปจัดทำประกันคุณภาพการศึกษาและพัฒนางานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของคณะต่อไปครับขอบคุณครับอาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้แบบสำรวจความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมด้านทำนุบำรุง ศิลปและ วัฒนธรรมhttps://forms.office.com/r/zWSSsjz8AE?origin=lprLink
20 กรกฎาคม 2567     |      2
สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร ระดับปริญญาตรีและโท เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ด้วยเกณฑ์ AUN-QA Version 4.0
วันที่ 19-20 มิถุนายน 2567 ผศ.ดร.ฐิตินันท์ รัตนพรหม รองคณบดีคณะฝ่ายวิชาการและการต่างประเทศ ให้การต้อนรับคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา พร้อมด้วยคณาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารเรียนรวมสาขาวิศวกรรมศาสตร์โดยการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2566 ของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร และ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร นั้น ทั้ง 2 หลักสูตรได้รับผลการประเมินในระดับ #คะแนน3 ซึ่งหลักสูตรของคณะฯ ได้ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีและได้รับความร่วมมือจากบุคลากรของหลักสูตรและคณะในการเตรียมรับการประเมินเป็นอย่างดีเสมอมา
20 กรกฎาคม 2567     |      5
ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ ตำแหน่งเลขที่ 1054 สังกัดคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ด้วยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประสงค์จะรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็น พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ คุณวุฒิปริญญาโท-เอก สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมแมคคาโทรนิกส์ วิศวกรรมไฟฟ้า หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ Robotics หรือ Artificial Intelligent (Al) หรือ Data Science ตำแหน่งเลขที่ 1054 สังกัดคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรอัตราค่าจ้างเดือนละ 34,000 บาท สำหรับคุณวุฒิปริญญาเอก และอัตราค่าจ้าง เดือนละ 27,880 บาท สำหรับวุฒิปริญญาโท ประกอบกับมติคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัย แม่โจ้ (ก.บ.ม.) ในการประชุมครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2567 จึงประกาศรับสมัครสอบ คัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งดังกล่าว เป็นครั้งที่ 1ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ถึงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ระหว่างเวลา 08.30 - 11.00 น. และเวลา 13.30 - 15.30 น. เว้นวันหยุดราชการตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้เอกสารประกาศรับสมัครhttps://engineer.mju.ac.th/wtms_documentDownload.aspx?id=NzgyMzI=ใบสมัครhttps://personnel.mju.ac.th/edoc/forms/24027.doc
20 กรกฎาคม 2567     |      13
สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ด้วยเกณฑ์ AUN-QA Version 4.0
วันที่ 14 มิถุนายน 2567 ผศ.ดร.ฐิตินันท์ รัตนพรหม รองคณบดีคณะฝ่ายวิชาการและการต่างประเทศ ให้การต้อนรับคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา พร้อมด้วยคณาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารเรียนรวมสาขาวิศวกรรมศาสตร์โดยการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2566 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ได้รับผลการประเมินในระดับ #คะแนน4 ซึ่งหลักสูตรของคณะฯ ได้ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีและได้รับความร่วมมือจากบุคลากรของหลักสูตรและคณะในการเตรียมรับการประเมินเป็นอย่างดีเสมอมา
20 กรกฎาคม 2567     |      7
สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร ระดับปริญญา ตรี โท และเอก เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ด้วยเกณฑ์ AUN-QA Version 4.0
วันที่ 4 - 6 มิถุนายน 2567 ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ให้การต้อนรับคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา พร้อมด้วยคณาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรโดยการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2566 ของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร นั้น ทั้ง 3 หลักสูตรได้รับผลการประเมินในระดับ #คะแนน4 ซึ่งหลักสูตรของคณะฯ ได้ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีและได้รับความร่วมมือจากบุคลากรของหลักสูตรและคณะในการเตรียมรับการประเมินเป็นอย่างดี ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารเรียนรวมสาขาวิศวกรรมศาสตร์
20 กรกฎาคม 2567     |      4
การประเมินคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ด้วยเกณฑ์ AUN-QA Version 4.0
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ด้วยเกณฑ์ AUN-QA Version 4.0วันที่ 27 - 28 พฤษภาคม 2567 ผศ.ดร.ฐิตินันท์ รัตนพรหม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและการต่างประเทศ กล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา พร้อมด้วยคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรโดยการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2566 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารนั้น ได้รับผลการประเมินใน #ระดับคะแนน3 ซึ่งได้รับความร่วมมือจากบุคลากรของหลักสูตรและคณะในการเตรียมรับการประเมินเป็นอย่างดี ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารเรียนรวมสาขาวิศวกรรมศาสตร์
20 กรกฎาคม 2567     |      7
กิจกรรมวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ ประจำปี 2567 ครบรอบ 90 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี ผู้อำนวยการสำนักงาน และหัวหน้างาน เข้าร่วมกิจกรรมวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ ประจำปี 2567 ครบรอบ 90 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยในกิจกรรมจัดให้มีพิธีบวงสรวงพระพิรุณทรงนาค ณ ประติมากรรมพระพิรุณทรงนาค พิธีทำบุญทางศาสนา ณ อาคารแผ่พืชน์ และพิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ “บิดาเกษตรแม่โจ้” ผู้บุกเบิกก่อตั้งแม่โจ้ ณ บริเวณอนุสาวรีย์อำมาตย์โทพระช่วงเกษตรศิลปการ
20 กรกฎาคม 2567     |      4
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศึกษาดูงานและร่วมหารือความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท C.P. Seeds (Vietnam) Co.,Ltd. ในระหว่างวันที่ 27-31 พฤษภาคม 2567 ณ ประเทศเวียดนาม
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศึกษาดูงานและร่วมหารือความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท C.P. Seeds (Vietnam) Co.,Ltd. ในระหว่างวันที่ 27-31 พฤษภาคม 2567 ณ ประเทศเวียดนามรองศาสตราจารย์จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รักษาการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร และผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศึกษาดูงานและร่วมหารือความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท C.P. Seeds (Vietnam) Co.,Ltd. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัยนวัตกรรม และการแลกเปลี่ยนบุคลากร นักศึกษาภายใต้การถ่ายทอดความรู้จากสถานการณ์จริงในสถานประกอบการของบริษัท รวมถึงเพื่อสร้างเครือข่ายและบูรณาการกิจกรรมร่วมกันตามพันธกิจของทั้งสองฝ่าย ณ บริษัท C.P. Seeds (Vietnam) Co.,Ltd. ประเทศเวียดนาม
20 กรกฎาคม 2567     |      4
พิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณพระบรมราชินี ประจำปี 2567
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร ปัญโญใหญ่ รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการ พร้อมด้วยผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษาสโมสรคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร เข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณพระบรมราชินี ซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2567 เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ณ อาคารแผ่พืชน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโดย งานดนตรีและนันทนาการ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สำนักงานมหาวิทยาลัย
20 กรกฎาคม 2567     |      1
กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาลำน้ำห้วยโจ้เฉลิมพระเกียรติ
วันที่ 24 พฤษภาคม 2567 อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ พร้อมด้วยผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี และบุคลากร เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาลำน้ำห้วยโจ้เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณพระบรมราชินี ซึ่งตรงกับวันที่ 3 มิถุนายน 2567 เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ณ ลานอนันต์ ปัญญาวีร์ อาคารอำนวย ยศสุข มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโดย งานดนตรีและนันทนาการ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สำนักงานมหาวิทยาลัย
18 กรกฎาคม 2567     |      30
คณะเยี่ยมชมจาก Y&Archer ประเทศเกาหลี
วันพุธที่ 22 พ.ค. 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีฯ และ ดร.แพรวพรรณ จอมงาม ผู้ช่วยคณบดี คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร พร้อมด้วยคณาจารย์ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก Y&Archer บริษัทบ่มเพาะและเร่งรัดการพัฒนาสตาร์ทอัพออกสู่ตลาด (Accelerator) ที่ใหญ่ที่สุดติด 3 อันดับแรกของเกาหลีใต้ ได้เดินทางมาร่วม ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมในย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ ระหว่างสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA x มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเยี่ยมชมโรงงานนำร่อง เพื่อดำเนินการเชื่อมความร่วมมือด้านการส่งเสริมสตาร์ทอัพระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเกาหลี
18 กรกฎาคม 2567     |      26
ประชาสัมพันธ์ผลการจัดอบรมโดยหน่วยวิจัยสมาร์ทฟาร์มและโซลูชั่นทางการเกษตร
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ หัวหน้าหน่วยวิจัยสมาร์ทฟาร์มและโซลูชั่นทางการเกษตร และทีมงานนักวิจัยได้จัดการอบรมในหัวข้อ "โดรนฉีดพ่นในสวนผลไม้ DJI T30, T50 RTK และเทคนิคฉีดพ่นอัตโนมัติ Fruit Tree" ให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายและเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงของบริษัทสยามคูโบต้า จำกัดหน่วยวิจัยสมาร์ทฟาร์มและโซลูชั่นทางการเกษตรขอขอบคุณบริษัทสยามคูโบต้า จำกัด และผู้เข้าร่วมทุกท่านที่ให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ เราหวังว่าความรู้และทักษะที่ได้จากการอบรมจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนางานและเพิ่มประสิทธิภาพในสายงานของทุกท่านต่อไปร่วมสร้างอนาคตเกษตรกรรมที่ยั่งยืนและทันสมัยไปกับเรา!Cr:ศูนย์ความเป็นเลิศนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ หน่วยวิจัยสมาร์ฟาร์มและโซลูชันทางการเกษตร
18 กรกฎาคม 2567     |      24
ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการเรียนรู้วัสดุยางกับคณะครูและนักเรียนชั้นเยียร์ 4 จากโรงเรียนนานาชาติปัญญาเด่น
ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการเรียนรู้วัสดุยางกับคณะครูและนักเรียนชั้นเยียร์ 4 จากโรงเรียนนานาชาติปัญญาเด่นวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 คณะครูและนักเรียนชั้นเยียร์ 4 จากโรงเรียนนานาชาติปัญญาเด่นได้มีโอกาสมาเรียนรู้เรื่องวัสดุยางจากสาขาเทคโนโลยียางพอลิเมอร์ในกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นและเต็มไปด้วยความรู้ ผศ.ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี ได้นำทุกคนไปเยี่ยมชมสวนยางและสาธิตวิธีการกรีดยาง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่หาชมได้ยากทีมบุคลากรและคณาจารย์ ได้นำเสนอผลงานจากผลิตภัณฑ์ยางพาราที่หลากหลาย นอกจากนี้ นักเรียนยังได้สนุกกับกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การทำลูกโป่ง ผลิตภัณฑ์ถุงเพาะชำจากยางพารา และลูกบอลบีบมือจากยางพารากิจกรรมนี้ไม่เพียงแต่สร้างความสนุกสนานให้กับนักเรียน แต่ยังเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เรียนรู้และเข้าใจถึงกระบวนการผลิตและการนำวัสดุยางมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างใกล้ชิดมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ที่น่าทึ่งและสร้างสรรค์นี้ไปพร้อมๆ กัน!Cr:สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่โจ้
18 กรกฎาคม 2567     |      15
4 รางวัล ระดับนานาชาติ ในงาน Annual regional convention ARC 2024 (Malaysia)
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ คณาจารย์ และนักศึกษา ที่สร้างชื่อเสียงให้คณะ ในการแข่งขันวิชาการ 10th Southeast Asian Agricultural and Food Engineering Student Chapter, Annual regional convention ,ARC 2024 ที่ Universiti Malaysia Perlis ประเทศ Malaysiaผศ.ดร.ฐิตินันท์ รัตนพรหม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและการต่างประเทศ ผศ.ดร.กนกวรรณ ตาลดี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และงานคลังอาจารย์ชวกร ศรีเงินยวง อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมอาหาร และน้องๆนักศึกษา ร่วมงาน Annual regional convention ARC 2024 ที่ประเทศ Malaysia จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-16 พ.ค. 2567 ที่ผ่านมา ผลการแข่งขันดังนี้(1)ทีมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร โดยนางสาวกัญญาภัค เณรจาที, นางสาวเกษิณี ตาบัว และนางสาวณัฎฐณิชา ทองปลอด ได้รางวัล Best team player และผลงาน blossom cookie ได้รางวัลเหรียญเงิน Innovation Competition Young Agricultural & Food Engineers(2)ทีมวิศวกรรมอาหาร โดย นาย มงคล คงสังข์ นางสาว อินทิรา เขียวอ่อน และ นาย ศิราวัชร์ สุวรรณวัฒนา ได้รางวัลเหรียญเงิน Innovation Competition Young Agricultural & Food Engineers จากผลงานเรื่อง Prototype of the egg freshness storage machine(3)ทีมวิศวกรรมเกษตร โดย นาย ภูทกฤต เชื้อประดิษฐ์ และ นางสาว วิสาร์กร นาคะสิริศักดิ์ ได้รางวัลเหรียญทองแดง Innovation Competition Young Agricultural & Food Engineers จากผลงาน Design and development of IoT sensors for monitoring the Maejo Engineering compost production process+4ดูข้อมูลเชิงลึกและโฆษณาโปรโมทโพสต์ความรู้สึกทั้งหมด9696
18 กรกฎาคม 2567     |      12
ขอแสดงความยินดี กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี อาจารย์ดีเด่นด้านการเรียนการสอน
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดี กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี อาจารย์ดีเด่นด้านการเรียนการสอน ตามประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง รายชื่ออาจารย์ดีเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2566 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่อาจารย์ดีเด่นด้านการเรียนการสอน ดีเด่นด้านการวิจัยและนวัตกรรม ดีเด่นด้านบริการวิชาการ และอาจารย์ดีเด่นด้านทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมhttps://facsenate-general.mju.ac.th/wtms_newsDetail.aspx...Cr: สภาพนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้
18 กรกฎาคม 2567     |      11
ร่วมสืบสานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง 2567
ร่วมสืบสานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง 2567วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร นำคณะผู้บริหาร และบุคลากร เข้าร่วมพิธีดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดี นำกล่าวขอขมาและขอพรจากผู้อาวุโส จากนั้น ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัย กล่าวอวยพรปีใหม่ให้กับบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการโดยในปีนี้ คณะได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดลาบเมือง (ลาบควายดิบ) และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวดขบวนแห่เครื่องครัวดำหัว (ขบวนใหญ่) ในงานพิธีดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ขอขอบคุณ? ผศ.อุมาพร? อุประ และ? ผศ.ดร.สุจิตรา รตนะมโน ?อาจารย์?อาวุโสของคณะที่เข้าร่วมในงานพิธีดำหัวฯ
17 กรกฎาคม 2567     |      17
คณะผู้บริหารจาก บริษัท ซีพีแรม จำกัด (สำนักงานใหญ่) โดยคุณเจริญ แก้วสุกใส ที่ปรึกษาอาสุโสคณะเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะผู้บริหาร ได้เข้าเยี่ยมชมอาคารคัดบรรจุผลผลิตทางการเกษตร
เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2567คณะผู้บริหารจาก บริษัท ซีพีแรม จำกัด (สำนักงานใหญ่) โดยคุณเจริญ แก้วสุกใส ที่ปรึกษาอาสุโสคณะเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะผู้บริหาร ได้เข้าเยี่ยมชมอาคารคัดบรรจุผลผลิตทางการเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร และเข้าร่วมหารือกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร อาจารย์.ดร.แพรวพรรณ จอมงาม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยี นวัตกรรมและจัดหารายได้ ในการกำหนดแนวทางการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัย คณะ และบริษัท ในการใช้พื้นที่อาคารคัดบรรจุผลผลิตทางการเกษตร และวัตถุดิบ เช่น พืชผัก ผลไม้ ของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตของบริษัท ต่อไปในอนาคต พร้อมทั้งเข้าเยี่ยมชมพื้นที่แปลงเกษตร สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยและศูนย์ปรับปรุงพันธ์ุและเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ ของมหาวิทยาลัย
17 กรกฎาคม 2567     |      16
วิศวกรรมอาหารคว้า 2 รางวัล จาก 3 ผลงาน ระดับชาติ
วันศุกร์ที่ 5 เมษายน 2567 คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ คณาจารย์ และนักศึกษาสาขาวิศวกรรมเกษตรและวิศวกรรมอาหาร ที่คว้า รางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศอันดับ 2 ในการประชุมวิชาการวิศวกรรมอาหารแห่งชาติ ครั้งที่ 10 (FENETT 2024 Conference) ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ดังนี้รางวัลชนะเลิศ ภาคบรรยาย : การออกแบบและพัฒนาเครื่องคัดเมล็ดกาแฟพีเบอร์รี่อนุพงศ์ เขื่อนแก้ว, อำนาจ ธนูไตร. จตุรภัทร วาฤทธิ์, ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร, บัณฑิต หิรัญสถิตพร, ศรัลยภัคร์ ชำนาญ, สุธาทิพย์ วงศ์พันธุ์เสือรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ภาคบรรยาย : การวิเคราะห์การไหลของอากาศแบบบังคับ ภายในตู้รมแก๊สโอโซนสำหรับลำไยสดผลเดี่ยว ด้วยเทคนิคพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณอนุชา ประมวล. มนัญชัย บุญคงจตุรภัทร วาฤทธิ์, สมเกียรติ จตุรงค์ล้ำเลิศ, สุเนตร สืบค้า, ศรัลยภัคร์ ชำนาญ, สุธาทิพย์ วงศ์พันธุ์เสือผลงานนำเสนอภาคบรรยาย : ผลกระทบของการแช่ต่อคุณสมบัติทางกายภาพ ของข้าวขาวมาเลเซีย (ข้าว RM 269) และ ข้าวขาวไทย (ข้าวหอมมะลิ) และการศึกษาเชิงความสัมพันธ์ภัคจีราพร ปู่ก่ำ, โรสนาห์ ชามสุดิน, จตุรภัทร วาฤทธิ์, ปูเตรี นูเรน เมกัต อาหมัด อัซมาน, ญ่าฮาร มุชลิซิยาห์Cr:วิศวกรรมอาหาร แม่โจ้https://www.facebook.com/story.php?id=100031704202280&story_fbid=1192588128474649
17 กรกฎาคม 2567     |      18
เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการลำไยแปลงใหญ่ตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2567 คณะเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอสารภี และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไยแปลงใหญ่ อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่เข้าร่วมอบรมโครงการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการลำไยแปลงใหญ่ตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ หัวหน้าหน่วยวิจัยสมาร์ทฟาร์มและโซลูชั่นการเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับ โดรนเพื่อการเกษตรและการเกษตรแม่นยำ+7
12 กรกฎาคม 2567     |      1399
ขอแสดงความยินดีกับทุกทีมที่เข้าร่วมแข่งขันโครงการการนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์ Eng-Agro Pitching 2024
ขอแสดงความยินดีกับทุกทีมที่เข้าร่วมแข่งขันโครงการการนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์ Eng-Agro Pitching 2024 สร้างไอเดียธุรกิจจากผลงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ผ่านพ้นไปแล้วกับ Pitching Day5 ทีม ได้นำเสนอไอเดียธุรกิจจากผลงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์โดยผลการแข่งขันมีดังนี้รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่ ทีม Food for Youจากสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 3,000 บาท ได้แก่ ทีม The eggจากสาขาวิศวกรรมอาหารรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 1,000 บาท ได้แก่ ทีม ENRP-MJU จากสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ และสาขาวิศวกรรมเกษตรรางวัลชมเชย จำนวน 2 ทีม เงินรางวัลทีมละ 500 บาท ได้แก่ทีม N.I.K จากสาขาวิศวกรรมเกษตรทีม ฅนใต้เบาะ จากสาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวEng-Agro Pitching เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยจุดประกายความคิด สร้างแรงบันดาลใจให้แก่น้องๆ นักศึกษา ในการนำความรู้จากแต่ละสาขาวิชามาต่อยอด พัฒนาสู่การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ สร้างธุรกิจ และเป็นเจ้าของกิจการได้ในอนาคตน้องๆที่สนใจ เตรียมตัวให้พร้อมแล้วพบกันใน Eng-Agro Pitching 2025 ค่ะ
12 กรกฎาคม 2567     |      151
เด็กวิศวะฯ การยางฯ ม.แม่โจ้ คว้า 2 เหรียญทอง I-New Gen Award 2024 สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเกษตร สร้างรายได้ ลดใช้พลังงาน รักษ์โลก
 นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้คว้า 2 รางวัลเหรียญทอง จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award 2024” (I-New Gen Award 2024) จัดขึ้นโดย สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา  ซึ่งมีการแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์จากนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมัธยม อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ในปีนี้คัดเลือกผลงานจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จากทั่วประเทศกว่า 1,000 ผลงาน จาก 330 สถาบันทั่วประเทศ  และมหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถคว้ามาได้ถึง  2 เหรียญทอง ในระดับอุดมศึกษา ได้แก่รางวัลเหรียญทอง กลุ่มเกษตร จากการคิดค้นนวัตกรรม “พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” โดย นางสาวรัชนี จิระพาณิชย์ และ นางสาวศศินิภา บุญมา  นักศึกษาชั้นปีที่ 1“พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” เป็นนวัตกรรมผ้ายางคลุมดินที่ช่วยระบายอากาศและน้ำได้ดี ลดการเกิดเชื้อโรค พืชเจริญเติบโตดี ลดการใช้พลังงานในการแปรรูป ลดการเกิดไมโครพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ใช้เทคโนโลยี IOT ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในดิน เหมาะแก่การใช้งานปลูกพืชอินทรีย์รางวัลเหรียญทอง กลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ จากการคิดค้นนวัตกรรม “กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” โดย นายวรพงศ์ ชูใจ นักศึกษาชั้นปีที่ 1“กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” เป็นถุงเพาะชำที่สามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ พืชเจริญเติบโตได้ดี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้เทคนิคพิเศษในการผสมยางพารากับแป้งมาเคลือบถุงกระดาษคราฟท์ที่ทำจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ช่วยลดการเผา ลด PM 2.5 และช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี อาจารย์ที่ปรึกษาจากหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับทั้ง 2 ผลงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นเวทีให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ คิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ที่มาช่วยแก้ปัญหาด้านการเกษตรในมิติต่าง ๆ แล้วยังช่วยเพิ่มช่องทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ช่วยเกษตรกรชาวสวนยางให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม   ซึ่งผลงานนวัตกรรมดังกล่าว ขณะนี้อยู่ในกระบวนการจดสิทธิบัตร เตรียมต่อยอดขยายผลเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมหรือผู้ประกอบการ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงนวัตกรรมนี้ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น”สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053 875000  และ  090 519 4926 Cr: ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
3 กรกฎาคม 2567     |      51
โครงการการนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์ Eng-Agro Pitching 2024
ขอแสดงความยินดีกับทุกทีมที่เข้าร่วมแข่งขันโครงการการนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์ Eng-Agro Pitching 2024 สร้างไอเดียธุรกิจจากผลงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ผ่านพ้นไปแล้วกับ Pitching Day5 ทีม ได้นำเสนอไอเดียธุรกิจจากผลงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์โดยผลการแข่งขันมีดังนี้รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่ ทีม Food for Youจากสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 3,000 บาท ได้แก่ ทีม The eggจากสาขาวิศวกรรมอาหารรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 1,000 บาท ได้แก่ ทีม ENRP-MJU จากสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ และสาขาวิศวกรรมเกษตรรางวัลชมเชย จำนวน 2 ทีม เงินรางวัลทีมละ 500 บาท ได้แก่ทีม N.I.K จากสาขาวิศวกรรมเกษตรทีม ฅนใต้เบาะ จากสาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวEng-Agro Pitching เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยจุดประกายความคิด สร้างแรงบันดาลใจให้แก่น้องๆ นักศึกษา ในการนำความรู้จากแต่ละสาขาวิชามาต่อยอด พัฒนาสู่การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ สร้างธุรกิจ และเป็นเจ้าของกิจการได้ในอนาคตน้องๆที่สนใจ เตรียมตัวให้พร้อมแล้วพบกันใน Eng-Agro Pitching 2025 ค่ะ
3 กรกฎาคม 2567     |      14
เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการลำไยแปลงใหญ่ตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2567 คณะเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอสารภี และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไยแปลงใหญ่ อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่เข้าร่วมอบรมโครงการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการลำไยแปลงใหญ่ตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ หัวหน้าหน่วยวิจัยสมาร์ทฟาร์มและโซลูชั่นการเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับ โดรนเพื่อการเกษตรและการเกษตรแม่นยำวิทยากรถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับ โดรนเพื่อการเกษตรและการเกษตรแม่นยำแชร์Kritsanan Tongtipสุดยอดคับ
3 กรกฎาคม 2567     |      14
Boot Camp ของทีมที่ผ่านเข้ารอบกิจกรรม Eng-Agro pitching 2024
กิจกรรม Boot Camp ของทีมที่ผ่านเข้ารอบกิจกรรม Eng-Agro pitching 2024 ซึ่งจัดเมื่อวันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้อง E123 คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้แต่ละทีม ได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดธุรกิจและการวางแผนธุรกิจเบื้องต้น รวมถึงเทคนิคการนำเสนอดีดี เพื่อนำไปปรับปรุงผลงานของแต่ละทีม เพื่อนำมาแข่งขัน pitching ในวัน Pitching Day ต่อไปกิจกรรมวัน Pitching day จะมีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 นณ ห้อง E123 คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรเตรียมตัวให้พร้อม แล้วเรามาประลองฝีมือ pitching กันรางวัลรวมกว่า 10,000 บาท รอน้องๆอยู่นะคะ
3 กรกฎาคม 2567     |      14
โครงการวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรสัมพันธ์ ประจำปี 2566
วันศุกร์ที่ 12 มกราคม 2567 ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร และคณะผู้บริหารประจำคณะ ถ่ายทอดแผนปฏิบัติงานประจำปี ให้บุคลากรได้รับทราบ และรับฟังข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น เพื่อสานความสัมพันธ์อันดีของบุคลากรในคณะ ช่วยขับเคลื่อนมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ณ ห้องประชุม ชั้น 4 และบริเวณโถงชั้น 1 อาคารเรียนรวมสาขาวิศวกรรมศาสตร์กิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร1. มอบใบประกาศนียบัตรสำหรับบุคลากรที่สร้างชื่อให้แก่คณะ2. มอบรางวัลให้กับนักกีฬาของคณะที่ได้รับเหรียญรางวัล3. กิจกรรมมอบของขวัญและสวัสดิการแก่บุคลากร
3 กรกฎาคม 2567     |      13
โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย สวัสดีปีใหม่เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2567
ในวันที่ 8 มกราคม 2567 คณะครูจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เข้าพบคณะผู้บริหารและบุคลากรของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินันท์ รัตนพรหม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและการต่างประเทศ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ เพื่อสวัสดีและมอบกระเช้าแทนคำอวยพรเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2567 และประสานความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน ณ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
3 กรกฎาคม 2567     |      15
รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน พร้อมด้วยและทีมงานพัฒนาลูกคัา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เข้าพบ
วันที่ 3 มกราคม 2567 คุณอุทัย พิมพ์ไกร รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน พร้อมด้วยและทีมงานพัฒนาลูกคัา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เข้าพบผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ เพื่อสวัสดีและมอบกระเช้าแทนคำอวยพรเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2567 และประสานความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน ณ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
3 กรกฎาคม 2567     |      13
90 ปี 90 คนเด่น งานวันเกษตรแม่โจ้ 90ปี
ขอแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ในโอกาสที่ได้รับโล่เกียรติคุณในโครงการ “90 ปี 90 คนเด่น” จากสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ เพื่อร่วมในโอกาสฉลองครบรอบ 90 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคัดเลือกจากศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จมีความโดดเด่นเป็นที่ยอมรับของสังคม จำนวน 90 คน1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม (อ.อ้อย หรือ พี่อ้อย) คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร2. นายภัทร์พนธ์ ขุลีทรัพย์ (พี่จักร) สาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) ผู้จัดการฝ่ายศูนย์กระจายสินค้า จังหวัดขอนแก่น บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน)
3 กรกฎาคม 2567     |      11
สร้างเครือข่ายความร่วมมือในระดับนานาชาติที่ Department of Food Science, Kyoto Women's University, และ Egg & Poultry Research Center, NBL Co.,Ltd, Kyoto ประเทศญี่ปุ่น
วันที่ 4-6 ธันวาคม 2566 รศ.ดร.วิจิตรา แดงปรก พร้อมด้วยคณาจารย์ 2 ท่าน นศ.3 ท่าน ได้เดินทางไปสร้างเครือข่ายความร่วมมือในระดับนานาชาติที่ Department of Food Science, Kyoto Women's University, และ Egg & Poultry Research Center, NBL Co.,Ltd, Kyoto ประเทศญี่ปุ่น โดยมีภารกิจมีดังนี้1. ผศ.ดร.กรผกา อรรคนิตย์ แนะนำหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และภารกิจของสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และบรรยายเรื่อง Egg yolk phospholipids: An Impact on food flavor2. รศ ดร.วิจิตรา แดงปรก และผศ.ดร. ธีระพล เสนพันธุ์ แนะนำหลักสูตรมหาบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร บรรยายเรื่อง Biocalcium with high bioavailability from underutilized by-products,i.e. fish bone, chicken eggshell3. ณัฐพงศ์ มุงเมือง .บรรยายเรื่อง Extraction and antioxidant activities of protein isolate from Codyceps miliaris4. เสาวลักษ์ มณีทอง บรรยายเรื่อง Anti-inflammatory action of turmeric (Curcuma longa) extracts5. อาทิตย์ ด่านกระโทก บรรยายเรื่อง Anti-inflammatory and antioxidant properties of finger root (Boesenbergia rotunda)extractทั้งนี้ Professor Dr. Hajime Hatta ได้บรรยายเกี่ยวกับ Egg & Poultry Research Center, NBL Co., Ltd. และ Department of Food Science, Kyoto Women's University and Master Program in Innovation of Food Science and Technology รวมถึงหารือ แลกเปลี่ยนความรู้ด้านงานวิจัยร่วมกันคณะเดินทางขอขอบคุณทุนสำหรับการสร้างและพัฒนา International Mobility Student (Inbound-Outbound Foreign) ภายใต้โครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่
2 กรกฎาคม 2567     |      30
40 ปี ฟู๊ดเทคแม่โจ้คืนถิ่น
วันที่ 23 ธันวาคม 2566 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์?และ?เทคโนโลยี?การ?อาหาร? จัดโครงการ 40 ปี ฟู๊ด?เทคแม่โจ้คืนถิ่นช่วงเช้าประกอบพิธีสงฆ์ จากนั้นศิษย์เก่า?ได้มาพบปะพูดคุยและถ่ายทอดประสบการณ์?ด้านการทำงานให้กับศิษย์ปัจจุบัน? โดย รองศาสตราจารย์? ดร.วี?ระ?พล? ทอง?มา? อธิการบดี?มหาวิทยาลัย?แม่โจ้? รุ่นพี่ฟู๊ด?เทค ให้เกียรติ?มาร่วมพูดคุย?กับศิษย์เก่าและ?ศิษย์?ปัจจุบัน? จากนั้นเป็นการพบปะพูดคุยระหว่างศิษย์เก่า?กับอาจารย์?ผู้?เกษียณอายุ?ราชการ?แล้ว?ขอบคุณ?อาจารย์? และรุ่นพี่ศิษย์เก่า? ที่ให้เกียรติ?มาร่วมงาน และเป็นสปอร์นเซอร์?ใจดีเลี้ยงขนมจีนแสนอร่อยขอบคุณ?สปอนเซอร์?หมูหัน วัวหัน ข้าวเกรียบ และขนมภายในงานค่ะ
2 กรกฎาคม 2567     |      22
รองศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ ได้รับรางวัล นักวิจัยด้านการเกษตรดีเด่น ลำดับที่ 3
นักวิจัยด้านการเกษตรดีเด่น ลำดับที่ 3 จากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ ได้รับรางวัล นักวิจัยด้านการเกษตรดีเด่น ลำดับที่ 3จากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ในงานการประชุมวิชาการและจัดแสดงผลงานวิจัย และนวัตกรรมด้านการเกษตร "เปลี่ยนวิถีเกษตรไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม" AgriTech and Innovation (Moving Forward : From Local to Global)แก้ไข
2 กรกฎาคม 2567     |      18
โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืนบนพื้นบานการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศษฐกิจพอเพียง ณ หมู่บ้านด่งบอง อําเภอฝูเลือง จังหวัดท้ายเงวียน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
โดยอาจารย์ ดร.แพรวพรรณ จอมงาม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยี นวัตกรรมและจัดหารายได้ และนายสุมิตร เชื่อมชัยตระกูล หัวหน้าศูนย์บริการวิชาการ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้เข้าร่วมถ่ายทอดความรู้ และจัดฝึกอบรมการทำอาหารจากใบชา, ทำชาผสมสมุนไพร, มาตรฐานและการควบคุมคุณภาพชา, การวางผังโรงงานชาในระดับครัวเรือน และการชิมชาเพื่อปรับปรุงคุณภาพชา (สี รส กลิ่น) และเข้าเยี่ยมชมและศึกษาการรวมกลุ่มการทำชาในรูปแบบสหกรณ์ ณ สหกรณ์ Khe Coc และ สหกรณ์ Sach Dat Phat ซึ่งทางคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้เข้าร่วมโครงการนี้ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อพัฒนากระบวนการทำชา การบริหารจัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์ชา มาปรับประยุกต์ใช้ในชุมชนและได้เป็นผลิตภัณฑ์ชาดำที่เป็นผลิตภัณฑ์ชาดำที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความใหม่สำหรับคนในท้องถิ่น
2 กรกฎาคม 2567     |      20
ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ ตำแหน่งเลขที่ ตำแหน่งเลขที่ 1054
เรื่อง ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ ตำแหน่งเลขที่ 1054 สังกัดคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรด้วยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประสงค์จะรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็น พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ คุณวุฒิปริญญาโท-เอก สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมแมคคาโทรนิกส์ วิศวกรรมไฟฟ้า หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ Robotics หรือ Artificial Intelligent (Al) หรือ Data Science ตำแหน่งเลขที่ 1054 สังกัดคณะวิศวกรรม และอุตสาหกรรมเกษตร อัตราค่าจ้างเดือนละ 34,000 บาท สำหรับคุณวุฒิปริญญาเอก และอัตราค่าจ้าง เดือนละ 27,880 บาท สำหรับวุฒิปริญญาโท ประกอบกับมติคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัย แม่โจ้ (ก.บ.ม.) ในการประชุมครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2567 จึงประกาศรับสมัครสอบ คัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งดังกล่าว เป็นครั้งที่ 1ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ถึงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ระหว่างเวลา 08.30 - 11.00 น. และเวลา 13.30 - 15.30 น. เว้นวันหยุดราชการตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้เอกสารประกาศรับสมัคร
20 มิถุนายน 2567     |      133
รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023
รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษา ปริญญาตรี และปริญญาโท ทีมปันแสน และ ทีมREISSCHEIN คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 จากกิจกรรมการนำเสนอผลงานนวัตกรรมสู่การพัฒนาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Startup Gate Pitching Challenge 2023) จากทั้งหมด 12 ทีม จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร (MAP) ในวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 "ทีมปันแสน" นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร กับผลงาน "เยลลี่บุกเสริมสารสกัดจากขมิ้นชันคุมหิวผิวสวย" ประกอบด้วย1. นางสาวเสาวลักษณ์ มณีทอง2. นายณัฐพงษ์ มุงเมือง3. นายอาทิตย์ ด่านกระโทก4. ผศ.ดร.ธีระพล เสนพันธุ์ (อ.ที่ปรึกษาทีม)ชนะเลิศอันดับ 2 "ทีม REISSCHEIN" กับผลงาน "ไวน์ข้าวออร์แกนนิค" นักศึกษา ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ประกอบด้วย1.น.ส.นันทกานต์ นันสาย2.น.ส.นัทธมน ขวัญทัย3.ผศ.ดร.กนกวรรณ ตาลดี (อ.ที่ปรึกษาทีม)
21 ตุลาคม 2566     |      318
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"ในวันที่ 27 กันยายน 2566 การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน Rubber Innovation Matching Day นำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการจับคู่ธุรกิจ ภายใต้โครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด 198 คน ทีมผู้เข้าร่วม 28 ทีม 91 คนผศ.ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นที่ปรึกษาโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางการพัฒนาด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยาง (Natural Rubber Startup Acceleration Program Batch 3) จากโครงการเรื่อง มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก โดยมีสมาชิก นายคณินทร์ชัย เอกพุฒิวงศ์ เกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลห้วยซ้อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ได้รับรางวัลชมเชยผลงานระดับ Product to Market (P2M) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพาราเข้าสู่ตลาด
21 ตุลาคม 2566     |      267
RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ
ทีม RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ ทีม : RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศ ผ่านเข้ารอบการแข่งขันการประกวดความเป็นไปได้ทางธุรกิจภายใต้โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 11 (Research to Market) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ฯทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และเป็นตัวแทนในการแข่งขันภูมิภาคเหนือต่อไป จำนวน 3 ทีม มีดังนี้ทีม : RUBBER GUARDผลงานวิจัย : น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิมอาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ทีมนักศึกษา1. นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร2. นางสาวขวัญกมล โนภา คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร3. นายรณกร เครือหงษ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร4. นางสาวธันชนก คำมา คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวณัฐกฤตา วงษ์สุวรรณ คณะบริหารธุรกิจ ทีม : AES Re-Energyผลงานวิจัย : การพัฒนาฉนวนกันความร้อนแบบคอนกรีตบล็อกผสมเถ้าชีวมวลอาจารย์ที่ปรึกษา : ดร. ภคมน ปินตานาทีมนักศึกษา1. นางสาวลลิตา เพชรใจหาญ คณะพลังงานทดแทน2. นางสาวศุภมาส ทวีสุข คณะพลังงานทดแทน3. นางสาวจรรยพร หลู่จิ่ง คณะพลังงานทดแทน4. นางสาวธัญรดา เอี่ยมหอม คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวรดาดาว มงคลแก้ว คณะบริหารธุรกิจ ทีม : Blis teamผลงานวิจัย : แผ่นมาสก์ปาก “Blis Balm”อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร. ศักดินันท์ นันตังทีมนักศึกษา1. นายเทพฤทธิ์ จาง คณะวิทยาศาสตร์2. นางสาววรรณวิษา กระจ่างฉาย คณะวิทยาศาสตร์3. นายธนชัญ คำภีระ คณะวิทยาศาสตร์4. นางสาวณัฐวิภา เผ่าดี คณะบริหารธุรกิจ5. นายพฤษชาติ แสนเขื่อนแก้ว คณะบริหารธุรกิจทั้งนี้ทีมนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจะเป็นตัวแทนในการแข่งขัน R2M ระดับภูมิภาคเหนือร่วมกับทีมตัวแทนจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมทั้งหมด 21 ทีม เพื่อคัดเลือกทีมนักศึกษา จำนวน 9 ทีม แข่งขันในระดับประเทศต่อไป โดยการแข่งขันระดับภูมิภาคเหนือจะจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย -1 ธ.ค 66 นี้ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
21 ตุลาคม 2566     |      696
Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท
ขอแสดงความยินดีกับทีม Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยฝ่ายบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (นักศึกษาปัจจุบัน และ ผู้จบการศึกษาไม่เกิน 5 ปี) จำนวน 4 ราย ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท (Ideation Incentive Program : #IDEA) รอบที่ 2/2566 จากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) เพื่อนำไปพัฒนาต้นแบบ (Mockup) และแผนธุรกิจฉบับสมบูรณ์ โดยการบ่มเพาะของเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MAP)1. โครงการ Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม"โดย นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง นักศึกษาจากสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ และนางสาวขวัญกมล โนภา นักศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ อาจารย์ประจำคณะคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่โจ้2. โครงการ PEAT PLANT วัสดุเพาะเมล็ดและต้นกล้าจากวัตถุอินทรีย์ธรรมชาติ โดย นายเกรียงไกร ใจยสุข นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาวิชาเกษตรอัจฉริยะ (ต่อเนื่อง) และทีมงานศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร อาจารย์ประจำคณะผลิตกรรมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สัตวศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้3.โครงการระบบเพาะเห็ดแบบแม่นยำ โดย นายพุทธพงษ์ สุวรรณกูล นักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทน นายนิติพัฒน์ ปัญญา และนายปิติพล จิ่งต่า ศิษย์เก่าวิทยาลัยพลังงานทดแทนอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.ภคมน ปินตานา และ อาจารย์ ดร.สุระพล ริยะนา อาจารย์ประจำวิทยาลัยพลังงานทดแทน วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ School of Renewable Energy, MJU.4.โครงการโจ๊กผำแม่โจ้ 1 เอ โดย นางสาวเกตุวลิน ล้ำเลิศนางสาวสุดา จันทะบัตร นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ นางสาวพิมลพรรณ เพ็งสุริยา นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร อายุมั่น อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
21 ตุลาคม 2566     |      4081
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนแผนยุทธศาสตร์และการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567
วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวเปิดงาน การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนแผนยุทธศาสตร์และการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 และรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 ถ่ายทอดตัวชี้วัดในแผนปฏิบัติการ ประจำปี งบประมาณ 2567 ณ ห้อง E117 อาคารเรียนรวมสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์กิจกรรมในโครงการ ทบทวนโครงสร้างองค์กร (ปรัชญา / วิสัยทัศน์ / อัตลักษณ์ / พันธกิจ / ค่านิยม) ทบทวนวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อการพัฒนาคณะฯ (SWOT Analysis และ TOWS matrix)วิทยากร รองศาสตราจารย์จันทนี เพชรานนท์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาดำเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
21 ตุลาคม 2566     |      155