คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปางวันนี้ 31 มีนาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร พร้อมด้วยผู้บริหาร ให้การต้อนรับคุณสมฤดี อินทรฉิม จากบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง ซึ่งได้เข้ามาแนะนำบริษัท ทำความรู้จัก และสร้างความสัมพันธ์เพื่อความร่วมมือในอนาคตการพบปะครั้งนี้เป็นก้าวแรกของการเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เพื่อเปิดโอกาสสู่ความร่วมมือในด้านการศึกษา สหกิจศึกษา ฝึกงาน และโอกาสทางอาชีพ คณะฯ ขอขอบคุณบริษัทเนเจอรี่ จำกัด ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่าย และหวังว่าจะได้ร่วมงานกันในอนาคต
11 เมษายน 2568     |      82
โครงการการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพร
เมื่อวันที่ 1-2 เมษายน 2568 งานบริการวิชาการและวิจัย ได้จัดโครงการการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพร ณ อาคารโรงงานนำร่อง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร โดย อาจารย์ ดร.แพรวพรรณ จอมงาม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยี นวัตกรรมและจัดหารายได้ เป็นหัวหน้าโครงการโครงการนี้จัดขึ้นเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยทางด้านการทำแห้งเพื่อคงปริมาณสารสำคัญ ได้แก่ ข้าวเกรียบสมุนไพร ไส้อั่วปลาอบแห้งโรยข้าว และการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมผลไม้ โดยมีวิทยากร ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม ผศ.ดร.ศรัญญา สุวรรณอังกูร อาจารย์ ดร.ตรีทิพย์ ชื่นสันต์ เป็นผู้นำองค์ความรู้มาถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในตำบลสันป่าเปา ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย ให้ชุมชนเกิดการพัฒนาตนเองด้านการแปรรูปอาหาร สร้างความยั่งยืนในอนาคต
11 เมษายน 2568     |      76
นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็น 1 ใน 5 ทีม นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568เมื่อวันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้นำทีมนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ประจำปี 2568 ณ ห้องประชุม 105 อาคารประเสริฐ ณ นคร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีและกล่าวเปิดโครงการ ซึ่งเป็นเวทีให้นักศึกษาได้มีโอกาสนำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและยกระดับศักยภาพของชุมชนในครั้งนี้ คณะวิศวกรรมฯ ได้ร่วมมือกับ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ส่งทีมนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันภายใต้ชื่อทีม "ชาลำ บำรุงสุข" ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 ทีมที่ได้นำเสนอผลงาน ในรอบนี้ ทีมชาลำ บำรุงสุข ได้ร่วมพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง บ้านสันป่าเหียน จังหวัดลำพูน โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้มากขึ้นการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ การพัฒนาแนวคิดเชิงธุรกิจ และการทำงานร่วมกับชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตอย่างยั่งยืน
11 เมษายน 2568     |      67
ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมลงนามในฐานะผู้แทนฝ่ายเจ้าภาพ ณ อาคารคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พิธีลงนามในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อวางรากฐานความร่วมมือในด้านการเรียนการสอนและการใช้ทรัพยากรร่วมกันในช่วงสถานการณ์วิกฤต อาทิ ภัยธรรมชาติ เหตุเพลิงไหม้ หรือเหตุการณ์ไม่สงบที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษา โดยทั้งสองหน่วยงานตกลงร่วมมือกันในการสนับสนุนการใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารสถานที่ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องมือ และวัสดุต่าง ๆ ตามความเหมาะสม โดยยังคงอยู่ภายใต้การดูแลและความรับผิดชอบของแต่ละสถาบัน ทั้งในด้านค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้จ่ายจากการใช้ทรัพยากรเฉพาะกรณีความร่วมมือครั้งนี้ยังครอบคลุมถึงการผลักดันกิจกรรมวิจัย การบริการวิชาการ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอาหารและผลิตผลเกษตร โดยมุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการพัฒนาโครงการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมจริงภายหลังพิธีลงนาม คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พาคณะผู้บริหารและบุคลากรจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ (FIN) รวมถึงอาคารเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงงานต้นแบบ และอาคาร CMU BIOPOLIS ซึ่งถือเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ความร่วมมือระหว่างทั้งสองสถาบันในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการและวิจัยของประเทศ พร้อมร่วมกันผลักดันความเจริญก้าวหน้าในภาคอุตสาหกรรมเกษตรอย่างมั่นคงและยั่งยืนCr :ขอบคุณรูปภาพจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
11 เมษายน 2568     |      79
เตรียมความพร้อมในการจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน
วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสมคณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการงานจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน โดยมีท่านรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในการประชุม และทีมผู้บริหารของมหาวิทยาลัยฯ ทีมจังหวัด และ อพ.สธ. เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 4-10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2568 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เครดิตภาพ: โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (โครงการ อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้
26 มีนาคม 2568     |      60
การประชุมคณะกรรมการอำนวยการสมาคมสภาวิชาการอุตสาหกรรมเกษตร
วันที่ 7-8 มีนาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการสมาคมสภาวิชาการอุตสาหกรรมเกษตร ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชัน กรุงเทพมหานคร เพื่อระดมความคิดเห็นแนวทางการดำเนินงานของทางสมาคม ติดตามการดำเนินงานและการจัดงานประชุมวิชาการ Food Innovation Asia Conference (FIAC) 2026คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้เข้าร่วมและเป็นส่วนหนึ่งในสมาคมสภาวิชาการอุตสาหกรรมเกษตร และงานประชุมวิชาการ Food Innovation Asia Conference อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านอุตสาหกรรมเกษตรให้มีคุณภาพยิ่งๆขึ้นไป
26 มีนาคม 2568     |      23
กิจกรรมการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือทางวิชาการ
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร นำโดยผู้ช่วยศาสตราาจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกาตร ได้ให้การต้อนรับ Professor Thomas Karbowiak และคณะ จากศูนย์วิจัยนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์และวัสดุชีวภาพ สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และพาเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทางวิศวกรรมอาหาร และฟังการนำเสนอผลงานวิจัย เรื่อง การหมักอาหารเชิงฟังชั่นจากไมซีเลียมเห็ดหลินจือ ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นักรบ นาคประสม เข้าเยี่ยมชมโรงคัดบรรจุผลิตผลทางการเกษตร นำเสนอและพาเชี่ยมชมโดย อาจารย์ ดร.ดวงใจ น้อยวัน และนายทองลา ภูคำวงศ์ จากสาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว และเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทางชุลชีววิทยาทางอาหาร และโรงงานนำร่อง นำเสนอและพาเยี่ยมชมโดย นายสุมิตร เชื่อมชัยตระกูล หัวหน้าศูนย์บริการวิชาการ ทั้งนี้ยังได้แลกเปลี่ยนความรู้และหารือ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างสองสถาบันในอนาคตอีกด้วยนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ทางคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรม ได้ต้อนรับและสร้างความสัมพันธ์อันดีด้านงานวิจัย อันจะนำพาไปสู่การร่วมมือการพัฒนางานวิจัยเพื่อประเทศชาติต่อไป
26 มีนาคม 2568     |      30
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอแสดงความชื่นชมและยินดีกับคณาจารย์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับคณะและมหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.ธีระพล เสนพันธุ์ และ ผศ.ดร.กรผกา อัคนิตย์อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร (ป.โท) ได้รับการตีพิมพ์ผลงานวิจัยระดับนานาชาติใน Journal of Agriculture and Food Research วารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus & SJR Quartile 1 ซึ่งมี Impact factor 4.8โดยผลงานวิจัยเรื่อง "Physicochemical properties and bioavailability of bio-calcium products from tilapia bone: A comparative study with synthetic hydroxyapatite" เป็นการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีกายภาพและการดูดซึมของแคลเซียมชีวภาพจากกระดูกปลานิล เปรียบเทียบกับไฮดรอกซีอะพาไทต์สังเคราะห์ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำไปต่อยอดในอุตสาหกรรมอาหารและโภชนาการได้อย่างมีนัยสำคัญคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรขอแสดงความยินดี และขอร่วมชื่นชมในความมุ่งมั่นของคณาจารย์ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนางานวิจัยและสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย อ่านผลงานวิจัย ?https://linkinghub.elsevier.com/ret.../pii/S2666154325000791
26 มีนาคม 2568     |      23
โครงการการแปรรูปวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าสำหรับเกษตรกรและชุมชน
วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 งานบริการวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดโครงการการแปรรูปวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า สำหรับเกษตรกรและชุมชน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การแปรรูปเศษชีวมวลเป็นถ่านชีวภาพคุณภาพสูงโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร ปัญโญใหญ่ รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการ เป็นหัวหน้าโครงการ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพาพร คำแดง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย เป็นวิทยากรให้ความรู้โดยนำองค์ความรู้การแปรรูปเศษชีวมวล เผยแพร่ให้กับกลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือสถานประกอบการให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าเป็นถ่านชีวภาพคุณภาพสูง สำหรับใช้ในครัวเรือน ลดรายจ่ายด้านปุ๋ยเคมีให้กับเกษตรกรและชุมชน พร้อมทั้งส่งเสริมการทำผลิตภัณฑ์ดินปลูกผสมไบโอชาร์ เป็นสินค้าเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและชุมชนได้อีกช่องทางหนึ่ง
26 มีนาคม 2568     |      23
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมสนับสนุนเกษตรกรไทย ในงานวันข้าวโพดหวานและถั่วลายเสือ ครั้งที่ 9
เมื่อวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ได้จัดกิจกรรม "งานวันข้าวโพดหวานและถั่วลายเสือ ครั้งที่ 9" ณ ไร่ตะวันหวาน (SUN VALLEY) ตำบลทุ่งปี้ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรอย่างยั่งยืนและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรไทยในงานนี้ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงษ์ ?กาญจนประโชติ เป็นวิทยากรรับเชิญในการเสวนา หัวข้อ "เทคโนโลยีและการพัฒนาการเกษตรเพื่อความยั่งยืน" ซึ่งได้รับความสนใจจากเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก โดยอาจารย์โชติพงษ์ได้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในภาคเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืนนอกจากนี้ ยังมีนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรร่วมจัดบูธนิทรรศการ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) โดยนำเสนอการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยในการบริหารจัดการฟาร์ม รวมถึงประชาสัมพันธ์หลักสูตรการเรียนการสอนของคณะ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้รู้จักกับการศึกษาในสาขาวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรมากยิ่งขึ้นกิจกรรมภายในงานยังมีการจัดแปลงสาธิตแสดงสายพันธุ์ข้าวโพดหวานและถั่วลายเสือ การสาธิตเครื่องจักรกลการเกษตร บูธนิทรรศการจากบริษัทชั้นนำ และกิจกรรมความรู้ทางวิชาการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไทยคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรขอขอบคุณบริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ที่จัดกิจกรรมดี ๆ เพื่อเกษตรกรไทย และหวังว่าความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรของไทยให้ก้าวหน้าและยั่งยืนต่อไป
26 มีนาคม 2568     |      19
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำพูนเยี่ยมชม คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม 2568 หน่วยวิจัยสมาร์ทฟาร์มและโซลูชั่นทางการเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้การต้อนรับ เจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำพูนและคณะกรรมการแปลงใหญ่และผู้จัดการแปลงใหญ่ จำนวน 15 คน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ “การใช้เทคโนโลยีด้านการเกษตรอัจฉริยะเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต”การบรรยายครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ " ปีงบประมาณ 2568 จัดโดย สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำพูน เพื่อส่งเสริมเกษตรกรแปลงใหญ่ให้มีการบริการจัดการกลุ่มร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตและการแปรรูปและสนับสนุนการเชื่อมโยงตลาดระหว่างผู้ผลิตแปลงใหญ่และผู้ซื้อ
26 มีนาคม 2568     |      20
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ต้อนรับอาจารย์จาก Zhejiang University, China และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
วันที่ 21 มกราคม 2568 คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้การต้อนรับ Assoc. Prof. Dr. Jinhu Tian จาก Zhejiang University และ รศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดอนลาว จาก สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในการดำเนินกิจกรรมสร้างเครือข่ายและความร่วมกับสถาบันภายนอกเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและเป็นการต่อยอดความร่วมมือด้านการวิจัย ภายใต้โครงการ Reinventingกิจกรรมในครั้งนี้ได้มีการจัด Special Talk ในหัวข้อ Good research practices during graduate studies: How to write a research paper for publication โดย Assoc. Prof. Dr. Jinhu Tian และเข้าเยี่ยมชมดูงานในหน่วยวิจัยหุ่นยนต์ทางด้านเทคโนโลยีสำหรับเกษตรและอาหารกิจกรรมดังกล่าวได้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของคณะฯ ในการสร้างความร่วมมือพัฒนางานวิจัยและการจัดกิจกรรมเชิงวิชาการในอนาคต เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ
26 มีนาคม 2568     |      23
ทั้งหมด 4 หน้า