คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY
เตรียมความพร้อมในการจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน
วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสมคณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการงานจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน โดยมีท่านรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในการประชุม และทีมผู้บริหารของมหาวิทยาลัยฯ ทีมจังหวัด และ อพ.สธ. เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 4-10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2568 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เครดิตภาพ: โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (โครงการ อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้
26 มีนาคม 2568     |      24
การประชุมคณะกรรมการอำนวยการสมาคมสภาวิชาการอุตสาหกรรมเกษตร
วันที่ 7-8 มีนาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการสมาคมสภาวิชาการอุตสาหกรรมเกษตร ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชัน กรุงเทพมหานคร เพื่อระดมความคิดเห็นแนวทางการดำเนินงานของทางสมาคม ติดตามการดำเนินงานและการจัดงานประชุมวิชาการ Food Innovation Asia Conference (FIAC) 2026คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้เข้าร่วมและเป็นส่วนหนึ่งในสมาคมสภาวิชาการอุตสาหกรรมเกษตร และงานประชุมวิชาการ Food Innovation Asia Conference อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านอุตสาหกรรมเกษตรให้มีคุณภาพยิ่งๆขึ้นไป
26 มีนาคม 2568     |      4
กิจกรรมการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือทางวิชาการ
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร นำโดยผู้ช่วยศาสตราาจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกาตร ได้ให้การต้อนรับ Professor Thomas Karbowiak และคณะ จากศูนย์วิจัยนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์และวัสดุชีวภาพ สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และพาเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทางวิศวกรรมอาหาร และฟังการนำเสนอผลงานวิจัย เรื่อง การหมักอาหารเชิงฟังชั่นจากไมซีเลียมเห็ดหลินจือ ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นักรบ นาคประสม เข้าเยี่ยมชมโรงคัดบรรจุผลิตผลทางการเกษตร นำเสนอและพาเชี่ยมชมโดย อาจารย์ ดร.ดวงใจ น้อยวัน และนายทองลา ภูคำวงศ์ จากสาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว และเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทางชุลชีววิทยาทางอาหาร และโรงงานนำร่อง นำเสนอและพาเยี่ยมชมโดย นายสุมิตร เชื่อมชัยตระกูล หัวหน้าศูนย์บริการวิชาการ ทั้งนี้ยังได้แลกเปลี่ยนความรู้และหารือ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างสองสถาบันในอนาคตอีกด้วยนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ทางคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรม ได้ต้อนรับและสร้างความสัมพันธ์อันดีด้านงานวิจัย อันจะนำพาไปสู่การร่วมมือการพัฒนางานวิจัยเพื่อประเทศชาติต่อไป
26 มีนาคม 2568     |      6
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอแสดงความชื่นชมและยินดีกับคณาจารย์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับคณะและมหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.ธีระพล เสนพันธุ์ และ ผศ.ดร.กรผกา อัคนิตย์อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร (ป.โท) ได้รับการตีพิมพ์ผลงานวิจัยระดับนานาชาติใน Journal of Agriculture and Food Research วารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus & SJR Quartile 1 ซึ่งมี Impact factor 4.8โดยผลงานวิจัยเรื่อง "Physicochemical properties and bioavailability of bio-calcium products from tilapia bone: A comparative study with synthetic hydroxyapatite" เป็นการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีกายภาพและการดูดซึมของแคลเซียมชีวภาพจากกระดูกปลานิล เปรียบเทียบกับไฮดรอกซีอะพาไทต์สังเคราะห์ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำไปต่อยอดในอุตสาหกรรมอาหารและโภชนาการได้อย่างมีนัยสำคัญคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรขอแสดงความยินดี และขอร่วมชื่นชมในความมุ่งมั่นของคณาจารย์ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนางานวิจัยและสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย อ่านผลงานวิจัย ?https://linkinghub.elsevier.com/ret.../pii/S2666154325000791
26 มีนาคม 2568     |      3
โครงการการแปรรูปวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าสำหรับเกษตรกรและชุมชน
วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 งานบริการวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดโครงการการแปรรูปวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า สำหรับเกษตรกรและชุมชน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การแปรรูปเศษชีวมวลเป็นถ่านชีวภาพคุณภาพสูงโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร ปัญโญใหญ่ รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการ เป็นหัวหน้าโครงการ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพาพร คำแดง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย เป็นวิทยากรให้ความรู้โดยนำองค์ความรู้การแปรรูปเศษชีวมวล เผยแพร่ให้กับกลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือสถานประกอบการให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าเป็นถ่านชีวภาพคุณภาพสูง สำหรับใช้ในครัวเรือน ลดรายจ่ายด้านปุ๋ยเคมีให้กับเกษตรกรและชุมชน พร้อมทั้งส่งเสริมการทำผลิตภัณฑ์ดินปลูกผสมไบโอชาร์ เป็นสินค้าเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและชุมชนได้อีกช่องทางหนึ่ง
26 มีนาคม 2568     |      3
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมสนับสนุนเกษตรกรไทย ในงานวันข้าวโพดหวานและถั่วลายเสือ ครั้งที่ 9
เมื่อวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ได้จัดกิจกรรม "งานวันข้าวโพดหวานและถั่วลายเสือ ครั้งที่ 9" ณ ไร่ตะวันหวาน (SUN VALLEY) ตำบลทุ่งปี้ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรอย่างยั่งยืนและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรไทยในงานนี้ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงษ์ ?กาญจนประโชติ เป็นวิทยากรรับเชิญในการเสวนา หัวข้อ "เทคโนโลยีและการพัฒนาการเกษตรเพื่อความยั่งยืน" ซึ่งได้รับความสนใจจากเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก โดยอาจารย์โชติพงษ์ได้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในภาคเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืนนอกจากนี้ ยังมีนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรร่วมจัดบูธนิทรรศการ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) โดยนำเสนอการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยในการบริหารจัดการฟาร์ม รวมถึงประชาสัมพันธ์หลักสูตรการเรียนการสอนของคณะ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้รู้จักกับการศึกษาในสาขาวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรมากยิ่งขึ้นกิจกรรมภายในงานยังมีการจัดแปลงสาธิตแสดงสายพันธุ์ข้าวโพดหวานและถั่วลายเสือ การสาธิตเครื่องจักรกลการเกษตร บูธนิทรรศการจากบริษัทชั้นนำ และกิจกรรมความรู้ทางวิชาการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไทยคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรขอขอบคุณบริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ที่จัดกิจกรรมดี ๆ เพื่อเกษตรกรไทย และหวังว่าความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรของไทยให้ก้าวหน้าและยั่งยืนต่อไป
26 มีนาคม 2568     |      3
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำพูนเยี่ยมชม คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม 2568 หน่วยวิจัยสมาร์ทฟาร์มและโซลูชั่นทางการเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้การต้อนรับ เจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำพูนและคณะกรรมการแปลงใหญ่และผู้จัดการแปลงใหญ่ จำนวน 15 คน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ “การใช้เทคโนโลยีด้านการเกษตรอัจฉริยะเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต”การบรรยายครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ " ปีงบประมาณ 2568 จัดโดย สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำพูน เพื่อส่งเสริมเกษตรกรแปลงใหญ่ให้มีการบริการจัดการกลุ่มร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตและการแปรรูปและสนับสนุนการเชื่อมโยงตลาดระหว่างผู้ผลิตแปลงใหญ่และผู้ซื้อ
26 มีนาคม 2568     |      2
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ต้อนรับอาจารย์จาก Zhejiang University, China และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
วันที่ 21 มกราคม 2568 คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้การต้อนรับ Assoc. Prof. Dr. Jinhu Tian จาก Zhejiang University และ รศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดอนลาว จาก สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในการดำเนินกิจกรรมสร้างเครือข่ายและความร่วมกับสถาบันภายนอกเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและเป็นการต่อยอดความร่วมมือด้านการวิจัย ภายใต้โครงการ Reinventingกิจกรรมในครั้งนี้ได้มีการจัด Special Talk ในหัวข้อ Good research practices during graduate studies: How to write a research paper for publication โดย Assoc. Prof. Dr. Jinhu Tian และเข้าเยี่ยมชมดูงานในหน่วยวิจัยหุ่นยนต์ทางด้านเทคโนโลยีสำหรับเกษตรและอาหารกิจกรรมดังกล่าวได้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของคณะฯ ในการสร้างความร่วมมือพัฒนางานวิจัยและการจัดกิจกรรมเชิงวิชาการในอนาคต เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ
26 มีนาคม 2568     |      3
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมส่งเสริมสินค้าเกษตรพื้นถิ่นสู่ความยั่งยืน
วันที่ 14 มกราคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศนวัตกรรมสมัยใหม่ และหน่วยวิจัยสมาร์ทฟาร์มและโซลูชั่นทางการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อ "การบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยีแอปพลิเคชัน"การบรรยายครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น" ปีงบประมาณ 2568 (รุ่นที่ 2) จัดโดย สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำพูน ณ ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตรประตูป่า จำกัด ตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูนการบรรยายในครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของคณะฯ ในการให้บริการวิชาการและสนับสนุนการพัฒนาเกษตรกรรมสมัยใหม่ โดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนในพื้นที่
26 มีนาคม 2568     |      2
การตรวจสอบมาตรฐานการผลิตสินค้าลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม รองประธานคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นำพร ปัญโญใหญ่ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ลงพื้นที่ตรวจสอบมาตรฐานการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สำหรับลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูน ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567การตรวจสอบจัดขึ้น ณ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทองบ้านสันป่าเหียง ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับมาตรฐานและควบคุมคุณภาพการผลิตของลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูน ให้เป็นไปตามคู่มือปฏิบัติงาน เพื่อรักษามาตรฐานสินค้า GI ให้เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือในตลาดคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถือว่าการร่วมลงพื้นที่ครั้งนี้เป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญด้านการบริการวิชาการและวิจัย ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานสินค้าท้องถิ่น และสนับสนุนการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
26 มีนาคม 2568     |      5
อาจารย์วิศวกรรมเกษตร คว้ารางวัลบทความยอดเยี่ยมด้านสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับ สมาคมพลังงานทดแทนชุมชนแห่งประเทศไทย ได้จัด งานประชุมสัมมนาวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนเพื่อชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17 (TREC-17) ภายใต้หัวข้อ “เทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่เหมาะสมสำหรับการขยายผลสู่ชุมชนอัจฉริยะ” ระหว่างวันที่ 28 – 30 ตุลาคม 2567ในการประชุมครั้งนี้ อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำอาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้นำเสนอบทความวิจัยเรื่อง“การลดก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกองจากเศษใบไม้ในป่าชุมชนพื้นที่อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่”บทความนี้ได้รับรางวัล บทความยอดเยี่ยมด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อความเป็นเลิศสำหรับชุมชน (4A) ซึ่งยกย่องผลงานที่มีความโดดเด่นในการนำไปใช้แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนทีมวิจัยที่ร่วมสร้างผลงานนี้ ได้แก่:แสนวสันต์ ยอดคำชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตรนเรศ ใหญ่วงศ์นนท์ นาคะเสถียรพงษ์พนัส คะชะนาศิริลักษณ์ บ่อสร้างรางวัลนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นและความร่วมมือระหว่างนักวิจัย ชุมชน และองค์กรเอกชน (เครือเจริญโภคภัณฑ์) ในการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอย่างเหมาะสมสำหรับชุมชนอัจฉริยะ
26 มีนาคม 2568     |      5
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับทีมนักวิจัย คว้ารางวัล Best Presentation Award ในงาน "Hylife Innovation Excellence Awards 2024"
วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2567 – คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นักรบ นาคประสม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร ร่วมกับบริษัท บิสท์ อินโน รีฟอร์ม จำกัด ที่ได้รับ รางวัลพิเศษ Best Presentation Award ในงาน "Hylife Innovation Excellence Awards 2024"ทีมนักวิจัยได้รับรางวัลจากผลงาน “Imuneup: สารสำคัญเชิงหน้าที่จากไมซีเลียมถั่งเช่าสีทอง” ซึ่งโดดเด่นทั้งในด้านนวัตกรรมและการนำเสนอ โดยได้รับเงินรางวัลมูลค่า 5,000 บาท พร้อม ประกาศนียบัตร เกียรติยศนอกจากนี้ ทีมวิจัยยังเป็น เจ้าของอนุสิทธิบัตรกระบวนการผลิตเครื่องดื่มไมซีเลียมถั่งเช่าเห็ดสีทอง ซึ่งสะท้อนถึงศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้งานนี้จัดขึ้นโดย กลุ่มบริษัทไฮไลฟ์ ร่วมกับ สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และ เครือข่ายนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจ ณ โรงแรมแชงกรีลา เชียงใหม่ เพื่อสนับสนุนผลงานนวัตกรรมที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จของทีมนักวิจัยครั้งนี้ และขอสนับสนุนให้นำผลงานต่อยอดสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต
26 มีนาคม 2568     |      6
ทั้งหมด 4 หน้า