คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY
ผลการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ ตำแหน่งเลข 1130 สังกัด คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ผลการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ ตำแหน่งเลข 1130 สังกัด คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรการดำเนินการฯ ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ประกอบกับมติคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ก.บ.ม.) ในการประชุมครั้งที่ 14/2566 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2566 จึงประกาศผลการสอบคัดเลือกตำแหน่งดังกล่าว ดังนี้ ลำดับที่ 1 นายพฤกษ์ ชูสังข์ลำดับที่ 2 นางสาวภัทรารีย์ อินทมาตร์ฉะนั้น จึงให้ผู้ผ่านการสอบคัดเลือกได้ในลำดับที่ 1 มารายงานตัว ณ กองบริหารทรัพยากรบุคคล ชั้น 4 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 หากไม่มารายงานตัวตามกำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์เอกสารประกอบ 
22 สิงหาคม 2566     |      399
Big Cleaning Day จัดการขยะในสำนักงาน
Big Cleaning Day จัดการขยะในสำนักงานบุคลากรร่วมกิจกรรม Big Cleaning Day สืบเนื่อง ในวันสิ่งแวดล้อมโลก อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและสิ่งแวดล้อม ตัวแทน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกิจกรรม Big Cleaning Day แยกขยะ ปลูกผัก วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน 2566 กิจกรรมรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลก ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย รณรงค์การลดขยะ ใช้ภาชนะจากใบไม้ กิจกรรมการให้ความรู้การคัดแยกขยะ การจัดการขยะในสำนักงาน และรับกล่องบริจาคใบเสร็จอย่าทิ้ง ช่วงบ่ายบุคคลร่วมกิจกรรม Big Cleaning Day จัดการขยะในสำนักงาน#Slipใบเสร็จอย่าทิ้งรับบริจาคใบเสร็จที่ใช้แล้วทุกชนิด นำไปรีไซเคิลเป็นสมุดบันทึกเล่มใหม่ นำไปให้น้องๆ โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ#ฝาขวดพลาสิกอย่าทิ้งรับบริจาคฝาขวดพลาสิก" เพื่อน่าไป จานรองแก้ว สําหรับให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากรที่ใช้บริการสำนักหอสมุดสามารถร่วมกิจกรรม Slipใบเสร็จอย่าทิ้ง และฝาขวดพลาสิกอย่าทิ้ง ได้ที่ สนง. ชั้น 1 อาคารเรียนรวมสาขาวิศวกรรมศาสตร์ร่วมเล่นฟิลเตอร์ ig world environment day https://b.snow.me/u/blidcimzn2
9 มิถุนายน 2566     |      155
คว้า 2 รางวัล จากการเข้าร่วมประกวด SAFE Innovation (Product Innovation Competition) ในงาน SAFE2023 International Conference Sustainable Agriculture, Food, and Energy ระหว่างวันที่ 28-29 พฤษภาคม 2566
นักศึกษาและคณาจารย์จากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คว้า 2 รางวัล จากการเข้าร่วมประกวด SAFE Innovation (Product Innovation Competition) ในงาน SAFE2023 International Conference Sustainable Agriculture, Food, and Energy ระหว่างวันที่ 28-29 พฤษภาคม 2566รางวัลเหรียญทอง จากผลงาน “Long Gun Shot: Encapsulation of crude extract powder from Dimocarpus longan” โดย นางสาววรัญญา เฟื่องชุ่ม ผศ.ดร.นักรบ นาคประสม ผศ.ดร.ปาวลี ชมภูรัตน์ ตฤธนเกียรติ และผศ.ดร.กาญจนา นาคประสมรางวัลเหรียญเงิน จากผลงาน “COBICA Cold brew coffee with innovation process” โดย นางสาวนฤมล บุญมี ผศ.ดร.นักรบ นาคประสม และ ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสมโดยการประกวด Innovation (Product Innovation Competition) เน้นกระบวนการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่หรือเพิ่มคุณสมบัติให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่อย่างสร้างสรรค์เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ข้อกำหนดสำหรับการแข่งขันนวัตกรรมผลิตภัณฑ์: ความพึงพอใจของผู้ใช้, ความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี, ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ, การใช้งานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, ผลกระทบทางสังคม
9 มิถุนายน 2566     |      915
การแข่งขันนำเสนอแนวคิดธุรกิจนวัตกรรม Idea to Business ในโครงการ Startup Thailand League 2023
ขอแสดงความยินดี กับทีมนักศึกษาคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ทั้ง 2 ทีม ได้แก่ ทีม1. Blis Team นักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร2. ปรุงปุ๋ย Team นักศึกษาจากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ร่วมกับคณะผลิตกรรมการเกษตรจากการแข่งขันนำเสนอแนวคิดธุรกิจนวัตกรรม Idea to Business ในโครงการ Startup Thailand League 2023 สนามที่ 2 โดยนักศึกษาตัวแทนจาก 9 มหาวิทยาลัยภาคเหนือ ในวันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP)โดยทั้ง 2 ทีม ได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 25,000 บาท และได้เป็นตัวแทนไปจัดแสดงต้นแบบผลิตภัณฑ์ในงาน Demo Day ร่วมกับตัวแทนทีมนักศึกษาทั่วประเทศ จำนวนทั้งหมด 100 ทีม ณ True Digital Park จังหวัดกรุงเทพมหานครฯ ในวันที่ 25 ก.ค 2566 นี้ต่อไปโดยการแข่งขันครั้งนี้มีตัวแทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมแข่งขันจำนวน 5 ทีม ได้แก่- ทีมที่ 1 Blis Team นักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร- ทีมที่ 2 Super Sentai นักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์- ทีมที่ 3 INDEX นักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับคณะบริหารธุรกิจ- ทีมที่ 4 Protein,S นักศึกษาจากคณะผลิตกรรมการเกษตร- ทีมที่ 5 ปรุงปุ๋ย นักศึกษาจากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ร่วมกับคณะผลิตกรรมการเกษตร
9 มิถุนายน 2566     |      123
Welcome Prof. Dr. Endang Warsiki, STP., MSI. Department of Agroindustrial Technology, Faculty of Agricultural Engineering and Technology, IBP University ,Indonesia
Welcome Prof. Dr. Endang Warsiki, STP., MSI. Department of Agroindustrial Technology, Faculty of Agricultural Engineering and Technology, IBP University ,Indonesiaวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 Prof. Dr. Endang Warsiki จาก Faculty of Agricultural Engineering and Technology, IBP University ,Indonesia มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิจัยและงานวิชาการ รวมถึงหารือเพื่อต่อยอดความร่วมมือด้านงานวิจัย การแลกเปลี่ยนนักศึกษา โดยในภาคการศึกษานี้ มีนักศึกษามาปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ในการดูแลของ ผศ.ดร.ชนันท์ภัสร์ ราษฎร์นิยม จำนวน 3 คนในช่วงบ่าย รศ.ดร.สุเนตร สืบค้า ผศ.ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ ผศ.ดร.ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย นักศึกษา และเจ้าหน้าที่สาขา ได้นำชมเครื่องมือ ห้องปฏิบัติการ เครื่องทดสอบ ต่าง ๆ เพื่อต่อยอดความร่วมมือด้านงานวิจัย ร่วมถ่ายความความรู้ด้านวิศวกรรมเกษตรให้กับ Dr. Endang Warsiki และนักศึกษาทั้ง 3 คน Naflah Khalisah Ryan Rafaeland Chairunnisah Putri
9 มิถุนายน 2566     |      46
เหรียญทอง จากการนำผลงานวิจัย เรื่อง เทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมีเพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก
ขอแสดงความยินดี กับรองศาสตราจารย์ ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์ อาจารย์สังกัดสาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรได้รับรางวัล เหรียญทอง จากการนำผลงานวิจัย เรื่อง "เทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมีเพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก" ซึ่งเป็นผลงานที่ผ่านการคัดเลือกโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เข้าร่วมประกวดในงาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ณ เมืองคาโตไวซ์ สาธารณรัฐโปแลนด์ ในระหว่างวันที่ 22-28 พฤษภาคม 2566เทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมีเพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเฮอร์เดิลระหว่างก๊าซโอโซนและสารเคมี เพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าที่ตกค้่างปนเปื้อนในผลทุเรียน พบว่าการใช้สเปรย์ NaOCl และตามด้วยการรมก๊าซโอโซนที่ 900 ppm แล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง สามารถลดปริมาณไวรัส PEDV ที่ตกค้างให้ต่ำกว่าเกณฑ์วัดขั้นต่ำ cut-off ของชุดทดลองที่ค่า Ct>36=negative ซึ่งถือว่าเป็นการลดปริมาณไวรัสปนเปื้อนได้ 100% ผลทุเรียนที่ทดสอบมีอัตราสุกตามปกติแสดงให้เห็นว่าการบำบัดร่วมไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของทุเรียน ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และความร่วมมือจากสมาคมทุเรียนไทย
9 มิถุนายน 2566     |      42777
ร่วมนำเสนอผลการดำเนินงานภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 พ.ค.66 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย ได้เข้าร่วมนำเสนอผลการดำเนินงานภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ให้แก่อนุกรรมการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย( Reinventing University ) ประกอบด้วย ศ.พีระพงศ์ ทีฆสกุล ประธานคณะอนุกรรมการด้านการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย และคณะอนุกรรมการฯ โดยมี ผศ.พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้การต้อนรับ ณ อาคารศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรม เพื่อยกระดับไปสู่การสนับสนุนการสร้างรายได้ด้วย High Value BCG Agro Products สร้างพื้นที่เรียนรู้การพัฒนาผู้ประกอบการ การยกระดับวิสาหกิจชุมชน และการจัดทำข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ ที่มหาวิทยาลัยได้พัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ จากการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญภายในเข้าสู่กระบวนการ Up-skill, Re-skill ตลอดจนคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญภายนอก โดยจับคู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนภารกิจการพลิกโฉมอย่างแท้จริง
9 มิถุนายน 2566     |      100
ทั้งหมด 78 หน้า