คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมส่งเสริมสินค้าเกษตรพื้นถิ่นสู่ความยั่งยืน
วันที่ 14 มกราคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศนวัตกรรมสมัยใหม่ และหน่วยวิจัยสมาร์ทฟาร์มและโซลูชั่นทางการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อ "การบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยีแอปพลิเคชัน"การบรรยายครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น" ปีงบประมาณ 2568 (รุ่นที่ 2) จัดโดย สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำพูน ณ ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตรประตูป่า จำกัด ตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูนการบรรยายในครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของคณะฯ ในการให้บริการวิชาการและสนับสนุนการพัฒนาเกษตรกรรมสมัยใหม่ โดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนในพื้นที่
26 มีนาคม 2568     |      21
การตรวจสอบมาตรฐานการผลิตสินค้าลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม รองประธานคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นำพร ปัญโญใหญ่ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ลงพื้นที่ตรวจสอบมาตรฐานการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สำหรับลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูน ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567การตรวจสอบจัดขึ้น ณ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทองบ้านสันป่าเหียง ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับมาตรฐานและควบคุมคุณภาพการผลิตของลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูน ให้เป็นไปตามคู่มือปฏิบัติงาน เพื่อรักษามาตรฐานสินค้า GI ให้เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือในตลาดคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถือว่าการร่วมลงพื้นที่ครั้งนี้เป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญด้านการบริการวิชาการและวิจัย ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานสินค้าท้องถิ่น และสนับสนุนการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
26 มีนาคม 2568     |      24
อาจารย์วิศวกรรมเกษตร คว้ารางวัลบทความยอดเยี่ยมด้านสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับ สมาคมพลังงานทดแทนชุมชนแห่งประเทศไทย ได้จัด งานประชุมสัมมนาวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนเพื่อชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17 (TREC-17) ภายใต้หัวข้อ “เทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่เหมาะสมสำหรับการขยายผลสู่ชุมชนอัจฉริยะ” ระหว่างวันที่ 28 – 30 ตุลาคม 2567ในการประชุมครั้งนี้ อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำอาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้นำเสนอบทความวิจัยเรื่อง“การลดก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกองจากเศษใบไม้ในป่าชุมชนพื้นที่อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่”บทความนี้ได้รับรางวัล บทความยอดเยี่ยมด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อความเป็นเลิศสำหรับชุมชน (4A) ซึ่งยกย่องผลงานที่มีความโดดเด่นในการนำไปใช้แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนทีมวิจัยที่ร่วมสร้างผลงานนี้ ได้แก่:แสนวสันต์ ยอดคำชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตรนเรศ ใหญ่วงศ์นนท์ นาคะเสถียรพงษ์พนัส คะชะนาศิริลักษณ์ บ่อสร้างรางวัลนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นและความร่วมมือระหว่างนักวิจัย ชุมชน และองค์กรเอกชน (เครือเจริญโภคภัณฑ์) ในการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอย่างเหมาะสมสำหรับชุมชนอัจฉริยะ
26 มีนาคม 2568     |      20
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับทีมนักวิจัย คว้ารางวัล Best Presentation Award ในงาน "Hylife Innovation Excellence Awards 2024"
วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2567 – คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นักรบ นาคประสม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร ร่วมกับบริษัท บิสท์ อินโน รีฟอร์ม จำกัด ที่ได้รับ รางวัลพิเศษ Best Presentation Award ในงาน "Hylife Innovation Excellence Awards 2024"ทีมนักวิจัยได้รับรางวัลจากผลงาน “Imuneup: สารสำคัญเชิงหน้าที่จากไมซีเลียมถั่งเช่าสีทอง” ซึ่งโดดเด่นทั้งในด้านนวัตกรรมและการนำเสนอ โดยได้รับเงินรางวัลมูลค่า 5,000 บาท พร้อม ประกาศนียบัตร เกียรติยศนอกจากนี้ ทีมวิจัยยังเป็น เจ้าของอนุสิทธิบัตรกระบวนการผลิตเครื่องดื่มไมซีเลียมถั่งเช่าเห็ดสีทอง ซึ่งสะท้อนถึงศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้งานนี้จัดขึ้นโดย กลุ่มบริษัทไฮไลฟ์ ร่วมกับ สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และ เครือข่ายนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจ ณ โรงแรมแชงกรีลา เชียงใหม่ เพื่อสนับสนุนผลงานนวัตกรรมที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จของทีมนักวิจัยครั้งนี้ และขอสนับสนุนให้นำผลงานต่อยอดสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต
26 มีนาคม 2568     |      21
การพัฒนาทักษะเกษตรกรเป็นผู้ควบคุมโดรน (Drone) เพื่อการเกษตรสำหรับเกษตรกร
วันที่ 3-6 กันยายน 2567 ?ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ หัวหน้าหน่วยวิจัยสมาร์ทฟาร์มและโซลูชั่นทางการเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง การพัฒนาทักษะเกษตรกรเป็นผู้ควบคุมโดรน (Drone) ?จัดโดย กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรได้ทราบถึงองค์ความรู้ และสามารถประยุกต์ใช้ทักษะโดรนเพื่อการเกษตรและส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายบริการเครื่องจักรกลทางการเกษตร ร่วมกันของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ที่เป็นอัจฉริยะสอดคล้อง กับแนวคิดสีเขียวห่วงใยโลกและสิ่งแวดล้อม (Smart is the New Green)
24 มีนาคม 2568     |      26
Thailand Education EXPO 2024
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมประชาสัมพันธ์หลักสูตรในโครงการ Thailand Education EXPO 2024วันที่ 17 สิงหาคม 2567 คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมโครงการ Thailand Education EXPO 2024 ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จ.เชียงใหม่ เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรที่เปิดสอนแก่เหล่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายภายในงาน นักเรียนและผู้ปกครองได้มีโอกาสพูดคุยและรับข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรต่าง ๆ ของคณะฯ รวมถึงแนวทางการเตรียมตัวในการเลือกคณะศึกษาต่ออย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้นักเรียนสามารถวางแผนอนาคตทางการศึกษาได้อย่างมั่นใจและชัดเจนยิ่งขึ้นคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้.
24 มีนาคม 2568     |      21
การขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุน FTA
งานบริการวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรขอเชิญชวนบุคลากรทุกท่าน เข้าร่วมโครงการนักวิจัยพบแหล่งทุนภายนอกโดยครั้งนี้ จัดในหัวข้อเรื่อง "การขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุน FTA"วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00-12.00 น.ผ่านระบบ microsoft Teamกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนเงินทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ในการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ปฏิรูปผลิตผลทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพ การแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและอาหารhttps://www.ftaoae.com/index
21 มีนาคม 2568     |      20
ครงการนักวิจัยพบแหล่งทุนภายนอก โดยครั้งนี้ จัดในหัวข้อเรื่อง "การขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุน FTA"
งานบริการวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรขอเชิญชวนบุคลากรทุกท่าน เข้าร่วมโครงการนักวิจัยพบแหล่งทุนภายนอกโดยครั้งนี้ จัดในหัวข้อเรื่อง "การขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุน FTA"วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00-12.00 น.ผ่านระบบ microsoft Teamกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนเงินทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ในการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ปฏิรูปผลิตผลทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพ การแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและอาหารhttps://www.ftaoae.com/index
20 กรกฎาคม 2567     |      287
ทั้งหมด 4 หน้า