คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY
มหาลัยมหาหลอกปิดเปิดเทอมตามอาเซียน??? โดย สุพจน์ เอี้ยงกุญชร มติชนรายวัน 29 กันยายน 2558
       กรณีการเลื่อนเวลาปิดเปิดเทอมมหาวิทยาลัยไทยตามอาเซียนที่เป็นอยู่ขณะนี้คือ จากเดิมที่เคยเปิดเทอมแรกในเดือนมิถุนายนแล้วไปปิดเทอมย่อยในเดือนตุลาคม และไปเปิดเทอมสองในเดือนพฤศจิกายนแล้วไปปิดเทอมใหญ่ในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมนั้น ได้เปลี่ยนมาเปิดเทอมแรกในเดือนสิงหาคมแล้วไปปิดเทอมย่อยในเดือนธันวาคม และเปิดเทอมสองในเดือนมกราคมแล้วไปปิดเทอมใหญ่กลางเดือนพฤษภาคมถึงปลายเดือนกรกฎาคม กล่าวคือ มหาวิทยาลัยไทยเลื่อนเวลาเรียนออกไปราว 2 เดือนทั้งระบบ โดยอ้างว่าเป็นการปิดเปิดเทอมตามอาเซียนที่กำลังจะรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนปลายปีนี้ ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยไทยต้องเปิดให้มีการเรียนการสอนตรงกับช่วงฤดูฝน (มิถุนายน-กันยายน) อย่างเต็มๆ ในเทอมแรก และต้องเรียนต้องสอนกันในช่วงฤดูร้อน (มีนาคม-พฤษภาคม) อย่างเต็มๆ ในเทอมสอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดูไม่เข้าท่า       ตั้งแต่แรกแล้ว และไม่มีใครคาดคิดว่าสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะดำเนินการอย่างนี้จริงๆ เพราะเชื่อว่าผู้บริหารการศึกษาระดับสูงน่าจะคิดได้ถึงผลกระทบที่จะมีต่อภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย ดังนั้น จึงไม่มีใครออกมาคัดค้านอย่างจริงจังเสียแต่แรก แต่เมื่อ สกอ.สั่งการลงมาจริงๆ มหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ทำตามเหมือนเด็กว่าง่าย เพราะอธิการบดีส่วนใหญ่คงตกอยู่ในบริบทที่ว่า ตามเขาดูเหมือนเก่ง บ้างก็ว่าทดลองดูไปก่อน หากไม่เหมาะสมก็เปลี่ยนกลับมาแบบเดิม ซึ่งสุดท้ายก็เกิดปัญหามากมายตามมาอย่างที่ทราบๆ กันอยู่       สำหรับ ความไม่เหมาะสมของการปิดเปิดเทอมมหาวิทยาลัยตามอาเซียนนั้นเป็นเพราะมีการ เรียนการสอนในช่วงที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะเกิดพายุและน้ำท่วม (กันยายนและตุลาคม) ในช่วงเทอมแรก และมีการเรียนการสอนในช่วงที่อากาศร้อนสุดสุด (เมษายนและพฤษภาคม) ในช่วงเทอมสองนั่นเอง และปัญหาอื่นๆ ที่ตามมาอีกมากมายดังที่ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ได้เคยสรุปไว้ในมติของ ปอมท. เรื่องการปิดเปิดเทอมมหาวิทยาลัยไทยตามอาเซียนในคราวประชุม ปอมท. ครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (นสพ.มติชน ฉบับวันที่ 23 มิถุนายน 2558) หลังจากปล่อยให้มีการปิดเปิดเทอมมหาวิทยาลัยตามอาเซียนมาจนครบหนึ่งปีการศึกษา (2557) แล้ว มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ก็พบปัญหาที่ตามมามากมาย หลายฝ่ายจึงออกมาคัดค้านอย่างจริงจัง อาทิ กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยไทยได้รณรงค์คัดค้านเรื่องนี้ผ่านทาง www.change.org ซึ่งขณะนี้มีผู้ลงชื่อคัดค้านแล้วกว่า 2 หมื่นรายชื่อ ขณะที่ตัวแทนคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มีมติเสนอให้ สกอ.ทบทวนเรื่องนี้ แต่ สกอ.ก็ยังคงยืนยันจะไม่ทบทวน และขณะนี้ได้เปิดเทอมแรกของปีการศึกษา (2558) ไปแล้ว นั่นหมายความว่า มหาวิทยาลัยไทยจะต้องเปิดเทอมที่สองตามอาเซียนต่อไปอีกหนึ่งปีการศึกษาเป็นอย่างน้อยตามข้ออ้างของผู้เสนอให้มหาวิทยาลัยมีการปิดเปิดเทอมตามอาเซียนนั้น นับเป็นเรื่องตลกร้ายที่สุดเพราะแท้จริงแล้วกลับพบว่า การปิดเปิดเทอมของมหาวิทยาลัยไทยที่เปลี่ยนไปนี้ ไม่ได้สอดคล้องอะไรกับมหาวิทยาลัยของประเทศต่างๆ ในอาเซียนเลย เพราะแต่ละประเทศในอาเซียนมีช่วงเวลาปิดเปิดเทอมที่หลากหลาย (ดังตาราง) แม้แต่ประเทศลาวที่ดูเหมือนมีช่วงปิดเปิดเทอมตรงที่สุดกับประเทศไทย (ดูเหมือนไทยเปลี่ยนตามลาว) ก็ยังไม่จริง เพราะเทอมแรกของมหาวิทยาลัยไทยตรงกับเทอมสองของมหาวิทยาลัยลาว แล้วอย่างนี้จะอ้างว่า เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของอาเซียนได้อย่างไร?ถึงตรงนี้ จึงไม่ทราบว่าใครถูกหลอกและใครหลอกใคร ระหว่างที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และคนในมหาวิทยาลัยที่ถูกหลอกมาตลอด เชื่อว่าเรื่องนี้จะต้องมีเบื้องหน้าเบื้องหลังในการเสนออย่างแน่นอน แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะประเด็นสำคัญคือ เราจะยอมให้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนี้บั่นทอนคุณภาพของอุดมศึกษาไทยต่อไปอีกหรือ? เพราะได้เห็นกันชัดๆ แล้วว่า ในปีการศึกษา 2557 ที่ผ่านมา การปิดเปิดเทอมที่ว่าตามอาเซียนนั้น นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์อย่างเป็นชิ้นเป็นอันต่อวงการอุดมศึกษาไทยในภาพรวมแล้ว แต่กลับเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงต่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ และเป็นอุปสรรคต่อการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไทย ซึ่งล้วนเป็นภารกิจหลักที่สำคัญของมหาวิทยาลัยไทยทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีผลกระทบไปถึงครอบครัว สังคม และประเทศชาติในด้านการใช้พลังงานและทรัพยากรอีกด้วย ปัจจุบันมหาวิทยาลัยไทยนับว่าอยู่รั้งท้ายในกลุ่มอาเซียน แต่ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่บ่งบอกถึงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ได้ผลอย่างชัดเจน ทั้งการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก การปรับเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และการปรับโครงสร้างกระทรวง รวมทั้งการปรับเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีเป็นว่าเล่น ดูเหมือนจะมีแต่การเปลี่ยนแปลงที่ล้วนบั่นทอนคุณภาพการศึกษาและลดประสิทธิภาพการทำงานของมหาวิทยาลัยลงไปอีกแทบทั้งสิ้นขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการก็เพิ่งได้รัฐมนตรีว่าการและช่วยว่าการชุดใหม่ รวมทั้งกำลังจะได้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาคนใหม่ จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้มีการทบทวนเรื่องนี้กันอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง เพราะผู้บริหารชุดที่แล้วเคยยืนยันว่าจะไม่ทบทวนเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่มีหลายฝ่ายออกมาให้ข้อมูลและเหตุผลว่าควรปรับคืนไปเหมือนเดิม แต่ไม่รู้ว่าด้วยอัตตาที่สูงเกินขีดธรรมดา หรือเป็นเพราะยังคงอยู่ในบริบทที่ว่า "ตามเขาดูเหมือนเก่ง คิดเองดูเหมือนโง่" ปัญหาจึงยังคงอยู่ หากปล่อยให้เวลาล่วงเลยต่อไป การเปลี่ยนแปลงแก้ไขก็จะยิ่งยุ่งยากซับซ้อนไปอีก เพราะธรรมชาติของผู้ปฏิบัติมักจะเคยชินกับงานประจำจนมองไม่เห็นปัญหา เหมือนอีกหลายๆ เรื่องในวงการศึกษาไทยที่พลาดไปจนไม่อาจแก้ไขได้ในทุกวันนี้Cr: มติชนรายวัน 29 กันยายน 2558      สุพจน์ เอี้ยงกุญชร      คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่โจ้
10 ตุลาคม 2558     |      747
มติ ปอมท.เรื่องการเปิด ปิดเทอมมหาวิทยาลัยไทยตามอาเซียน โดย สุพจน์ เอี้ยงกุญชร (มติชนรายวัน 23 มิ.ย.2558)
หลังจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้เปลี่ยนเวลาเปิด-ปิดเทอมมหาวิทยาลัยไทยตามอาเซียนมาได้หนึ่งปีการศึกษา แล้วนั้น ทั้งอาจารย์และนักศึกษาในมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงต่างออก มายืนยันถึงความไม่เหมาะสมกันอย่างกว้างขวางและในที่สุดที่ประชุมประธานสภา อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย(ปอมท.)จึงได้นำเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นวาระ พิจารณาในคราวประชุม ปอมท.ครั้งที่ 5/2558 ที่จัดประชุมขึ้นระหว่างวันที่ 29-31 พฤษภาคม พ.ศ.2558 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งผลการพิจารณาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2558 ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยกเลิกการเปิด-ปิดมหาวิทยาลัยตามอาเซียน โดยให้ประธาน ปอมท.ทำหนังสือเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพิจารณาทบทวนความ เหมาะสม ด้วยเหตุผลด้านผลเสียที่เกิดขึ้นหลายประการ ดังนี้ ประการแรก เป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากในช่วงเทอมที่ 2 จะคาบเกี่ยวกับช่วงฤดูร้อนเต็มๆ (ทั้งเดือนมีนาคม เดือนเมษายน และการสอบปลายภาคช่วงต้นเดือนพฤษภาคม) โดยเฉพาะเดือนมีนาคมและเมษายนอันเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนที่สุดในรอบปี สภาพอากาศร้อนย่อมมีผลทำให้การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพ และเดือนเมษายนยังมีวันหยุดมาก (รวมไม่น้อยกว่า 5-8 วัน) ทั้งเทศกาลสงกรานต์ วันจักรี และวันเกณฑ์ทหาร ทำให้การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากขาดความต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้น กิจกรรมและการเรียนการสอนภาคปฏิบัตินอกห้องเรียนแทบจะกระทำไม่ได้เลยในช่วงเทอมนี้ ประการที่2เป็น อุปสรรคต่อการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเนื่องจากเดือนเมษายนนั้นอาจถือได้ว่า เป็นเดือนแห่งประเพณีและวัฒนธรรมไทย เพราะเดือนนี้มีวันสำคัญด้านประเพณีและวัฒนธรรมมากที่สุดในรอบปี ทั้งวันปีใหม่ไทย วันผู้สูงอายุ และวันครอบครัว รวมไปถึงวันเช็งเม้งของคนไทยเชื้อสายจีน การเรียนการสอนในช่วงนี้ทำให้ทั้งอาจารย์และนักศึกษาไม่อาจเข้าร่วมกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญดังกล่าวได้ไม่ว่าจะเป็นการใส่บาตรทำบุญการฟัง เทศน์ฟังธรรมการสรงน้ำพระ การขนทรายเข้าวัด การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และการร่วมกิจกรรมอื่นๆ ในครอบครัว ที่สภาพเศรษฐกิจและสังคมมีผลทำให้สมาชิกในครอบครัวหาเวลาอยู่ด้วยกันอย่าง พร้อมหน้าพร้อมตาแทบจะไม่มีแล้วในยุคปัจจุบัน ประการที่3เป็น อุปสรรคต่อการหางานของบัณฑิตเนื่องจากนักศึกษาจะจบไม่ทันช่วงฤดูรับสมัครงาน โดยเฉพาะงานราชการที่มักเปิดรับสมัครในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคมซึ่งนัก ศึกษายังไม่จบการศึกษาเหมือนก่อนหน้านี้นอกจากนี้กำหนดการเกณฑ์ทหารในรอบปี ก็อยู่ในช่วงเทอมที่สองนี้หากนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายขอผ่อนผันต่อโดยไม่ไป เข้ารับการคัดเลือกเกณฑ์ทหาร นักศึกษาก็จะมีปัญหาที่อาจไม่สามารถสมัครงานได้เมื่อจบการศึกษาตอนปลายเดือน พฤษภาคม เนื่องจากไม่มีใบรับรองการผ่านการเกณฑ์ทหาร (สด.9) แต่ถ้านักศึกษาเสี่ยงไปเข้ารับการคัดเลือกเกณฑ์ทหารในเทอมที่สองนี้ หากได้รับการคัดเลือกก็จะยิ่งมีปัญหามากขึ้นไปอีกเพราะยังเรียนไม่จบ นั่นคือจะต้องลาพักการศึกษาเป็นปี ปัญหาบัณฑิตตกงานจึงมีโอกาสสูงขึ้นมากด้วยสาเหตุเหล่านี้ ประการที่ 4 เป็นอุปสรรคต่อเอกภาพทางการศึกษาของชาติ ทำให้เกิดปัญหาความไม่ต่อเนื่องระหว่างอุดมศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เนื่องจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไม่ได้เปลี่ยนการเรียนการสอนในระดับประถมและมัธยมตามอาเซียนอย่างมหาวิทยาลัย จึงเกิดความลักลั่นระหว่างมหาวิทยาลัยและมัธยม โดยเฉพาะการเรียนการสอนในคณะศึกษาศาสตร์ที่มีความยุ่งยากในการสาธิตและฝึกสอน เพราะช่วงเวลาไม่สอดคล้องกับการเรียนในขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะต้องเสียเวลาในการรอเรียนชั้นปีที่ 1 ในระดับมหาวิทยาลัยนานหลายเดือน ซึ่งนอกจากจะไม่เป็นผลดีแต่อย่างใดแล้ว ซ้ำยังเป็นความเสี่ยงต่อความหลงระเริงในการเที่ยวเตร่ในช่วงเวลาดังกล่าวอีกด้วย ประการที่ 5 เป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องปรับอากาศสำหรับห้องเรียน และการที่นักศึกษายังคงต้องอยู่รวมกันมากๆ ในเมืองอันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่นั้น ทำให้มีการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปามากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งๆ ที่ช่วงเวลาดังกล่าวนี้ควรจะต้องพยามยามลดการใช้ไฟฟ้าลง เพราะการผลิตไฟฟ้าอาจไม่เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากปกติช่วงฤดูนี้มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงที่สุดในรอบปีอยู่แล้ว และควรต้องลดการใช้น้ำประปาลงด้วย เพราะเป็นช่วงฤดูแล้งที่มักขาดแคลนน้ำดิบสำหรับการผลิตน้ำประปาเช่นเดียวกันด้วย ประการที่ 6 เกิดปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของอาจารย์และนักศึกษา รวมไปถึงผู้ปกครอง เนื่องจากต้องฝืนทำกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะการเรียนการสอนในสภาวะที่ไม่เหมาะสมกับธรรมชาติ ทั้งการเจ็บไข้จากสภาพอากาศร้อนจัดและการสะสมความเครียดในภาวะต่างๆ เช่น การตากแดด การเดินทาง การปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติและกิจกรรมที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเรียนอยู่ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับประถมหรือมัธยมศึกษา เป็นต้น ประการที่ 7 เกิดปัญหาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาจารย์ไทยกับต่างประเทศ เนื่องจากต่างมีภาระการสอนตรงกัน (เปิดและปิดเทอมตรงกันหมด) การที่อาจารย์ไทยจะไปดูการเรียนการสอนเพื่อหาประสบการณ์ตรงในต่างประเทศย่อมทำได้ยาก เพราะจะมีผลกระทบกับการเรียนการสอนในความรับผิดชอบของตนเอง แม้กรณีนี้จะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบเพียงเล็กน้อย แต่ความสำคัญนั้นอยู่ตรงที่เป็นความเห็นต่างที่ตรงกันข้ามกับที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ทปอ.) โดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ยังมีปัญหาปลีกย่อยของแต่ละหลักสูตรในแต่ละคณะของแต่ละมหาวิทยาลัยอีกมากมาย ที่มีปัญหาเฉพาะตนด้วยมีบริบทที่แตกต่างกัน ทั้งด้านภูมิประเทศ ด้านภูมิอากาศ และด้านสังคม ที่อาจนำมากล่าวอ้างเพื่อสนับสนุนมติของ ปอมท.ได้ แต่อย่างไรก็ดี ลำพังเหตุผลข้อที่ 1-3 ซึ่งเป็นผลเสียต่อภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยอย่างชัดเจนนั้น ก็น่าจะมีน้ำหนักเพียงพอที่จะทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการ สกอ.เห็นชอบกับมติของ ปอมท.ได้แล้ว ถึงตรงนี้ จึงขอได้โปรดคืนความสุขให้กับอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยไทยด้วยเถอะที่มา: : ภาพและข้อความจาก มติชนออนไลน์ : http://www.matichon.co.th
6 สิงหาคม 2558     |      775
พอหรือยังมหาวิทยาลัยไทย? กับการปิด-เปิดเทอมตามอาเซียน โดย สุพจน์ เอี้ยงกุญชร (มติชนรายวัน 12 พ.ค.2558)
ตั้งแต่เหล่าประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีข้อตกลงร่วมกันจะรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวในรูป ของประชาคมอาเซียน โดยได้ประกาศจะรวมตัวกันอย่างเป็นทางการในต้นปี ค.ศ.2015 ก่อนจะเลื่อนมาเป็นปลายปี 2015 นี้นั้น กระทรวงศึกษาธิการก็ได้เตรียมการเข้าร่วมด้วยอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้กระตุ้นให้มหาวิทยาลัยต่างๆ เตรียมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ และหนึ่งในการเตรียมตัวที่เห็นเป็นรูปธรรมก็คือ การปรับเวลาปิดและเปิดเทอมของมหาวิทยาลัยตามอาเซียน ซึ่งได้เริ่มปฏิบัติอย่างจริงจังแล้วในปีการศึกษา 2557 ที่ผ่านมาสดๆ ร้อนๆ นี้ โดยอ้างข้อดีไว้ 4-5 ข้อ ดังนี้ 1.เพื่อความเป็นเอกภาพของภูมิภาคอาเซียน 2.เพื่อให้นักเรียนนักศึกษามีโอกาสทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันได้สะดวกขึ้นเพราะมีเวลาเรียนและเวลาหยุดตรงกัน 3.การแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยในอาเซียนจะทำได้ง่ายขึ้นเพราะมีเวลาเรียนตรงกัน โดยเฉพาะการจัดทำหลักสูตรร่วมกัน 4.ไม่เสียเวลาเมื่อนักเรียนนักศึกษาจากประเทศหนึ่งจะไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของอีกประเทศหนึ่ง 5.เกิดความเสมอภาค ไม่ได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างกันในการจบการศึกษาและหางานทำ 6.เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา ทุก ข้อที่กล่าวมานี้ เป็นเหตุผลเท่าที่ผู้เขียนทราบจากทางฝ่ายผู้เสนอให้มหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยน เวลาปิดและเปิดเทอมตามอาเซียน ซึ่งเรื่องนี้ไม่เคยมีการสอบถามความเห็นจากนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนใน มหาวิทยาลัยแต่อย่างใด แม้เคยมีผู้แสดงความเห็นคัดค้าน แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร บัดนี้การปรับเปลี่ยนเวลาปิด-เปิดเทอมตามอาเซียนได้ปฏิบัติมาจนครบรอบปีการ ศึกษาหนึ่งแล้ว ลองกลับมาพิจารณาดูว่า มันเป็นเรื่องการพัฒนาตามที่ผู้เสนออ้างจริงหรือไม่ เมื่อ ลองย้อนกลับมาพิจารณาข้ออ้างเหล่านี้ดูจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ข้อ 1-4 นั้น ที่จริงมันเป็นข้อเดียวกัน แต่ดูเหมือนฝ่ายเสนอจะพยายามทำให้ดูว่ามีหลายข้อ ส่วนข้อ 5 ก็ดูเหมือนผู้เสนอจะใช้หลักคิดแบบเดิมๆ ว่า ความเสมอภาคคือการที่ต้องมีปัจจัยเหมือนๆ กัน เท่าๆ กัน และ ข้อ 6 ก็ดูเหมือนผู้เสนอจะทึกทักเอาเองว่า การปิดและเปิดเทอมตามอาเซียนนั้นเป็นการพัฒนา มิใช่แค่การปรับเปลี่ยนธรรมดาๆ ซึ่งทำให้ดูเหมือนไม่มีโอกาสเลยที่การปิดเปิดเทอมตามอาเซียนจะมีข้อเสียหรือ ทำให้เกิดความเสื่อมถอยตามมา สํา หรับข้อแรกนั้นดูเข้าท่าตรงที่ว่า กลุ่มประเทศเดียวกันจะทำอะไร ก็ควรทำให้เหมือนๆ กัน และดูเหมือนจะประสบความสำเร็จตั้งแต่มหาวิทยาลัยต่างๆ ของไทยยอมปิด-เปิดเทอมตามอาเซียนแล้ว จึงนับได้ว่ามหาวิทยาลัยของอาเซียนมีความเป็นเอกภาพกันทั้งภูมิภาคในระดับ หนึ่งแล้วในขณะนี้ ส่วนข้อ 2 ยังไม่อาจประเมินได้ว่าเมื่อปิดเทอมพร้อมกันแล้วนักศึกษาในอาเซียนมีการร่วม ทำกิจกรรมกันมากน้อยแค่ไหน แต่เท่าที่ทราบคงไม่ได้น้อยไม่ได้มากไปจากเดิม เพราะยังไม่เห็นโครงการหรือกิจกรรมอะไรเพิ่มขึ้นมาอย่างชัดเจน แม้แต่ตัวนักศึกษาเองก็ยังคงมุ่งแต่กิจกรรมของตน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับอาเซียนเลย ข้อ ที่ 3 ก็คงไม่ต่างจากข้อ 2 เพราะเปอร์เซ็นต์ของการแลกเปลี่ยนนักศึกษาเป็นเรื่องของคนส่วนน้อยเมื่อ เปรียบเทียบกับนักศึกษาส่วนใหญ่ (ไม่น่าถึงร้อยละหนึ่ง) และนักศึกษาไทยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ให้ความสนใจการแลกเปลี่ยนในกลุ่มอาเซียนเท่า กับการไปทำงานและท่องเที่ยว (Work and Travel) ในกลุ่มประเทศทางยุโรป อเมริกา หรือออสเตรเลีย ข้อ ที่ 4 เนื่องจากการปิด-เปิดเทอมของอาเซียนสอดรับกับการปิด-เปิดเทอมของมหาวิทยาลัย ในยุโรปและอเมริกาก็จริง ซึ่งทำให้คนที่จะไปเรียนต่อไม่ต้องเสียเวลาว่างไปครึ่งปีค่อนปี แต่เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องของคนส่วนน้อยอีกเช่นกัน และคนที่จะไปเรียนต่อก็คงไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องเวลาว่างนี้มากนัก ข้อ ที่ 5 เรื่องความเสมอภาคในการจบการศึกษาและการหางานทำนั้น ดูเหมือนผู้เสนอจะใช้กรอบความคิดเก่าๆ ที่ว่า เมื่อนักศึกษาเรียนจบก็ต้องไปสมัครงานตามฤดูกาลที่เคยมีมา (เหมือนระบบราชการ) ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้เป็นเช่นนั้นแล้ว คนรุ่นใหม่ไม่ได้มุ่งรับราชการหรือเป็นลูกจ้าง (มนุษย์เงินเดือน) แต่มุ่งเป็นเจ้าของกิจการหรือทำธุรกิจส่วนตัวมากขึ้น ดังนั้น ช่วงเวลาที่จบการศึกษาและการสมัครงานจึงไม่ใช่ประเด็นสำคัญแต่อย่างใด ข้อ สุดท้าย การพัฒนาที่คาดหวังจึงยังไม่เกิดขึ้นแม้จะมีการปรับเปลี่ยนเวลาปิด-เปิดเทอม แล้วก็ตาม แต่ผลกระทบในทางลบที่หลายฝ่ายได้คาดการณ์ไว้ได้เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้ ประการแรก บรรยากาศการเรียนการสอนไม่เอื้ออำนวยจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดในเดือนมีนาคม และเมษายน แม้ห้องเรียนจะใช้เครื่องปรับอากาศให้เย็นฉ่ำ แต่สภาพอากาศนอกห้องเรียนก็ไม่ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้เพิ่ม เติม แต่น่าจะเป็นอุปสรรคมากกว่า นอกจากนี้วิชาที่ต้องมีการเรียนการสอนนอกห้องเรียนก็ยิ่งทรมานทรกรรมต่อทั้ง ผู้สอนและผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง ประการที่สอง นับเป็นผลต่อเนื่องจากข้อแรกนั่นคือ ค่าไฟฟ้าจากการใช้เครื่องปรับอากาศจำนวนมหาศาล หลายมหาวิทยาลัยกำลังประสบวิกฤตค่าไฟฟ้าในเทอมที่สองนี้ และไม่ทราบว่าเป็นเพราะทุกมหาวิทยาลัยมีการเรียนการสอนพร้อมกันในเดือน เมษายนนี้หรือไม่ ที่ทำให้ปีนี้ยอดการใช้ไฟสูงสุด (Peak) ของประเทศถูกทำลายสถิติลงไปหลายครั้ง ประการที่สาม ดังเป็นที่ทราบกันดีว่า เดือนเมษายนมีวันหยุดมาก ทั้งวันจักรีและวันสงกรานต์ ซึ่งต้องหยุดไปอย่างน้อยก็ 4-5 วัน การเรียนการสอนในเดือนนี้จึงไม่ปะติดปะต่อ เรียนๆ หยุดๆ ประสิทธิภาพการเรียนและการสอนนั้นแทบไม่ต้องพูดถึง เพราะเป็นที่รู้ๆ กันทั้งผู้สอนและผู้เรียน เหมือนการเรียนภาคฤดูร้อน ซึ่งนักศึกษาปกติจะไม่ลงทะเบียนเรียนกันนั่นเอง ประการที่สี่ ทำลายภารกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยโดยตรง เพราะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งเป็นทั้งวัน ปี ใหม่ไทย วันผู้สูงอายุ และวันครอบครัว นักศึกษาและอาจารย์ไม่อาจไปร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมได้เหมือนอย่างเคย โดยเฉพาะนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด ประการที่ห้า สร้างความยากลำบากโดยไม่จำเป็น อาจารย์และนักศึกษาจำเป็นต้องแออัดอยู่ในเมือง (ที่ตั้งของมหาวิทยาลัย) แทนที่จะได้กลับไปพักผ่อนสบายๆ ในต่างจังหวัดหรือบ้านเกิด ผู้ปกครองต้องมีภาระเพิ่มในการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาที่ ต้องอยู่กับสภาพอากาศร้อนในเมือง ประการสุดท้าย การเปิดและปิดเทอมตามอาเซียนเป็นเหมือนบทพิสูจน์ว่า ประเทศไทยไม่ใช่ผู้นำทางการศึกษาในภูมิภาคนี้ หากเป็นผู้นำทางการศึกษาจริงคงต้องหาวิธีให้มหาวิทยาลัยของประเทศอื่นในอา เซียนหันมาปิด-เปิดเทอมตามประเทศไทย หรืออย่างน้อยก็ต้องยืนหยัดปิดเปิดเทอมตามแบบที่เหมาะสมของประเทศไทยเอง การ ปรับเปลี่ยนเวลาปิดและเปิดเทอมของมหาวิทยาลัยไทยในรอบปีการศึกษา 2557 ที่ผ่านมานี้ น่าจะเป็นบทพิสูจน์อย่างชัดเจนแล้วว่า ข้อดีที่คาดหวังนั้นยังไม่เกิดและไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ แต่ข้อเสียนั้นได้เกิดขึ้นแล้วอย่างชัดเจน หรือใครจะลองทำการสำรวจหรือทำวิจัยดูก็ได้ ซึ่งยังคงไม่สายเกินไปที่ สกอ.และ ทปอ.จะกลับมาทบทวนเรื่องนี้ หากไม่คิดจะแก้ไขก็เหมือนยืนยันว่าข้อเสียประการสุดท้ายที่กล่าวไว้ข้างต้น เป็นความจริง และคงไม่แปลกที่อุดมศึกษาไทยจะรั้งท้ายอาเซียนตลอดไปที่มา : ภาพและข้อความจาก มติชนออนไลน์ : http://www.matichon.co.th
6 สิงหาคม 2558     |      747
ภาษาไทย ในอนาคตอันใกล้นี้ โดย สุพจน์ เอี้ยงกุญชร (มติชนรายวัน 30 ก.ค.2558)
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ของโลกได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วยิ่ง แทบทุกคนในสังคมโลกล้วนมีการสื่อสารกันอย่างกว้างขวางทางคอมพิวเตอร์และ โทรศัพท์มือถือในระบบออนไลน์ หรือที่เรียกกันว่าโซเชียลมีเดีย (Social media) สังคมไทยจัดเป็นสังคมที่ค่อนข้างไวต่อการรับและถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ สังคมไทยจึงตกอยู่ในกระแสการสื่อสารด้วยระบบออนไลน์โดยง่าย และกลายเป็นสังคมที่เสพติดการสื่อสารในระบบออนไลน์อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง โดยเฉพาะการสื่อสารกันทางเฟซบุ๊ก (Facebook) และไลน์ (Line) อันเป็นช่องทางสื่อสารยอดนิยมของสังคมไทยในยุคนี้ สังคมไทยจึงตกเป็น "สังคมก้มหน้า" ด้วย อย่างที่เห็นๆ กันอยู่ในทุกวันนี้ อย่างไรก็ดี ไม่ว่าการสื่อสารจะเป็นช่องทางใด จะใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขนาดไหน แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารและภาษาที่ใช้ในการสื่อสารทางโซเชียลมีเดียของคนไทย ก็ยังคงเป็นภาษาไทย แม้จะเป็นภาษาไทยที่แตกต่างไปจากภาษาพูดและภาษาเขียนค่อนข้างมาก เพราะใช้คำศัพท์ใหม่ๆ และไม่ค่อยเป็นประโยคที่สมบูรณ์นัก แต่ก็ยังนับว่าดี เพราะยังเป็นที่เข้าใจกันได้ของหมู่คนในสังคมก้มหน้าทั้งปวง ภาษา ไทยที่ใช้ในโซเชียลมีเดียมักถูกตัดทอนให้สั้นลงและใช้ตัวอักษรที่สะดวกต่อ การพิมพ์(จิ้ม)บนแป้นพิมพ์ในหน้าจอของโทรศัพท์มือถือ เพราะความสะดวกรวดเร็วคือหัวใจสำคัญของการสื่อสารในยุคนี้ ด้วยเหตุนี้ อักขรวิธีของภาษาไทยจึงถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก นั่น คือสิ่งที่เห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้น อนาคตอันใกล้ของภาษาไทยที่เห็นได้ชัดที่สุดคืออักขรวิธีแบบใหม่นั่นเอง ถึงตรงนี้เมื่อพิเคราะห์ดูจะเห็นลักษณะของอักขรวิธีแบบใหม่ได้ดังนี้ การเลือกใช้ตัวอักษรเป็นพยัญชนะต้นน้อยลง ภาษาในโซเชียลมีเดียจะเลือกใช้แต่ตัวอักษรทั่วไปที่ใช้บ่อยๆ เพียงตัวเดียวเป็นพยัญชนะต้นแทนทุกตัวอักษรที่ออกเสียงเหมือนกัน ทั้งนี้ เพราะแป้นพิมพ์ในโทรศัพท์มือถือจะเอาตัวอักษรที่ถูกใช้บ่อยๆ มาไว้ในแป้นพิมพ์หน้าแรก ตัวอักษรที่ไม่ค่อยได้ใช้จึงตกไปอยู่ในแป้นพิมพ์หน้าถัดไป ซึ่งไม่สะดวกต่อการเรียกใช้ คนส่วนใหญ่จึงเลือกใช้แต่ตัวอักษรที่สะดวกต่อการใช้เท่านั้น โดยมากคนจึงเลือกใช้ตัว "ท" แทนทุกตัวที่ออกเสียงเหมือนกัน ดังนั้น ตัว "ธ" "ฑ" และ "ฒ" จึงไม่ค่อยถูกนำมาใช้อีกต่อไป เช่น คำว่า "เธอ" จึงเขียนเป็น "เทอ" คำว่า "ธง" จึงเขียนเป็น "ทง" เช่นเดียวกับตัว "ส" จะถูกเลือกใช้แทนอักษรทุกตัวที่ออกเสียงเหมือนกัน ดังนั้น ตัว "ศ" และ "ษ" จึงไม่ค่อยถูกใช้อีกต่อไป เช่น คำว่า "ศอก" จึงเขียนเป็น "สอก" คำว่า "เศษ" จึงเขียนเป็น "เสด" เป็นต้น ซึ่งในที่สุดจะมีตัวอักษรที่ไม่ค่อยได้ใช้เพิ่มขึ้นอีกมากกว่า 10 ตัว นั่นคือ ฆ ฌ ฎ ฏ ณ ญ ภ ฐ ธ ฑ ฒ ศ ษ และ ฬ และในที่สุดอาจเลิกใช้ไปโดยปริยายเหมือน "ฃ" และ "ฅ" ที่ไม่ได้ใช้กันมาช้านานแล้ว ประเด็นนี้นับเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะจะทำให้รูปแบบของภาษาไทยเปลี่ยนไปอย่างมากมาย การใช้ตัวสะกดหลักทดแทนตัวสะกดอื่นๆ การใช้ตัวสะกด ของภาษาไทยในโซเชียลมีเดียมักใช้ตัวอักษรหลักของแม่นั้นๆ เสมอ โดยเน้นที่เสียงของคำอ่านเป็นสำคัญ เช่น แม่กน จะใช้แต่ตัว "น" แม่กด จะใช้แต่ตัว "ด" แม่กบ จะใช้แต่ตัว "บ" เป็นต้น ตัวอย่างเช่น คำว่า "รัฐบาล" จึงเขียนเป็น "รัดทะบาน" คำว่า "การงาน" จึงเขียนเป็น "กานงาน" คำว่า "โทษ" จึงเขียนเป็น "โทด" คำว่า "โจษ" จึงเขียนเป็น "โจด" คำว่า "กฎหมาย" จึงเขียนเป็น "กดหมาย" คำว่า "รังเกียจ" จึงเขียนเป็น "รังเกียด" คำว่า "เกษตร" จึงเขียนเป็น "กะเสด" และคำว่า "วิทยาศาสตร์" จึงเขียนเป็น "วิดทะยาสาด" เป็นต้น การลดรูปสระ สระผสมกำลังถูกยกเลิกไปโดยปริยายเพื่อลดความยุ่งยากในการพิมพ์ เพราะความสะดวกรวดเร็วในการพิมพ์(จิ้ม)คือสิ่งที่ทุกคนต้องการ คำว่า "เดี๋ยว" จึงกลายเป็น "เด๋ว" (จิ้มน้อยลงจาก 6 ครั้ง เหลือเพียง 4 ครั้ง) คำว่า "ก๋วยเตี๋ยว" จึงกลายเป็น "ก๋วยเต๋ว" และคำว่า "เกือบ" เลยกลายเป็น "เกิบ" หรือใช้คำที่เขียนง่ายกว่าแต่ออกเสียงใกล้เคียงแทน เช่น คำว่า "เพื่อน" เลยกลายเป็น "เพิ้ล" เป็นต้น การละทิ้งตัวการันต์ เนื่องจากตัวการันต์เป็นตัวที่ไม่ออกเสียงจึงมักถูกตัดทิ้งไป เพราะภาษาที่ใช้ในโซเชียลมีเดียไม่เน้นที่รูปแต่เน้นที่เสียงเป็นสำคัญ (ตัวการันต์จึงไม่มีประโยชน์) คำว่า "จันทร์" จึงเขียนเป็น "จัน" คำว่า "เทศน์" จึงเขียนเป็น "เทด" คำว่า "พิมพ์" จึงเขียนเป็น "พิม" และคำว่า "สัตว์" จึงเขียนเป็น "สัด" หรือ "สัส" เป็นต้น การเลี่ยงใช้ตัวควบกล้ำ คำควบกล้ำเป็นคำอีกประเภทหนึ่งที่มีความยุ่งยากในการพิมพ์ (โดยเฉพาะคำควบไม่แท้ที่ไม่ออกเสียงตัวควบ) ดังนั้น เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิมพ์ คำว่า "จริง" จึงพิมพ์กันง่ายๆ เป็น "จิง" คำว่า "เสร็จ" จึงกลายเป็น "เส็ด" และคำว่า "ทรุดโทรม" จึงกลายเป็น "ซุดโซม" เป็นต้น ซึ่งไม่เว้นแม้แต่คำควบแท้บางคำ เช่น คำว่า "โกรธ" จึงกลายเป็น "โกด" คำว่า "เคร่งครัด" จึงกลายเป็น "เค่งคัด" เป็นต้น การลดพยางค์หรือตัดรูปคำให้สั้นลง ทั้งนี้ เพื่อให้เหลือตัวอักษรของแต่ละคำน้อยลง ทำให้พิมพ์ได้เร็วขึ้นตามจำนวนตัวอักษรที่ลดลง อย่างคำว่า "อะไร" จึงเขียนกันเพียงสั้นๆ แค่ "ไร" เช่น เป็นไร คิดไร พูดไร ทำไร เป็นต้น คำว่า "ยังไง" จึงเขียนเพียงสั้นๆ แค่ "ไง" เช่น คิดไง ว่าไง ทำไง ได้ไง เป็นต้น คำว่า "สามารถ" จึงเขียนแบบง่ายๆ เป็น "สามาด" เช่นเดียวกับคำว่า "สิทธิ์" จึงอาจเขียนเป็น "สิด" หรือ "สิท" นั่นเอง มีการใช้ตัวย่อมากขึ้น เพราะตัวย่อช่วยให้สะดวกรวดเร็วมาก เช่น วน(วันนี้) คน(คืนนี้) พน(พรุ่งนี้) คห(ความเห็น) ตย(ตัวอย่าง) ตจว(ต่างจังหวัด) ตปท(ต่างประเทศ) สบม(สบายมาก) สวด(สวัสดี) เป็นต้น กรณีนี้คงมีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันทุกภาษาที่ใช้ในโซเชียลมีเดีย ดังจะเห็นได้ว่าภาษาอังกฤษก็ใช้มากเช่นกัน ตัวอย่างตัวย่อที่ใช้บ่อย เช่น U(You), Y(Why), IC(I See), NP(No Problem), IMO(In My Opinion), THX(Thank You), OMG(Oh My God), HBD(Happy Birthday), FYI(For Your Information), DIY(Do It Yourself), LOL(Laughing Out Loud), SYS(See You Soon) และ ASAP(As Soon As Possible) เป็นต้น มีคำศัพท์แปลกๆ ใหม่ๆ มาใช้มากขึ้น ปัจจุบันมีคำไทยๆ ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่และใช้กันจนติดหูติดตาแล้วหลายคำ ตัวอย่างเช่น "ชิวชิวหรือชิลชิล" "แอ๊บแบ๊ว" "เนียน" "เกรียน" "กาก" "กิ๊ก" เป็นต้น แม้คำเหล่านี้จะไม่สะดวกต่อการพิมพ์(จิ้ม) แต่เป็นคำที่นิยมใช้กันมาก และเป็นที่เข้าใจกันดีในหมู่คนในสังคมก้มหน้า ทั้งยังมีคำที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญจากการพิมพ์ตกหรือพิมพ์ผิด แต่ก็ยังนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง เช่น คำว่า "จุงเบย" "นะครัช" "กลังคิด" และ "กลังทำ" เป็นต้น หรือคำที่จงใจพิมพ์ผิดแต่กลับเป็นที่นิยมใช้กันมาก อาทิ "จัย(ใจ)" "กรู(กู)" "มรึง(มึง)" "ช่าย(ใช่)" "คัย(ใคร)" และ "ทัมมัย(ทำไม)" เป็นต้น เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้จะต้องมีคำศัพท์แปลกๆ ใหม่ๆ แบบนี้เกิดขึ้นมาอีกมากมายตามพัฒนาการของภาษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้ง หมดที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เห็นได้ชัดจากภาษาไทยที่ใช้กันทางโซเชีย ลมีเดียในปัจจุบัน ซึ่งยังคงมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ อีกมากที่นักภาษาไทยควรจะต้องติดตามศึกษาให้ชัดเจน แต่คงไม่ใช่เพื่อการส่งเสริมหรือพัฒนาอย่างใด แต่เพื่อการเรียนรู้ที่มาที่ไปไว้สำหรับคนรุ่นหลังเท่านั้น เนื่อง ในวันภาษาไทยแห่งชาติ (29 กรกฎาคม) หลายท่านหลายฝ่ายในแวดวงภาษาไทยคงจะตระหนักในเรื่องนี้ว่าภาษาไทยกำลัง เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีและสภาพของสังคม (ก้มหน้า) อย่างรวดเร็วมาก ซึ่งยากที่ใครจะไปยับยั้งทัดทานได้ คงมีแต่จะต้องปรับตัวไปตามสถานการณ์ โดยต้องไม่ละทิ้งรากเหง้าเค้าเดิมโดยไม่จำเป็น รวมทั้งต้องไม่นำมาใช้ในสังคมทั่วไปหรือใช้อย่างเป็นทางการด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้ที่มาที่ไปของภาษาไทยบ้าง แค่นั้นก็คงน่าจะพอสำหรับการอนุรักษ์ภาษาไทยในวันนี้ อย่าง ไรก็ดี แม้อนาคตของภาษาไทยจะผิดแผกแตกต่างออกไปเรื่อยๆ จนดูเหมือนว่ามันจะไม่เหลือรากเหง้าเค้าเดิมในอนาคต หากมองในแง่การอนุรักษ์ก็คงเป็นที่น่าตกใจว่ากำลังเกิดวิบัติทางภาษาของชาติ แต่อย่างไรก็ตาม หากคิดในทางบวก มองในแง่ของการสื่อสาร ก็ยังต้องยอมรับว่า การสื่อสารด้วยภาษาไทยในโซเชียลมีเดียยังคงบรรลุเป้าหมายของการสื่อสาร (เข้าใจกันได้ดีทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร) แต่มันเป็นเพียงพัฒนาการทางภาษา ที่แม้ไม่เปลี่ยนในวันนี้ก็คงต้องเปลี่ยนไปในวันหน้า ตามธรรมดาของสรรพสิ่งในโลกที่ล้วนเป็นอนิจจัง แต่ถึงอย่างไร ภาษาไทยก็ยังคงเป็นภาษาไทยของคนไทยที่ไม่เหมือนภาษาใดในโลกอยู่นั่นเองที่มา: ภาพและข้อความจาก มติชนออนไลน์ : http://www.matichon.co.th
6 สิงหาคม 2558     |      13297
สถานการณ์ร้อนแล้งกับกิจกรรม ในเดือนเมษายน โดย ผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร (แนวหน้า ) 21 เม.ย. 2556
เมื่อคนไทยนึกถึงเดือนเมษายน สิ่งหนึ่งที่ทุกคนจะคิดเหมือนๆ กันก็คือ ความร้อนและความแห้งแล้ง เนื่องจากเดือนนี้ซ้อนทับกันระหว่างฤดูร้อน(Summer) และฤดูแล้ง (Dry season) ทั้งความร้อนและความแห้งแล้งจึงเป็นสภาพอากาศตามปกติที่เด่นชัดของเดือนนี้ซึ่งเป็นเหตุทำให้แทบทุกคนต่างก็บ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าร้อนๆ และโดยมากมักจะคิดเอาเองว่าร้อนมากกว่าปีที่ผ่านมาด้วย ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงมันก็ร้อนมากบ้างน้อยบ้างเป็นเช่นนี้มาทุกปี แต่ที่แน่ๆ ก็คือ เดือนเมษายนเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไทย (อ่านต่อบทความแบบ PDF คลิ๊กที่นี้อากาศร้อนตามปกติของเดือนเมษายนนั้น สาเหตุเกิดจากความเข้มข้นของรังสีดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมายังพื้นดินเป็นสำคัญ เนื่องจากช่วงต้นของเดือนนี้ ดวงอาทิตย์จะเริ่มตั้งฉากกับพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย จากนั้นจะค่อยๆ เคลื่อนขึ้นมาตั้งฉากกับพื้นที่ตอนกลางของประเทศและกรุงเทพมหานครในช่วงปลายเดือน (ราววันที่ 24-27 เมษายน) และจะค่อยๆ เคลื่อนไปตั้งฉากกับพื้นที่ภาคเหนือในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม นี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เดือนเมษายนอากาศร้อนกว่าเดือนอื่นๆตามสถิติอุณหภูมิอากาศจากการตรวจวัดของกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่า ฤดูร้อนของประเทศไทยจะอยู่ในราวกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 30๐ เซลเซียส จากสถิติอุณหภูมิสูงสุดของประเทศไทยในรอบกว่า 50 ปี ที่บันทึกโดยกรมอุตุนิยมวิทยาคือ 44.5๐ เซลเซียส ตรวจวัดได้ที่ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2503 ซึ่งอาจจัดเป็นปีที่ร้อนที่สุดในรอบ 50 ปี (ใกล้เคียงกับปี พ.ศ. 2535 และ 2541 ซึ่งทำสถิติอุณหภูมิสูงสุดไว้ในหลายจังหวัด)สำหรับปีนี้ (พ.ศ. 2556) ฤดูร้อนของประเทศไทยคงอยู่ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคมเหมือนทุกปี แต่ปีนี้คล้ายกับปี พ.ศ. 2554 ตรงที่มีความกดอากาศสูง(มวลอากาศเย็น)แผ่เข้ามาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะๆ และยังมีลมตะวันตกที่พัดมาจากเทือกเขาหิมาลัยผ่านเข้ามาทางภาคเหนือตอนบนด้วย โดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนมีนาคมซึ่งถือว่าเป็นช่วงฤดูร้อนเต็มตัวแล้ว แต่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้าๆ อุณหภูมิอากาศโดยรวมในปีนี้จึงถือว่าไม่ร้อนมากนัก แม้ในบางพื้นที่จะมีอุณหภูมิสูงถึง 40-42๐ เซลเซียส แต่นั่นก็ยังนับว่าเป็นสภาพอากาศปกติของเดือนนี้ในส่วนของความแห้งแล้งนั้น ปีนี้ก็นับว่าเป็นปกติที่ฝนจะไม่ค่อยตกในเดือนนี้ นอกจากเกิดแนวปะทะระหว่างมวลอากาศเย็นกับมวลอากาศร้อนทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะทำให้เกิดฝนตกเป็นแห่งๆ หรือเกิดพายุฤดูร้อนทำให้เกิดฝนและลูกเห็บตก แม้จะเกิดได้ค่อนข้างถี่มากที่สุดในเดือนนี้ แต่จะเกิดในบริเวณพื้นที่แคบๆ ปริมาณฝนจึงช่วยแค่บรรเทาความแห้งแล้งและลดอุณหภูมิอากาศลงได้บ้างเฉพาะบริเวณที่เกิดพายุฤดูร้อนเท่านั้น แต่ไม่สามารถบรรเทาความร้อนและความแห้งแล้งในภาพรวมได้สงกรานต์นับเป็นเทศกาลที่สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศในเดือนนี้เป็นอย่างยิ่ง การหยุดทำการงานและมาเล่นน้ำสงกรานต์นั้น นับว่ามีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศเป็นที่สุด เพราะเป็นกิจกรรมประเพณีอันดียิ่ง บางที่อาจเป็นความชาญฉลาดของบรรพบุรุษของคนในภูมิภาคนี้ (ไทย ลาว และเขมร) ที่เลือกหากิจกรรมมาทำให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ เทศกาลสงกรานต์จึงเป็นเทศกาลยอดนิยมของคนในภูมิภาคนี้อย่างไม่เคยเสื่อมมนต์ขลัง มีแต่จะยิ่งใหญ่มากขึ้นทุกปีในทุกท้องที่ของทุกภาคส่วน สงกรานต์จึงเป็นเทศกาลที่ทั้งคนในเมืองและคนนอกเมืองต่างมีอารมณ์ร่วมต่อเทศกาลนี้สูงมากกว่าเทศกาลใดๆการทำกิจกรรมในเทศกาลสงกรานต์ตามประเพณีไทย ทั้งการทำบุญใส่บาตร การทอดผ้าป่า การเข้าวัดฟังธรรม การบังสุกุลกระดูกผู้ล่วงลับ การแห่พระพุทธรูปหรือการสรงน้ำพระ การก่อกองทรายหรือขนทรายเข้าวัด และการเล่นน้ำสงกรานต์ก็ดี ล้วนแต่เป็นกิจกรรมตามประเพณีไทยที่ก่อให้เกิดความเย็นกายและเย็นใจ ทำให้ลืมความร้อนและความแห้งแล้งลงไปได้เป็นอันมาก ยิ่งไปกว่านั้นการที่ภาครัฐกำหนดให้เป็นวันหยุดยาวติดต่อกัน และกำหนดให้มีวันผู้สูงอายุและวันครอบครัวด้วยนั้น นับว่าเป็นคุณูปการต่อสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง หลายคนโดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ต่างก็รอคอยวันนี้ วันที่จะได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากับลูกๆ หลานๆ ซึ่งบางครอบครัวอาจเกิดบรรยากาศเช่นนี้ได้เพียงแค่เทศกาลนี้เท่านั้นดังนั้น การให้ลางานหรือหยุดงานยาวๆ ในช่วงนี้ จึงนับว่ามีคุณค่าต่อสถาบันครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการส่งเสริมความรักความสามัคคีและสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัว อันเป็นรากฐานของสังคมที่แท้จริง ซึ่งจะส่งผลไปถึงความรักความสามัคคีของคนในชาติด้วย และเชื่อได้ว่าช่วงเทศกาลนี้จะไม่มีเหลืองมีแดงมาทำให้รำคาญใจด้วยแต่อย่างไรก็ดี สงกรานต์ก็สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากมายมหาศาลทุกปี แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในทุกๆ ปีนั้น หาใช่เป็นเพราะกิจกรรมโดยตรงของสงกรานต์ แต่เกิดจากความขาดสติยั้งคิดของคนที่เข้าร่วมกิจกรรมสงกรานต์เป็นสำคัญ การเล่นสงกรานต์ด้วยความคึกคะนองด้วยวิธีพิสดารต่างๆ การแสดงอนาจารในที่สาธารณะ การลวนลามทางเพศ การดื่มสุราและเสพของมึนเมา และการใช้ยานพาหนะด้วยความประมาท ล้วนเป็นสาเหตุของความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินที่แท้จริงเนื่องจากการจัดงานสงกรานต์ในแต่ละท้องที่จะเริ่มก่อนเริ่มหลังต่างๆ กันไป บางที่บางแห่งเริ่มกันตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน แต่บางที่บางแห่งกว่าจะเริ่มงานก็หลังวันที่ 20 เมษายนไปแล้ว เช่น สงกรานต์พระประแดง เป็นต้น ทำให้กว่าจะสิ้นสุดบรรยากาศของสงกรานต์จริงๆ ก็ตกไปถึงปลายเดือนเมษายน ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า เดือนเมษายนเกือบทั้งเดือนเป็นเทศกาลสงกรานต์ก็ว่าได้ แต่ไม่ว่าท้องที่ใดจะเริ่มจะเลิกงานสงกรานต์ช่วงไหนเวลาใดนั้นไม่สำคัญ แต่ความสำคัญนั้นอยู่ที่กิจกรรมตามประเพณีที่พึงปฏิบัติในเทศกาลสงกรานต์นี้เท่านั้นแม้สภาพอากาศช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ อาจจะร้อนแล้งมากยิ่งขึ้นไปอีกได้(หากไม่มีฝนตกลงมาช่วยลดอุณหภูมิและบรรเทาความแห้งแล้ง) แต่เชื่อได้ว่า การทำกิจกรรมตามประเพณีของเทศกาลสงกรานต์น่าจะช่วยผ่อนคลายความร้อนความแล้ง ในใจลงได้ไม่มากก็น้อย ฉะนั้น ใครที่ยังไม่ได้ทำกิจกรรมดีๆ ตามประเพณีของเทศกาลสงกรานต์นี้ ก็ควรรีบลงมือทำก่อนในตอนนี้ อย่าปล่อยให้เทศกาลนี้ผ่านไปโดยไม่ได้ทำอะไรดีๆ บ้างเลยอย่ารอโอกาสหน้า เพราะเวลาและวารีไม่เคยคอยใคร บางทีปีหน้าอาจไม่มีโอกาสอีกก็เป็นได้ เพราะพระพุทธองค์ทรงสอนพุทธบริษัทให้ดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชรคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มา :เนื้อหาจาก (แนวหน้า )  21 เม.ย 2556
1 มกราคม 2557     |      2248
ปัญหาหมอกควัน จ.เชียงใหม่ แก้ไม่ง่ายอย่างที่คิด โดย ผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร (แนวหน้า ) 30 มี.ค 2556
          หมอกควัน (Smog) หมายถึงสภาพอากาศที่ประกอบไปด้วยหมอก (Fog) และควัน (Smoke) ผสมปนกันอยู่ (Smoke + Fog = Smog) สามารถมองเห็นได้จากทัศนวิสัยที่เลวลงและกลิ่นของควันไฟจากอากาศ ซึ่งจัดเป็นมลภาวะทางอากาศประเภทหนึ่ง โดยทั่วไปส่วนของหมอก จะเกิดจากอุณหภูมิอากาศลดต่ำลงจนไอน้ำในอากาศเกิดการควบแน่นเป็นละอองน้ำ โดยจะเห็นเป็นควันสีขาวไม่มีกลิ่นซึ่งมักจะเกิดขึ้นตามปกติในช่วงเช้าของฤดูหนาว (อ่านต่อบทความแบบ PDF คลิ๊กที่นี้แต่ควันนั้นจะเกิดจากการเผาไหม้ในลักษณะต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะเห็นเป็นสีเทาหรือดำ และมีกลิ่นไหม้ต่างๆกันตามชนิดของเชื้อเพลิง ควันจึงประกอบด้วยก๊าซชนิดต่างๆจากการเผาไหม้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นสำคัญ แต่ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ควันยังประกอบด้วยเขม่า ซึ่งเป็นฝุ่นละอองหรืออนุภาคขนาดเล็กมากต่างๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10)นั้น สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของคนและสัตว์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นอย่างยิ่งแม้ว่าปีนี้จะมีฝนตกประปรายทั่วภาคเหนือตอนบนเป็นระยะๆ ก็ตาม (นับตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงต้นเดือนมีนาคม) จนหลายคนคาดการณ์ว่า ปีนี้หมอกควันในภาคเหนือตอนบนจะไม่รุนแรงเข้าขั้นวิกฤติเหมือนทุกๆ ปีที่ผ่านมา แต่พอฝนทิ้งช่วงได้ไม่นาน จังหวัดเชียงใหม่ก็ต้องตกอยู่ในสถานการณ์หมอกควันในขั้นวิกฤติ (นับตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมเป็นต้นมา)ทั้งนี้สามารถรับรู้ได้โดยตรงจากทัศนวิสัยทั่วไปที่เลวลงเป็นลำดับ เช่น ผู้โดยสารเครื่องบินมาลงสนามบินเชียงใหม่ไม่สามารถมองเห็นตัวเมืองเชียงใหม่ได้ จนกว่าเครื่องบินจะลดเพดานบินลงมาใกล้พื้นดิน หรือไม่อาจมองเห็นดอยสุเทพจากในตัวเมืองเชียงใหม่ได้เช่นปกติ เป็นต้น และจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศพบว่า ค่า PM10 สูงกว่าค่ามาตรฐานความปลอดภัย (120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)เช่นเดียวกับจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือตอนบนทั้ง 9 จังหวัดปัญหานี้ทั้งทางจังหวัดเชียงใหม่ และกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงต่างก็เตรียมการรับมือไว้ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แต่สุดท้ายก็ยังไม่อาจหลีกเลี่ยงปัญหาได้ทั้งนี้เพราะปัญหาหมอกควันแก้ยากกว่าที่คิดด้วยสาเหตุดังนี้ประการแรก หมอกควันจากจังหวัดข้างเคียง เป็นที่ทราบกันดีจากสถิติหมอกควันของทุกๆ ปีว่า จังหวัดที่เกิดหมอกควันสูงในอันดับต้นๆ คือ จังหวัดที่อยู่รายล้อมจังหวัดเชียงใหม่ อันได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอนทางด้านตะวันตก จังหวัดเชียงราย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดลำปางทางตะวันออกและจังหวัดลำพูนทางด้านใต้ และในกรณีของจังหวัดลำพูนนั้น แม้สถิติหมอกควันอาจจะไม่สูงเท่าจังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอน แต่จังหวัดลำพูนนั้นมีที่ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบเดียวกันกับจังหวัดเชียงใหม่ หมอกควันในจังหวัดลำพูน จึงแผ่ขยายเข้ามายังจังหวัดเชียงใหม่ได้ง่ายที่สุด โดยเฉพาะในช่วงที่มีมวลอากาศเย็น (ความกดอากาศสูง)แผ่เข้ามาปกคลุมตอนบนของประเทศไทย ดังนั้น การป้องกันการเผาในที่โล่งแจ้งเฉพาะพื้นที่ภายในจังหวัดเชียงใหม่จึงไม่เพียงพอต่อการป้องกันสถานการณ์หมอกควันที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งหมดประการที่สอง ยังไม่อาจหยุดยั้งการเผาของเกษตรกรรอบนอก ปัญหานี้ทุกฝ่ายทราบกันดีอยู่แล้วว่า ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ โดยเฉพาะการเผาตอซังข้าวโพดในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมีการเผาสองถึงสามครั้งในแต่ละรอบของการปลูก เริ่มจากการเผาเปิดพื้นที่ปลูก เผาตอซังหลังเก็บเกี่ยวฝัก และเผาซังข้าวโพดหลังจากกะเทาะเมล็ดแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่า มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเพิ่มขึ้นทุกปีจากการส่งเสริมของภาคธุรกิจอาหารสัตว์ของบริษัทเอกชนนอกจากนี้ การเผาป่าเผาหญ้าก็ยังคงมีอยู่เสมอๆในพื้นที่ห่างไกลรอบนอก ด้วยเหล่าคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งนี้เพราะคนเหล่านี้ได้รับผลประโยชน์จากการเผาโดยตรง แต่พวกเขาแทบจะไม่ได้รับอะไรตอบแทนโดยตรงเลยจากการงดการเผา อีกทั้งคนเหล่านี้แม้มีจำนวนน้อยแต่กลับสร้างหมอกควันได้มาก ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะชักจูงให้คนเหล่านี้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมและยอมให้ความร่วมมืออย่างจริงจังประการที่สาม การบริหารการเผายังทำไม่ได้อย่างจริงจัง จากความเข้าใจต่อวิถีชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่กันดารและห่างไกลที่ยากจะขจัดการเผาได้อย่างเด็ดขาด ทางกรมควบคุมมลพิษ จึงคิดวิธีแก้ปัญหา โดยการยอมให้มีการเผาตามความจำเป็น หรือการบริหารการเผานั่นเอง ด้วยการกำหนดวัน เวลา พื้นที่ และปริมาณการเผาตามโควตา เพื่อให้สามารถควบคุมหมอกควันให้อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัยได้ ซึ่งแม้วิธีการนี้จะไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แต่วิธีนี้ก็น่าจะช่วยลดปัญหาต่างๆ ในเบื้องต้นลงได้มาก ทั้งปัญหาด้านกายภาพและปัญหาด้านสังคม แต่น่าเสียดายที่ในปีนี้ยังไม่มีความชัดเจนในทางปฏิบัติ วิธีนี้จึงยังไม่เห็นผลอย่างจริงจังประการสุดท้าย คนที่ได้รับผลกระทบจากหมอกควันไม่ใช่ผู้ก่อเหตุ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ในพื้นที่ที่มีคนอยู่หนาแน่นทั้งในเขตตัวจังหวัด ตัวอำเภอ และในเขตเทศบาล จะมีการรณรงค์ให้งดการเผาในช่วง 80 วันอันตราย (ปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนเมษายน) อย่างเข้มงวด และประชาชนส่วนใหญ่ก็ให้ความร่วมมือด้วยดี เพราะต่างเข้าใจดีว่า ประโยชน์จากการเผาขยะมูลฝอยในชุมชนไม่คุ้มกับผลกระทบจากหมอกควันที่เกิดขึ้น อีกทั้งชาวเชียงใหม่เคยได้รับบทเรียนอย่างแสนสาหัสมาแล้วในปี พ.ศ. 2550 เพราะในปีนั้นมีการตรวจวัดค่า PM10 กลางเมืองเชียงใหม่ได้สูงสุดถึง 383 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรนับตั้งแต่นั้นมาการรณรงค์ให้งดการเผาในเขตชุมชนทั้งในระดับเทศบาลและอบต.นับว่าได้ผลเป็นอย่างดี และยังไม่เคยปรากฏปัญหาหมอกควันรุนแรงในขั้นวิกฤติได้เท่าปีนั้นอีก แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถทำให้ปราศจากปัญหาหมอกควันลงได้อย่างสมบูรณ์ เช่นเดียวกับปีนี้ แม้สถานการณ์หลายอย่างจะเป็นใจจนสามารถผ่านช่วง 80 วันอันตรายมาได้กว่าครึ่งทางแล้ว แต่สุดท้ายปัญหาหมอกควันก็ยังยกระดับขึ้นจนถึงขั้นวิกฤติอีกจนได้ แม้ประชาชนชาวเชียงใหม่ส่วนใหญ่ (กว่าร้อยละ 80-90) ไม่ได้เป็นผู้ก่อขึ้นก็ตามจังหวัดเชียงใหม่ได้ชื่อว่า เป็นเมืองที่น่าอยู่ติดอันดับต้นๆ ของโลก อากาศดีเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เมืองเชียงใหม่น่าอยู่ แต่ถ้าใครได้มาเชียงใหม่ ในช่วงที่มีวิกฤติหมอกควัน คงไม่มีใครคิดเช่นนั้นอย่างแน่นอน เพราะหมอกควันไม่เพียงแค่ทำลายทัศนียภาพและบรรยากาศของการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่กำลังทำลายสุขภาพของทุกคนที่ต้องเผชิญโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ปัญหาหมอกควันกำลังบั่นทอนความน่าอยู่ของเมืองเชียงใหม่ลงไปอย่างน่าเสียดาย (ขนาดคนที่เคยอยู่เชียงใหม่มานานนับสิบปียังอยากย้ายหนีไปที่อื่นเลย) แม้ปัญหาจะเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ (ราว80-100 วัน) แต่ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประจำแทบทุกปี ปัญหานี้ทำให้ความน่าอยู่ของเมืองเชียงใหม่หดหายไปเป็นอันมาก ดังนั้น แม้ปัญหานี้จะแก้ไม่ง่ายอย่างที่หลายคนคิด แต่ความพยายามที่จะแก้ปัญหานี้จะต้องมีต่อไปในทุกระดับ และที่สำคัญ นายกรัฐมนตรีก็เป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิดน่าจะช่วยทำอะไรให้ชาวเชียงใหม่ได้มากกว่านี้ผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชรคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มา :ภาพและเนื้อหาจาก (แนวหน้า )  30 มี.ค 2556
4 กันยายน 2556     |      6092
นายกฯหญิงคนแรก นโยบายบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก โดย ผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร (แนวหน้า ) 19 มี.ค 2556
           อะไรๆก็ตามที่ขึ้นชื่อว่าเป็น สิ่งแรก อันแรก หรือครั้งแรก ล้วนเป็นเรื่องที่ยากจะลืมเลือน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะน่าจดจำหรือไม่ก็ตาม และการที่ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีหญิงเป็นครั้งแรก จึงเป็นเรื่องที่คนไทยต้องจดจำและไม่อาจจะลืมเลือน โดยไม่จำเป็นต้องมีอะไรมาเป็นข้อบ่งชี้ว่า เรื่องนี้ควรเป็นเรื่องที่น่าประทับใจและต้องจดจำ หรือมันจะเป็นจุดด่างพร้อยของประวัติศาสตร์ไทยที่เราต้องพยายามลืมๆกันไป ทั้งนี้เพราะผลงานที่ผ่านมาในรอบปีกว่าของฯพณฯนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยนั้น ยังไม่สามารถสร้างความประทับใจอะไรให้กับคนไทยและประเทศไทยได้อย่างชัดเจนนั่นเอง (อ่านต่อบทความแบบ PDF คลิ๊กที่นี้สำหรับ นโยบายบ้านหลังแรกและนโยบายรถยนต์คันแรก นับเป็นนโยบายแรกๆที่ดำเนินการมาจนบรรลุผลโดยสมบูรณ์แล้ว การกล่าวถึงนโยบายนี้ ณ เวลานี้ จึงเป็นการวิจารณ์ถึงความเป็นจริงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่การวิพากษ์หรือคาดเดาเหมือนตอนเริ่มนโยบายแต่อย่างใด แต่ไม่ว่าจะเป็นการวิพากษ์หรือวิจารณ์ ผลลัพธ์ของมันก็แทบไม่ต่างกันเลย ดังนี้ตั้งแต่รัฐบาลดำเนิน นโยบายบ้านหลังแรกมาจนถึงนโยบายรถยนต์คันแรก เป็นต้นมานั้น แม้ว่าหลายคนจะได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ โดยผู้บริโภคกลุ่มแรกที่ได้รับประโยชน์ไปเต็มๆแล้ว ล้วนเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า ผู้มีอันจะกิน เกือบทั้งสิ้น เพราะผู้ที่สามารถซื้อบ้านเดี่ยวในราคาเรือนล้าน หรือผู้ที่สามารถซื้อรถยนต์ใช้เป็นของส่วนตัวได้นั้น ย่อมไม่ใช่คนยากคนจนอย่างแน่นอนอยู่แล้ว อย่างน้อยต้องเป็นคนระดับกลางขึ้นไปนโยบายทั้งสองเรื่องนี้จึงไม่ได้ช่วยเหลือกลุ่มคนยากคนจนตามที่รัฐบาลแถลงไว้แต่อย่างใด แต่เป็นการกระตุ้น กิเลสให้คนจนที่ยังไม่พร้อมจะมีบ้านและรถยนต์ส่วนตัว(ไม่รู้จักประมาณตนได้ดีพอ)กระโจนเข้าสู่วังวนของหนี้สินระยะยาว แทนที่คุณภาพชีวิตของคนกลุ่มนี้จะค่อยๆดีขึ้นเป็นลำดับตามศักยภาพและกำลังความสามารถ แต่คุณภาพชีวิตของคนกลุ่มนี้กลับจะค่อยๆต่ำลงเพราะภาระดอกเบี้ยที่ตามมา และอาจต้องกลายเป็นมนุษย์เงินกู้ไปตลอดชีวิตโดยปริยายด้วยขณะที่นโยบายบ้านหลังแรก สามารถกระตุ้นวงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้บ้างเล็กน้อย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเรื่องของบ้านผู้ซื้อต้องใช้วงเงินค่อนข้างสูงมาก(เป็นหลักล้าน)อีกทั้งยังมีปัจจัยแวดล้อมประกอบการตัดสินใจมากมายหลายประการ การยับยั้งชั่งใจของผู้บริโภคจึงค่อนข้างสูง การตัดสินใจจึงเป็นไปอย่างละเอียดรอบคอบ อุปสงค์ของบ้านหลังแรกจึงค่อยๆเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป ปัญหาที่ตามมาจึงมีไม่มากนักแต่สำหรับนโยบายรถยนต์คันแรกนั้นกลับต่างออกไป เพราะอุปสงค์ของรถยนต์คันแรกเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด จึงสามารถกระตุ้นอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ได้เป็นอันมาก ทั้งนี้คงเป็นเพราะการตัดสินใจของผู้บริโภคเรื่องรถยนต์ทำได้ง่ายกว่า เพราะวงเงินที่ใช้ต่ำกว่าบ้านมาก โดยรถยนต์ที่เข้าข่ายได้รับคืนเงินภาษีนั้น ต้องมีขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน ๑,๕๐๐ ซีซี (ราคาไม่ถึงล้านบาท) นโยบายนี้จึงมีผลกระทบโดยตรงในทางบวกต่อยอดการผลิตรถยนต์ของไทยในรอบปี ๒๕๕๕ ให้สูงเกิน ๒ ล้านคันได้เป็นปีแรก ซึ่งทำให้รัฐบาลหลงใหลได้ปลื้มกับความสำเร็จของนโยบายนี้เป็นอันมากแต่ถ้าพิจารณากันให้ถ่องแท้จะเห็นได้ว่า ยอดการจำหน่ายรถยนต์ที่สูงขึ้นอย่างชัดเจนนั้นมาจากยอดขายภายในประเทศเป็นหลัก ส่วนยอดส่งขายไปยังต่างประเทศนั้นไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมากมายแต่อย่างใด ซึ่งชี้ให้เห็นว่า  แม้โดยภาพรวมบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และอะไหล่ภายในประเทศ และธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากนโยบายนี้ แต่บริษัทแม่จากต่างชาติกลับได้รับประโยชน์ไปเต็มๆง่ายๆมากกว่าใครดังนั้น กรณีนี้จึงไม่น่าจะปลาบปลื้มเท่าไรนัก เพราะนอกจากงบประมาณของชาติจะสูญไปนับแสนล้านบาทกับนโยบายนี้แล้ว เงินตราส่วนหนึ่งยังไหลออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย ขณะที่นโยบายนี้สร้างประโยชน์เพียงเล็กน้อยกับคนในชาติแค่กลุ่มเล็กๆเท่านั้น ซึ่งล้วนไม่ใช่คนยากคนจน แต่เป็นคนชั้นกลางและเหล่ามหาเศรษฐีเจ้าของกิจการร่วมทุนกับต่างชาติแทบทั้งสิ้นและในทางกลับกัน นโยบายรถยนต์คันแรก กลับมีผลทำให้ธุรกิจรถยนต์มือสองต้องซบเซาอย่างช่วยไม่ได้ และไม่มีใครช่วย แต่เชื่อว่าในระยะเวลาอีกไม่เกิน ๕ ปี ธุรกิจนี้จะกลับมาคึกคักอีกอย่างแน่นอน เพราะรถยนต์คันแรกจำนวนไม่น้อยจะต้องถูกปล่อยออกมาสู่ตลาด อันมีสาเหตุมาจากภาระหนี้สินที่ล้นมือของผู้ซื้อที่ยังไม่พร้อมในตอนนี้ และจะเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้บริโภคที่คิดจะซื้อหารถยนต์มือสองไว้ใช้ในตอนนั้นขณะนี้ มีผู้บริโภคที่ด่วนตัดสินใจซื้อรถยนต์คันแรกไปใช้ตั้งแต่ปีก่อนทั้งๆที่ยังไม่มีความพร้อม บางส่วนเริ่มมีปัญหาค้างชำระเงินค่างวดแล้ว (ตามรายงานข่าวของวงการสินเชื่อ) ถึงตรงนี้ เค้าลางของปัญหาเริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจนขึ้น กรณีที่ผู้ซื้อไม่อาจครอบครองรถยนต์ไว้จนครบ ๕ ปีตามเงื่อนไข จะเป็นด้วยสาเหตุทางการเงินหรืออุบัติเหตุใดๆก็ตามแต่ การเรียกคืนเงินภาษีที่ผู้ซื้อรับไปแล้ว (รัฐบาลจ่ายคืนให้เมื่อผู้ซื้อครอบครองรถยนต์ไว้ครบปี) ซึ่งคาดว่าจะถูกใช้จ่ายจนหมดไปในเวลาอันรวดเร็วนั้น จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมผู้ซื้อให้มีปัญหาทางการเงินหนักยิ่งขึ้นไปอีก  และเมื่อถึงขั้นนั้น รถยนต์คันแรกก็จะกลายเป็นรถยนต์คันสุดท้ายในชีวิตของผู้ซื้ออย่างไม่ต้องสงสัยทั้งหมดที่กล่าวมายังไม่รวมถึงภาวะเงินเฟ้อที่กำลังส่อเค้าว่าจะเป็นปัญหาตามมาในเร็ววันนี้ อันเป็นผลจากนโยบายอื่นๆที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ เช่น ค่าจ้างขั้นต่ำ ๓๐๐ บาท เงินเดือนปริญญาตรี ๑๕,๐๐๐ บาท และนโยบายประชานิยมอื่นๆอีกหลายนโยบาย ที่ล้วนมีส่วนกดดันให้ภาระค่าครองชีพสูงขึ้นไปอีกการที่ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีหญิงเป็นครั้งแรกนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีตามยุคตามสมัย และไม่มีเหตุผลใดที่จะปฏิเสธเพราะความเป็นผู้หญิง เว้นเสียแต่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทยจะไม่สามารถกำหนดนโยบายใหม่ๆ หรือดำเนินนโยบายอะไร ที่ก่อให้เกิดสัมฤทธิผลต่อประชาชนและประเทศชาติได้มากไปกว่านโยบายบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น แม้ไม่มีใครคิดขอให้ ฯพณฯ เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกและคนสุดท้ายของประเทศไทย แต่อย่างน้อยก็คงต้องขอให้ฯพณฯ เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกเพียงแค่สมัยแรกและสมัยสุดท้ายเถอะผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชรคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มา :ภาพและเนื้อหาจาก (แนวหน้า )  19 มี.ค 2556
4 กันยายน 2556     |      2941
หมอกควันภาคเหนือในช่วง 80 วันอันตราย โดย ผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร (แนวหน้า ) 7 ก.พ 2556
       “ภาคเหนือ” โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบนอันประกอบด้วย 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และแม่ฮ่องสอน จัดเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อมลภาวะทางอากาศสูงที่สุดของประเทศ ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกระทะอยู่ท่ามกลางเทือกเขาสลับซับซ้อน อันเป็นอุปสรรคต่อการถ่ายเทของอากาศ ประกอบกับมีภูมิอากาศที่แห้งแล้งยาวนานกว่าทุกๆ ภาคของประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน คาบเกี่ยวตั้งแต่ช่วงฤดูหนาว (พ.ย.-ก.พ.) ไปจนถึงช่วงฤดูร้อน(ก.พ.-เม.ย.) พื้นที่ส่วนนี้นอกจากจะมีเชื้อไฟจากชีวมวลของป่าไม้ผลัดใบปริมาณมาก มายมหาศาลแล้ว ยังมีเชื้อไฟจากเศษซากพืชทางการเกษตรอีกเป็นปริมาณมากด้วย พื้นที่ส่วนนี้ของประเทศจึงต้องเผชิญกับปัญหามลพิษจากหมอกควันในขั้นวิกฤติ อยู่เป็นประจำ (อ่านต่อบทความแบบ PDF   คลิ๊กที่นี้          สำหรับปีนี้ ทางกรมควบคุมมลพิษ ก็ได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ไว้แล้ว กล่าวคือ ได้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อระดมความคิดเห็นต่อการเตรียมการแก้ไขปัญหาหมอกควันที่เกิดจากไฟป่าและ การเผาในที่โล่งแจ้ง ปี 2556 แล้วในหลายจังหวัด ตั้งแต่ปลายปี 2555 ซึ่งมีทั้งนักวิชาการ ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนจากภาคประชาชนเข้าร่วมประชุมจำนวนมาก จึงน่าเชื่อได้ว่า ปีนี้จะสามารถรับมือกับสถานการณ์หมอกควันได้ดีกว่าทุกปีที่ผ่านมา                นอกจากนี้ ทางกรมควบคุมมลพิษยังได้ร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควัน ภาคเหนือตอนบน ปี 2556 ให้ทุกฝ่ายร่วมพิจารณาด้วย มีทั้งมาตรการห้ามเผาโดยเด็ดขาดในช่วงวิกฤติ มาตรการจัดระเบียบการเผา มาตรการป้องกันไฟป่า มาตรการสนับสนุนหมู่บ้านปลอดการเผา มาตรการส่งเสริมภาคเอกชนและภาคีร่วมป้องกันและแก้ไขมลพิษจากหมอกควัน มาตรการสื่อสารประชาสัมพันธ์สู่กลุ่มเป้าหมาย มาตรการแจ้งเตือนสถานการณ์หมอกควัน มาตรการขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและมาตรการอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง       แม้มาตรการต่างๆ จะยังไม่สมบูรณ์เต็มร้อย เพราะยังมีข้อถกเถียงกันอยู่บ้างเรื่องรายละเอียดในทางปฏิบัติของบางประเด็น แต่เชื่อว่า หากมาตรการดังกล่าวเหล่านี้ได้รับการดูแลปฏิบัติจากองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบจ. อบต. และเทศบาลต่างๆ เป็นต้น ซึ่งหากหน่วยงานเหล่านี้ช่วยกันทำให้เกิดเป็นรูปธรรมในระดับหนึ่งได้ ปัญหามลภาวะทางอากาศในเขตพื้นที่ภาคเหนือจะไม่รุนแรงเข้าขั้นวิกฤติเหมือนใน ปี 2550 อย่างแน่นอน               แต่อย่างไรก็ดี เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนเมษายน รวมระยะเวลาประมาณ 80 วันนี้ นับเป็นช่วงอันตรายอย่างยิ่งต่อการเกิดหมอกควันจากการเผาไหม้ เพราะเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งที่สุด อีกทั้งมีเชื้อไฟสะสมไว้เป็นปริมาณมาก ทั้งชีวมวลจากป่าไม้และเศษซากพืชทางการเกษตร (หากไม่มีการทยอยเผามาก่อน) ซึ่งถ้าหากมีไฟป่าหรือมีการเผาเศษซากพืชทางการเกษตรพร้อมๆ กันในช่วงนี้ มลพิษทางอากาศจะรุนแรงเข้าขั้นวิกฤติได้โดยง่าย        ขณะนี้ได้ย่างเข้าสู่ช่วง 80 วัน อันตรายแล้ว แม้มีบางส่วนบางจังหวัดมีไฟป่าเกิดขึ้นและมีการเผาไร่นาทำให้คุณภาพอากาศต่ำ กว่าค่ามาตรฐาน (120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) อยู่บ้าง แต่สถานการณ์โดยรวมยังคงเป็นที่น่าพอใจ แต่ถึงกระนั้น ระยะเวลาที่เหลืออีกราว 2 เดือน ยังคงต้องเฝ้าดูแลอย่าง ใกล้ชิดต่อไป                 แม้กรมอุตุนิยมวิทยา จะเคยคาดการณ์ไว้ว่า ปีนี้จะเป็นปีของเอลนีโญที่จะทำให้ประเทศไทยเกิดความแห้งแล้งมากกว่าปกติ อันเป็นสาเหตุสำคัญที่จะมีผลทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศในภาคเหนืออย่างรุนแรง เข้าขั้นวิกฤติได้ แต่ล่าสุดเป็นที่น่ายินดีว่า สถานการณ์จะไม่เป็นเช่นนั้น เพราะจากการเฝ้าติดตามอุณหภูมิของน้ำทะเลรอบๆ ประเทศไทย ที่ระดับความลึก 0-300 เมตร พบว่า มีความแตกต่างจากค่าปกติน้อยมาก (+ 0.5 องศาเซลเซียสเท่านั้น) ซึ่งทำให้เป็นที่เบาใจได้ว่า เอลนีโญจะไม่เกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งนี้         และที่สำคัญยังปรากฏว่ามีฝนตกประปรายในพื้นที่ภาคเหนือในช่วงปลายเดือน มกราคมด้วย ซึ่งช่วยลดปริมาณหมอกควันที่เริ่มมีบ้างแล้วลงไปได้เป็นอันมาก แต่ถึงกระนั้น มลพิษจากหมอกควันในภาคเหนือก็ยังไม่อาจวางใจได้ เพราะการเผาป่าและการเผาไร่นายังคงเป็นวิถีชีวิตของคนบางส่วนที่ยังไม่อาจ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตได้ในขณะนี้ ดังนั้น หน่วยงานของภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเข้มงวดกวดขันกันต่อไป จนกว่าจะพ้น 80 วันอันตรายนี้ไปให้ได้                   ในช่วงหลายปีมานี้ มีข้อที่น่าห่วงใยอีกประการหนึ่งคือ มีโรงงานผลิตอาหารสัตว์ไปตั้งฐานการผลิตอยู่หลายแห่งในภาคเหนือ จึงมีภาคเอกชนเข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กันมากขึ้น เพราะข้าวโพดเป็นวัตถุดิบหลักสำคัญของอาหารสัตว์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน จากแรงจูงใจด้านราคาและความแน่นอนของรายได้ ทำให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไปอย่างไม่จำกัด ตั้งแต่พื้นที่ราบลุ่มไปจนถึงบนยอดดอย การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่เหล่านี้ นับเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงการเผา เพราะเป็นพื้นที่ห่างไกลจากชุมชนและการคมนาคม        โดยเริ่มตั้งแต่การเผาป่าหรือพื้นที่รกร้างเพื่อเปิดพื้นที่เพาะปลูก การเผาต้นตอซังหลังการเก็บเกี่ยว และยังต้องเผาซังข้าวโพดหลังการสีหรือกะเทาะเมล็ดออกจากฝักแล้วด้วย เรื่องนี้มีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ แต่ดูเหมือนทางจังหวัดและหน่วยงานในท้องถิ่น รวมทั้งกรมควบคุมมลพิษก็ยังหาทางออกไม่ได้     สำหรับทางออกของปัญหาดังกล่าวเท่าที่พอเป็นไปได้ในปัจจุบันคือ การขอความร่วมมือและร่วมรับผิดชอบจากกลุ่มธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ ให้ช่วยหามาตรการควบคุมเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดส่งโรงงานของตน เช่น การรับซื้อต้นข้าวโพดและซังข้าวโพดไปผลิตพลังงานหรือทำปุ๋ยหมัก ซื้อข้าวโพดในราคาพิเศษหรือลดราคาปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกร หากเกษตรกรสามารถลดการเผาลงได้ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะมาตรการทางกฎหมายคงไม่อาจนำมาใช้กับกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ได้ เพราะไม่ใช่ผู้ก่อมลพิษโดยตรง แต่ความตระหนักในกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางตรงและทางอ้อมนั้น นับเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งจะต้องให้ความร่วมมือและร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นตามสมควร                 ปีนี้พื้นที่ภาคเหนือตอนบนอาจผ่านพ้น 80 วันอันตรายไปได้ โดยไม่ปรากฏมลพิษจากหมอกควันถึงขั้นวิกฤติเลยก็เป็นได้ ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะสถานการณ์ต่างๆ เป็นใจ รวมทั้งหน่วยงานของแต่ละท้องถิ่นแต่ละจังหวัดต่างตื่นตัว เพราะได้รับการกระตุ้นจากกรม ควบคุมมลพิษให้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่สำหรับปีต่อๆ ไปก็จะต้องไม่ปล่อยปละละเลยด้วย โดยเฉพาะการสร้างจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องกระทำกันอย่างต่อเนื่องต่อไปผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชรคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มา :ภาพและเนื้อหาจาก (แนวหน้า )  7 ก.พ 2556
4 กันยายน 2556     |      6143
"นโยบายรถยนต์คันแรก" เรื่องที่ผู้บริโภคควรตระหนัก โดย ผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร (แนวหน้า )18 ม.ค.2556
     ตั้งแต่รัฐบาลดำเนินการตาม นโยบายรถยนต์คันแรก เป็นต้นมา กว่าเจ็ดแสนคนได้รับอานิสงส์กันไปแล้ว และคาดว่าผู้ได้รับอานิสงส์จะเพิ่มขึ้นไปอีกเป็นกว่าหนึ่งล้านคนเพราะรัฐบาล ได้ขยายเวลาการจองรถได้มาจนถึงปลายปีที่แล้ว ขณะที่รัฐบาลกำลังปลาบปลื้มกับผลงานชิ้นนี้ เพราะช่วยกระตุ้นยอดการผลิตรถยนต์ภายในประเทศในปี พ.ศ.2555 ขึ้นไปถึงสองล้านกว่าคัน ทั้งๆ ที่นโยบายนี้สวนทางกับนโยบายการประหยัดพลังงานและการลดการนำเข้าน้ำมันอย่าง ชัดเจน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มภาระหนี้สาธารณะของประเทศให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก ส่วนนโยบายนี้จะมีผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติมากน้อยแค่ไหน มีใครได้ใครเสียบ้าง คงป่วยการที่จะกล่าวถึงแล้วในเวลานี้ เพราะการดำเนินนโยบายได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าในเวลานี้ก็คือ ผู้บริโภคที่ดิ้นรนเข้าร่วมใช้สิทธิ์จนทันเวลาตามนโยบายนี้ หลายคนหลวมตัววางเงินจองไปแล้ว ขณะที่ยังมีอีกมากที่ยังรู้สึกเสียดายว่า พลาดโอกาสการเป็นเจ้าของรถยนต์คันแรกในชีวิตไป แต่นั่นอาจเป็นเรื่องดีก็ได้ หากได้หันมาทบทวนเรื่องนี้กันอย่างรอบคอบอีกครั้งหนึ่ง (อ่านต่อบทความแบบ PDF   คลิ๊กที่นี้ที่ผ่านมา ผู้บริโภคกลุ่มแรกที่ได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ แล้วล้วนเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า ผู้มีอันจะกิน เพราะคนเหล่านี้มีเงินมีกำลังซื้ออยู่แล้ว สามารถตัดสินใจได้ในทันที แม้เดิมคนกลุ่มนี้ไม่ได้คิดจะซื้อรถเพิ่มเพราะไม่มีความจำเป็น(มีใช้อยู่ แล้ว) แต่การได้ประโยชน์เห็นๆ จากการคืนเงินภาษีของรัฐบาลสูงสุดถึงคันละหนึ่งแสนบาท ทำให้คนกลุ่มนี้ต้องรีบฉวยโอกาสทันที การใช้ชื่อคนในครอบครัว หรือแม้แต่คนงานคนรับใช้ภายในบ้านมาใช้สิทธิจึงไม่ใช่เรื่องแปลก ไม่ผิดเงื่อนไข และไม่ได้ยากที่จะกระทำ แม้ได้ชื่อว่า รถยนต์คันแรกในทางนิตินัย แต่กลับกลายเป็นรถยนต์คันที่ 2 3 4 5…ของครอบครัวในทางพฤตินัย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังซื้อเป็นสำคัญ เพราะโอกาสที่จะซื้อรถยนต์ราคาถูกกว่าปกติเป็นเรือนแสนเช่นนี้ไม่ได้หาง่ายๆ กรณีนี้นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายสำหรับภาษีที่รัฐควรจะได้ แต่กลับต้องเสียไปให้กับคนมีอันจะกินอยู่แล้วผู้บริโภคกลุ่มต่อมาที่ได้ประโยชน์ได้แก่ ผู้ที่ครอบครัวยังไม่เคยมีรถยนต์เป็นของตนเองจริงๆ แต่พอจะกัดฟันอดออมเพื่อรถยนต์คันแรกของครอบครัวได้ (มีศักยภาพพอ) และอยู่ในช่วงกำลังมองหารถยนต์ใช้อยู่พอดี จึงนับว่าเป็นโชคดีเป็นโอกาสเหมาะของคนกลุ่มนี้อย่างแท้จริง จึงต้องขอแสดงความยินดีกับคนกลุ่มนี้ แต่น่าเชื่อว่าคนกลุ่มนี้มีจำนวนไม่มากนัก เพราะเป็นอุปสงค์ปกติตามกลไกตลาด แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มคนที่เหลือ เพราะนอกจากคนสองกลุ่มแรกแล้ว กลุ่มคนที่เหลือล้วนอยู่ในฐานะที่ยังไม่พร้อมจะมีรถยนต์ใช้และยังไม่คิดจะ ซื้อรถยนต์คันแรก แต่โอกาสและสถานการณ์ตรงหน้ากระตุ้นให้ต้องดิ้นรนหาเงินมาซื้อให้ได้ และสิ่งที่จะตามมาในเวลาอันใกล้ก็คือ หนี้สินและปัญหาจิปาถะ ดังนี้ประการแรก ค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ (ชั้นหนึ่ง) ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากเงินจอง เงินดาวน์ และเงินค่างวดที่ผู้ซื้อต้องจ่ายแล้ว ผู้บริโภคหลายคนคงไม่เคยรู้มาก่อนว่า การเช่าซื้อผ่อนรถยนต์ (ซื้อรถเงินผ่อน)นั้น จะต้องทำประกันภัยรถยนต์ชั้นหนึ่ง ซึ่งผู้ซื้อจะต้องจ่ายเบี้ยประกันเป็นหมื่นขึ้นไป สำหรับรถยนต์ราคา 5-6 แสน (ขนาดไม่เกิน 1,500 ซีซี) หากผู้ซื้อไม่ได้คิดเรื่องนี้ไว้ แค่เดือนแรกก็ชักหน้าไม่ถึงหลังแล้ว เพราะผู้ซื้อระดับนี้มักมีรายได้ไม่มากนักรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากปกติแค่ หลักพันก็อาจเป็นปัญหาแล้ว ดังนั้นรายจ่ายหลักหมื่นย่อมเป็นปัญหาอย่างแน่นอน เมื่อเดือนแรกเริ่มเป็นปัญหา แล้วเดือนต่อไปปีต่อไปจะเอาตัวรอดกับหนี้สินผูกพันจากรถยนต์คันแรกนี้ได้ อย่างไรประการที่สอง ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการใช้รถยนต์ คนที่ไม่เคยมีรถยนต์ใช้มาก่อนอาจไม่ทราบว่า ค่าน้ำมันนั้นเป็นรายจ่ายที่ค่อนข้างสูงมากและจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะแนวโน้มราคาน้ำมันมีแต่จะสูงขึ้นๆ หากนำรถมาใช้ไปๆมาๆแค่ที่บ้านกับที่ทำงานในระยะทางสิบกว่ากิโลเมตร ค่าน้ำมันเดือนหนึ่งๆ ก็ตกไป 2-3 พันบาทแล้ว การควักเงินเติมน้ำมันครั้งละพันครึ่งพันคงไม่ใช่เรื่องเล็กสำหรับผู้มีราย ได้แค่หมื่นสองหมื่นแน่ นี่คือรายจ่ายเห็นๆ จากการใช้รถยนต์ประการที่สาม ค่าบำรุงรักษา ผู้ซื้อรถยนต์จะต้องไม่ลืมว่าค่าบำรุงรักษาเป็นรายจ่ายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ได้เช่นกัน รถยนต์เมื่อวิ่งได้ระยะทางทุกๆ หนึ่งหมื่นกิโลเมตร หรือทุกๆ 6 เดือนเป็นอย่างน้อย แม้รถยนต์ไม่ค่อยได้ถูกใช้งาน แต่ผู้ใช้ก็จะต้องนำรถเข้าศูนย์บริการ ค่าใช้จ่ายครั้งหนึ่งๆ ก็เป็นหลักพันหากไม่นำรถยนต์เข้ารับบริการตามกำหนด บริษัทประกันก็จะไม่คุ้มครองการรับประกันความเสียหายต่างๆ ของเครื่องยนต์ และอะไหล่ นอกจากนี้ ในช่วงเวลา 5 ปี ผู้ใช้รถยนต์จะต้องสลับยางและตั้งศูนย์ล้อหนึ่งหรือสองครั้ง และต้องเปลี่ยนยางอีกหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย(เพราะยางหมดอายุ) รวมค่าใช้จ่ายเรื่องล้อและยางในรอบห้าปีมากกว่าหนึ่งหมื่นบาท และยังจะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่อีกหนึ่งถึงสองครั้งด้วย ซึ่งครั้งหนึ่งตกราวสองพันบาท รายจ่ายเหล่านี้ไม่ได้น้อยเลยสำหรับหลายๆ ท่านประการที่สี่ ค่าความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ แม้รถยนต์ที่เช่าซื้อ(ผ่อน)จะมีประกันภัยชั้นหนึ่งดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น บริษัทประกันจะรับผิดชอบชดใช้ให้ทุกกรณี เพราะในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นโดยเจ้าของรถเป็นฝ่ายผิดหรือหาคู่กรณีไม่ ได้ เจ้าของรถก็ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรกจำนวนหนึ่งด้วยตามสัญญา ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้หลีกเลี่ยงได้ยากที่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยตลอดระยะเวลา 5 ปี ตามภาระผูกพันของโครงการรถยนต์คันแรกประการสุดท้าย ค่าใช้จ่ายส่วนตัวของผู้ใช้รถยนต์เองแม้ผู้ซื้อรถยนต์จะตั้งใจประหยัดอดออม แค่ไหน แต่ถึงกระนั้นก็จะมีรายจ่ายที่ไม่เคยมีเพิ่มขึ้นเมื่อมีรถยนต์ส่วนตัวใช้ เป็นเงาตามตัว เช่น ค่าภาษีรายปี ค่าที่จอดรถ ค่าล้างรถ ไปจนถึงค่าบริการเพื่อนฝูงและญาติพี่น้องที่ไม่อาจปฏิเสธได้ แม้ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ บางรายการไม่อาจแสดงเป็นตัวเลขได้อย่างชัดเจน แต่มันเป็นรายจ่ายที่ต้องมีอย่างแน่นอน และจะกระทบกับรายจ่ายประจำที่จำกัดจำเขี่ยจนทำให้เป็นปัญหาได้ในที่สุดทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงข้อคิดตามข้อเท็จจริงที่อยากจะเตือนทุกๆ ท่านที่ได้ตัดสินใจจองรถยนต์ตามโครงการนี้ไปแล้ว ซึ่งอาจต้องคิดทบทวนใหม่ให้รอบคอบอีกครั้งก่อนทำสัญญารับรถ บางทีการยอมทิ้งเงินจองอาจทำให้ท่านไม่ต้องอมทุกข์ไปตลอด 5 ปีข้างหน้า หรือนานกว่านั้นดังคำพังเพยที่ว่า เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย โครงการนี้นับเป็นลาภก้อนใหญ่สำหรับผู้ที่พร้อมจะมีรถยนต์อยู่แล้วเท่านั้น และเป็นเพียงลาภก้อนเล็กๆ สำหรับผู้ที่มีอันจะกินหรือมีเงินสดอยู่ในธนาคาร แต่มันจะเป็นทุกขลาภสำหรับทุกท่านที่ยังไม่พร้อมจะมีรถยนต์เป็นของตนเองดังนั้น การพลาดโอกาสจองรถในครั้งนี้จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าเสียดายอะไร และหากท่านใจเย็นรออีกนิด (ไม่เกิน 5 ปี) โอกาสของท่านจะมีมาอีกอย่างแน่นอน นั่นคือ จะมีรถยนต์มือสองสภาพดีราคาถูกมาให้ท่านเลือกซื้ออย่างมากมาย ถึงตอนนั้น ท่านก็จะมีรถยนต์คันแรกใช้อย่างไม่ต้องสงสัย และขับไปไหนต่อไหนได้อย่างมีความสุขผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่มา :ภาพและเนื้อหาจาก (แนวหน้า )18 ม.ค.2556
1 มกราคม 2557     |      6244
เดือน ธ.ค.กับบทส่งท้ายของพายุหมุนเขตร้อน โดย ผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร (แนวหน้า )5 ธ.ค.2555
      ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา คงไม่มีข่าวใดที่ผู้คนให้ความสนใจต่อเนื่องและยาวนานเท่ากับข่าวน้ำท่วมและ อุทกภัย ทั้งข้อมูลข่าวสารและเหตุการณ์ต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลา ทั้งความคิดและความเห็นหลั่งไหลออกมายิ่งกว่ากระแสน้ำ หลายเรื่องถูกนำเสนอออกมาอย่างถูกต้องเป็นจริงตามหลักการทางวิชาการ แต่หลายเรื่องถูกนำเสนอออกมาโดยนักการเมืองอวดรู้และนักวิชาการอวดเก่ง เพียงเพื่อสร้างชื่อ สร้างกระแสให้กับตัวเองเป็นสำคัญ  (อ่านต่อบทความแบบ PDF   คลิ๊กที่นี้สถานการณ์เช่นนี้ บางครั้งทำให้ผู้รับข่าวสารเกิดความตื่นตระหนกและเกิดความเข้าใจผิดๆ อยู่เสมอๆ และเรื่องเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อน(Tropical Cyclone) ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้คนในสังคมให้ความสนใจ เพราะเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า พายุหมุนเขตร้อนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลทำให้เกิดฝนตกหนักและทำให้เกิด น้ำท่วมได้โดยง่าย แต่ในการให้ข่าวของนักการเมืองที่เกี่ยวข้องและนักวิชาการที่ขาดความรับผิด ชอบบางท่าน ทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน และเกิดความตื่นตระหนกโดยไม่จำเป็นเสมอมาช่วงต้นปีที่ผ่านมา มีท่านรัฐมนตรีปลอดประสบการณ์ ออกมาแถลงข่าวราวกับเป็นนักพยากรณ์อากาศเสียเองว่า ปีนี้จะมี พายุหมุนเขตร้อนผ่านเข้ามาราว 30 ลูก ทั้งๆ ที่ความจริงพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดในย่านเอเชียแปซิฟิกประมาณปีละ 30 ลูกนั้นไม่ได้ผ่านเข้ามามีอิทธิพลต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศไทยหมดทั้ง 30 ลูก แต่จะผ่านเข้ามาทางประเทศเวียดนามเพียงแค่ 5 ลูก 10 ลูก และจะเข้าถึงประเทศไทยโดยเฉลี่ยเพียง 1-3 ลูกเท่านั้น จากสถิติในรอบ 60 ปี ของกรมอุตุนิยมวิทยา พายุหมุนเขตร้อน เคยเข้ามาถึงประเทศไทยได้มากที่สุดในปี พ.ศ. 2507และ 2508 ก็แค่ปีละ 9 ลูก หลายคนที่ไม่เคยรู้เรื่องเหล่านี้มาก่อนต่างก็ตกอกตกใจกันไปครั้งหนึ่งแล้วโดยเฉพาะช่วงเวลานี้ พายุหมุนเขตร้อนลูกที่ 24 ชื่อ Bopha ได้ก่อตัวขึ้นแล้ว และก็มีโอกาสที่จะเข้าถึงประเทศไทยได้เป็นลูกที่ 2 ด้วยเป็นการส่งท้ายฤดูมรสุมปีนี้ซึ่งถ้าพายุลูกนี้เข้ามาได้ในช่วงเวลานี้ (กลางเดือนธันวาคม) ย่อมสร้างความเสียหายได้มากกว่าช่วงเวลาอื่น เพราะจะมีโอกาสเข้าทางอ่าวไทยเหมือนพายุเกย์ แฮเรียส และลินดา ที่เคยสร้างความเสียหายอย่างมากมายมาแล้วต่อมารัฐมนตรีท่านนี้ก็ออกมาแถลงข่าวรับรองว่า ปีนี้น้ำจะไม่ท่วมเหมือนปีที่แล้วอย่างแน่นอน เพราะท่านได้เตรียมการรับมือไว้อย่างดีเยี่ยม ถ้าน้ำจะท่วมอย่างปีที่แล้วได้ จะต้องมีพายุเข้ามาถึง 10 ลูก ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงนั้น ไม่ต้องมีพายุเข้ามาถึง 10 ลูก(และไม่เคยมีด้วย) แค่เฉียดๆ เข้ามาสัก 2 ลูกติดๆ กัน สถานการณ์ก็คงไม่ต่างกับปีที่แล้วอย่างแน่นอน เพราะเมื่อปีที่แล้ว พายุหมุนเขตร้อนเข้าถึงประเทศไทยจริงๆแค่ลูกเดียวคือ พายุนกเตนส่วนอีก 2-3 ลูก ที่พูดๆ กันทั้งพายุไหหม่า และพายุไห่ถางนั้น แค่เฉียดๆมาเท่านั้น แต่นั่นก็ยังพอทำเนาเพราะเป็นคำพูดของนักการเมืองแต่ที่น่าผิดหวังก็ตรงที่มีนักวิชาการบางท่าน ออกมาให้ท้ายในทำนองเดียวกันด้วย ครั้นพายุแกมีก่อตัวและตั้งท่าจะมาขึ้นฝั่งเวียดนามตอนกลาง เป็นลูกแรก ดูเหมือนคนที่แตกตื่นกว่าใครก็คือท่านรัฐมนตรีนั่นเอง ท่านออกมาให้ข่าวได้ไม่เว้นแต่ละวันว่า พายุแกมีจะขึ้นฝั่งเวียดนามวันนั้นวันนี้ และจะเคลื่อนที่ผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทยวันนั้นวันนี้ ทั้งๆ ที่ตอนนั้นพายุแกมีกำลังเคลื่อนที่มุ่งหน้าไปทางฟิลิปปินส์ท่านแถลงว่า อิทธิพลของพายุแกมีจะทำให้ฝนตกหนักทั้งภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ กรณีนี้พอรับได้ แต่ที่ท่านให้ข่าวว่า พายุอาจทำให้เกิดนำทะเลยกตัว (Storm surge) ขึ้นที่อ่าวบ้านแหลม จ.เพชรบุรี สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนแถวเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ไปไม่น้อย แม้เรื่องนี้จะไม่มีนักวิชาการท่านใดเห็นด้วยกับท่านเลย แต่ท่านก็ว่าของท่านไปทั้งๆ ที่พายุแกมียังเป็นแค่เพียงพายุโซนร้อน (Tropical storm) และไม่ได้มีท่าทีว่าจะพัฒนาไปเป็นพายุไต้ฝุ่น (Typhoon) แต่อย่างใดเลย แม้สุดท้ายพายุแกมีจะหวนกลับมาขึ้นฝั่งเวียดนามจนได้แต่ก็เคลื่อนที่ผ่าน ประเทศกัมพูชา เข้ามาสลายตัวในประเทศไทย โดยไม่ได้ผ่านประเทศลาวตามคำคาดเดาของท่านรัฐมนตรีแต่อย่างใด อีกทั้งไม่ได้มีความรุนแรงเลวร้ายมากมายดังที่ท่านสร้างภาพไว้แต่ประการใด ด้วยดูเหมือนรัฐมนตรีท่านนี้ยัง ไม่เคยรู้สำนึกผิด ยังออกมาฟาดงวงฟาดงาต่อว่าต่อขานนักวิชาการบางท่านที่แสดงความเห็นแตกต่างไป จากท่านในเรื่องน้ำท่วมและน้ำแล้ง และถึงแม้จะเป็นคำพูดของนักการเมืองที่หลายคนไม่ค่อยเชื่อถืออยู่แล้ว แต่ สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ ความเห็นและความเชื่อผิดๆ ของนักการเมืองที่มักสร้างภาพด้วยวิธีนี้อาจกลายเป็นความเชื่อของคนทั่วไป ได้ และที่น่าผิดหวังมากก็ตรงที่มีนักวิชาการบางท่านออกมาเออออไปในทำนองเดียว กันด้วยหรือบางครั้งก็ใช้วิธีการสร้างภาพสร้างชื่อให้ตนเองเช่นเดียวกับนักการเมือง ด้วย เช่น ขณะที่พายุแกมีกำลังเคลื่อนตัวผ่านประเทศเวียดนาม ท่านก็ออกมาให้ข่าวล่วงหน้าเป็นสัปดาห์ว่าพายุแกมีจะมาขึ้นฝั่งเวียดนาม วันนั้นวันนี้ แถมสร้างความมั่นใจถึงขนาดกำหนดเส้นทางและเวลานั้นเวลานี้ด้วย ซึ่งไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยที่จะต้องรีบด่วนพยากรณ์ล่วงหน้าเป็นเวลานานขนาดนั้น (เลยดูเหมือนเป็นการแย่งซีนกรมอุตุนิยมวิทยา) และนักอุตุนิยมวิทยาจะไม่ทำเช่นนั้นเพราะทราบดีว่า ยิ่งการพยากรณ์ ล่วงหน้านานมากเท่าใด ความคลาดเคลื่อนก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้นโดยเฉพาะการพยากรณ์ถึงพายุหมุนเขตร้อนที่ปัจจุบันมีความแปรปรวนสูงมาก แต่กลับปรากฏว่า มีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยหนึ่งออกมาพยากรณ์ ถึงพายุพระพิรุณว่า จะเคลื่อนที่มาทางเดียวกับพายุแกมี ทั้งๆ ที่ตอนนั้นพายุพระพิรุณยังไม่ก่อตัวขึ้นด้วยซ้ำไป และสุดท้ายเมื่อพายุพระพิรุณก่อตัวขึ้นกลับเคลื่อนที่ขึ้นไปทางเหนือของ แปซิฟิกไม่ได้เฉียดมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลยแม้แต่น้อยการให้ข่าวที่ยังไม่มีความแน่นอนชัดเจน สร้างความตกอกตกใจให้กับคนที่หลงฟังแต่รัฐมนตรีท่านนี้ นับเป็นตลกร้ายสำหรับนักวิชาการที่รู้จริง เพราะหลายเรื่องออกมาจากความคิดความเห็นที่ขัดแย้งกับหลักการทางวิชาการ แต่นั่นยังไม่สำคัญเท่าความคิดความเห็นและความเชื่อที่ออกมาโดยอคติ เพราะความคิดและความเห็นที่ขัดแย้งกับหลักการทางวิชาการนั้น ยังพอชี้แจงทำความเข้าใจกันได้ แต่สำหรับความคิดความเห็นและความเชื่อที่เกิดจากอคตินั้น ยากที่จะชี้แจงทำความเข้าใจ เพราะผู้ที่คิดและเชื่อเช่นนั้นมักไม่ยอมเปิดใจรับฟังความคิดความเห็นที่แตก ต่างออกไป โดยเฉพาะผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โต หรือมีอำนาจบารมี ซึ่งโดยมากมักมีอัตตาสูงเหนือคนทั่วไป เช่น บรรดานักการเมืองอวดรู้และเหล่านักวิชาการอวดเก่ง (ที่รู้และเก่งไปเสียทุกเรื่อง) เป็นต้น ซึ่งคนพวกนี้มักมีอิทธิพลต่อความเชื่อของผู้คนในสังคมมากด้วย เพราะพวกเขามักปรากฏตามสื่อต่างๆจนเป็นที่จดจำของคนในสังคมเท่าที่แสดงมาทั้งหมดนี้มุ่งติติงทุกท่านที่ชอบให้ความเห็นในเรื่องที่ตนไม่ รู้จริง และอยากให้บุคคลในสื่อทุกแขนงและผู้เป็นแหล่งข่าว (ทั้งนักการเมืองและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง) ได้เรียนรู้เรื่องที่ควรรู้และเข้าใจในเรื่องที่ควรเข้าใจให้ถูกต้อง การให้ข่าวก็ดี การนำเสนอข่าวก็ดี จะได้ไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเหมือนที่ผ่านมา ดังกรณีของพายุแกมีและพระพิรุณ อันเป็นเหตุให้ประชาชนสับสน ขาดความเข้าใจที่ถูกต้องตามความเป็นจริง และไม่เป็นประโยชน์สำหรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้อีกในปีต่อๆ ไปโดยเฉพาะช่วงเวลานี้ พายุหมุนเขตร้อนลูกที่ 24 ชื่อ Bophaได้ก่อตัวขึ้นแล้ว และก็มีโอกาสที่จะเข้าถึงประเทศไทยได้เป็นลูกที่ 2 ด้วยเป็นการส่งท้ายฤดูมรสุมปีนี้ ซึ่งถ้าพายุลูกนี้เข้ามาได้ในช่วงเวลานี้ (กลางเดือนธันวาคม) ย่อมสร้างความเสียหายได้มากกว่าช่วงเวลาอื่น เพราะจะมีโอกาสเข้าทางอ่าวไทยเหมือนพายุเกย์ แฮเรียส และลินดา ที่เคยสร้างความเสียหายอย่างมากมายมาแล้ว ดังนั้น การให้ข่าวเรื่องนี้จึงน่าจะเอากรณีของพายุแกมีและพระพิรุณมาเป็นบทเรียนกัน บ้างประเทศนี้ ยังมีนักวิชาการที่มีความรู้และมีความเข้าใจเรื่องเหล่านี้อีกไม่น้อยที่เฝ้าดูอยู่ แม้พวกเขาจะไม่ค่อยยอมออกหน้า ออกตาอย่างนักการเมือง หรือนักวิชาการที่เกี่ยวข้องบางท่าน แต่ขึ้นชื่อว่านักวิชาการแล้ว หากไม่ติดขัดอุปสรรคอะไร ส่วนใหญ่ก็พร้อมที่จะให้ความเห็นและคำชี้แนะดีๆ ต่อสังคมอยู่แล้ว หากบุคคลในสื่อทั้งนักการเมืองและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง จะเปิดใจกว้างๆ รับฟังความคิดความเห็นที่หลากหลายด้วยความเคารพในหลักวิชาการผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่มา :ภาพและเนื้อหาจาก --แนวหน้า ฉบับวันที่ 5 ธ.ค. 2555  หน้า5(กลาง)--
12 กรกฎาคม 2555     |      9614
ถมที่หนีน้ำ ยิ่งถมก็ยิ่งท่วม โดย ผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร (มติชน )27 ก.ย. 2555
มหาอุทกภัยในปี พ.ศ.2554 ทำให้ตลอดปี พ.ศ.2555 คนในสังคมจึงพูดกันแต่เรื่อง น้ำท่วมๆ ทั้งๆ ที่ยังไม่ปรากฏสถานการณ์ใดๆ ที่ส่อแววให้เห็นว่า จะเกิดน้ำท่วมหนักหนาสาหัสเหมือนปีที่ผ่านมา ทั้งปริมาณฝนและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลาง ล้วนมีปริมาณต่ำกว่าปีที่แล้วมาทั้งสิ้น ซ้ำช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมที่ผ่านมา อ่านต่อบทความ คลิ๊กที่นี้ PDF         มหาอุทกภัยในปี พ.ศ.2554 ทำให้ตลอดปี พ.ศ.2555 คนในสังคมจึงพูดกันแต่เรื่อง น้ำท่วมๆ ทั้งๆ ที่ยังไม่ปรากฏสถานการณ์ใดๆ ที่ส่อแววให้เห็นว่า จะเกิดน้ำท่วมหนักหนาสาหัสเหมือนปีที่ผ่านมา ทั้งปริมาณฝนและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลาง ล้วนมีปริมาณต่ำกว่าปีที่แล้วมาทั้งสิ้น ซ้ำช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมที่ผ่านมา ยังปรากฏฝนทิ้งช่วงในหลายพื้นที่อีกด้วย ส่วนพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้ ส่วนใหญ่ก็เป็นเหตุการณ์ปกติของทุกๆ ปีอยู่แล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ำยม ทั้ง จ.แพร่ พิจิตร พิษณุโลก และสุโขทัย รวมไปถึง จ.นครสวรรค์ และพระนครศรีอยุธยา แต่สิ่งที่ น่าวิตกยิ่งกว่าสำหรับอนาคตก็คือ การเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดและไม่ควรเกิด ซึ่งกรณีนี้จะสร้างความเสียหายได้มากยิ่งกว่าการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ที่ ท่วมซ้ำซากเป็นอันมาก           หากย้อนเวลาไปสัก 30-40 ปี พื้นที่ท้ายน้ำตามปากแม่น้ำสายหลัก ทั้งเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง ล้วนเกิดน้ำท่วมเป็นประจำแทบทุกปีจนถือเป็นเรื่องปกติ ผู้คนที่อยู่อาศัยในพื้นที่เหล่านี้ก็หาได้ทุกข์ร้อนอะไรมากมายนัก จะทุกข์มากก็ตรงที่สวนล่มหรือนาล่ม ในกรณีที่น้ำมาเร็วหรือน้ำมามากกว่าทุกๆ ปี ส่วนบ้านเรือนก็ไม่เสียหาย เพราะยกพื้นสูงปล่อยให้น้ำไหลผ่านใต้ถุนบ้านไป ข้าวของสำคัญก็ขนย้ายขึ้นไว้บนบ้าน ถนนถูกน้ำท่วมเดินทางไปไหนไม่ได้ก็อาศัยเรือพายไป ความเป็นอยู่อื่นๆ ก็ปรับตัวกันได้ตามสภาพ แต่สำหรับพื้นที่ดอน ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นที่ดอนจึงไม่มีน้ำท่วมเพราะน้ำท่วมไม่ถึง ปัญหาน้ำท่วมในอดีตจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่ในยุคนั้น           แต่สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน แม้ปริมาณฝนและปริมาณน้ำหลากจะไม่ได้มากกว่าในอดีตมากมายนัก แต่สถานการณ์น้ำท่วมกลับสร้างความเสียหายได้มากกว่าอดีตเป็นอันมาก ทั้งนี้ เป็นเพราะน้ำมันท่วมสูงและเร็วกว่าที่ควรจะเป็น และน้ำมันยังหลากมาท่วมในพื้นที่ที่ไม่เคยท่วมมาก่อนอีกด้วย ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงบางประการของแต่ละกรณีได้ ดังนี้           กรณีน้ำท่วมสูงกว่าที่ควรจะเป็น ความเสียหายจากกรณีนี้จะไม่ผันแปรเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความสูงของน้ำ กล่าวคือ เมื่อน้ำท่วมสูงขึ้น 1 เมตร 2 เมตร 3 เมตร ความเสียหายจะไม่สูงขึ้นเป็น 1 เท่า 2 เท่า 3 เท่า ตามลำดับ แต่ความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมสูงขึ้นแต่ละเมตรนั้น เพิ่มขึ้นเป็นสิบเป็นร้อยเท่า เพราะแค่พื้นที่ถูกน้ำท่วมที่เพิ่มขึ้นก็จะมากกว่าสิบเท่าแล้วเมื่อน้ำท่วม สูงขึ้นแต่ละเมตร ในบางครั้งน้ำท่วมสูงขึ้นจากเดิมเพียง 5 ซม. 10 ซม. ก็มีผลต่อความเสียหายที่ต่างกันเป็นอันมากแล้ว เพราะน้ำอาจล้นเข้าบ้านหรือไม่เข้าบ้านก็ได้ ดังนั้น การกระทำใดๆ ที่ส่งผลให้ระดับน้ำสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น ล้วนสร้างความเสียหายต่อส่วนรวมได้มากมายเป็นอย่างยิ่ง เช่น การปิดกั้นเส้นทางน้ำไหลผ่าน การสร้างพนังกั้นน้ำท่วม และการยกระดับถนนหนีน้ำ เป็นต้น           กรณีน้ำท่วมเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ความเสียหายกรณีนี้เกิดจากผู้ประสบอุทกภัยไม่มีเวลามากพอต่อการแก้ไขปัญหา แม้จะเตรียมการไว้บ้างแล้วก็ตาม โดยปกติเวลาเกิดน้ำท่วมตามธรรมชาติ ระดับน้ำจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ไม่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเมตรๆ ภายในวันเดียว ยกเว้นพื้นที่ต้นน้ำที่มีความลาดชันสูง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ในลักษณะของน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กลางน้ำและท้ายน้ำนั้น วันหนึ่งๆ ระดับน้ำอาจสูงขึ้นได้เพียงแค่ 30-40 ซม.เท่านั้น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำ อย่างค่อยเป็นค่อยไปนี้ ทำให้ผู้ประสบภัยมีเวลามากพอที่จะหาทางป้องกัน หลีกเลี่ยง อพยพ หรือย้ายของหนีน้ำ ความเสียหายก็จะเกิดได้ไม่มาก การสร้างพนังกั้นน้ำโดยไม่จำเป็น รวมทั้งการสร้างพนังอย่างไม่เข้าใจเรื่องแรงดันของน้ำ และลักษณะของชั้นดินตรงบริเวณที่ก่อสร้าง เป็นเหตุทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นและเข้าท่วมได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดน้ำล้น รอด หรือพนังแตก (เอาไม่อยู่) กรณีของน้ำท่วมตัวเมืองนครสวรรค์ อ่างทอง ชัยนาท เมื่อปีที่แล้ว และล่าสุดที่ตัวเมืองสุโขทัย ระดับน้ำสูงขึ้นเป็นเมตรได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง จึงสร้างความเสียหายได้อย่างมากมายมหาศาล ดังนั้น สู้ปล่อยให้น้ำท่วมตามธรรมชาติเสียแต่แรกจะดีกว่า เพราะความเสียหายคงจะเกิดได้ไม่มากเท่าที่เกิดขึ้นแล้วนั้น เนื่องจากน้ำจะท่วมช้ากว่า แต่น้ำจะผ่านพ้นได้ไปเร็วกว่า           กรณีน้ำท่วมในพื้นที่ที่ไม่เคยท่วมมาก่อน ความเสียหายในกรณีนี้น่าวิตกมากที่สุด เพราะความเสียหายจะเกิดขึ้นได้มากกว่าพื้นที่ที่เคยถูกน้ำท่วมเป็นประจำ เนื่องจากผู้ประสบภัยไม่มีประสบการณ์มาก่อนทำให้เกิดความประมาท ไม่มีการเตรียมความพร้อมเพื่อจะเผชิญกับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า จึงขาดทั้งเครื่องและวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ดีพอในการรับมือกับ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น กรณีน้ำท่วมดอนเมืองคือ กรณีตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด พื้นที่นี้อาจเป็นพื้นที่เดียวของกรุงเทพฯที่น้ำท่วมไม่ถึงในปี พ.ศ.2485 แต่สำหรับปี พ.ศ.2554 กลับไม่พ้นถูกน้ำท่วม ทั้งๆ ที่ปริมาณน้ำปีนี้ ไม่ได้มากไปกว่าปีนั้นเลย ขนาดหน่วยงานของทางราชการก็ยังผิดพลาดที่เปิดพื้นที่ดอนเมืองให้ประชาชนเอา รถยนต์ไปจอดหนีน้ำ แต่กลับกลายเป็นการจอดรถรอให้น้ำท่วม เป็นเพราะคาดไม่ถึงนั่นเองจึงเอารถหนีน้ำออกมาไม่ทัน แม้แต่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เองก็ยังต้องอพยพหนีน้ำกันอย่างทุลักทุเล           ถึงตรงนี้จึงมีคำถามว่า ทำไมน้ำจึงมาท่วมในพื้นที่ที่ไม่เคยท่วม คำตอบที่ตรงและชัดเจนที่สุดคือ เพราะน้ำไม่สามารถไปท่วมในพื้นที่ที่มันเคยท่วม ด้วยพื้นที่เหล่านั้นถูกถมดินเพื่อสร้างบ้าน สร้างโรงงาน และสร้างถนนหนทาง จนไม่มีพื้นที่รองรับน้ำที่เคยไหลมาตามปกติในแต่ละปี หรือไม่ก็เป็นเพราะการสร้างสิ่งกีดขวางเส้นทางการไหลของน้ำ จนทำให้น้ำไม่สามารถไหลไปยังที่ที่มันเคยไปได้ น้ำจึงต้องไหลมาท่วมในพื้นที่ที่ไม่เคยท่วมและไม่ควรท่วม (ที่ดอน) นั่นเอง           ทุกวันนี้จะเห็นได้ว่า เวลาจะมีการสร้างบ้านเรือนหรืออาคารใดๆ สิ่งแรกที่มักจะทำกันก่อนเป็นอันดับแรกก็คือ ถมที่หนีน้ำ โดยมากก็จะถมที่ดินให้เท่าหรือสูงกว่าระดับถนนเสมอ ครั้นสองข้างทางเต็มไปด้วยอาคารบ้านเรือน เมื่อฝนตกน้ำก็ไหลลงไปท่วมถนน ครั้นพอมีการสร้างถนนใหม่ก็มักจะยกระดับถนนให้สูงขึ้นไปอีก เวลาฝนตกน้ำบนถนนก็ไหลย้อนเข้าสู่บริเวณบ้านและอาคาร สลับกันไปสลับกันมาอยู่เช่นนี้ กลายเป็นวงจรที่ไม่รู้จบ แม้แต่อาคารสำนักงานของทางราชการเองก็มีการกระทำไม่ต่างกับของชาวบ้าน และบางครั้งยังรุกล้ำแหล่งพักน้ำในธรรมชาติอีกด้วย สถานการณ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า การถมที่หนีน้ำไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ชาญฉลาดและยั่งยืน แต่เป็นแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแบบกวาดขยะซุกไว้ใต้ผืนพรมเท่านั้นเอง           ในอดีตกว่า 20 ปีมาแล้ว เคยมีผู้เสนอให้มีกฎหมายควบคุมการถมที่ดิน แต่ล่วงเลยมาจนถึงทุกวันนี้ ก็ยังไม่มีนักการเมืองหรือพรรคการเมืองใดให้ความสนใจร่างกฎหมายฉบับนี้ออกมา บังคับใช้ แต่ถึงอย่างไรก็ดี วันนี้ก็ยังนับว่าไม่สายเกินไปที่จะร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาบังคับใช้ เพราะยังมีพื้นที่อีกมากมายที่น้ำยังท่วมไม่ถึงในวันนี้ แต่กำลังรอให้น้ำท่วมในวันหน้า ตราบใดที่ยังมีการถมที่ดินกันอย่างไม่หยุดยั้งเช่นทุกวันนี้           เพราะเห็นกันชัดๆ แล้วว่า ถมที่หนีน้ำ ยิ่งถม ก็ยิ่งท่วม. ผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่มา :ภาพและเนื้อหาจาก --มติชน ฉบับวันที่ 27 ก.ย. 2555 (กรอบบ่าย)--
1 มกราคม 2557     |      8382
เรื่องของน้ำกับ นักการเมืองอวดรู้ และ นักวิชาการอวดเก่ง โดย ผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร (แนวหน้า) 24 กันยายน 2555
ตลอดปี พ.ศ. 2555 ผู้คนในสังคมพูดกันแต่เรื่อง น้ำท่วมๆ ทั้งๆที่ยังไม่ปรากฏสถานการณ์ใดๆที่ส่อแววให้เห็นว่า จะเกิดน้ำท่วมหนักหนาสาหัสเหมือนมหาอุทกภัยในปี พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา เพราะทั้งปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางล้วนมีปริมาณต่ำกว่าปีที่แล้วมาทั้งสิ้น อ่านต่อบทความ คลิ๊กที่นี้ PDF   ตลอดปี พ.ศ. 2555 ผู้คนในสังคมพูดกันแต่เรื่อง น้ำท่วมๆ ทั้งๆที่ยังไม่ปรากฏสถานการณ์ใดๆที่ส่อแววให้เห็นว่า จะเกิดน้ำท่วมหนักหนาสาหัสเหมือนมหาอุทกภัยในปี พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา เพราะทั้งปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางล้วนมีปริมาณต่ำกว่าปีที่แล้วมาทั้งสิ้น ซ้ำช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ที่ผ่านมายังปรากฏฝนทิ้งช่วงในหลายพื้นที่อีกด้วย และด้วยเหตุนี้ทำให้มีนักการเมืองอวดรู้และนักวิชาการอวดเก่งออกมาให้ข่าวรับรองว่า จะไม่เกิดน้ำท่วมหนักเหมือนปีที่ผ่านมา ด้วยการยกตัวเลขปริมาณน้ำปีนี้ว่าน้อยกว่าปีที่แล้วมาเป็นสิบๆเท่า ซ้ำยังมั่นใจในการบริหารจัดการน้ำถึงขนาดกล่าวว่า จะต้องมีพายุเข้ามาเป็นสิบลูกจึงจะสามารถทำให้เกิดน้ำท่วมได้เหมือนปีที่แล้วแม้โดยพื้นฐานด้านความเชื่อถือต่อคำพูดของนักการเมืองทั่วๆไปก็ต่ำอยู่แล้ว ยิ่งออกมาพูดในลักษณะนี้ ยิ่งน่าดูถูกในสติปัญญาและความสามารถยิ่งขึ้นไปอีก และที่สำคัญยังมีนักวิชาการบางท่านออกมาพูดชี้นำหรือพูดให้ท้ายก็ไม่ทราบได้อีก ความน่าเชื่อถือต่อนักวิชาการก็เลยพลอยตกต่ำลงไปด้วย เพราะสิ่งที่พูดสิ่งที่ยืนยันนั้นแทบไม่น่าเชื่อ ถือตามหลักวิชาการเลย จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่า นักวิชาการที่ออกมาพูดเช่นนี้มีความรอบรู้เรื่องน้ำดีพอหรือไม่ โดยเฉพาะความรู้ด้านอุตุนิยมวิทยา (Meteorology) และด้านอุทกวิทยา (Hydrology) และที่สำคัญที่สุดคือ มีความเข้าใจต่อการบูรณาการของทั้งสองวิชานี้ด้วยหรือไม่ หรือเคยเรียนวิชาอุทกอุตุนิยมวิทยา (Hydrometeorology) มาบ้างหรือเปล่าหากไม่เคยก็ขอเรียนให้ทราบว่า พวกท่านล้ำเส้นทางวิชาการมากเกินไปแล้วถึงตรงนี้จึงอยากจะทำความเข้าใจตามหลักวิชาการเกี่ยวกับเรื่องน้ำให้กับทุกคนที่พร้อมจะเปิดใจรับรู้ความเป็นจริง ดังนี้ประการแรก ต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า น้ำท่วมไม่ใช่อุทกภัยเสมอไป เพราะอุทกภัยคือ ภัยที่เกิดจากน้ำท่วม หากน้ำท่วมตามปกติในพื้นที่รับน้ำธรรมชาติย่อมไม่เกิดภัยใดๆ หากไม่มีใครบุกรุกเข้าไปทำกิจกรรมอะไรในที่นั้นๆ น้ำท่วมในพื้นที่ที่เคยท่วมจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร (ถ้าไม่ท่วมนั่นล่ะแปลก)  แต่ถ้าหากน้ำท่วมสูงกว่าปกติหรือท่วมเร็วกว่าปกติ น้ำก็จะเข้าท่วมในพื้นที่ที่ไม่เคยท่วมมาก่อนด้วย ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินก็จะเกิดขึ้น และนี่ก็คือ อุทกภัยจริงๆสำหรับพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมแล้วในปีนี้ ส่วนใหญ่ก็เป็นเหตุการณ์น้ำท่วมปกติของทุกๆปีอยู่แล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ทางตอนล่างของลุ่มน้ำยม ทั้ง จ.แพร่ พิจิตร พิษณุโลก และสุโขทัย รวมไปถึง จ.นครสวรรค์และพระนครศรีอยุธยา แต่สิ่งที่น่าวิตกยิ่งกว่าสำหรับอนาคตก็คือ การเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดและไม่ควรเกิด ซึ่งกรณีนี้จะสร้างความเสียหายได้มากยิ่งกว่าการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ที่ท่วมซ้ำซากเป็นอันมาก กรณีนี้จะเห็นได้ว่า สิ่งที่นักการเมืองพูด บาง ครั้งก็เป็นแค่น้ำท่วมไม่ใช่อุทกภัยที่แท้จริงประการที่สอง ปริมาณน้ำไม่ใช่สาเหตุหลักของน้ำท่วมและอุทกภัยเสมอไป ปริมาณน้ำมากอาจไม่ทำให้เกิดน้ำท่วมก็ได้ แต่ปริมาณน้ำน้อยก็อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตราการไหลของน้ำสูงสุด (Peak Flow) เป็นสำคัญ เช่น กรณีในปีที่แม้มีน้ำมาก แต่เป็นน้ำที่เกิดจากการกระจายของฝนที่สม่ำเสมอ (ทั้งเวลาและพื้นที่) อัตราการไหลสูงสุดของน้ำในลำน้ำก็อาจไม่สูงมากจนล้นฝั่งเป็นน้ำท่วมได้ เพียงแต่มีน้ำเต็มฝั่งตลอดเวลา ส่วนในปีที่แม้น้ำน้อย แต่ถ้าเป็นน้ำที่เกิดจากการกระจุกตัวของฝน อัตราการไหลของน้ำสูงสุดที่เกิดจากฝนตกแต่ละครั้งก็อาจสูงพอที่จะทำให้เกิดน้ำล้นฝั่งเป็นน้ำท่วมได้เป็นระยะๆ กรณีนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้พูดไม่ได้เข้าใจอะไรลึกซึ้งด้านอุทกศาสตร์ สมควรกลับไปอ่านตำราอุทกศาสตร์ให้เข้าใจเสียก่อนประการที่สาม พายุหมุนเขตร้อน(ทั้งพายุดีเปรสชั่น โซนร้อน และไต้ฝุ่น)ไม่เคยเข้าประเทศไทยได้มากถึง 10 ลูก แต่เคยเข้ามาได้สูงสุดในประวัติศาสตร์แค่ 9 ลูกในปี พ.ศ. 2507 และ 2508 ทำให้ประเทศไทยในสองปีดังกล่าวมีน้ำมาก แต่กลับเกิดปัญหาน้ำท่วมไม่รุนแรงเท่าปี พ.ศ. 2526 ที่มีพายุเข้าประเทศไทยได้ 5 ลูก และ พ.ศ. 2538 ที่มีพายุเข้าถึงประเทศไทยได้เพียงลูกเดียวเช่นเดียวกับเมื่อปีที่แล้ว ที่มีพายุเข้าถึงประเทศไทยเพียงแค่ลูกเดียวคือ พายุนกเต็น(Nock-ten) ส่วนพายุไหหม่า(Haima)และพายุไห่ถาง(Haitang) ก็แค่เฉียดๆเข้ามาเท่านั้น แต่กลับทำให้เกิดมหาอุทกภัยร้ายแรงเป็นประวัติศาสตร์ ของประเทศไทย และนี่คือข้อเท็จจริงที่บ่งบอกว่า นักการเมืองละนักวิชาการที่ให้ข่าวดังกล่าวเชื่อถือไม่ได้ หากในเดือนตุลาคมนี้ มีพายุเข้ามาได้สัก 2-3 ลูกติดๆกัน มหาอุทกภัยอย่างปีที่แล้วก็เกิดขึ้นได้อีกอย่างแน่นอน และถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นที่ว่านี้ขึ้นจริงๆ เชื่อว่านักการเมืองและนักวิชาการที่ให้ข่าวก็คงหาทางแก้ตัวแบบน้ำขุ่นๆไปอีกอย่างไม่ต้องสงสัย เหมือนกรณีน้ำท่วมสุโขทัย สองรอบสามรอบนั่นเอง กรณีนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้พูดไม่ได้เข้าใจอะไรเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศมากมายนัก เห็นควรกลับไปอ่านตำราด้านอุตุนิยมวิทยา และศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลให้มากกว่านี้เท่าที่ยกเหตุผลมาแสดงทั้งหมดนี้ไม่ได้มุ่งสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชน แต่อยากให้นักการเมืองที่ชอบอวดรู้และนักวิชาการหลายๆท่านที่ชอบอวดเก่งเพลาๆการให้ข่าวที่คลาดเคลื่อนจากหลักการทางวิชาการต่อประชาชน  เพราะจะทำให้ประชาชนมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง และต้องไม่ลืมว่า ประเทศนี้ยังมีนักวิชาการที่มีความรู้มีความเข้าใจอีกไม่น้อยที่เฝ้าดูอยู่ แต่เขาเหล่านั้นถูกนักการเมืองมองข้ามหัวไปเพราะไม่ยอมรับแนวทางที่ฉ้อฉลของการเมือง และส่วนหนึ่งก็ไม่อยากเปลืองตัวเสนอหน้า มาเป็นเครื่องมือให้นักการเมืองที่หาดีๆยาก แต่อย่างไรก็ดี พวกเขาเหล่านี้คงจะไม่ทอดทิ้งประชาชนและประเทศชาติ พวกเขาจึงคอยให้ความเห็นและคำชี้แนะดีๆ ที่นักการเมืองต้องคอยรับฟังด้วยความเคารพในหลักวิชาการขณะนี้(ปลายเดือนกันยายน) เป็นที่น่าดีใจว่า ร่องฝนหรือร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยกำลังเคลื่อนตัวลงมาทางภาคกลางแล้ว ขณะที่พายุหมุนเขตร้อนลูกที่ 16 ซึ่งควรเคลื่อนตัวมาทางเวียดนาม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อประเทศไทย กลับเคลื่อนตัวที่ขึ้นไปทางเหนือสู่คาบสมุทรเกาหลี ความเสี่ยงต่อฝนตกหนักและน้ำท่วมก็ลดลงทุกขณะ แต่ถึงอย่างไรก็คงไม่อาจไว้วางใจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์จนกว่าจะผ่านพ้นเดือนตุลาคมไปแล้ว เพราะจากข้อมูลตามสถิติของกรมอุตุนิยมวิทยา เดือนตุลาคม จัดเป็นช่วงเวลาที่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าถึงประเทศไทยได้มากที่สุด ดังนั้น จึงต้องคอยติดตามเรื่องนี้ด้วยความไม่ประมาทสำหรับสิ่งที่น่าเป็นห่วงอีกประการหนึ่งก็คือ ถ้าไม่มีพายุเคลื่อนตัวเข้ามาในช่วงเดือนตุลาคมนี้ อ่างเก็บน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่ในภาคเหนือ ทั้งเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์อาจเก็บกักน้ำไว้ได้น้อยกว่าทุกๆปี ซึ่งจะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำสำหรับทำนาปรังในช่วงต้นปีหน้า ดังนั้นจึงต้องคอยติดตามว่า ฤดูเพาะปลูกปี พ.ศ. 2555-2556 นี้ จะต้องลดพื้นที่ทำนาปรังลงกี่ล้านไร่ และนักการเมืองอวดรู้กับนักวิชาการอวดเก่งจะแก้ตัวหรือโทษดินฟ้าอากาศอย่างไรอีก ผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่มา :ภาพและเนื้อหาจาก แนวหน้า 24 กย. 2555
1 มกราคม 2557     |      8279
ทั้งหมด 3 หน้า