คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY
ร่วมสืบสานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง 2567
ร่วมสืบสานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง 2567วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร นำคณะผู้บริหาร และบุคลากร เข้าร่วมพิธีดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดี นำกล่าวขอขมาและขอพรจากผู้อาวุโส จากนั้น ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัย กล่าวอวยพรปีใหม่ให้กับบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการโดยในปีนี้ คณะได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดลาบเมือง (ลาบควายดิบ) และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวดขบวนแห่เครื่องครัวดำหัว (ขบวนใหญ่) ในงานพิธีดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ขอขอบคุณ? ผศ.อุมาพร? อุประ และ? ผศ.ดร.สุจิตรา รตนะมโน ?อาจารย์?อาวุโสของคณะที่เข้าร่วมในงานพิธีดำหัวฯ
17 กรกฎาคม 2567     |      52
คณะผู้บริหารจาก บริษัท ซีพีแรม จำกัด (สำนักงานใหญ่) โดยคุณเจริญ แก้วสุกใส ที่ปรึกษาอาสุโสคณะเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะผู้บริหาร ได้เข้าเยี่ยมชมอาคารคัดบรรจุผลผลิตทางการเกษตร
เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2567คณะผู้บริหารจาก บริษัท ซีพีแรม จำกัด (สำนักงานใหญ่) โดยคุณเจริญ แก้วสุกใส ที่ปรึกษาอาสุโสคณะเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะผู้บริหาร ได้เข้าเยี่ยมชมอาคารคัดบรรจุผลผลิตทางการเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร และเข้าร่วมหารือกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร อาจารย์.ดร.แพรวพรรณ จอมงาม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยี นวัตกรรมและจัดหารายได้ ในการกำหนดแนวทางการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัย คณะ และบริษัท ในการใช้พื้นที่อาคารคัดบรรจุผลผลิตทางการเกษตร และวัตถุดิบ เช่น พืชผัก ผลไม้ ของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตของบริษัท ต่อไปในอนาคต พร้อมทั้งเข้าเยี่ยมชมพื้นที่แปลงเกษตร สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยและศูนย์ปรับปรุงพันธ์ุและเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ ของมหาวิทยาลัย
17 กรกฎาคม 2567     |      67
วิศวกรรมอาหารคว้า 2 รางวัล จาก 3 ผลงาน ระดับชาติ
วันศุกร์ที่ 5 เมษายน 2567 คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ คณาจารย์ และนักศึกษาสาขาวิศวกรรมเกษตรและวิศวกรรมอาหาร ที่คว้า รางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศอันดับ 2 ในการประชุมวิชาการวิศวกรรมอาหารแห่งชาติ ครั้งที่ 10 (FENETT 2024 Conference) ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ดังนี้รางวัลชนะเลิศ ภาคบรรยาย : การออกแบบและพัฒนาเครื่องคัดเมล็ดกาแฟพีเบอร์รี่อนุพงศ์ เขื่อนแก้ว, อำนาจ ธนูไตร. จตุรภัทร วาฤทธิ์, ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร, บัณฑิต หิรัญสถิตพร, ศรัลยภัคร์ ชำนาญ, สุธาทิพย์ วงศ์พันธุ์เสือรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ภาคบรรยาย : การวิเคราะห์การไหลของอากาศแบบบังคับ ภายในตู้รมแก๊สโอโซนสำหรับลำไยสดผลเดี่ยว ด้วยเทคนิคพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณอนุชา ประมวล. มนัญชัย บุญคงจตุรภัทร วาฤทธิ์, สมเกียรติ จตุรงค์ล้ำเลิศ, สุเนตร สืบค้า, ศรัลยภัคร์ ชำนาญ, สุธาทิพย์ วงศ์พันธุ์เสือผลงานนำเสนอภาคบรรยาย : ผลกระทบของการแช่ต่อคุณสมบัติทางกายภาพ ของข้าวขาวมาเลเซีย (ข้าว RM 269) และ ข้าวขาวไทย (ข้าวหอมมะลิ) และการศึกษาเชิงความสัมพันธ์ภัคจีราพร ปู่ก่ำ, โรสนาห์ ชามสุดิน, จตุรภัทร วาฤทธิ์, ปูเตรี นูเรน เมกัต อาหมัด อัซมาน, ญ่าฮาร มุชลิซิยาห์Cr:วิศวกรรมอาหาร แม่โจ้https://www.facebook.com/story.php?id=100031704202280&story_fbid=1192588128474649
17 กรกฎาคม 2567     |      108
เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการลำไยแปลงใหญ่ตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2567 คณะเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอสารภี และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไยแปลงใหญ่ อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่เข้าร่วมอบรมโครงการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการลำไยแปลงใหญ่ตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ หัวหน้าหน่วยวิจัยสมาร์ทฟาร์มและโซลูชั่นการเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับ โดรนเพื่อการเกษตรและการเกษตรแม่นยำ+7
12 กรกฎาคม 2567     |      1437
ขอแสดงความยินดีกับทุกทีมที่เข้าร่วมแข่งขันโครงการการนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์ Eng-Agro Pitching 2024
ขอแสดงความยินดีกับทุกทีมที่เข้าร่วมแข่งขันโครงการการนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์ Eng-Agro Pitching 2024 สร้างไอเดียธุรกิจจากผลงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ผ่านพ้นไปแล้วกับ Pitching Day5 ทีม ได้นำเสนอไอเดียธุรกิจจากผลงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์โดยผลการแข่งขันมีดังนี้รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่ ทีม Food for Youจากสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 3,000 บาท ได้แก่ ทีม The eggจากสาขาวิศวกรรมอาหารรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 1,000 บาท ได้แก่ ทีม ENRP-MJU จากสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ และสาขาวิศวกรรมเกษตรรางวัลชมเชย จำนวน 2 ทีม เงินรางวัลทีมละ 500 บาท ได้แก่ทีม N.I.K จากสาขาวิศวกรรมเกษตรทีม ฅนใต้เบาะ จากสาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวEng-Agro Pitching เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยจุดประกายความคิด สร้างแรงบันดาลใจให้แก่น้องๆ นักศึกษา ในการนำความรู้จากแต่ละสาขาวิชามาต่อยอด พัฒนาสู่การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ สร้างธุรกิจ และเป็นเจ้าของกิจการได้ในอนาคตน้องๆที่สนใจ เตรียมตัวให้พร้อมแล้วพบกันใน Eng-Agro Pitching 2025 ค่ะ
12 กรกฎาคม 2567     |      214
เด็กวิศวะฯ การยางฯ ม.แม่โจ้ คว้า 2 เหรียญทอง I-New Gen Award 2024 สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเกษตร สร้างรายได้ ลดใช้พลังงาน รักษ์โลก
 นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้คว้า 2 รางวัลเหรียญทอง จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award 2024” (I-New Gen Award 2024) จัดขึ้นโดย สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา  ซึ่งมีการแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์จากนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมัธยม อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ในปีนี้คัดเลือกผลงานจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จากทั่วประเทศกว่า 1,000 ผลงาน จาก 330 สถาบันทั่วประเทศ  และมหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถคว้ามาได้ถึง  2 เหรียญทอง ในระดับอุดมศึกษา ได้แก่รางวัลเหรียญทอง กลุ่มเกษตร จากการคิดค้นนวัตกรรม “พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” โดย นางสาวรัชนี จิระพาณิชย์ และ นางสาวศศินิภา บุญมา  นักศึกษาชั้นปีที่ 1“พอรัส มัลซ์ (ผ้ายางคลุมดินอัจฉริยะ)” เป็นนวัตกรรมผ้ายางคลุมดินที่ช่วยระบายอากาศและน้ำได้ดี ลดการเกิดเชื้อโรค พืชเจริญเติบโตดี ลดการใช้พลังงานในการแปรรูป ลดการเกิดไมโครพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ใช้เทคโนโลยี IOT ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในดิน เหมาะแก่การใช้งานปลูกพืชอินทรีย์รางวัลเหรียญทอง กลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ จากการคิดค้นนวัตกรรม “กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” โดย นายวรพงศ์ ชูใจ นักศึกษาชั้นปีที่ 1“กรีนโกร์ว (ถุงเพาะชำยางรักษ์โลก)” เป็นถุงเพาะชำที่สามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ พืชเจริญเติบโตได้ดี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้เทคนิคพิเศษในการผสมยางพารากับแป้งมาเคลือบถุงกระดาษคราฟท์ที่ทำจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ช่วยลดการเผา ลด PM 2.5 และช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี อาจารย์ที่ปรึกษาจากหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับทั้ง 2 ผลงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นเวทีให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ คิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ที่มาช่วยแก้ปัญหาด้านการเกษตรในมิติต่าง ๆ แล้วยังช่วยเพิ่มช่องทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ช่วยเกษตรกรชาวสวนยางให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม   ซึ่งผลงานนวัตกรรมดังกล่าว ขณะนี้อยู่ในกระบวนการจดสิทธิบัตร เตรียมต่อยอดขยายผลเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมหรือผู้ประกอบการ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงนวัตกรรมนี้ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น”สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053 875000  และ  090 519 4926 Cr: ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ // รายงาน
3 กรกฎาคม 2567     |      155
ทั้งหมด 85 หน้า