คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY
อุปกรณ์ IOT สำหรับตรวจวัดและควบคุมการให้น้ำทางการเกษตรแบบแม่นยำอัตโนมัติ
อุปกรณ์ IOT เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดค่าระดับปริมาณความชื้นในดิน (Sensor note) ในช่วงค่าความชื้น 0-50 เปอร์เซ็นต์ความชื้น (db) เชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นสำหรับการกำหนดช่วงความชื้นและการแสดงผลสถานะการทำงานอุปกรณ์สามารถทำงานได้แบบ Stand alone ผลิตพลังงานจากแผง Solar cell อุปกรณ์ควบคุมปั๊มน้ำ/วาล์วน้ำไฟฟ้า (Control note) โดยอุปกรณ์ทั้งหมดสามารถใช้งานได้ในพื้นที่ที่มีสัญญาณและไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ เพื่อตอบโจทย์ข้อจำกัดในด้านพื้นที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ สามารถช่วยให้เกษตรกรบริหารจัดการน้ำในแปลงได้อย่างแม่นยำด้วยการจ่ายน้ำแบบอัตโนมัติตามค่าปริมาณความชื้นในดิน นอกจากนี้อุปกรณ์สามารถสั่งงานทางไกลผ่านแอพพลิเคชั่น ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาให้สั่งการจ่ายน้ำหรือดูข้อมูลพืชที่เพาะปลูกได้ผ่านแอปพลิเคชั่น iFarm#ประโยชน์ ช่วยลดต้นทุนการผลิตในด้านค่าแรงงานและพลังงานไฟฟ้า ช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ใช้งานง่าย ราคาถูกผลงานวิจัยโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้โทร. 062 -3956355Email : choatpong_k@hotmail.com
1 กันยายน 2565     |      541
"รองชนะเลิสอันดับ 1 เหรียญทอง ถุงเพาะชำย่อยสลายได้จากน้ำยางพาราข้นผสมแป้ง"
ผศ.ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ประเภทโปสเตอร์ ได้รับรางวัล รองชนะเลิสอันดับ 1 เหรียญทอง ของกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จากโครงงานเรื่อง ถุงเพาะชำย่อยสลายได้จากน้ำยางพาราข้นผสมแป้ง โดยมีสมาชิก นาย ติณณ์ อุสาพรหม นางสาวจรรยพร สีมาส่งเสริม นางสาวบรรธิตา บรรพลา โรงเรียนเลยพิทยาคม อ.เมือง จ.เลย ครูที่ปรึกษา นางสุพัตรา ไชยจันหอม ผศ.ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี ผศ. ดร.สุภาษร สกุลใจตรง
1 กันยายน 2565     |      623
“การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์”
งานบริการวิชาการและวิจัย นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.กาญจนา นาคประสม รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย และนายสุมิตร เชื่อมชัยตระกูล นักวิทยาศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ได้ให้บริการวิชาการ เรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์” เพื่อให้ความรู้และให้คำแนะนำด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น น้ำพริกตาแดง แชมพูสมุนไพร ผลิตภัณฑ์กาแฟ ผลิตภัณฑ์น้ำมันเหลือง ให้ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และยกระดับสินค้าในชุมชนให้มีมูลค่าสูงขึ้น ในวันที่ 23 สิงหาคม 2565 ณ เทศบาลตำบลสันป่าเปา อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
1 กันยายน 2565     |      254
การแข่งขันฟุตบอลวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรสัมพันธ์ EN-AGRO CUP'65
วันอาทิตย์ ที่ 21 สิงหาคม 2565 ชมรมวิศวกรรมแม่โจ้ จัดการแข่งขันฟุตบอลวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรสัมพันธ์ EN-AGRO CUP'65 ณ สนามกีฬาอินทนิล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์จักรพงษ์ พิมพ์พิมล คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นประธานในพีธีเปิดการแข่งขัน โดยมีนักศึกษาจากคณะวิศวฯ นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชมรมฟุตบอลศิษย์เก่าแม่โจ้ เข้าร่วมกิจกรรม แข่งขันฟุตบอล และแข่งขันกีฬา?พื้นบ้าน ขอขอบคุณ ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ? ดุษฎี รองอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์? ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดี ให้เกียรติเข้าร่วมมอบถ้วยรางวัล และร่วมในพิธีปิดการแข่งขัน
1 กันยายน 2565     |      204
“ห้องปฏิบัติการวิจัยอาหารแห่งอนาคต Future Food Lab (FFL)”
วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2565 ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หนึ่งในทีมงาน ผู้เชี่ยวชาญของห้องปฏิบัติวิจัยแห่งอนาคต ร่วมในพิธีเปิด ห้องปฏิบัติการวิจัยอาหารแห่งอนาคต Future Food Lab (FFL) ที่ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดขึ้น ณ อาคารพัฒนาวิสัยทัศน์“ห้องปฏิบัติการวิจัยอาหารแห่งอนาคต Future Food Lab (FFL)” เมืองนวัตกรรมอาหารส่วนขยาย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ “You are what you eat: better food better (กินอย่างไรให้สุขภาพดี) อยู่ภายใต้โครงการเมืองนวัตกรรมอาหารส่วนขยาย Food Innopolis@MAEJO แผนงาน Future Food Lab ที่อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร และนักศึกษาที่ต้องการใช้พื้นที่เพื่อทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ตลอดจนศึกษารวบรวมส่วนผสมที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารอินทรีย์ที่เชื่อมโยงวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น รวมทั้งเพิ่มช่องทางการตลาดในการจำหน่ายสินค้า สร้างโอกาสการเติบโตได้อย่างมีศักยภาพ ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต อย่างมีเสถียรภาพ ยั่งยืน และกระจายรายได้สู่สังคมต่อไปภายในงานยังมีการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “ทิศทางแห่งอนาคต นวัตกรรมอาหารใหม่ สู่อาหารโลกยั่งยืน (Novel Food)” โดย ดร.เอกอนงค์ จางบัว ผู้อำนวยการฝ่ายเมืองนวัตกรรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พร้อมทั้งเปิดตัวผู้เชี่ยวชาญของห้องปฏิบัติวิจัยแห่งอนาคต ได้แก่ ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร รศ.ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ และ ผศ.ดร.ชุติมา คงจรูญ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการด้านอณูศิลปะวิทยาการอาหาร ที่จะคอยดูแลและให้คำแนะนำต่างๆ
1 กันยายน 2565     |      210
กิจกรรมอบรมเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565
กำหนดการกิจกรรมอบรมเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 ณ ห้อง E 101 อาคารเรียนรวมสาขาวิศวกรรมศาสตร์ เวลา 13.30 -16.30 น. วันพุธที่ 24 สิงหาคม 2565 เทคนิคการเขียน Resumeเพื่อการสมัครงาน แนวทางการปฏิบัติตน และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร สืบค้า วันพุธที่ 7 กันยายน 2565 ข้อควรปฏิบัติงานสหกิจศึกษาและการเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินันท์ รัตนพรหม วันพุธที่ 14 กันยายน 2565 การสื่อสารและการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กร วันพุธที่ 21 กันยาน 2565 วัฒนธรรมองค์กร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ วันพุธที่ 28 กันยายน 2565 การเตรียมความพร้อมการนิเทศสหกิจศึกษาออนไลน์ รองศาสตราจารย์ ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์ วันพุธที่ 5 ตุลาคม 2565 ประสบการณ์การนิเทศสหกิจศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร ลงทะเบียนเวลา 13.00 น.
1 กันยายน 2565     |      196
กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
รองศาสตราจารย์จักรพงษ์ พิมพ์พิมล คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและสิ่งแวดล้อม นางชุลีพันธ์ วงศ์คำตัน ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2565วันอังคารที่ 9 สิงหาคม 2565 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2565 เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีภาคเช้า จัดกิจกรรมจิตอาสาปลูกป่า เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ร่วมกับการอบรมโครงการสานต่องานที่พ่อทำมุ่งสู่ป่าต้นแบบ ในโครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลักสูตร “ศาสตร์พระราชา ปกปักรักษาผืนป่ายั่งยืน” จัดปลูกป่าจำนวน 2000 ต้น ปล่อยสัตว์น้ำ 10000 ตัว และกิจกรรมสาธิตและสร้างฝายชะลอน้ำ โดยมีคณะผู้บริหาร บุคลากร เจ้าหน้าที่ รวมถึง มดดำประชาชน สโมสรลูกเสือนานาชาติ และนักเรียนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม ณ โครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริในภาคค่ำ จัดให้มีพิธีถวายพระพรชัยมงคล โดยมี รองศาสตราจารย์โดย ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีถวายพานพุ่ม นำกล่าวถวายราชสดุดีและจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร องค์กรนักศึกษา สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และพสกนิกรชาวแม่โจ้ เข้าร่วมพิธี ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
1 กันยายน 2565     |      193
"นวัตกรรมการแปรรูปอาหารจากผลผลิตเกษตร"
วันที่ 8 สิงหาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการแปรรูปอาหารจากผลผลิตเกษตรภายใต้โปรแกรมการอบรม "MAID Training Program 2022" การอบรมเพื่อติดตั้งองค์ความรู้และพัฒนากำลังคนจากความต้องการของสมาชิกชุมชนย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ ณ โรงงานต้นแบบการแปรรูปอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อบรมทำเวิร์คชอป ได้แก่ แยมลำไยมะนาว แยมมะนาว เยลลี่มะนาว เยลลี่ลำไยมะนาว เห็ดฝอยทอดกรอบปรุงรส แนะนำกล้วยผงชงดื่ม เค้กกล้วย กล้วยสติ๊ก เทคนิคอบแห้งทำลูกประคบและชาสมุนไพร หมูฝอยรสหม่าล่าฯ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการแปรรูป การยืดอายุการเก็บรักษา บรรจุภัณฑ์ และให้หนังสือคู่มือการแปรรูปอาหารอินทรีย์
1 กันยายน 2565     |      364
นักบินโดรนเพื่อการเกษตรรุ่นที่ 12
วันที่ 6-7 สิงหาคม 2565 ชมรมโดรนวิศวฯ จัดอบรมหลักสูตรนักบินโดรนเพื่อการเกษตรรุ่นที่ 12 สำหรับนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์จักรพงษ์ พิมพ์พิมล คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นประธานในพิธีเปิด การฝึกอบรม วิทยากรให้ความรู้โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร นายสกาย เทพบุญ ผู้ช่วยนักวิจัย รวมถึง ศิษย์เก่า และ นักศึกษาในชมรมโดรนวิศวฯ ภายใต้การควบคุมดูแลของ หน่วยวิจัยสมาร์ทฟาร์มและโซลูชั่นการเกษตร การอบรมครั้งนี้ ได้รับการตอบรับเข้าอบรมจากนักศึกษา คณะผลิตกรรมการเกษตร วิทยาลัยพลังงานทดแทน คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ และ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
1 กันยายน 2565     |      459
ทั้งหมด 96 หน้า