คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

ประเทศไทยนับเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรสำคัญของโลก จากข้อมูลสถิติการส่งออกอาหารของ World Trade Organization (WTO) ระบุว่าไทยมีส่วนแบ่งตลาดด้านการส่งออกอาหารอยู่ในอันดับ 5 ของโลกโดยในปี 2549 ไทยส่งออกอาหารกว่า 6 แสนล้านบาทไปทุกภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งมีสินค้าหลักที่ส่งออก เช่น กุ้ง 8 หมื่นล้านบาท อุตสาหกรรมทูน่า      5 หมื่นล้านบาท สับปะรดประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาท และไก่ 4 หมื่นล้านบาท จากแนวโน้มการแข่งขันทางธุรกิจที่เข้มข้น ผลักดันให้ภาคธุรกิจต้องยกระดับความสามารถในการดำเนินธุรกิจในทุกวิถีทาง

ทำให้โลจิสติกส์กลายเป็นเป้าหมายสำคัญที่ผู้ประกอบการนำมาใช้เป็นตัวเอกสร้างความได้เปรียบและสร้างแต้มต่อในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการอาหารต่างออกมายอมรับว่าแม้การพัฒนาดังกล่าวในบางอุตสาหกรรมอาจจะไม่ออกมาในรูปของต้นทุนโลจิสติกส์ด้านการผลิตที่ลดลง แต่สิ่งที่ได้รับและมีค่ามากกว่าคือกระบวนการทำงานที่มีการนำระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเข้ามาบริหารจัดการ รวมถึงการนำระบบไอทีที่ทันสมัยเข้ามาเชื่อมโยงระบบการทำงานทั้งภายในองค์กร และระหว่างองค์กรจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ พร้อมกันนี้ต้องมีการบริหารงานร่วมกับซัพพลายเออร์อย่างเข้มแข็ง เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตไปข้างหน้า

โลจิสติกส์สร้างแต้มต่ออุตสาหกรรมอาหาร การบริหารจัดการโลจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมอาหารวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญ คือ ต้องการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ รักษาสิ่งแวดล้อม และสามารถตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้ นอกจากนี้ตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นจนถึงมือลูกค้าจะต้องมีการบริหารจัดการโดยระบบโลจิสติกส์ที่ดี ไม่มีการปนเปื้อนระหว่างการขนส่ง และสามารถสอบกลับ (traceability) ว่าสินค้าผลิตจากอะไรบ้างและมีแหล่งผลิตอยู่ที่ไหน ผลิตเมื่อไร ซึ่งต่อไปตลาดหลักของโลกจะหันมาเอาจริงเอาจังและให้ความสำคัญเรื่องนี้มากขึ้น โลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมอาหารต้องใช้ความละเอียดรอบคอบมาก ต่างจากการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งปนเปื้อน เนื่องจากอาหารเป็นสิ่งที่คนต้องรับประทานเข้าไป การนำระบบโลจิสติกส์เข้ามาบริหารจัดการองค์กรช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้การทำงาน การวางแผนการทำงาน การจัดระบบการทำงานและการประสานงานมีความชัดเจนมากขึ้น 

รูปเพิ่มเติม 

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 1835

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

ประกาศรับสมัครทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปี 2567 จำนวน 41 ทุน ๆ ละ 6,000 บาท
ประกาศรับสมัครทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปี 2567 จำนวน 41 ทุน ๆ ละ 6,000 บาทคุณสมบัติ1. เป็นนักศึกษาของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ชั้นปีที่ 2-42. ไม่ถูกพักการศึกษา ไม่ถูกลงทางวินัย และไม่ได้รับทุนการศึกษาอื่นใด ยกเว้น กยศ.3. มีผลการเรียนเฉลี่ย ไม่น้อยกว่า 2.00การรับสมัครเปิดรับสมัครตั้งแต่วันประกาศถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 โดยผู้สมัครสแกน QR Code กรอกรายละเอียดและอัพโหลดเอกสารแนบ (บัตรนักศึกษาและสำเนาผลการเรียน) สอบถามเพิ่มเติมงานกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดี ชั้น 1 อาคารเรียนรวมสาขาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
20 กรกฎาคม 2567     |      36
ครงการนักวิจัยพบแหล่งทุนภายนอก โดยครั้งนี้ จัดในหัวข้อเรื่อง "การขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุน FTA"
งานบริการวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรขอเชิญชวนบุคลากรทุกท่าน เข้าร่วมโครงการนักวิจัยพบแหล่งทุนภายนอกโดยครั้งนี้ จัดในหัวข้อเรื่อง "การขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุน FTA"วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00-12.00 น.ผ่านระบบ microsoft Teamกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนเงินทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ในการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ปฏิรูปผลิตผลทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพ การแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและอาหารhttps://www.ftaoae.com/index
20 กรกฎาคม 2567     |      37