คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

            ถึงแม้ไทยจะส่งออกลำไยได้มากในแต่ ละปี แต่ยังคงมีปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข อย่างหนึ่งคือการตกค้างของ SO2 ในผลลำไยที่มีปริมาณสูง ส่งผลให้บางครั้งผลผลิตส่งออกถูกยกเลิกจากประเทศคู่ค้า ส่วนหนึ่งเนื่องจากกรรมวิธีรมลำไยไม่สามารถควบคุมปริมาณ และความเข้มข้นของสารได้ เหตุนี้ ผศ.จักรพงษ์ พิมพ์พิมล จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงออกแบบ "ห้องรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) กับผลลำไยสด" นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยลดสารตกค้าง ป้องกันโรค คงความสด และคุณภาพของลำไยได้อย่างมีประสิทธิผล

           ผศ.จักรพงษ์ หัวหน้าทีมวิจัย "ห้องรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) กับผลลำไยสดด้วยระบบหมุนเวียนอากาศแบบ forced-air ระดับอุตสาหกรรม" กล่าวว่า มีทีมงาน 4 คน ประกอบด้วย อ.ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร อ.จาตุพงศ์ วาฤทธิ์ และ อ.สมเกียรติ จาตุรงค์ล้ำเลิศ ซึ่งเป็นห้องรมระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับทั้งแนวตั้งแนวนอนเข้ามาช่วยใน กระบวนการรม SO2 จากการเผาผงกำมะถันและจากถังอัดความดันโดยตรง ซึ่งโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

          หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่า ใช้เวลากว่า 5 ปีศึกษาวิจัยซึ่งผลการศึกษาพบว่า ห้องรมหรือห้องอบระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับแนวตั้ง (Vertical forced-air) เหมาะนำมาใช้ในกระบวนการรม SO2 กับผลลำไยสด เนื่องจากช่วยลดระดับความเข้มข้นของ SO2 หลังสิ้นสุดการรมเหลือเพียง 4,000 ppm หรือ 4-5 เท่า เมื่อเทียบกับระดับความเข้มข้นของ SO2 ที่ผู้ประกอบการใช้อยู่ปัจจุบันคือ 1.5-2 หมื่น ppm

         อีกทั้งยังป้องกันการเกิดโรคและการเกิดสีน้ำตาลที่เปลือกผลลำไยได้ไม่ต่ำ กว่า 20 วัน หลังเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 95 เปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญยังช่วยให้ผลลำไยมีปริมาณ SO2 ตกค้างในเนื้อผลหลังจากรมทันทีไม่เกิน 8 ppm ซึ่งต่ำกว่ำเกณฑ์ ที่ประเทศแคนาดาและจีนกำหนดไว้ที่ 10 ppm และ 50 ppm ตามลำดับ

         "จากที่ได้ศึกษาร่วมกับผู้ประกอบการมาใช้ในเชิงการค้ากับผลลำไยสดที่ส่งไป ยังจีน ฮ่องกง พบว่าผู้ประกอบการและผู้บริโภคพึงพอใจ อีกทั้ง ยอมรับกับผลลำไยสดที่ได้ เนื่องจากวางขายในตลาดได้นานถึง 8 วัน โดยยังคงคุณภาพ สี ความสด รวมทั้งมีปริมาณสารตกค้างในเนื้อผลต่ำกว่าเกณฑ์ที่จีนกำหนดไว้ถึงร้อยละ 80" ผศ.จักรพงษ์ แจง

         พร้อมระบุว่า จากการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์พบว่า ค่าใช้จ่ายในการลงทุนสร้างห้องรมลำไยพร้อมชุดอุปกรณ์ราคาอยู่ที่ 5.6 แสนบาท มีกำลังการผลิต 10.6 ตันต่อวัน ซึ่งหากรับจ้างรม SO2 กับผลลำไยสดราคา 1 บาทต่อกิโลกรัม จะมีจุดคุ้มทุน 1,075 ตันต่อปี และมีระยะเวลาคืนทุน 3.4 เดือน

          ผศ.จักรพงษ์ ยอมรับว่า กระบวนการรม SO2 ดังกล่าวสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางลดปัญหาการมีปริมาณ SO2 ตกค้าง ช่วยรักษาคุณภาพผลลำไย รวมทั้งช่วยพัฒนากระบวนการรม SO2 กับผลลำไยสดของไทยให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากการใช้ SO2 กับผลิตผลสดทางเกษตรส่วนใหญ่มักใช้ในรูปของแก๊ส SO2 จากถังอัดความดันโดยตรงซึ่งมักมีข้อจำกัดเรื่องขั้นตอนและเวลาในการเผาไหม้

         สำหรับการนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ จากที่มีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน เข้าเยี่ยมชมห้องรมลำไยต่อเนื่อง กรมส่งเสริมการเกษตรจึงนำเอาผลการวิจัยบรรจุในแผนปฏิบัติงานพัฒนาระบบการ ผลิตและแปรรูปลำไยอย่างยั่งยืนระหว่างปี 2553-2557 รวมทั้งบริษัท ไทยฮงผลไม้ จำกัด นำเอานวัตกรรมห้องรมไปใช้ในเชิงการค้าด้วย

          อย่าง ไรก็ตาม ผู้ประกอบการส่งออกลำไย หรือเกษตรกรที่ต้องการรายเอียดเกี่ยวกับ "ห้องรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) กับผลลำไยสด" สามารถชมห้องรมต้นแบบได้ที่ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่

.............................................
ผศ.จักรพงษ์ พิมพ์พิมล
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ที่มา :ภาพและเนื้อหาจาก
คม ชัด ลึก 14 ส.ค. 2555
(ห้องรม'ลำไย'ด้วยซัลเฟอร์  นวัตกรรมยืดความสด-ลดสาร : โดย...ธานี กุลแพทย์)

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 7390

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปางวันนี้ 31 มีนาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร พร้อมด้วยผู้บริหาร ให้การต้อนรับคุณสมฤดี อินทรฉิม จากบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง ซึ่งได้เข้ามาแนะนำบริษัท ทำความรู้จัก และสร้างความสัมพันธ์เพื่อความร่วมมือในอนาคตการพบปะครั้งนี้เป็นก้าวแรกของการเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เพื่อเปิดโอกาสสู่ความร่วมมือในด้านการศึกษา สหกิจศึกษา ฝึกงาน และโอกาสทางอาชีพ คณะฯ ขอขอบคุณบริษัทเนเจอรี่ จำกัด ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่าย และหวังว่าจะได้ร่วมงานกันในอนาคต
11 เมษายน 2568     |      120
โครงการการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพร
เมื่อวันที่ 1-2 เมษายน 2568 งานบริการวิชาการและวิจัย ได้จัดโครงการการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพร ณ อาคารโรงงานนำร่อง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร โดย อาจารย์ ดร.แพรวพรรณ จอมงาม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยี นวัตกรรมและจัดหารายได้ เป็นหัวหน้าโครงการโครงการนี้จัดขึ้นเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยทางด้านการทำแห้งเพื่อคงปริมาณสารสำคัญ ได้แก่ ข้าวเกรียบสมุนไพร ไส้อั่วปลาอบแห้งโรยข้าว และการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมผลไม้ โดยมีวิทยากร ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม ผศ.ดร.ศรัญญา สุวรรณอังกูร อาจารย์ ดร.ตรีทิพย์ ชื่นสันต์ เป็นผู้นำองค์ความรู้มาถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในตำบลสันป่าเปา ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย ให้ชุมชนเกิดการพัฒนาตนเองด้านการแปรรูปอาหาร สร้างความยั่งยืนในอนาคต
11 เมษายน 2568     |      100
นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็น 1 ใน 5 ทีม นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568เมื่อวันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้นำทีมนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ประจำปี 2568 ณ ห้องประชุม 105 อาคารประเสริฐ ณ นคร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีและกล่าวเปิดโครงการ ซึ่งเป็นเวทีให้นักศึกษาได้มีโอกาสนำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและยกระดับศักยภาพของชุมชนในครั้งนี้ คณะวิศวกรรมฯ ได้ร่วมมือกับ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ส่งทีมนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันภายใต้ชื่อทีม "ชาลำ บำรุงสุข" ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 ทีมที่ได้นำเสนอผลงาน ในรอบนี้ ทีมชาลำ บำรุงสุข ได้ร่วมพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง บ้านสันป่าเหียน จังหวัดลำพูน โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้มากขึ้นการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ การพัฒนาแนวคิดเชิงธุรกิจ และการทำงานร่วมกับชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตอย่างยั่งยืน
11 เมษายน 2568     |      85
ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมลงนามในฐานะผู้แทนฝ่ายเจ้าภาพ ณ อาคารคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พิธีลงนามในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อวางรากฐานความร่วมมือในด้านการเรียนการสอนและการใช้ทรัพยากรร่วมกันในช่วงสถานการณ์วิกฤต อาทิ ภัยธรรมชาติ เหตุเพลิงไหม้ หรือเหตุการณ์ไม่สงบที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษา โดยทั้งสองหน่วยงานตกลงร่วมมือกันในการสนับสนุนการใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารสถานที่ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องมือ และวัสดุต่าง ๆ ตามความเหมาะสม โดยยังคงอยู่ภายใต้การดูแลและความรับผิดชอบของแต่ละสถาบัน ทั้งในด้านค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้จ่ายจากการใช้ทรัพยากรเฉพาะกรณีความร่วมมือครั้งนี้ยังครอบคลุมถึงการผลักดันกิจกรรมวิจัย การบริการวิชาการ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอาหารและผลิตผลเกษตร โดยมุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการพัฒนาโครงการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมจริงภายหลังพิธีลงนาม คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พาคณะผู้บริหารและบุคลากรจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ (FIN) รวมถึงอาคารเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงงานต้นแบบ และอาคาร CMU BIOPOLIS ซึ่งถือเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ความร่วมมือระหว่างทั้งสองสถาบันในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการและวิจัยของประเทศ พร้อมร่วมกันผลักดันความเจริญก้าวหน้าในภาคอุตสาหกรรมเกษตรอย่างมั่นคงและยั่งยืนCr :ขอบคุณรูปภาพจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
11 เมษายน 2568     |      106