คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

          คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มีนโยบายส่งเสริม สนับสนุน ให้นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมกันทำนุบำรุงสืบสานศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงามของไทยมาอย่างต่อเนื่อง และถือเป็นอีกพันธกิจหนึ่ง ที่สำคัญในการส่งเสริมระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ซึ่งงานประเพณียี่เป็ง เป็นงานประเพณีในภาคเหนือ จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทง คือ ในเดือนพฤศจิกายน โดยในแต่ละพื้นที่จะมีการตกแต่งบ้านเรือนและถนนหนทางด้วยโคมต่างๆ มีขบวนแห่กระทงและนางนพมาศ การประกวดโคมไฟ มีการจุดดอกไม้ไฟและการปล่อยโคมลอยซึ่งการปล่อยโคมลอยนี้ มีความเชื่อกันว่าเป็นการทำเพื่อบูชาพระธาตุ จุฬามณีบนสวรรค์ และเพื่อความสนุกสนาน สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ดังนั้นคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร จึงได้จัดงานประกวดโคมลอย ประเพณียี่เป็งขึ้น เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรในแต่ละหน่วยงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รวมถึงประชาชนทั่วไปในท้องถิ่นได้เห็นภาพและสัมผัสบรรยากาศกิจกรรมต่างๆ ในงานประกวดโคมลอย ประเพณียี่เป็ง ของชาวล้านนารวมทั้งเป็นการสืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทยให้คงอยู่สืบไป

 

สรุปผลการแข่งขันโคมลอยประเภท 72 แผ่น
มีจำนวนโคมลอยทั้งสิ้น 34 ลูก สามารถสรุปผลการแข่งขันได้ดังต่อไปน
ประเภทเงินรางวัล
ประเภท 72 แผ่น
ผู้ที่ได้รับรางวัล
รางวัลชนะเลิศ
3,500 บาท พร้อมโล่ห์

นายพงษ์ดนัย  ถาบุญ (หมายเลข 5)

จากทีมสารภีโคมลอย

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1
2,500 บาท

นายพงศกร  ขัติยนต์ (หมายเลข 20)

จากทีมแม่โป่งโคมลอย 2

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2
2,000 บาท

นายสุพัฒน์ชัย  โกนศรี (หมายเลข 27)

จากทีมโคมลอยลานนาเชียงใหม่

รางวัลชมเชย
1,000 บาท

นายพงศธร  ขัติวงศ์ (หมายเลข 30)

จากทีมละอ่อนใหม่

รางวัลชมเชย
1,000 บาท

นายศตวรรษ มณเทียน (หมายเลข 23)

จากทีมเด็กกลางทุ่ง (สารภี)

     
สรุปผลการแข่งขันโคมลอยประเภทแฟนซี
มีจำนวนโคมลอยทั้งสิ้น
24 ลูก สามารถสรุปผลการแข่งขันได้ดังต่อไปนี
     
รางวัลชนะเลิศ
5,000 บาท พร้อมโล่ห์

นายวีระยุทธ  ไทยกรณ์ (หมายเลข 12)

จากทีมแม่โป่งโคมลอย 1

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1
3,500 บาท

นายจำลอง  ขัติวงค์ (หมายเลข 14)

จากทีมดอกแดงโคมลอย

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2
2,500 บาท

นายพงษ์ดนัย  ถาบุญ (หมายเลข 13)

จากทีมสารภีโคมลอย

รางวัลชมเชย
1,500 บาท

น.ส.รุ่งอรุณ  ประยูรพัฒนะ (หมายเลข 11)

จากทีมโคมลอยท้องถิ่น

รางวัลชมเชย
1,500 บาท

นายกฤตกร  แสนสนิท (หมายเลข 15)

จากทีม Amazing Chiang Mai

     
สรุปผลการแข่งขันโคมลอยประเภทบุคลากรและนักศึกษา (ภายในม.แม่โจ้)
มีจำนวนโคมลอยทั้งสิ้น 17 ลูก สามารถสรุปผลการแข่งขันได้ดังต่อไปนี้
รางวัลชนะเลิศ
2,000 บาท พร้อมโล่ห์

นายขจรเกียรติ  ทุนกิจใจ หมายเลข 15

จากทีม คณะสัตวศาสตร์ (2)

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1
1,500 บาท

นายเสกสรร  แหล่งสายวงศ์ หมายเลข 3

จากทีม คณะประมงฯ (2)

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2
1,000 บาท

นายวุฒธินันท์  ทาจินะ หมายเลข 13

จากทีม น.ศ.คณะวิทยาศาสตร์

รางวัลชมเชย
700 บาท

นายอนุเกศ  หน่อใหม่ หมายเลข 11

จากทีม น.ศ.วิศวกรรม ปี 1

รางวัลชมเชย
700 บาท

นายเสกสรร  แหล่งสายวงศ์ หมายเลข 2

จากทีม คณะประมงฯ (1)

     
ปรับปรุงข้อมูล : 2/3/2554 4:07:54     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 4399

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปางวันนี้ 31 มีนาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร พร้อมด้วยผู้บริหาร ให้การต้อนรับคุณสมฤดี อินทรฉิม จากบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง ซึ่งได้เข้ามาแนะนำบริษัท ทำความรู้จัก และสร้างความสัมพันธ์เพื่อความร่วมมือในอนาคตการพบปะครั้งนี้เป็นก้าวแรกของการเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เพื่อเปิดโอกาสสู่ความร่วมมือในด้านการศึกษา สหกิจศึกษา ฝึกงาน และโอกาสทางอาชีพ คณะฯ ขอขอบคุณบริษัทเนเจอรี่ จำกัด ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่าย และหวังว่าจะได้ร่วมงานกันในอนาคต
11 เมษายน 2568     |      119
โครงการการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพร
เมื่อวันที่ 1-2 เมษายน 2568 งานบริการวิชาการและวิจัย ได้จัดโครงการการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพร ณ อาคารโรงงานนำร่อง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร โดย อาจารย์ ดร.แพรวพรรณ จอมงาม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยี นวัตกรรมและจัดหารายได้ เป็นหัวหน้าโครงการโครงการนี้จัดขึ้นเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยทางด้านการทำแห้งเพื่อคงปริมาณสารสำคัญ ได้แก่ ข้าวเกรียบสมุนไพร ไส้อั่วปลาอบแห้งโรยข้าว และการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมผลไม้ โดยมีวิทยากร ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม ผศ.ดร.ศรัญญา สุวรรณอังกูร อาจารย์ ดร.ตรีทิพย์ ชื่นสันต์ เป็นผู้นำองค์ความรู้มาถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในตำบลสันป่าเปา ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย ให้ชุมชนเกิดการพัฒนาตนเองด้านการแปรรูปอาหาร สร้างความยั่งยืนในอนาคต
11 เมษายน 2568     |      100
นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็น 1 ใน 5 ทีม นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568เมื่อวันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้นำทีมนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ประจำปี 2568 ณ ห้องประชุม 105 อาคารประเสริฐ ณ นคร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีและกล่าวเปิดโครงการ ซึ่งเป็นเวทีให้นักศึกษาได้มีโอกาสนำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและยกระดับศักยภาพของชุมชนในครั้งนี้ คณะวิศวกรรมฯ ได้ร่วมมือกับ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ส่งทีมนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันภายใต้ชื่อทีม "ชาลำ บำรุงสุข" ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 ทีมที่ได้นำเสนอผลงาน ในรอบนี้ ทีมชาลำ บำรุงสุข ได้ร่วมพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง บ้านสันป่าเหียน จังหวัดลำพูน โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้มากขึ้นการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ การพัฒนาแนวคิดเชิงธุรกิจ และการทำงานร่วมกับชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตอย่างยั่งยืน
11 เมษายน 2568     |      85
ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมลงนามในฐานะผู้แทนฝ่ายเจ้าภาพ ณ อาคารคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พิธีลงนามในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อวางรากฐานความร่วมมือในด้านการเรียนการสอนและการใช้ทรัพยากรร่วมกันในช่วงสถานการณ์วิกฤต อาทิ ภัยธรรมชาติ เหตุเพลิงไหม้ หรือเหตุการณ์ไม่สงบที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษา โดยทั้งสองหน่วยงานตกลงร่วมมือกันในการสนับสนุนการใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารสถานที่ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องมือ และวัสดุต่าง ๆ ตามความเหมาะสม โดยยังคงอยู่ภายใต้การดูแลและความรับผิดชอบของแต่ละสถาบัน ทั้งในด้านค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้จ่ายจากการใช้ทรัพยากรเฉพาะกรณีความร่วมมือครั้งนี้ยังครอบคลุมถึงการผลักดันกิจกรรมวิจัย การบริการวิชาการ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอาหารและผลิตผลเกษตร โดยมุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการพัฒนาโครงการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมจริงภายหลังพิธีลงนาม คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พาคณะผู้บริหารและบุคลากรจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ (FIN) รวมถึงอาคารเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงงานต้นแบบ และอาคาร CMU BIOPOLIS ซึ่งถือเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ความร่วมมือระหว่างทั้งสองสถาบันในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการและวิจัยของประเทศ พร้อมร่วมกันผลักดันความเจริญก้าวหน้าในภาคอุตสาหกรรมเกษตรอย่างมั่นคงและยั่งยืนCr :ขอบคุณรูปภาพจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
11 เมษายน 2568     |      106