คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

Maejo Team (ทีมวิศวประดิษฐ์) สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน BOSCH Thailand Cordless Racing 2011 รับเงินรางวัล 100,000 บาท และรางวัลสำหรับสถานศึกษา เครื่องมือไฟฟ้าสำหรับ การศึกษามูลค่า 100,000 บาท ทำความเร็วได้ 1.10.098 นาที ในการแข่งขันระยะทางรวมทั้งสิ้น 600 เมตร
ซึ่งเป็นการแข่งรถที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจากสว่านเพียง 4 เครื่อง โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะให้กับตัวนักศึกษา ที่ได้เรียนมาจากในห้องเรียนทั้งด้านการออกแบบ ด้านทฤษฎีเครื่อง จักรกลมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง โดยการแข่งขันในครั้งนี้ไม่ใช่แต่เป็นการแข่งขันภายในประเทศเพียงเท่านั้นแต่จะ ยังเป็นการแข่งขันเพื่อหาตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันกับทีมในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค ที่ประเทศจีน แล้วจะยังทำการแข่งขัน ต่อไปในระดับโลก ที่ประเทศเยอรมัน Maejo Team  ผ่านเข้ารอบสุดท้าย 10 ทีมจากการแข่งขันรอบคัดเลือกใน 5 ประเทศ จะเข้าร่วมการแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งแชมป์ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในวันที่ 22 กันยายน 2011

ทีม Maejo Team  รางวัลชนะเลิศ 100,000 บาท และรางวัลสำหรับสถานศึกษา
เครื่องมือไฟฟ้าสำหรับการศึกษามูลค่า 100,000 บาท มหาวิทยาลัยแม่โจ้

รศ. เสมอขวัญ ตันติกุล ควบคุมทีม
นายประวิทย์ อุธุโกผลการ
นายไพรัช สืบสาววงศ์
นายณัฐพล วันชูเสงใจ
นายชยากร เชิงริม
นางสาวสาลินี เปีย
ดี
นายเกียรติศักดิ์ อุตตมะติง
นายธีรวุฒิ คำวันศรี
นายถิรวัฒน์ วงษาเทียม

ทีม RoboAC รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 รับเงินรางวัล 60,000 บาท  และรางวัลสำหรับสถานศึกษา
เครื่องมือไฟฟ้าสำหรับการศึกษามูลค่า 60,000 บาท  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ทำความเร็วได้ 1.16.715 นาที ตลอดระยะทาง 600 เมตร

อ.ศุภชัย ตระกูลทรัพย์ทวี ควบคุมทีม
นายพิษณุ ทิมทอง
นายนนทิกร พูลมี
นายทนง ปิยะอารมณ์รัตน์
นายชยณัฐ สัตนันท์
นายศุภชัย  ปานโบ
นายณัฐชัย  ไวยโอรส
นายสัญญา  จันทร์สุข
นายน้อม  คนคล้อง 

ทีม Auto MaxIII รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2  รับเงินรางวัล 30,000 บาท และรางวัลสำหรับสถานศึกษา
เครื่องมือไฟฟ้าสำหรับการศึกษามูลค่า 30,000 บาท 
 
วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง  

ทีม iRAP RACING  รางวัล Popular Vote รับเงินรางวัล 10,000 บาท  สถาบันการศึกษา
เครื่องมือไฟฟ้า มูลค่า 10,000 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
 

รับรางวัลชมเชย เงินรางวัล 5,000 บาท

ทีม iRAP RACING      มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ทีม ALL Toasted        มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทีม SBC Auto Racing มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ทีม ศรีษกระบือ           มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ทีม KU Racing           มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

 

ภาพวันการแข่งขันหน้า รอบสุดท้าย ณ ลานด้านหน้า Central World วัน 2 -- 3 กรกฎาคม 2554

 

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 2408

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023
รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษา ปริญญาตรี และปริญญาโท ทีมปันแสน และ ทีมREISSCHEIN คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 จากกิจกรรมการนำเสนอผลงานนวัตกรรมสู่การพัฒนาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Startup Gate Pitching Challenge 2023) จากทั้งหมด 12 ทีม จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร (MAP) ในวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 "ทีมปันแสน" นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร กับผลงาน "เยลลี่บุกเสริมสารสกัดจากขมิ้นชันคุมหิวผิวสวย" ประกอบด้วย1. นางสาวเสาวลักษณ์ มณีทอง2. นายณัฐพงษ์ มุงเมือง3. นายอาทิตย์ ด่านกระโทก4. ผศ.ดร.ธีระพล เสนพันธุ์ (อ.ที่ปรึกษาทีม)ชนะเลิศอันดับ 2 "ทีม REISSCHEIN" กับผลงาน "ไวน์ข้าวออร์แกนนิค" นักศึกษา ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ประกอบด้วย1.น.ส.นันทกานต์ นันสาย2.น.ส.นัทธมน ขวัญทัย3.ผศ.ดร.กนกวรรณ ตาลดี (อ.ที่ปรึกษาทีม)
21 ตุลาคม 2566     |      175
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"ในวันที่ 27 กันยายน 2566 การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน Rubber Innovation Matching Day นำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการจับคู่ธุรกิจ ภายใต้โครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด 198 คน ทีมผู้เข้าร่วม 28 ทีม 91 คนผศ.ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นที่ปรึกษาโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางการพัฒนาด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยาง (Natural Rubber Startup Acceleration Program Batch 3) จากโครงการเรื่อง มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก โดยมีสมาชิก นายคณินทร์ชัย เอกพุฒิวงศ์ เกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลห้วยซ้อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ได้รับรางวัลชมเชยผลงานระดับ Product to Market (P2M) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพาราเข้าสู่ตลาด
21 ตุลาคม 2566     |      147
RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ
ทีม RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ ทีม : RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศ ผ่านเข้ารอบการแข่งขันการประกวดความเป็นไปได้ทางธุรกิจภายใต้โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 11 (Research to Market) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ฯทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และเป็นตัวแทนในการแข่งขันภูมิภาคเหนือต่อไป จำนวน 3 ทีม มีดังนี้ทีม : RUBBER GUARDผลงานวิจัย : น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิมอาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ทีมนักศึกษา1. นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร2. นางสาวขวัญกมล โนภา คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร3. นายรณกร เครือหงษ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร4. นางสาวธันชนก คำมา คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวณัฐกฤตา วงษ์สุวรรณ คณะบริหารธุรกิจ ทีม : AES Re-Energyผลงานวิจัย : การพัฒนาฉนวนกันความร้อนแบบคอนกรีตบล็อกผสมเถ้าชีวมวลอาจารย์ที่ปรึกษา : ดร. ภคมน ปินตานาทีมนักศึกษา1. นางสาวลลิตา เพชรใจหาญ คณะพลังงานทดแทน2. นางสาวศุภมาส ทวีสุข คณะพลังงานทดแทน3. นางสาวจรรยพร หลู่จิ่ง คณะพลังงานทดแทน4. นางสาวธัญรดา เอี่ยมหอม คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวรดาดาว มงคลแก้ว คณะบริหารธุรกิจ ทีม : Blis teamผลงานวิจัย : แผ่นมาสก์ปาก “Blis Balm”อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร. ศักดินันท์ นันตังทีมนักศึกษา1. นายเทพฤทธิ์ จาง คณะวิทยาศาสตร์2. นางสาววรรณวิษา กระจ่างฉาย คณะวิทยาศาสตร์3. นายธนชัญ คำภีระ คณะวิทยาศาสตร์4. นางสาวณัฐวิภา เผ่าดี คณะบริหารธุรกิจ5. นายพฤษชาติ แสนเขื่อนแก้ว คณะบริหารธุรกิจทั้งนี้ทีมนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจะเป็นตัวแทนในการแข่งขัน R2M ระดับภูมิภาคเหนือร่วมกับทีมตัวแทนจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมทั้งหมด 21 ทีม เพื่อคัดเลือกทีมนักศึกษา จำนวน 9 ทีม แข่งขันในระดับประเทศต่อไป โดยการแข่งขันระดับภูมิภาคเหนือจะจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย -1 ธ.ค 66 นี้ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
21 ตุลาคม 2566     |      195
Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท
ขอแสดงความยินดีกับทีม Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยฝ่ายบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (นักศึกษาปัจจุบัน และ ผู้จบการศึกษาไม่เกิน 5 ปี) จำนวน 4 ราย ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท (Ideation Incentive Program : #IDEA) รอบที่ 2/2566 จากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) เพื่อนำไปพัฒนาต้นแบบ (Mockup) และแผนธุรกิจฉบับสมบูรณ์ โดยการบ่มเพาะของเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MAP)1. โครงการ Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม"โดย นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง นักศึกษาจากสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ และนางสาวขวัญกมล โนภา นักศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ อาจารย์ประจำคณะคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่โจ้2. โครงการ PEAT PLANT วัสดุเพาะเมล็ดและต้นกล้าจากวัตถุอินทรีย์ธรรมชาติ โดย นายเกรียงไกร ใจยสุข นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาวิชาเกษตรอัจฉริยะ (ต่อเนื่อง) และทีมงานศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร อาจารย์ประจำคณะผลิตกรรมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สัตวศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้3.โครงการระบบเพาะเห็ดแบบแม่นยำ โดย นายพุทธพงษ์ สุวรรณกูล นักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทน นายนิติพัฒน์ ปัญญา และนายปิติพล จิ่งต่า ศิษย์เก่าวิทยาลัยพลังงานทดแทนอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.ภคมน ปินตานา และ อาจารย์ ดร.สุระพล ริยะนา อาจารย์ประจำวิทยาลัยพลังงานทดแทน วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ School of Renewable Energy, MJU.4.โครงการโจ๊กผำแม่โจ้ 1 เอ โดย นางสาวเกตุวลิน ล้ำเลิศนางสาวสุดา จันทะบัตร นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ นางสาวพิมลพรรณ เพ็งสุริยา นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร อายุมั่น อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
21 ตุลาคม 2566     |      207