คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

           อะไรๆก็ตามที่ขึ้นชื่อว่าเป็น สิ่งแรก อันแรก หรือครั้งแรก ล้วนเป็นเรื่องที่ยากจะลืมเลือน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะน่าจดจำหรือไม่ก็ตาม และการที่ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีหญิงเป็นครั้งแรก จึงเป็นเรื่องที่คนไทยต้องจดจำและไม่อาจจะลืมเลือน โดยไม่จำเป็นต้องมีอะไรมาเป็นข้อบ่งชี้ว่า เรื่องนี้ควรเป็นเรื่องที่น่าประทับใจและต้องจดจำ หรือมันจะเป็นจุดด่างพร้อยของประวัติศาสตร์ไทยที่เราต้องพยายามลืมๆกันไป ทั้งนี้เพราะผลงานที่ผ่านมาในรอบปีกว่าของฯพณฯนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยนั้น ยังไม่สามารถสร้างความประทับใจอะไรให้กับคนไทยและประเทศไทยได้อย่างชัดเจนนั่นเอง (อ่านต่อบทความแบบ PDF คลิ๊กที่นี้ )

สำหรับ นโยบายบ้านหลังแรกและนโยบายรถยนต์คันแรก นับเป็นนโยบายแรกๆที่ดำเนินการมาจนบรรลุผลโดยสมบูรณ์แล้ว การกล่าวถึงนโยบายนี้ ณ เวลานี้ จึงเป็นการวิจารณ์ถึงความเป็นจริงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่การวิพากษ์หรือคาดเดาเหมือนตอนเริ่มนโยบายแต่อย่างใด แต่ไม่ว่าจะเป็นการวิพากษ์หรือวิจารณ์ ผลลัพธ์ของมันก็แทบไม่ต่างกันเลย ดังนี้

ตั้งแต่รัฐบาลดำเนิน นโยบายบ้านหลังแรกมาจนถึงนโยบายรถยนต์คันแรก เป็นต้นมานั้น แม้ว่าหลายคนจะได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ โดยผู้บริโภคกลุ่มแรกที่ได้รับประโยชน์ไปเต็มๆแล้ว ล้วนเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า ผู้มีอันจะกิน เกือบทั้งสิ้น เพราะผู้ที่สามารถซื้อบ้านเดี่ยวในราคาเรือนล้าน หรือผู้ที่สามารถซื้อรถยนต์ใช้เป็นของส่วนตัวได้นั้น ย่อมไม่ใช่คนยากคนจนอย่างแน่นอนอยู่แล้ว อย่างน้อยต้องเป็นคนระดับกลางขึ้นไป

นโยบายทั้งสองเรื่องนี้จึงไม่ได้ช่วยเหลือกลุ่มคนยากคนจนตามที่รัฐบาลแถลงไว้แต่อย่างใด แต่เป็นการกระตุ้น กิเลสให้คนจนที่ยังไม่พร้อมจะมีบ้านและรถยนต์ส่วนตัว(ไม่รู้จักประมาณตนได้ดีพอ)กระโจนเข้าสู่วังวนของหนี้สินระยะยาว แทนที่คุณภาพชีวิตของคนกลุ่มนี้จะค่อยๆดีขึ้นเป็นลำดับตามศักยภาพและกำลังความสามารถ แต่คุณภาพชีวิตของคนกลุ่มนี้กลับจะค่อยๆต่ำลงเพราะภาระดอกเบี้ยที่ตามมา และอาจต้องกลายเป็นมนุษย์เงินกู้ไปตลอดชีวิตโดยปริยายด้วย

ขณะที่นโยบายบ้านหลังแรก สามารถกระตุ้นวงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้บ้างเล็กน้อย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเรื่องของบ้านผู้ซื้อต้องใช้วงเงินค่อนข้างสูงมาก(เป็นหลักล้าน)อีกทั้งยังมีปัจจัยแวดล้อมประกอบการตัดสินใจมากมายหลายประการ การยับยั้งชั่งใจของผู้บริโภคจึงค่อนข้างสูง การตัดสินใจจึงเป็นไปอย่างละเอียดรอบคอบ อุปสงค์ของบ้านหลังแรกจึงค่อยๆเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป ปัญหาที่ตามมาจึงมีไม่มากนัก

แต่สำหรับนโยบายรถยนต์คันแรกนั้นกลับต่างออกไป เพราะอุปสงค์ของรถยนต์คันแรกเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด จึงสามารถกระตุ้นอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ได้เป็นอันมาก ทั้งนี้คงเป็นเพราะการตัดสินใจของผู้บริโภคเรื่องรถยนต์ทำได้ง่ายกว่า เพราะวงเงินที่ใช้ต่ำกว่าบ้านมาก โดยรถยนต์ที่เข้าข่ายได้รับคืนเงินภาษีนั้น ต้องมีขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน ๑,๕๐๐ ซีซี (ราคาไม่ถึงล้านบาท) นโยบายนี้จึงมีผลกระทบโดยตรงในทางบวกต่อยอดการผลิตรถยนต์ของไทยในรอบปี ๒๕๕๕ ให้สูงเกิน ๒ ล้านคันได้เป็นปีแรก ซึ่งทำให้รัฐบาลหลงใหลได้ปลื้มกับความสำเร็จของนโยบายนี้เป็นอันมาก

แต่ถ้าพิจารณากันให้ถ่องแท้จะเห็นได้ว่า ยอดการจำหน่ายรถยนต์ที่สูงขึ้นอย่างชัดเจนนั้นมาจากยอดขายภายในประเทศเป็นหลัก ส่วนยอดส่งขายไปยังต่างประเทศนั้นไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมากมายแต่อย่างใด ซึ่งชี้ให้เห็นว่า  แม้โดยภาพรวมบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และอะไหล่ภายในประเทศ และธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากนโยบายนี้ แต่บริษัทแม่จากต่างชาติกลับได้รับประโยชน์ไปเต็มๆง่ายๆมากกว่าใคร

ดังนั้น กรณีนี้จึงไม่น่าจะปลาบปลื้มเท่าไรนัก เพราะนอกจากงบประมาณของชาติจะสูญไปนับแสนล้านบาทกับนโยบายนี้แล้ว เงินตราส่วนหนึ่งยังไหลออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย ขณะที่นโยบายนี้สร้างประโยชน์เพียงเล็กน้อยกับคนในชาติแค่กลุ่มเล็กๆเท่านั้น ซึ่งล้วนไม่ใช่คนยากคนจน แต่เป็นคนชั้นกลางและเหล่ามหาเศรษฐีเจ้าของกิจการร่วมทุนกับต่างชาติแทบทั้งสิ้น

และในทางกลับกัน นโยบายรถยนต์คันแรก กลับมีผลทำให้ธุรกิจรถยนต์มือสองต้องซบเซาอย่างช่วยไม่ได้ และไม่มีใครช่วย แต่เชื่อว่าในระยะเวลาอีกไม่เกิน ๕ ปี ธุรกิจนี้จะกลับมาคึกคักอีกอย่างแน่นอน เพราะรถยนต์คันแรกจำนวนไม่น้อยจะต้องถูกปล่อยออกมาสู่ตลาด อันมีสาเหตุมาจากภาระหนี้สินที่ล้นมือของผู้ซื้อที่ยังไม่พร้อมในตอนนี้ และจะเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้บริโภคที่คิดจะซื้อหารถยนต์มือสองไว้ใช้ในตอนนั้น

ขณะนี้ มีผู้บริโภคที่ด่วนตัดสินใจซื้อรถยนต์คันแรกไปใช้ตั้งแต่ปีก่อนทั้งๆที่ยังไม่มีความพร้อม บางส่วนเริ่มมีปัญหาค้างชำระเงินค่างวดแล้ว (ตามรายงานข่าวของวงการสินเชื่อ) ถึงตรงนี้ เค้าลางของปัญหาเริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจนขึ้น กรณีที่ผู้ซื้อไม่อาจครอบครองรถยนต์ไว้จนครบ ๕ ปีตามเงื่อนไข จะเป็นด้วยสาเหตุทางการเงินหรืออุบัติเหตุใดๆก็ตามแต่ การเรียกคืนเงินภาษีที่ผู้ซื้อรับไปแล้ว (รัฐบาลจ่ายคืนให้เมื่อผู้ซื้อครอบครองรถยนต์ไว้ครบปี) ซึ่งคาดว่าจะถูกใช้จ่ายจนหมดไปในเวลาอันรวดเร็วนั้น จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมผู้ซื้อให้มีปัญหาทางการเงินหนักยิ่งขึ้นไปอีก  และเมื่อถึงขั้นนั้น รถยนต์คันแรกก็จะกลายเป็นรถยนต์คันสุดท้ายในชีวิตของผู้ซื้ออย่างไม่ต้องสงสัย

ทั้งหมดที่กล่าวมายังไม่รวมถึงภาวะเงินเฟ้อที่กำลังส่อเค้าว่าจะเป็นปัญหาตามมาในเร็ววันนี้ อันเป็นผลจากนโยบายอื่นๆที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ เช่น ค่าจ้างขั้นต่ำ ๓๐๐ บาท เงินเดือนปริญญาตรี ๑๕,๐๐๐ บาท และนโยบายประชานิยมอื่นๆอีกหลายนโยบาย ที่ล้วนมีส่วนกดดันให้ภาระค่าครองชีพสูงขึ้นไปอีก

การที่ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีหญิงเป็นครั้งแรกนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีตามยุคตามสมัย และไม่มีเหตุผลใดที่จะปฏิเสธเพราะความเป็นผู้หญิง เว้นเสียแต่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทยจะไม่สามารถกำหนดนโยบายใหม่ๆ หรือดำเนินนโยบายอะไร ที่ก่อให้เกิดสัมฤทธิผลต่อประชาชนและประเทศชาติได้มากไปกว่านโยบายบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น แม้ไม่มีใครคิดขอให้ ฯพณฯ เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกและคนสุดท้ายของประเทศไทย แต่อย่างน้อยก็คงต้องขอให้ฯพณฯ เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกเพียงแค่สมัยแรกและสมัยสุดท้ายเถอะ

ผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ที่มา :ภาพและเนื้อหาจาก (แนวหน้า )  19 มี.ค 2556

ปรับปรุงข้อมูล : 4/9/2556 11:36:49     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 2871

กลุ่มข่าวสาร : บทความน่าสนใจ

ข่าวล่าสุด

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023
รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษา ปริญญาตรี และปริญญาโท ทีมปันแสน และ ทีมREISSCHEIN คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 จากกิจกรรมการนำเสนอผลงานนวัตกรรมสู่การพัฒนาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Startup Gate Pitching Challenge 2023) จากทั้งหมด 12 ทีม จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร (MAP) ในวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 "ทีมปันแสน" นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร กับผลงาน "เยลลี่บุกเสริมสารสกัดจากขมิ้นชันคุมหิวผิวสวย" ประกอบด้วย1. นางสาวเสาวลักษณ์ มณีทอง2. นายณัฐพงษ์ มุงเมือง3. นายอาทิตย์ ด่านกระโทก4. ผศ.ดร.ธีระพล เสนพันธุ์ (อ.ที่ปรึกษาทีม)ชนะเลิศอันดับ 2 "ทีม REISSCHEIN" กับผลงาน "ไวน์ข้าวออร์แกนนิค" นักศึกษา ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ประกอบด้วย1.น.ส.นันทกานต์ นันสาย2.น.ส.นัทธมน ขวัญทัย3.ผศ.ดร.กนกวรรณ ตาลดี (อ.ที่ปรึกษาทีม)
21 ตุลาคม 2566     |      197
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"ในวันที่ 27 กันยายน 2566 การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน Rubber Innovation Matching Day นำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการจับคู่ธุรกิจ ภายใต้โครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด 198 คน ทีมผู้เข้าร่วม 28 ทีม 91 คนผศ.ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นที่ปรึกษาโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางการพัฒนาด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยาง (Natural Rubber Startup Acceleration Program Batch 3) จากโครงการเรื่อง มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก โดยมีสมาชิก นายคณินทร์ชัย เอกพุฒิวงศ์ เกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลห้วยซ้อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ได้รับรางวัลชมเชยผลงานระดับ Product to Market (P2M) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพาราเข้าสู่ตลาด
21 ตุลาคม 2566     |      162
RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ
ทีม RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ ทีม : RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศ ผ่านเข้ารอบการแข่งขันการประกวดความเป็นไปได้ทางธุรกิจภายใต้โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 11 (Research to Market) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ฯทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และเป็นตัวแทนในการแข่งขันภูมิภาคเหนือต่อไป จำนวน 3 ทีม มีดังนี้ทีม : RUBBER GUARDผลงานวิจัย : น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิมอาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ทีมนักศึกษา1. นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร2. นางสาวขวัญกมล โนภา คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร3. นายรณกร เครือหงษ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร4. นางสาวธันชนก คำมา คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวณัฐกฤตา วงษ์สุวรรณ คณะบริหารธุรกิจ ทีม : AES Re-Energyผลงานวิจัย : การพัฒนาฉนวนกันความร้อนแบบคอนกรีตบล็อกผสมเถ้าชีวมวลอาจารย์ที่ปรึกษา : ดร. ภคมน ปินตานาทีมนักศึกษา1. นางสาวลลิตา เพชรใจหาญ คณะพลังงานทดแทน2. นางสาวศุภมาส ทวีสุข คณะพลังงานทดแทน3. นางสาวจรรยพร หลู่จิ่ง คณะพลังงานทดแทน4. นางสาวธัญรดา เอี่ยมหอม คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวรดาดาว มงคลแก้ว คณะบริหารธุรกิจ ทีม : Blis teamผลงานวิจัย : แผ่นมาสก์ปาก “Blis Balm”อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร. ศักดินันท์ นันตังทีมนักศึกษา1. นายเทพฤทธิ์ จาง คณะวิทยาศาสตร์2. นางสาววรรณวิษา กระจ่างฉาย คณะวิทยาศาสตร์3. นายธนชัญ คำภีระ คณะวิทยาศาสตร์4. นางสาวณัฐวิภา เผ่าดี คณะบริหารธุรกิจ5. นายพฤษชาติ แสนเขื่อนแก้ว คณะบริหารธุรกิจทั้งนี้ทีมนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจะเป็นตัวแทนในการแข่งขัน R2M ระดับภูมิภาคเหนือร่วมกับทีมตัวแทนจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมทั้งหมด 21 ทีม เพื่อคัดเลือกทีมนักศึกษา จำนวน 9 ทีม แข่งขันในระดับประเทศต่อไป โดยการแข่งขันระดับภูมิภาคเหนือจะจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย -1 ธ.ค 66 นี้ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
21 ตุลาคม 2566     |      210
Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท
ขอแสดงความยินดีกับทีม Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยฝ่ายบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (นักศึกษาปัจจุบัน และ ผู้จบการศึกษาไม่เกิน 5 ปี) จำนวน 4 ราย ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท (Ideation Incentive Program : #IDEA) รอบที่ 2/2566 จากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) เพื่อนำไปพัฒนาต้นแบบ (Mockup) และแผนธุรกิจฉบับสมบูรณ์ โดยการบ่มเพาะของเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MAP)1. โครงการ Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม"โดย นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง นักศึกษาจากสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ และนางสาวขวัญกมล โนภา นักศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ อาจารย์ประจำคณะคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่โจ้2. โครงการ PEAT PLANT วัสดุเพาะเมล็ดและต้นกล้าจากวัตถุอินทรีย์ธรรมชาติ โดย นายเกรียงไกร ใจยสุข นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาวิชาเกษตรอัจฉริยะ (ต่อเนื่อง) และทีมงานศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร อาจารย์ประจำคณะผลิตกรรมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สัตวศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้3.โครงการระบบเพาะเห็ดแบบแม่นยำ โดย นายพุทธพงษ์ สุวรรณกูล นักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทน นายนิติพัฒน์ ปัญญา และนายปิติพล จิ่งต่า ศิษย์เก่าวิทยาลัยพลังงานทดแทนอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.ภคมน ปินตานา และ อาจารย์ ดร.สุระพล ริยะนา อาจารย์ประจำวิทยาลัยพลังงานทดแทน วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ School of Renewable Energy, MJU.4.โครงการโจ๊กผำแม่โจ้ 1 เอ โดย นางสาวเกตุวลิน ล้ำเลิศนางสาวสุดา จันทะบัตร นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ นางสาวพิมลพรรณ เพ็งสุริยา นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร อายุมั่น อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
21 ตุลาคม 2566     |      222