คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

     ตั้งแต่รัฐบาลดำเนินการตาม นโยบายรถยนต์คันแรก เป็นต้นมา กว่าเจ็ดแสนคนได้รับอานิสงส์กันไปแล้ว และคาดว่าผู้ได้รับอานิสงส์จะเพิ่มขึ้นไปอีกเป็นกว่าหนึ่งล้านคนเพราะรัฐบาล ได้ขยายเวลาการจองรถได้มาจนถึงปลายปีที่แล้ว ขณะที่รัฐบาลกำลังปลาบปลื้มกับผลงานชิ้นนี้ เพราะช่วยกระตุ้นยอดการผลิตรถยนต์ภายในประเทศในปี พ.ศ.2555 ขึ้นไปถึงสองล้านกว่าคัน ทั้งๆ ที่นโยบายนี้สวนทางกับนโยบายการประหยัดพลังงานและการลดการนำเข้าน้ำมันอย่าง ชัดเจน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มภาระหนี้สาธารณะของประเทศให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก ส่วนนโยบายนี้จะมีผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติมากน้อยแค่ไหน มีใครได้ใครเสียบ้าง คงป่วยการที่จะกล่าวถึงแล้วในเวลานี้ เพราะการดำเนินนโยบายได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าในเวลานี้ก็คือ ผู้บริโภคที่ดิ้นรนเข้าร่วมใช้สิทธิ์จนทันเวลาตามนโยบายนี้ หลายคนหลวมตัววางเงินจองไปแล้ว ขณะที่ยังมีอีกมากที่ยังรู้สึกเสียดายว่า พลาดโอกาสการเป็นเจ้าของรถยนต์คันแรกในชีวิตไป แต่นั่นอาจเป็นเรื่องดีก็ได้ หากได้หันมาทบทวนเรื่องนี้กันอย่างรอบคอบอีกครั้งหนึ่ง (อ่านต่อบทความแบบ PDF   คลิ๊กที่นี้ )

ที่ผ่านมา ผู้บริโภคกลุ่มแรกที่ได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ แล้วล้วนเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า ผู้มีอันจะกิน เพราะคนเหล่านี้มีเงินมีกำลังซื้ออยู่แล้ว สามารถตัดสินใจได้ในทันที แม้เดิมคนกลุ่มนี้ไม่ได้คิดจะซื้อรถเพิ่มเพราะไม่มีความจำเป็น(มีใช้อยู่ แล้ว) แต่การได้ประโยชน์เห็นๆ จากการคืนเงินภาษีของรัฐบาลสูงสุดถึงคันละหนึ่งแสนบาท ทำให้คนกลุ่มนี้ต้องรีบฉวยโอกาสทันที การใช้ชื่อคนในครอบครัว หรือแม้แต่คนงานคนรับใช้ภายในบ้านมาใช้สิทธิจึงไม่ใช่เรื่องแปลก ไม่ผิดเงื่อนไข และไม่ได้ยากที่จะกระทำ แม้ได้ชื่อว่า รถยนต์คันแรกในทางนิตินัย แต่กลับกลายเป็นรถยนต์คันที่ 2 3 4 5…ของครอบครัวในทางพฤตินัย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังซื้อเป็นสำคัญ เพราะโอกาสที่จะซื้อรถยนต์ราคาถูกกว่าปกติเป็นเรือนแสนเช่นนี้ไม่ได้หาง่ายๆ กรณีนี้นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายสำหรับภาษีที่รัฐควรจะได้ แต่กลับต้องเสียไปให้กับคนมีอันจะกินอยู่แล้ว

ผู้บริโภคกลุ่มต่อมาที่ได้ประโยชน์ได้แก่ ผู้ที่ครอบครัวยังไม่เคยมีรถยนต์เป็นของตนเองจริงๆ แต่พอจะกัดฟันอดออมเพื่อรถยนต์คันแรกของครอบครัวได้ (มีศักยภาพพอ) และอยู่ในช่วงกำลังมองหารถยนต์ใช้อยู่พอดี จึงนับว่าเป็นโชคดีเป็นโอกาสเหมาะของคนกลุ่มนี้อย่างแท้จริง จึงต้องขอแสดงความยินดีกับคนกลุ่มนี้ แต่น่าเชื่อว่าคนกลุ่มนี้มีจำนวนไม่มากนัก เพราะเป็นอุปสงค์ปกติตามกลไกตลาด แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มคนที่เหลือ เพราะนอกจากคนสองกลุ่มแรกแล้ว กลุ่มคนที่เหลือล้วนอยู่ในฐานะที่ยังไม่พร้อมจะมีรถยนต์ใช้และยังไม่คิดจะ ซื้อรถยนต์คันแรก แต่โอกาสและสถานการณ์ตรงหน้ากระตุ้นให้ต้องดิ้นรนหาเงินมาซื้อให้ได้ และสิ่งที่จะตามมาในเวลาอันใกล้ก็คือ หนี้สินและปัญหาจิปาถะ ดังนี้

ประการแรก ค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ (ชั้นหนึ่ง) ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากเงินจอง เงินดาวน์ และเงินค่างวดที่ผู้ซื้อต้องจ่ายแล้ว ผู้บริโภคหลายคนคงไม่เคยรู้มาก่อนว่า การเช่าซื้อผ่อนรถยนต์ (ซื้อรถเงินผ่อน)นั้น จะต้องทำประกันภัยรถยนต์ชั้นหนึ่ง ซึ่งผู้ซื้อจะต้องจ่ายเบี้ยประกันเป็นหมื่นขึ้นไป สำหรับรถยนต์ราคา 5-6 แสน (ขนาดไม่เกิน 1,500 ซีซี) หากผู้ซื้อไม่ได้คิดเรื่องนี้ไว้ แค่เดือนแรกก็ชักหน้าไม่ถึงหลังแล้ว เพราะผู้ซื้อระดับนี้มักมีรายได้ไม่มากนักรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากปกติแค่ หลักพันก็อาจเป็นปัญหาแล้ว ดังนั้นรายจ่ายหลักหมื่นย่อมเป็นปัญหาอย่างแน่นอน เมื่อเดือนแรกเริ่มเป็นปัญหา แล้วเดือนต่อไปปีต่อไปจะเอาตัวรอดกับหนี้สินผูกพันจากรถยนต์คันแรกนี้ได้ อย่างไร

ประการที่สอง ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการใช้รถยนต์ คนที่ไม่เคยมีรถยนต์ใช้มาก่อนอาจไม่ทราบว่า ค่าน้ำมันนั้นเป็นรายจ่ายที่ค่อนข้างสูงมากและจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะแนวโน้มราคาน้ำมันมีแต่จะสูงขึ้นๆ หากนำรถมาใช้ไปๆมาๆแค่ที่บ้านกับที่ทำงานในระยะทางสิบกว่ากิโลเมตร ค่าน้ำมันเดือนหนึ่งๆ ก็ตกไป 2-3 พันบาทแล้ว การควักเงินเติมน้ำมันครั้งละพันครึ่งพันคงไม่ใช่เรื่องเล็กสำหรับผู้มีราย ได้แค่หมื่นสองหมื่นแน่ นี่คือรายจ่ายเห็นๆ จากการใช้รถยนต์

ประการที่สาม ค่าบำรุงรักษา ผู้ซื้อรถยนต์จะต้องไม่ลืมว่าค่าบำรุงรักษาเป็นรายจ่ายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ได้เช่นกัน รถยนต์เมื่อวิ่งได้ระยะทางทุกๆ หนึ่งหมื่นกิโลเมตร หรือทุกๆ 6 เดือนเป็นอย่างน้อย แม้รถยนต์ไม่ค่อยได้ถูกใช้งาน แต่ผู้ใช้ก็จะต้องนำรถเข้าศูนย์บริการ ค่าใช้จ่ายครั้งหนึ่งๆ ก็เป็นหลักพันหากไม่นำรถยนต์เข้ารับบริการตามกำหนด บริษัทประกันก็จะไม่คุ้มครองการรับประกันความเสียหายต่างๆ ของเครื่องยนต์ และอะไหล่ นอกจากนี้ ในช่วงเวลา 5 ปี ผู้ใช้รถยนต์จะต้องสลับยางและตั้งศูนย์ล้อหนึ่งหรือสองครั้ง และต้องเปลี่ยนยางอีกหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย(เพราะยางหมดอายุ) รวมค่าใช้จ่ายเรื่องล้อและยางในรอบห้าปีมากกว่าหนึ่งหมื่นบาท และยังจะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่อีกหนึ่งถึงสองครั้งด้วย ซึ่งครั้งหนึ่งตกราวสองพันบาท รายจ่ายเหล่านี้ไม่ได้น้อยเลยสำหรับหลายๆ ท่าน

ประการที่สี่ ค่าความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ แม้รถยนต์ที่เช่าซื้อ(ผ่อน)จะมีประกันภัยชั้นหนึ่งดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น บริษัทประกันจะรับผิดชอบชดใช้ให้ทุกกรณี เพราะในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นโดยเจ้าของรถเป็นฝ่ายผิดหรือหาคู่กรณีไม่ ได้ เจ้าของรถก็ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรกจำนวนหนึ่งด้วยตามสัญญา ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้หลีกเลี่ยงได้ยากที่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยตลอดระยะเวลา 5 ปี ตามภาระผูกพันของโครงการรถยนต์คันแรก

ประการสุดท้าย ค่าใช้จ่ายส่วนตัวของผู้ใช้รถยนต์เองแม้ผู้ซื้อรถยนต์จะตั้งใจประหยัดอดออม แค่ไหน แต่ถึงกระนั้นก็จะมีรายจ่ายที่ไม่เคยมีเพิ่มขึ้นเมื่อมีรถยนต์ส่วนตัวใช้ เป็นเงาตามตัว เช่น ค่าภาษีรายปี ค่าที่จอดรถ ค่าล้างรถ ไปจนถึงค่าบริการเพื่อนฝูงและญาติพี่น้องที่ไม่อาจปฏิเสธได้ แม้ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ บางรายการไม่อาจแสดงเป็นตัวเลขได้อย่างชัดเจน แต่มันเป็นรายจ่ายที่ต้องมีอย่างแน่นอน และจะกระทบกับรายจ่ายประจำที่จำกัดจำเขี่ยจนทำให้เป็นปัญหาได้ในที่สุด

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงข้อคิดตามข้อเท็จจริงที่อยากจะเตือนทุกๆ ท่านที่ได้ตัดสินใจจองรถยนต์ตามโครงการนี้ไปแล้ว ซึ่งอาจต้องคิดทบทวนใหม่ให้รอบคอบอีกครั้งก่อนทำสัญญารับรถ บางทีการยอมทิ้งเงินจองอาจทำให้ท่านไม่ต้องอมทุกข์ไปตลอด 5 ปีข้างหน้า หรือนานกว่านั้นดังคำพังเพยที่ว่า เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย โครงการนี้นับเป็นลาภก้อนใหญ่สำหรับผู้ที่พร้อมจะมีรถยนต์อยู่แล้วเท่านั้น และเป็นเพียงลาภก้อนเล็กๆ สำหรับผู้ที่มีอันจะกินหรือมีเงินสดอยู่ในธนาคาร แต่มันจะเป็นทุกขลาภสำหรับทุกท่านที่ยังไม่พร้อมจะมีรถยนต์เป็นของตนเอง

ดังนั้น การพลาดโอกาสจองรถในครั้งนี้จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าเสียดายอะไร และหากท่านใจเย็นรออีกนิด (ไม่เกิน 5 ปี) โอกาสของท่านจะมีมาอีกอย่างแน่นอน นั่นคือ จะมีรถยนต์มือสองสภาพดีราคาถูกมาให้ท่านเลือกซื้ออย่างมากมาย ถึงตอนนั้น ท่านก็จะมีรถยนต์คันแรกใช้อย่างไม่ต้องสงสัย และขับไปไหนต่อไหนได้อย่างมีความสุข

 

ผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ที่มา :ภาพและเนื้อหาจาก (แนวหน้า )18 ม.ค.2556

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 6193

กลุ่มข่าวสาร : บทความน่าสนใจ

ข่าวล่าสุด

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023
รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษา ปริญญาตรี และปริญญาโท ทีมปันแสน และ ทีมREISSCHEIN คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 จากกิจกรรมการนำเสนอผลงานนวัตกรรมสู่การพัฒนาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Startup Gate Pitching Challenge 2023) จากทั้งหมด 12 ทีม จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร (MAP) ในวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 "ทีมปันแสน" นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร กับผลงาน "เยลลี่บุกเสริมสารสกัดจากขมิ้นชันคุมหิวผิวสวย" ประกอบด้วย1. นางสาวเสาวลักษณ์ มณีทอง2. นายณัฐพงษ์ มุงเมือง3. นายอาทิตย์ ด่านกระโทก4. ผศ.ดร.ธีระพล เสนพันธุ์ (อ.ที่ปรึกษาทีม)ชนะเลิศอันดับ 2 "ทีม REISSCHEIN" กับผลงาน "ไวน์ข้าวออร์แกนนิค" นักศึกษา ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ประกอบด้วย1.น.ส.นันทกานต์ นันสาย2.น.ส.นัทธมน ขวัญทัย3.ผศ.ดร.กนกวรรณ ตาลดี (อ.ที่ปรึกษาทีม)
21 ตุลาคม 2566     |      199
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"ในวันที่ 27 กันยายน 2566 การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน Rubber Innovation Matching Day นำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการจับคู่ธุรกิจ ภายใต้โครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด 198 คน ทีมผู้เข้าร่วม 28 ทีม 91 คนผศ.ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นที่ปรึกษาโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางการพัฒนาด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยาง (Natural Rubber Startup Acceleration Program Batch 3) จากโครงการเรื่อง มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก โดยมีสมาชิก นายคณินทร์ชัย เอกพุฒิวงศ์ เกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลห้วยซ้อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ได้รับรางวัลชมเชยผลงานระดับ Product to Market (P2M) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพาราเข้าสู่ตลาด
21 ตุลาคม 2566     |      163
RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ
ทีม RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ ทีม : RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศ ผ่านเข้ารอบการแข่งขันการประกวดความเป็นไปได้ทางธุรกิจภายใต้โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 11 (Research to Market) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ฯทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และเป็นตัวแทนในการแข่งขันภูมิภาคเหนือต่อไป จำนวน 3 ทีม มีดังนี้ทีม : RUBBER GUARDผลงานวิจัย : น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิมอาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ทีมนักศึกษา1. นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร2. นางสาวขวัญกมล โนภา คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร3. นายรณกร เครือหงษ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร4. นางสาวธันชนก คำมา คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวณัฐกฤตา วงษ์สุวรรณ คณะบริหารธุรกิจ ทีม : AES Re-Energyผลงานวิจัย : การพัฒนาฉนวนกันความร้อนแบบคอนกรีตบล็อกผสมเถ้าชีวมวลอาจารย์ที่ปรึกษา : ดร. ภคมน ปินตานาทีมนักศึกษา1. นางสาวลลิตา เพชรใจหาญ คณะพลังงานทดแทน2. นางสาวศุภมาส ทวีสุข คณะพลังงานทดแทน3. นางสาวจรรยพร หลู่จิ่ง คณะพลังงานทดแทน4. นางสาวธัญรดา เอี่ยมหอม คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวรดาดาว มงคลแก้ว คณะบริหารธุรกิจ ทีม : Blis teamผลงานวิจัย : แผ่นมาสก์ปาก “Blis Balm”อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร. ศักดินันท์ นันตังทีมนักศึกษา1. นายเทพฤทธิ์ จาง คณะวิทยาศาสตร์2. นางสาววรรณวิษา กระจ่างฉาย คณะวิทยาศาสตร์3. นายธนชัญ คำภีระ คณะวิทยาศาสตร์4. นางสาวณัฐวิภา เผ่าดี คณะบริหารธุรกิจ5. นายพฤษชาติ แสนเขื่อนแก้ว คณะบริหารธุรกิจทั้งนี้ทีมนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจะเป็นตัวแทนในการแข่งขัน R2M ระดับภูมิภาคเหนือร่วมกับทีมตัวแทนจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมทั้งหมด 21 ทีม เพื่อคัดเลือกทีมนักศึกษา จำนวน 9 ทีม แข่งขันในระดับประเทศต่อไป โดยการแข่งขันระดับภูมิภาคเหนือจะจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย -1 ธ.ค 66 นี้ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
21 ตุลาคม 2566     |      211
Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท
ขอแสดงความยินดีกับทีม Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยฝ่ายบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (นักศึกษาปัจจุบัน และ ผู้จบการศึกษาไม่เกิน 5 ปี) จำนวน 4 ราย ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท (Ideation Incentive Program : #IDEA) รอบที่ 2/2566 จากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) เพื่อนำไปพัฒนาต้นแบบ (Mockup) และแผนธุรกิจฉบับสมบูรณ์ โดยการบ่มเพาะของเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MAP)1. โครงการ Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม"โดย นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง นักศึกษาจากสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ และนางสาวขวัญกมล โนภา นักศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ อาจารย์ประจำคณะคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่โจ้2. โครงการ PEAT PLANT วัสดุเพาะเมล็ดและต้นกล้าจากวัตถุอินทรีย์ธรรมชาติ โดย นายเกรียงไกร ใจยสุข นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาวิชาเกษตรอัจฉริยะ (ต่อเนื่อง) และทีมงานศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร อาจารย์ประจำคณะผลิตกรรมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สัตวศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้3.โครงการระบบเพาะเห็ดแบบแม่นยำ โดย นายพุทธพงษ์ สุวรรณกูล นักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทน นายนิติพัฒน์ ปัญญา และนายปิติพล จิ่งต่า ศิษย์เก่าวิทยาลัยพลังงานทดแทนอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.ภคมน ปินตานา และ อาจารย์ ดร.สุระพล ริยะนา อาจารย์ประจำวิทยาลัยพลังงานทดแทน วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ School of Renewable Energy, MJU.4.โครงการโจ๊กผำแม่โจ้ 1 เอ โดย นางสาวเกตุวลิน ล้ำเลิศนางสาวสุดา จันทะบัตร นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ นางสาวพิมลพรรณ เพ็งสุริยา นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร อายุมั่น อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
21 ตุลาคม 2566     |      223