คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

      ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา คงไม่มีข่าวใดที่ผู้คนให้ความสนใจต่อเนื่องและยาวนานเท่ากับข่าวน้ำท่วมและ อุทกภัย ทั้งข้อมูลข่าวสารและเหตุการณ์ต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลา ทั้งความคิดและความเห็นหลั่งไหลออกมายิ่งกว่ากระแสน้ำ หลายเรื่องถูกนำเสนอออกมาอย่างถูกต้องเป็นจริงตามหลักการทางวิชาการ แต่หลายเรื่องถูกนำเสนอออกมาโดยนักการเมืองอวดรู้และนักวิชาการอวดเก่ง เพียงเพื่อสร้างชื่อ สร้างกระแสให้กับตัวเองเป็นสำคัญ  (อ่านต่อบทความแบบ PDF   คลิ๊กที่นี้ )

สถานการณ์เช่นนี้ บางครั้งทำให้ผู้รับข่าวสารเกิดความตื่นตระหนกและเกิดความเข้าใจผิดๆ อยู่เสมอๆ และเรื่องเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อน(Tropical Cyclone) ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้คนในสังคมให้ความสนใจ เพราะเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า พายุหมุนเขตร้อนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลทำให้เกิดฝนตกหนักและทำให้เกิด น้ำท่วมได้โดยง่าย แต่ในการให้ข่าวของนักการเมืองที่เกี่ยวข้องและนักวิชาการที่ขาดความรับผิด ชอบบางท่าน ทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน และเกิดความตื่นตระหนกโดยไม่จำเป็นเสมอมา

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา มีท่านรัฐมนตรีปลอดประสบการณ์ ออกมาแถลงข่าวราวกับเป็นนักพยากรณ์อากาศเสียเองว่า ปีนี้จะมี
พายุหมุนเขตร้อนผ่านเข้ามาราว 30 ลูก ทั้งๆ ที่ความจริงพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดในย่านเอเชียแปซิฟิกประมาณปีละ 30 ลูกนั้นไม่ได้ผ่านเข้ามามีอิทธิพลต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศไทยหมดทั้ง 30 ลูก แต่จะผ่านเข้ามาทางประเทศเวียดนามเพียงแค่ 5 ลูก 10 ลูก และจะเข้าถึงประเทศไทยโดยเฉลี่ยเพียง 1-3 ลูกเท่านั้น จากสถิติในรอบ 60 ปี ของกรมอุตุนิยมวิทยา พายุหมุนเขตร้อน เคยเข้ามาถึงประเทศไทยได้มากที่สุดในปี พ.ศ. 2507และ 2508 ก็แค่ปีละ 9 ลูก หลายคนที่ไม่เคยรู้เรื่องเหล่านี้มาก่อนต่างก็ตกอกตกใจกันไปครั้งหนึ่งแล้ว

 

โดยเฉพาะช่วงเวลานี้ พายุหมุนเขตร้อนลูกที่ 24 ชื่อ Bopha ได้ก่อตัวขึ้นแล้ว และก็มีโอกาสที่จะเข้าถึงประเทศไทยได้เป็นลูกที่ 2 ด้วยเป็นการส่งท้ายฤดูมรสุมปีนี้ซึ่งถ้าพายุลูกนี้เข้ามาได้ในช่วงเวลานี้ (กลางเดือนธันวาคม) ย่อมสร้างความเสียหายได้มากกว่าช่วงเวลาอื่น เพราะจะมีโอกาสเข้าทางอ่าวไทยเหมือนพายุเกย์ แฮเรียส และลินดา ที่เคยสร้างความเสียหายอย่างมากมายมาแล้ว

 

ต่อมารัฐมนตรีท่านนี้ก็ออกมาแถลงข่าวรับรองว่า ปีนี้น้ำจะไม่ท่วมเหมือนปีที่แล้วอย่างแน่นอน เพราะท่านได้เตรียมการรับมือไว้อย่างดีเยี่ยม ถ้าน้ำจะท่วมอย่างปีที่แล้วได้ จะต้องมีพายุเข้ามาถึง 10 ลูก ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงนั้น ไม่ต้องมีพายุเข้ามาถึง
10 ลูก(และไม่เคยมีด้วย) แค่เฉียดๆ เข้ามาสัก 2 ลูกติดๆ กัน สถานการณ์ก็คงไม่ต่างกับปีที่แล้วอย่างแน่นอน เพราะเมื่อปีที่แล้ว
พายุหมุนเขตร้อนเข้าถึงประเทศไทยจริงๆแค่ลูกเดียวคือ พายุนกเตนส่วนอีก 2-3 ลูก ที่พูดๆ กันทั้งพายุไหหม่า และพายุไห่ถางนั้น แค่เฉียดๆมาเท่านั้น แต่นั่นก็ยังพอทำเนาเพราะเป็นคำพูดของนักการเมือง

แต่ที่น่าผิดหวังก็ตรงที่มีนักวิชาการบางท่าน ออกมาให้ท้ายในทำนองเดียวกันด้วย ครั้นพายุแกมีก่อตัวและตั้งท่าจะมาขึ้นฝั่งเวียดนามตอนกลาง เป็นลูกแรก ดูเหมือนคนที่แตกตื่นกว่าใครก็คือท่านรัฐมนตรีนั่นเอง ท่านออกมาให้ข่าวได้ไม่เว้นแต่ละวันว่า พายุแกมีจะขึ้นฝั่งเวียดนามวันนั้นวันนี้ และจะเคลื่อนที่ผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทยวันนั้นวันนี้ ทั้งๆ ที่ตอนนั้นพายุแกมีกำลังเคลื่อนที่มุ่งหน้าไปทางฟิลิปปินส์

ท่านแถลงว่า อิทธิพลของพายุแกมีจะทำให้ฝนตกหนักทั้งภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ กรณีนี้พอรับได้ แต่ที่ท่านให้ข่าวว่า พายุอาจทำให้เกิดนำทะเลยกตัว (Storm surge) ขึ้นที่อ่าวบ้านแหลม จ.เพชรบุรี สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนแถวเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ไปไม่น้อย แม้เรื่องนี้จะไม่มีนักวิชาการท่านใดเห็นด้วยกับท่านเลย แต่ท่านก็ว่าของท่านไปทั้งๆ ที่พายุแกมียังเป็นแค่เพียงพายุโซนร้อน (Tropical storm) และไม่ได้มีท่าทีว่าจะพัฒนาไปเป็นพายุไต้ฝุ่น (Typhoon) แต่อย่างใดเลย แม้สุดท้ายพายุแกมีจะหวนกลับมาขึ้นฝั่งเวียดนามจนได้แต่ก็เคลื่อนที่ผ่าน ประเทศกัมพูชา เข้ามาสลายตัวในประเทศไทย โดยไม่ได้ผ่านประเทศลาวตามคำคาดเดาของท่านรัฐมนตรีแต่อย่างใด อีกทั้งไม่ได้มีความรุนแรงเลวร้ายมากมายดังที่ท่านสร้างภาพไว้แต่ประการใด ด้วย

ดูเหมือนรัฐมนตรีท่านนี้ยัง ไม่เคยรู้สำนึกผิด ยังออกมาฟาดงวงฟาดงาต่อว่าต่อขานนักวิชาการบางท่านที่แสดงความเห็นแตกต่างไป จากท่านในเรื่องน้ำท่วมและน้ำแล้ง และถึงแม้จะเป็นคำพูดของนักการเมืองที่หลายคนไม่ค่อยเชื่อถืออยู่แล้ว แต่
สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ ความเห็นและความเชื่อผิดๆ ของนักการเมืองที่มักสร้างภาพด้วยวิธีนี้อาจกลายเป็นความเชื่อของคนทั่วไป ได้ และที่น่าผิดหวังมากก็ตรงที่มีนักวิชาการบางท่านออกมาเออออไปในทำนองเดียว กันด้วย

หรือบางครั้งก็ใช้วิธีการสร้างภาพสร้างชื่อให้ตนเองเช่นเดียวกับนักการเมือง ด้วย เช่น ขณะที่พายุแกมีกำลังเคลื่อนตัวผ่านประเทศเวียดนาม ท่านก็ออกมาให้ข่าวล่วงหน้าเป็นสัปดาห์ว่าพายุแกมีจะมาขึ้นฝั่งเวียดนาม วันนั้นวันนี้ แถมสร้างความมั่นใจถึงขนาดกำหนดเส้นทางและเวลานั้นเวลานี้ด้วย ซึ่งไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยที่จะต้องรีบด่วนพยากรณ์ล่วงหน้าเป็นเวลานานขนาดนั้น (เลยดูเหมือนเป็นการแย่งซีนกรมอุตุนิยมวิทยา) และนักอุตุนิยมวิทยาจะไม่ทำเช่นนั้นเพราะทราบดีว่า ยิ่งการพยากรณ์
ล่วงหน้านานมากเท่าใด ความคลาดเคลื่อนก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

โดยเฉพาะการพยากรณ์ถึงพายุหมุนเขตร้อนที่ปัจจุบันมีความแปรปรวนสูงมาก แต่กลับปรากฏว่า มีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยหนึ่งออกมาพยากรณ์ ถึงพายุพระพิรุณว่า จะเคลื่อนที่มาทางเดียวกับพายุแกมี ทั้งๆ ที่ตอนนั้นพายุพระพิรุณยังไม่ก่อตัวขึ้นด้วยซ้ำไป และสุดท้ายเมื่อพายุพระพิรุณก่อตัวขึ้นกลับเคลื่อนที่ขึ้นไปทางเหนือของ แปซิฟิกไม่ได้เฉียดมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลยแม้แต่น้อย

การให้ข่าวที่ยังไม่มีความแน่นอนชัดเจน สร้างความตกอกตกใจให้กับคนที่หลงฟังแต่รัฐมนตรีท่านนี้ นับเป็นตลกร้ายสำหรับนักวิชาการที่รู้จริง เพราะหลายเรื่องออกมาจากความคิดความเห็นที่ขัดแย้งกับหลักการทางวิชาการ แต่นั่นยังไม่สำคัญเท่าความคิดความเห็นและความเชื่อที่ออกมาโดยอคติ เพราะความคิดและความเห็นที่ขัดแย้งกับหลักการทางวิชาการนั้น ยังพอชี้แจงทำความเข้าใจกันได้ แต่สำหรับความคิดความเห็นและความเชื่อที่เกิดจากอคตินั้น ยากที่จะชี้แจงทำความเข้าใจ เพราะผู้ที่คิดและเชื่อเช่นนั้นมักไม่ยอมเปิดใจรับฟังความคิดความเห็นที่แตก ต่างออกไป โดยเฉพาะผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โต หรือมีอำนาจบารมี ซึ่งโดยมากมักมีอัตตาสูงเหนือคนทั่วไป เช่น บรรดานักการเมืองอวดรู้และเหล่านักวิชาการอวดเก่ง (ที่รู้และเก่งไปเสียทุกเรื่อง) เป็นต้น ซึ่งคนพวกนี้มักมีอิทธิพลต่อความเชื่อของผู้คนในสังคมมากด้วย เพราะพวกเขามักปรากฏตามสื่อต่างๆจนเป็นที่จดจำของคนในสังคม

เท่าที่แสดงมาทั้งหมดนี้มุ่งติติงทุกท่านที่ชอบให้ความเห็นในเรื่องที่ตนไม่ รู้จริง และอยากให้บุคคลในสื่อทุกแขนงและผู้เป็นแหล่งข่าว (ทั้งนักการเมืองและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง) ได้เรียนรู้เรื่องที่ควรรู้และเข้าใจในเรื่องที่ควรเข้าใจให้ถูกต้อง การให้ข่าวก็ดี การนำเสนอข่าวก็ดี จะได้ไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเหมือนที่ผ่านมา ดังกรณีของพายุแกมีและพระพิรุณ อันเป็นเหตุให้ประชาชนสับสน ขาดความเข้าใจที่ถูกต้องตามความเป็นจริง และไม่เป็นประโยชน์สำหรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้อีกในปีต่อๆ ไป

โดยเฉพาะช่วงเวลานี้ พายุหมุนเขตร้อนลูกที่ 24 ชื่อ Bophaได้ก่อตัวขึ้นแล้ว และก็มีโอกาสที่จะเข้าถึงประเทศไทยได้เป็นลูกที่ 2 ด้วยเป็นการส่งท้ายฤดูมรสุมปีนี้ ซึ่งถ้าพายุลูกนี้เข้ามาได้ในช่วงเวลานี้ (กลางเดือนธันวาคม) ย่อมสร้างความเสียหายได้มากกว่าช่วงเวลาอื่น เพราะจะมีโอกาสเข้าทางอ่าวไทยเหมือนพายุเกย์ แฮเรียส และลินดา ที่เคยสร้างความเสียหายอย่างมากมายมาแล้ว ดังนั้น การให้ข่าวเรื่องนี้จึงน่าจะเอากรณีของพายุแกมีและพระพิรุณมาเป็นบทเรียนกัน บ้าง

ประเทศนี้ ยังมีนักวิชาการที่มีความรู้และมีความเข้าใจเรื่องเหล่านี้อีกไม่น้อยที่เฝ้าดูอยู่ แม้พวกเขาจะไม่ค่อยยอมออกหน้า
ออกตาอย่างนักการเมือง หรือนักวิชาการที่เกี่ยวข้องบางท่าน แต่ขึ้นชื่อว่านักวิชาการแล้ว หากไม่ติดขัดอุปสรรคอะไร ส่วนใหญ่ก็พร้อมที่จะให้ความเห็นและคำชี้แนะดีๆ ต่อสังคมอยู่แล้ว หากบุคคลในสื่อทั้งนักการเมืองและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง จะเปิดใจกว้างๆ รับฟังความคิดความเห็นที่หลากหลายด้วยความเคารพในหลักวิชาการ

ผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ที่มา :ภาพและเนื้อหาจาก --แนวหน้า ฉบับวันที่ 5 ธ.ค. 2555  หน้า5(กลาง)--

ปรับปรุงข้อมูล : 12/7/2555 10:18:12     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 9594

กลุ่มข่าวสาร : บทความน่าสนใจ

ข่าวล่าสุด

ประกาศรับสมัครทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปี 2567 จำนวน 41 ทุน ๆ ละ 6,000 บาท
ประกาศรับสมัครทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปี 2567 จำนวน 41 ทุน ๆ ละ 6,000 บาทคุณสมบัติ1. เป็นนักศึกษาของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ชั้นปีที่ 2-42. ไม่ถูกพักการศึกษา ไม่ถูกลงทางวินัย และไม่ได้รับทุนการศึกษาอื่นใด ยกเว้น กยศ.3. มีผลการเรียนเฉลี่ย ไม่น้อยกว่า 2.00การรับสมัครเปิดรับสมัครตั้งแต่วันประกาศถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 โดยผู้สมัครสแกน QR Code กรอกรายละเอียดและอัพโหลดเอกสารแนบ (บัตรนักศึกษาและสำเนาผลการเรียน) สอบถามเพิ่มเติมงานกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดี ชั้น 1 อาคารเรียนรวมสาขาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
20 กรกฎาคม 2567     |      13
ครงการนักวิจัยพบแหล่งทุนภายนอก โดยครั้งนี้ จัดในหัวข้อเรื่อง "การขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุน FTA"
งานบริการวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรขอเชิญชวนบุคลากรทุกท่าน เข้าร่วมโครงการนักวิจัยพบแหล่งทุนภายนอกโดยครั้งนี้ จัดในหัวข้อเรื่อง "การขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุน FTA"วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00-12.00 น.ผ่านระบบ microsoft Teamกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนเงินทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ในการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ปฏิรูปผลิตผลทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพ การแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและอาหารhttps://www.ftaoae.com/index
20 กรกฎาคม 2567     |      10