คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

      ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา คงไม่มีข่าวใดที่ผู้คนให้ความสนใจต่อเนื่องและยาวนานเท่ากับข่าวน้ำท่วมและ อุทกภัย ทั้งข้อมูลข่าวสารและเหตุการณ์ต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลา ทั้งความคิดและความเห็นหลั่งไหลออกมายิ่งกว่ากระแสน้ำ หลายเรื่องถูกนำเสนอออกมาอย่างถูกต้องเป็นจริงตามหลักการทางวิชาการ แต่หลายเรื่องถูกนำเสนอออกมาโดยนักการเมืองอวดรู้และนักวิชาการอวดเก่ง เพียงเพื่อสร้างชื่อ สร้างกระแสให้กับตัวเองเป็นสำคัญ  (อ่านต่อบทความแบบ PDF   คลิ๊กที่นี้ )

สถานการณ์เช่นนี้ บางครั้งทำให้ผู้รับข่าวสารเกิดความตื่นตระหนกและเกิดความเข้าใจผิดๆ อยู่เสมอๆ และเรื่องเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อน(Tropical Cyclone) ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้คนในสังคมให้ความสนใจ เพราะเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า พายุหมุนเขตร้อนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลทำให้เกิดฝนตกหนักและทำให้เกิด น้ำท่วมได้โดยง่าย แต่ในการให้ข่าวของนักการเมืองที่เกี่ยวข้องและนักวิชาการที่ขาดความรับผิด ชอบบางท่าน ทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน และเกิดความตื่นตระหนกโดยไม่จำเป็นเสมอมา

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา มีท่านรัฐมนตรีปลอดประสบการณ์ ออกมาแถลงข่าวราวกับเป็นนักพยากรณ์อากาศเสียเองว่า ปีนี้จะมี
พายุหมุนเขตร้อนผ่านเข้ามาราว 30 ลูก ทั้งๆ ที่ความจริงพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดในย่านเอเชียแปซิฟิกประมาณปีละ 30 ลูกนั้นไม่ได้ผ่านเข้ามามีอิทธิพลต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศไทยหมดทั้ง 30 ลูก แต่จะผ่านเข้ามาทางประเทศเวียดนามเพียงแค่ 5 ลูก 10 ลูก และจะเข้าถึงประเทศไทยโดยเฉลี่ยเพียง 1-3 ลูกเท่านั้น จากสถิติในรอบ 60 ปี ของกรมอุตุนิยมวิทยา พายุหมุนเขตร้อน เคยเข้ามาถึงประเทศไทยได้มากที่สุดในปี พ.ศ. 2507และ 2508 ก็แค่ปีละ 9 ลูก หลายคนที่ไม่เคยรู้เรื่องเหล่านี้มาก่อนต่างก็ตกอกตกใจกันไปครั้งหนึ่งแล้ว

 

โดยเฉพาะช่วงเวลานี้ พายุหมุนเขตร้อนลูกที่ 24 ชื่อ Bopha ได้ก่อตัวขึ้นแล้ว และก็มีโอกาสที่จะเข้าถึงประเทศไทยได้เป็นลูกที่ 2 ด้วยเป็นการส่งท้ายฤดูมรสุมปีนี้ซึ่งถ้าพายุลูกนี้เข้ามาได้ในช่วงเวลานี้ (กลางเดือนธันวาคม) ย่อมสร้างความเสียหายได้มากกว่าช่วงเวลาอื่น เพราะจะมีโอกาสเข้าทางอ่าวไทยเหมือนพายุเกย์ แฮเรียส และลินดา ที่เคยสร้างความเสียหายอย่างมากมายมาแล้ว

 

ต่อมารัฐมนตรีท่านนี้ก็ออกมาแถลงข่าวรับรองว่า ปีนี้น้ำจะไม่ท่วมเหมือนปีที่แล้วอย่างแน่นอน เพราะท่านได้เตรียมการรับมือไว้อย่างดีเยี่ยม ถ้าน้ำจะท่วมอย่างปีที่แล้วได้ จะต้องมีพายุเข้ามาถึง 10 ลูก ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงนั้น ไม่ต้องมีพายุเข้ามาถึง
10 ลูก(และไม่เคยมีด้วย) แค่เฉียดๆ เข้ามาสัก 2 ลูกติดๆ กัน สถานการณ์ก็คงไม่ต่างกับปีที่แล้วอย่างแน่นอน เพราะเมื่อปีที่แล้ว
พายุหมุนเขตร้อนเข้าถึงประเทศไทยจริงๆแค่ลูกเดียวคือ พายุนกเตนส่วนอีก 2-3 ลูก ที่พูดๆ กันทั้งพายุไหหม่า และพายุไห่ถางนั้น แค่เฉียดๆมาเท่านั้น แต่นั่นก็ยังพอทำเนาเพราะเป็นคำพูดของนักการเมือง

แต่ที่น่าผิดหวังก็ตรงที่มีนักวิชาการบางท่าน ออกมาให้ท้ายในทำนองเดียวกันด้วย ครั้นพายุแกมีก่อตัวและตั้งท่าจะมาขึ้นฝั่งเวียดนามตอนกลาง เป็นลูกแรก ดูเหมือนคนที่แตกตื่นกว่าใครก็คือท่านรัฐมนตรีนั่นเอง ท่านออกมาให้ข่าวได้ไม่เว้นแต่ละวันว่า พายุแกมีจะขึ้นฝั่งเวียดนามวันนั้นวันนี้ และจะเคลื่อนที่ผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทยวันนั้นวันนี้ ทั้งๆ ที่ตอนนั้นพายุแกมีกำลังเคลื่อนที่มุ่งหน้าไปทางฟิลิปปินส์

ท่านแถลงว่า อิทธิพลของพายุแกมีจะทำให้ฝนตกหนักทั้งภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ กรณีนี้พอรับได้ แต่ที่ท่านให้ข่าวว่า พายุอาจทำให้เกิดนำทะเลยกตัว (Storm surge) ขึ้นที่อ่าวบ้านแหลม จ.เพชรบุรี สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนแถวเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ไปไม่น้อย แม้เรื่องนี้จะไม่มีนักวิชาการท่านใดเห็นด้วยกับท่านเลย แต่ท่านก็ว่าของท่านไปทั้งๆ ที่พายุแกมียังเป็นแค่เพียงพายุโซนร้อน (Tropical storm) และไม่ได้มีท่าทีว่าจะพัฒนาไปเป็นพายุไต้ฝุ่น (Typhoon) แต่อย่างใดเลย แม้สุดท้ายพายุแกมีจะหวนกลับมาขึ้นฝั่งเวียดนามจนได้แต่ก็เคลื่อนที่ผ่าน ประเทศกัมพูชา เข้ามาสลายตัวในประเทศไทย โดยไม่ได้ผ่านประเทศลาวตามคำคาดเดาของท่านรัฐมนตรีแต่อย่างใด อีกทั้งไม่ได้มีความรุนแรงเลวร้ายมากมายดังที่ท่านสร้างภาพไว้แต่ประการใด ด้วย

ดูเหมือนรัฐมนตรีท่านนี้ยัง ไม่เคยรู้สำนึกผิด ยังออกมาฟาดงวงฟาดงาต่อว่าต่อขานนักวิชาการบางท่านที่แสดงความเห็นแตกต่างไป จากท่านในเรื่องน้ำท่วมและน้ำแล้ง และถึงแม้จะเป็นคำพูดของนักการเมืองที่หลายคนไม่ค่อยเชื่อถืออยู่แล้ว แต่
สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ ความเห็นและความเชื่อผิดๆ ของนักการเมืองที่มักสร้างภาพด้วยวิธีนี้อาจกลายเป็นความเชื่อของคนทั่วไป ได้ และที่น่าผิดหวังมากก็ตรงที่มีนักวิชาการบางท่านออกมาเออออไปในทำนองเดียว กันด้วย

หรือบางครั้งก็ใช้วิธีการสร้างภาพสร้างชื่อให้ตนเองเช่นเดียวกับนักการเมือง ด้วย เช่น ขณะที่พายุแกมีกำลังเคลื่อนตัวผ่านประเทศเวียดนาม ท่านก็ออกมาให้ข่าวล่วงหน้าเป็นสัปดาห์ว่าพายุแกมีจะมาขึ้นฝั่งเวียดนาม วันนั้นวันนี้ แถมสร้างความมั่นใจถึงขนาดกำหนดเส้นทางและเวลานั้นเวลานี้ด้วย ซึ่งไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยที่จะต้องรีบด่วนพยากรณ์ล่วงหน้าเป็นเวลานานขนาดนั้น (เลยดูเหมือนเป็นการแย่งซีนกรมอุตุนิยมวิทยา) และนักอุตุนิยมวิทยาจะไม่ทำเช่นนั้นเพราะทราบดีว่า ยิ่งการพยากรณ์
ล่วงหน้านานมากเท่าใด ความคลาดเคลื่อนก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

โดยเฉพาะการพยากรณ์ถึงพายุหมุนเขตร้อนที่ปัจจุบันมีความแปรปรวนสูงมาก แต่กลับปรากฏว่า มีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยหนึ่งออกมาพยากรณ์ ถึงพายุพระพิรุณว่า จะเคลื่อนที่มาทางเดียวกับพายุแกมี ทั้งๆ ที่ตอนนั้นพายุพระพิรุณยังไม่ก่อตัวขึ้นด้วยซ้ำไป และสุดท้ายเมื่อพายุพระพิรุณก่อตัวขึ้นกลับเคลื่อนที่ขึ้นไปทางเหนือของ แปซิฟิกไม่ได้เฉียดมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลยแม้แต่น้อย

การให้ข่าวที่ยังไม่มีความแน่นอนชัดเจน สร้างความตกอกตกใจให้กับคนที่หลงฟังแต่รัฐมนตรีท่านนี้ นับเป็นตลกร้ายสำหรับนักวิชาการที่รู้จริง เพราะหลายเรื่องออกมาจากความคิดความเห็นที่ขัดแย้งกับหลักการทางวิชาการ แต่นั่นยังไม่สำคัญเท่าความคิดความเห็นและความเชื่อที่ออกมาโดยอคติ เพราะความคิดและความเห็นที่ขัดแย้งกับหลักการทางวิชาการนั้น ยังพอชี้แจงทำความเข้าใจกันได้ แต่สำหรับความคิดความเห็นและความเชื่อที่เกิดจากอคตินั้น ยากที่จะชี้แจงทำความเข้าใจ เพราะผู้ที่คิดและเชื่อเช่นนั้นมักไม่ยอมเปิดใจรับฟังความคิดความเห็นที่แตก ต่างออกไป โดยเฉพาะผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โต หรือมีอำนาจบารมี ซึ่งโดยมากมักมีอัตตาสูงเหนือคนทั่วไป เช่น บรรดานักการเมืองอวดรู้และเหล่านักวิชาการอวดเก่ง (ที่รู้และเก่งไปเสียทุกเรื่อง) เป็นต้น ซึ่งคนพวกนี้มักมีอิทธิพลต่อความเชื่อของผู้คนในสังคมมากด้วย เพราะพวกเขามักปรากฏตามสื่อต่างๆจนเป็นที่จดจำของคนในสังคม

เท่าที่แสดงมาทั้งหมดนี้มุ่งติติงทุกท่านที่ชอบให้ความเห็นในเรื่องที่ตนไม่ รู้จริง และอยากให้บุคคลในสื่อทุกแขนงและผู้เป็นแหล่งข่าว (ทั้งนักการเมืองและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง) ได้เรียนรู้เรื่องที่ควรรู้และเข้าใจในเรื่องที่ควรเข้าใจให้ถูกต้อง การให้ข่าวก็ดี การนำเสนอข่าวก็ดี จะได้ไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเหมือนที่ผ่านมา ดังกรณีของพายุแกมีและพระพิรุณ อันเป็นเหตุให้ประชาชนสับสน ขาดความเข้าใจที่ถูกต้องตามความเป็นจริง และไม่เป็นประโยชน์สำหรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้อีกในปีต่อๆ ไป

โดยเฉพาะช่วงเวลานี้ พายุหมุนเขตร้อนลูกที่ 24 ชื่อ Bophaได้ก่อตัวขึ้นแล้ว และก็มีโอกาสที่จะเข้าถึงประเทศไทยได้เป็นลูกที่ 2 ด้วยเป็นการส่งท้ายฤดูมรสุมปีนี้ ซึ่งถ้าพายุลูกนี้เข้ามาได้ในช่วงเวลานี้ (กลางเดือนธันวาคม) ย่อมสร้างความเสียหายได้มากกว่าช่วงเวลาอื่น เพราะจะมีโอกาสเข้าทางอ่าวไทยเหมือนพายุเกย์ แฮเรียส และลินดา ที่เคยสร้างความเสียหายอย่างมากมายมาแล้ว ดังนั้น การให้ข่าวเรื่องนี้จึงน่าจะเอากรณีของพายุแกมีและพระพิรุณมาเป็นบทเรียนกัน บ้าง

ประเทศนี้ ยังมีนักวิชาการที่มีความรู้และมีความเข้าใจเรื่องเหล่านี้อีกไม่น้อยที่เฝ้าดูอยู่ แม้พวกเขาจะไม่ค่อยยอมออกหน้า
ออกตาอย่างนักการเมือง หรือนักวิชาการที่เกี่ยวข้องบางท่าน แต่ขึ้นชื่อว่านักวิชาการแล้ว หากไม่ติดขัดอุปสรรคอะไร ส่วนใหญ่ก็พร้อมที่จะให้ความเห็นและคำชี้แนะดีๆ ต่อสังคมอยู่แล้ว หากบุคคลในสื่อทั้งนักการเมืองและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง จะเปิดใจกว้างๆ รับฟังความคิดความเห็นที่หลากหลายด้วยความเคารพในหลักวิชาการ

ผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ที่มา :ภาพและเนื้อหาจาก --แนวหน้า ฉบับวันที่ 5 ธ.ค. 2555  หน้า5(กลาง)--

ปรับปรุงข้อมูล : 12/7/2555 10:18:12     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 9569

กลุ่มข่าวสาร : บทความน่าสนใจ

ข่าวล่าสุด

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023
รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษา ปริญญาตรี และปริญญาโท ทีมปันแสน และ ทีมREISSCHEIN คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 จากกิจกรรมการนำเสนอผลงานนวัตกรรมสู่การพัฒนาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Startup Gate Pitching Challenge 2023) จากทั้งหมด 12 ทีม จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร (MAP) ในวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 "ทีมปันแสน" นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร กับผลงาน "เยลลี่บุกเสริมสารสกัดจากขมิ้นชันคุมหิวผิวสวย" ประกอบด้วย1. นางสาวเสาวลักษณ์ มณีทอง2. นายณัฐพงษ์ มุงเมือง3. นายอาทิตย์ ด่านกระโทก4. ผศ.ดร.ธีระพล เสนพันธุ์ (อ.ที่ปรึกษาทีม)ชนะเลิศอันดับ 2 "ทีม REISSCHEIN" กับผลงาน "ไวน์ข้าวออร์แกนนิค" นักศึกษา ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ประกอบด้วย1.น.ส.นันทกานต์ นันสาย2.น.ส.นัทธมน ขวัญทัย3.ผศ.ดร.กนกวรรณ ตาลดี (อ.ที่ปรึกษาทีม)
21 ตุลาคม 2566     |      176
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"ในวันที่ 27 กันยายน 2566 การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน Rubber Innovation Matching Day นำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการจับคู่ธุรกิจ ภายใต้โครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด 198 คน ทีมผู้เข้าร่วม 28 ทีม 91 คนผศ.ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นที่ปรึกษาโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางการพัฒนาด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยาง (Natural Rubber Startup Acceleration Program Batch 3) จากโครงการเรื่อง มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก โดยมีสมาชิก นายคณินทร์ชัย เอกพุฒิวงศ์ เกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลห้วยซ้อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ได้รับรางวัลชมเชยผลงานระดับ Product to Market (P2M) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพาราเข้าสู่ตลาด
21 ตุลาคม 2566     |      147
RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ
ทีม RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ ทีม : RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศ ผ่านเข้ารอบการแข่งขันการประกวดความเป็นไปได้ทางธุรกิจภายใต้โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 11 (Research to Market) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ฯทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และเป็นตัวแทนในการแข่งขันภูมิภาคเหนือต่อไป จำนวน 3 ทีม มีดังนี้ทีม : RUBBER GUARDผลงานวิจัย : น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิมอาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ทีมนักศึกษา1. นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร2. นางสาวขวัญกมล โนภา คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร3. นายรณกร เครือหงษ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร4. นางสาวธันชนก คำมา คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวณัฐกฤตา วงษ์สุวรรณ คณะบริหารธุรกิจ ทีม : AES Re-Energyผลงานวิจัย : การพัฒนาฉนวนกันความร้อนแบบคอนกรีตบล็อกผสมเถ้าชีวมวลอาจารย์ที่ปรึกษา : ดร. ภคมน ปินตานาทีมนักศึกษา1. นางสาวลลิตา เพชรใจหาญ คณะพลังงานทดแทน2. นางสาวศุภมาส ทวีสุข คณะพลังงานทดแทน3. นางสาวจรรยพร หลู่จิ่ง คณะพลังงานทดแทน4. นางสาวธัญรดา เอี่ยมหอม คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวรดาดาว มงคลแก้ว คณะบริหารธุรกิจ ทีม : Blis teamผลงานวิจัย : แผ่นมาสก์ปาก “Blis Balm”อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร. ศักดินันท์ นันตังทีมนักศึกษา1. นายเทพฤทธิ์ จาง คณะวิทยาศาสตร์2. นางสาววรรณวิษา กระจ่างฉาย คณะวิทยาศาสตร์3. นายธนชัญ คำภีระ คณะวิทยาศาสตร์4. นางสาวณัฐวิภา เผ่าดี คณะบริหารธุรกิจ5. นายพฤษชาติ แสนเขื่อนแก้ว คณะบริหารธุรกิจทั้งนี้ทีมนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจะเป็นตัวแทนในการแข่งขัน R2M ระดับภูมิภาคเหนือร่วมกับทีมตัวแทนจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมทั้งหมด 21 ทีม เพื่อคัดเลือกทีมนักศึกษา จำนวน 9 ทีม แข่งขันในระดับประเทศต่อไป โดยการแข่งขันระดับภูมิภาคเหนือจะจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย -1 ธ.ค 66 นี้ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
21 ตุลาคม 2566     |      195
Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท
ขอแสดงความยินดีกับทีม Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยฝ่ายบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (นักศึกษาปัจจุบัน และ ผู้จบการศึกษาไม่เกิน 5 ปี) จำนวน 4 ราย ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท (Ideation Incentive Program : #IDEA) รอบที่ 2/2566 จากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) เพื่อนำไปพัฒนาต้นแบบ (Mockup) และแผนธุรกิจฉบับสมบูรณ์ โดยการบ่มเพาะของเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MAP)1. โครงการ Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม"โดย นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง นักศึกษาจากสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ และนางสาวขวัญกมล โนภา นักศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ อาจารย์ประจำคณะคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่โจ้2. โครงการ PEAT PLANT วัสดุเพาะเมล็ดและต้นกล้าจากวัตถุอินทรีย์ธรรมชาติ โดย นายเกรียงไกร ใจยสุข นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาวิชาเกษตรอัจฉริยะ (ต่อเนื่อง) และทีมงานศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร อาจารย์ประจำคณะผลิตกรรมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สัตวศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้3.โครงการระบบเพาะเห็ดแบบแม่นยำ โดย นายพุทธพงษ์ สุวรรณกูล นักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทน นายนิติพัฒน์ ปัญญา และนายปิติพล จิ่งต่า ศิษย์เก่าวิทยาลัยพลังงานทดแทนอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.ภคมน ปินตานา และ อาจารย์ ดร.สุระพล ริยะนา อาจารย์ประจำวิทยาลัยพลังงานทดแทน วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ School of Renewable Energy, MJU.4.โครงการโจ๊กผำแม่โจ้ 1 เอ โดย นางสาวเกตุวลิน ล้ำเลิศนางสาวสุดา จันทะบัตร นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ นางสาวพิมลพรรณ เพ็งสุริยา นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร อายุมั่น อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
21 ตุลาคม 2566     |      208