คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

มหาอุทกภัยในปี พ.ศ.2554 ทำให้ตลอดปี พ.ศ.2555 คนในสังคมจึงพูดกันแต่เรื่อง น้ำท่วมๆ ทั้งๆ ที่ยังไม่ปรากฏสถานการณ์ใดๆ ที่ส่อแววให้เห็นว่า จะเกิดน้ำท่วมหนักหนาสาหัสเหมือนปีที่ผ่านมา ทั้งปริมาณฝนและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลาง ล้วนมีปริมาณต่ำกว่าปีที่แล้วมาทั้งสิ้น ซ้ำช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมที่ผ่านมา อ่านต่อบทความ คลิ๊กที่นี้ PDF

 

 

         มหาอุทกภัยในปี พ.ศ.2554 ทำให้ตลอดปี พ.ศ.2555 คนในสังคมจึงพูดกันแต่เรื่อง น้ำท่วมๆ ทั้งๆ ที่ยังไม่ปรากฏสถานการณ์ใดๆ ที่ส่อแววให้เห็นว่า จะเกิดน้ำท่วมหนักหนาสาหัสเหมือนปีที่ผ่านมา ทั้งปริมาณฝนและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลาง ล้วนมีปริมาณต่ำกว่าปีที่แล้วมาทั้งสิ้น ซ้ำช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมที่ผ่านมา ยังปรากฏฝนทิ้งช่วงในหลายพื้นที่อีกด้วย ส่วนพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้ ส่วนใหญ่ก็เป็นเหตุการณ์ปกติของทุกๆ ปีอยู่แล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ำยม ทั้ง จ.แพร่ พิจิตร พิษณุโลก และสุโขทัย รวมไปถึง จ.นครสวรรค์ และพระนครศรีอยุธยา แต่สิ่งที่ น่าวิตกยิ่งกว่าสำหรับอนาคตก็คือ การเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดและไม่ควรเกิด ซึ่งกรณีนี้จะสร้างความเสียหายได้มากยิ่งกว่าการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ที่ ท่วมซ้ำซากเป็นอันมาก
          หากย้อนเวลาไปสัก 30-40 ปี พื้นที่ท้ายน้ำตามปากแม่น้ำสายหลัก ทั้งเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง ล้วนเกิดน้ำท่วมเป็นประจำแทบทุกปีจนถือเป็นเรื่องปกติ ผู้คนที่อยู่อาศัยในพื้นที่เหล่านี้ก็หาได้ทุกข์ร้อนอะไรมากมายนัก จะทุกข์มากก็ตรงที่สวนล่มหรือนาล่ม ในกรณีที่น้ำมาเร็วหรือน้ำมามากกว่าทุกๆ ปี ส่วนบ้านเรือนก็ไม่เสียหาย เพราะยกพื้นสูงปล่อยให้น้ำไหลผ่านใต้ถุนบ้านไป ข้าวของสำคัญก็ขนย้ายขึ้นไว้บนบ้าน ถนนถูกน้ำท่วมเดินทางไปไหนไม่ได้ก็อาศัยเรือพายไป ความเป็นอยู่อื่นๆ ก็ปรับตัวกันได้ตามสภาพ แต่สำหรับพื้นที่ดอน ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นที่ดอนจึงไม่มีน้ำท่วมเพราะน้ำท่วมไม่ถึง ปัญหาน้ำท่วมในอดีตจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่ในยุคนั้น
          แต่สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน แม้ปริมาณฝนและปริมาณน้ำหลากจะไม่ได้มากกว่าในอดีตมากมายนัก แต่สถานการณ์น้ำท่วมกลับสร้างความเสียหายได้มากกว่าอดีตเป็นอันมาก ทั้งนี้ เป็นเพราะน้ำมันท่วมสูงและเร็วกว่าที่ควรจะเป็น และน้ำมันยังหลากมาท่วมในพื้นที่ที่ไม่เคยท่วมมาก่อนอีกด้วย ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงบางประการของแต่ละกรณีได้ ดังนี้
          กรณีน้ำท่วมสูงกว่าที่ควรจะเป็น ความเสียหายจากกรณีนี้จะไม่ผันแปรเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความสูงของน้ำ กล่าวคือ เมื่อน้ำท่วมสูงขึ้น 1 เมตร 2 เมตร 3 เมตร ความเสียหายจะไม่สูงขึ้นเป็น 1 เท่า 2 เท่า 3 เท่า ตามลำดับ แต่ความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมสูงขึ้นแต่ละเมตรนั้น เพิ่มขึ้นเป็นสิบเป็นร้อยเท่า เพราะแค่พื้นที่ถูกน้ำท่วมที่เพิ่มขึ้นก็จะมากกว่าสิบเท่าแล้วเมื่อน้ำท่วม สูงขึ้นแต่ละเมตร ในบางครั้งน้ำท่วมสูงขึ้นจากเดิมเพียง 5 ซม. 10 ซม. ก็มีผลต่อความเสียหายที่ต่างกันเป็นอันมากแล้ว เพราะน้ำอาจล้นเข้าบ้านหรือไม่เข้าบ้านก็ได้ ดังนั้น การกระทำใดๆ ที่ส่งผลให้ระดับน้ำสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น ล้วนสร้างความเสียหายต่อส่วนรวมได้มากมายเป็นอย่างยิ่ง เช่น การปิดกั้นเส้นทางน้ำไหลผ่าน การสร้างพนังกั้นน้ำท่วม และการยกระดับถนนหนีน้ำ เป็นต้น
          กรณีน้ำท่วมเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ความเสียหายกรณีนี้เกิดจากผู้ประสบอุทกภัยไม่มีเวลามากพอต่อการแก้ไขปัญหา แม้จะเตรียมการไว้บ้างแล้วก็ตาม โดยปกติเวลาเกิดน้ำท่วมตามธรรมชาติ ระดับน้ำจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ไม่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเมตรๆ ภายในวันเดียว ยกเว้นพื้นที่ต้นน้ำที่มีความลาดชันสูง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ในลักษณะของน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กลางน้ำและท้ายน้ำนั้น วันหนึ่งๆ ระดับน้ำอาจสูงขึ้นได้เพียงแค่ 30-40 ซม.เท่านั้น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำ อย่างค่อยเป็นค่อยไปนี้ ทำให้ผู้ประสบภัยมีเวลามากพอที่จะหาทางป้องกัน หลีกเลี่ยง อพยพ หรือย้ายของหนีน้ำ ความเสียหายก็จะเกิดได้ไม่มาก การสร้างพนังกั้นน้ำโดยไม่จำเป็น รวมทั้งการสร้างพนังอย่างไม่เข้าใจเรื่องแรงดันของน้ำ และลักษณะของชั้นดินตรงบริเวณที่ก่อสร้าง เป็นเหตุทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นและเข้าท่วมได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดน้ำล้น รอด หรือพนังแตก (เอาไม่อยู่) กรณีของน้ำท่วมตัวเมืองนครสวรรค์ อ่างทอง ชัยนาท เมื่อปีที่แล้ว และล่าสุดที่ตัวเมืองสุโขทัย ระดับน้ำสูงขึ้นเป็นเมตรได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง จึงสร้างความเสียหายได้อย่างมากมายมหาศาล ดังนั้น สู้ปล่อยให้น้ำท่วมตามธรรมชาติเสียแต่แรกจะดีกว่า เพราะความเสียหายคงจะเกิดได้ไม่มากเท่าที่เกิดขึ้นแล้วนั้น เนื่องจากน้ำจะท่วมช้ากว่า แต่น้ำจะผ่านพ้นได้ไปเร็วกว่า
          กรณีน้ำท่วมในพื้นที่ที่ไม่เคยท่วมมาก่อน ความเสียหายในกรณีนี้น่าวิตกมากที่สุด เพราะความเสียหายจะเกิดขึ้นได้มากกว่าพื้นที่ที่เคยถูกน้ำท่วมเป็นประจำ เนื่องจากผู้ประสบภัยไม่มีประสบการณ์มาก่อนทำให้เกิดความประมาท ไม่มีการเตรียมความพร้อมเพื่อจะเผชิญกับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า จึงขาดทั้งเครื่องและวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ดีพอในการรับมือกับ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น กรณีน้ำท่วมดอนเมืองคือ กรณีตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด พื้นที่นี้อาจเป็นพื้นที่เดียวของกรุงเทพฯที่น้ำท่วมไม่ถึงในปี พ.ศ.2485 แต่สำหรับปี พ.ศ.2554 กลับไม่พ้นถูกน้ำท่วม ทั้งๆ ที่ปริมาณน้ำปีนี้ ไม่ได้มากไปกว่าปีนั้นเลย ขนาดหน่วยงานของทางราชการก็ยังผิดพลาดที่เปิดพื้นที่ดอนเมืองให้ประชาชนเอา รถยนต์ไปจอดหนีน้ำ แต่กลับกลายเป็นการจอดรถรอให้น้ำท่วม เป็นเพราะคาดไม่ถึงนั่นเองจึงเอารถหนีน้ำออกมาไม่ทัน แม้แต่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เองก็ยังต้องอพยพหนีน้ำกันอย่างทุลักทุเล
          ถึงตรงนี้จึงมีคำถามว่า ทำไมน้ำจึงมาท่วมในพื้นที่ที่ไม่เคยท่วม คำตอบที่ตรงและชัดเจนที่สุดคือ เพราะน้ำไม่สามารถไปท่วมในพื้นที่ที่มันเคยท่วม ด้วยพื้นที่เหล่านั้นถูกถมดินเพื่อสร้างบ้าน สร้างโรงงาน และสร้างถนนหนทาง จนไม่มีพื้นที่รองรับน้ำที่เคยไหลมาตามปกติในแต่ละปี หรือไม่ก็เป็นเพราะการสร้างสิ่งกีดขวางเส้นทางการไหลของน้ำ จนทำให้น้ำไม่สามารถไหลไปยังที่ที่มันเคยไปได้ น้ำจึงต้องไหลมาท่วมในพื้นที่ที่ไม่เคยท่วมและไม่ควรท่วม (ที่ดอน) นั่นเอง
          ทุกวันนี้จะเห็นได้ว่า เวลาจะมีการสร้างบ้านเรือนหรืออาคารใดๆ สิ่งแรกที่มักจะทำกันก่อนเป็นอันดับแรกก็คือ ถมที่หนีน้ำ โดยมากก็จะถมที่ดินให้เท่าหรือสูงกว่าระดับถนนเสมอ ครั้นสองข้างทางเต็มไปด้วยอาคารบ้านเรือน เมื่อฝนตกน้ำก็ไหลลงไปท่วมถนน ครั้นพอมีการสร้างถนนใหม่ก็มักจะยกระดับถนนให้สูงขึ้นไปอีก เวลาฝนตกน้ำบนถนนก็ไหลย้อนเข้าสู่บริเวณบ้านและอาคาร สลับกันไปสลับกันมาอยู่เช่นนี้ กลายเป็นวงจรที่ไม่รู้จบ แม้แต่อาคารสำนักงานของทางราชการเองก็มีการกระทำไม่ต่างกับของชาวบ้าน และบางครั้งยังรุกล้ำแหล่งพักน้ำในธรรมชาติอีกด้วย สถานการณ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า การถมที่หนีน้ำไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ชาญฉลาดและยั่งยืน แต่เป็นแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแบบกวาดขยะซุกไว้ใต้ผืนพรมเท่านั้นเอง
          ในอดีตกว่า 20 ปีมาแล้ว เคยมีผู้เสนอให้มีกฎหมายควบคุมการถมที่ดิน แต่ล่วงเลยมาจนถึงทุกวันนี้ ก็ยังไม่มีนักการเมืองหรือพรรคการเมืองใดให้ความสนใจร่างกฎหมายฉบับนี้ออกมา บังคับใช้ แต่ถึงอย่างไรก็ดี วันนี้ก็ยังนับว่าไม่สายเกินไปที่จะร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาบังคับใช้ เพราะยังมีพื้นที่อีกมากมายที่น้ำยังท่วมไม่ถึงในวันนี้ แต่กำลังรอให้น้ำท่วมในวันหน้า ตราบใดที่ยังมีการถมที่ดินกันอย่างไม่หยุดยั้งเช่นทุกวันนี้
          เพราะเห็นกันชัดๆ แล้วว่า ถมที่หนีน้ำ ยิ่งถม ก็ยิ่งท่วม.
         

 

ผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ที่มา :ภาพและเนื้อหาจาก --มติชน ฉบับวันที่ 27 ก.ย. 2555 (กรอบบ่าย)--

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 8267

กลุ่มข่าวสาร : บทความน่าสนใจ

ข่าวล่าสุด

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023
รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษา ปริญญาตรี และปริญญาโท ทีมปันแสน และ ทีมREISSCHEIN คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 จากกิจกรรมการนำเสนอผลงานนวัตกรรมสู่การพัฒนาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Startup Gate Pitching Challenge 2023) จากทั้งหมด 12 ทีม จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร (MAP) ในวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 "ทีมปันแสน" นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร กับผลงาน "เยลลี่บุกเสริมสารสกัดจากขมิ้นชันคุมหิวผิวสวย" ประกอบด้วย1. นางสาวเสาวลักษณ์ มณีทอง2. นายณัฐพงษ์ มุงเมือง3. นายอาทิตย์ ด่านกระโทก4. ผศ.ดร.ธีระพล เสนพันธุ์ (อ.ที่ปรึกษาทีม)ชนะเลิศอันดับ 2 "ทีม REISSCHEIN" กับผลงาน "ไวน์ข้าวออร์แกนนิค" นักศึกษา ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ประกอบด้วย1.น.ส.นันทกานต์ นันสาย2.น.ส.นัทธมน ขวัญทัย3.ผศ.ดร.กนกวรรณ ตาลดี (อ.ที่ปรึกษาทีม)
21 ตุลาคม 2566     |      197
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"ในวันที่ 27 กันยายน 2566 การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน Rubber Innovation Matching Day นำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการจับคู่ธุรกิจ ภายใต้โครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด 198 คน ทีมผู้เข้าร่วม 28 ทีม 91 คนผศ.ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นที่ปรึกษาโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางการพัฒนาด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยาง (Natural Rubber Startup Acceleration Program Batch 3) จากโครงการเรื่อง มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก โดยมีสมาชิก นายคณินทร์ชัย เอกพุฒิวงศ์ เกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลห้วยซ้อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ได้รับรางวัลชมเชยผลงานระดับ Product to Market (P2M) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพาราเข้าสู่ตลาด
21 ตุลาคม 2566     |      162
RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ
ทีม RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ ทีม : RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศ ผ่านเข้ารอบการแข่งขันการประกวดความเป็นไปได้ทางธุรกิจภายใต้โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 11 (Research to Market) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ฯทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และเป็นตัวแทนในการแข่งขันภูมิภาคเหนือต่อไป จำนวน 3 ทีม มีดังนี้ทีม : RUBBER GUARDผลงานวิจัย : น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิมอาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ทีมนักศึกษา1. นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร2. นางสาวขวัญกมล โนภา คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร3. นายรณกร เครือหงษ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร4. นางสาวธันชนก คำมา คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวณัฐกฤตา วงษ์สุวรรณ คณะบริหารธุรกิจ ทีม : AES Re-Energyผลงานวิจัย : การพัฒนาฉนวนกันความร้อนแบบคอนกรีตบล็อกผสมเถ้าชีวมวลอาจารย์ที่ปรึกษา : ดร. ภคมน ปินตานาทีมนักศึกษา1. นางสาวลลิตา เพชรใจหาญ คณะพลังงานทดแทน2. นางสาวศุภมาส ทวีสุข คณะพลังงานทดแทน3. นางสาวจรรยพร หลู่จิ่ง คณะพลังงานทดแทน4. นางสาวธัญรดา เอี่ยมหอม คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวรดาดาว มงคลแก้ว คณะบริหารธุรกิจ ทีม : Blis teamผลงานวิจัย : แผ่นมาสก์ปาก “Blis Balm”อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร. ศักดินันท์ นันตังทีมนักศึกษา1. นายเทพฤทธิ์ จาง คณะวิทยาศาสตร์2. นางสาววรรณวิษา กระจ่างฉาย คณะวิทยาศาสตร์3. นายธนชัญ คำภีระ คณะวิทยาศาสตร์4. นางสาวณัฐวิภา เผ่าดี คณะบริหารธุรกิจ5. นายพฤษชาติ แสนเขื่อนแก้ว คณะบริหารธุรกิจทั้งนี้ทีมนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจะเป็นตัวแทนในการแข่งขัน R2M ระดับภูมิภาคเหนือร่วมกับทีมตัวแทนจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมทั้งหมด 21 ทีม เพื่อคัดเลือกทีมนักศึกษา จำนวน 9 ทีม แข่งขันในระดับประเทศต่อไป โดยการแข่งขันระดับภูมิภาคเหนือจะจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย -1 ธ.ค 66 นี้ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
21 ตุลาคม 2566     |      210
Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท
ขอแสดงความยินดีกับทีม Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยฝ่ายบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (นักศึกษาปัจจุบัน และ ผู้จบการศึกษาไม่เกิน 5 ปี) จำนวน 4 ราย ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท (Ideation Incentive Program : #IDEA) รอบที่ 2/2566 จากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) เพื่อนำไปพัฒนาต้นแบบ (Mockup) และแผนธุรกิจฉบับสมบูรณ์ โดยการบ่มเพาะของเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MAP)1. โครงการ Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม"โดย นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง นักศึกษาจากสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ และนางสาวขวัญกมล โนภา นักศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ อาจารย์ประจำคณะคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่โจ้2. โครงการ PEAT PLANT วัสดุเพาะเมล็ดและต้นกล้าจากวัตถุอินทรีย์ธรรมชาติ โดย นายเกรียงไกร ใจยสุข นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาวิชาเกษตรอัจฉริยะ (ต่อเนื่อง) และทีมงานศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร อาจารย์ประจำคณะผลิตกรรมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สัตวศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้3.โครงการระบบเพาะเห็ดแบบแม่นยำ โดย นายพุทธพงษ์ สุวรรณกูล นักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทน นายนิติพัฒน์ ปัญญา และนายปิติพล จิ่งต่า ศิษย์เก่าวิทยาลัยพลังงานทดแทนอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.ภคมน ปินตานา และ อาจารย์ ดร.สุระพล ริยะนา อาจารย์ประจำวิทยาลัยพลังงานทดแทน วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ School of Renewable Energy, MJU.4.โครงการโจ๊กผำแม่โจ้ 1 เอ โดย นางสาวเกตุวลิน ล้ำเลิศนางสาวสุดา จันทะบัตร นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ นางสาวพิมลพรรณ เพ็งสุริยา นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร อายุมั่น อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
21 ตุลาคม 2566     |      222