คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

      ในขณะนี้มีจังหวัดทางภาคเหนือที่มีการปลูกยางพาราและสามารถกรีดยางได้แล้ว ได้แก่ เชียงราย เพชรบูรณ์ น่าน พะเยา พิษณุโลก และอุทัยธานี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่ผลผลิตส่วนใหญ่เป็นผลจากการจัดการระบบการผลิตขั้นปฐมภูมิคือ เป็นเพียงผลผลิตวัตถุดิบ เช่น น้ำยางสด ยางแผ่นรมควันและยางแผ่นผึ่งแห้ง ดังนั้นเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยางทางภาคเหนือ และเพื่อให้เกษตรกรทราบถึงกระบวนการแปรรูปน้ำยางพารา การฝึกอบรมเกี่ยวกับการแปรรูปน้ำยางให้แก่เกษตรกรจึงเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อเนื่อง ซึ่งการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การทำถุงมือยางจากน้ำยางธรรมชาติ” เป็นโครงการหนึ่งที่สามารถช่วยสนับสนุนนโยบายส่งเสริมการปลูกยางได้ เนื่องจากใช้อุปกรณ์และเครื่องมือที่ไม่ซับซ้อน สามารถผลิตได้ในระดับครัวเรือนหรือกลุ่มชุมชน

ดังนั้น สวทช. ภาคเหนือ จึงได้ร่วมกับคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การทำถุงมือยางจากน้ำยางธรรมชาติ” ขึ้น เพื่อให้ความรู้การผลิตถุงมือยางจากน้ำยางพาราให้แก่กลุ่มเกษตรกรและผู้ที่สนใจ และเพื่อเป็นทางเลือกในการเพิ่มมูลค่าน้ำยางพารานอกจากการจัดจำหน่ายในรูปน้ำยางสดหรือยางแผ่นดิบ

_____________________________

การอบรม : ฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

เรื่อง      การทำถุงมือยางจากน้ำยางธรรมชาติ 

วันที่      11 กรกฎาคม 2555   เวลา 8.30 – 16.00 น.

สถานที่  อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์  

            คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

จัดโดย:  สวทช. ภาคเหนือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  www.nnr.nstda.or.th  

__________________________________________________________________________

สวทช. ภาคเหนือ เป็นหน่วยงานในกำกับของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2540 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานให้เกิดการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ทั้งภาคเอกชน ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ในเขตภาคเหนือ เพื่อดำเนินการวิจัยพัฒนา ออกแบบและวิศวกรรม การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคการผลิตและชุมชน

วิสัยทัศน์ (Vision) สวทช. เป็นเพื่อนร่วมทางที่ดี สู่สังคมฐานความรู้ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

   พันธกิจ (Strategic Mission) สวทช. มุ่งเสริมการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของ ภาคเหนือ พร้อมทั้งดำเนินกิจกรรมด้านถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคคลากร และการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น สวทช. ภาคเหนือ จึงได้ร่วมกับคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การทำถุงมือยางจากน้ำยางธรรมชาติ ขึ้น เพื่อให้ความรู้การผลิตถุงมือยางจากน้ำยางพาราให้แก่กลุ่มเกษตรกรและผู้ที่สนใจ และเพื่อเป็นทางเลือกในการเพิ่มมูลค่าน้ำยางพารานอกจากการจัดจำหน่ายในรูปน้ำยางสดหรือยางแผ่นดิบ

_______________________________________________________________________________________________________

สวทช. ภาคเหนือ เป็นหน่วยงานในกำกับของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2540 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานให้เกิดการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ทั้งภาคเอกชน ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ในเขตภาคเหนือ เพื่อดำเนินการวิจัยพัฒนา ออกแบบและวิศวกรรม การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคการผลิตและชุมชน

วิสัยทัศน์ (Vision) สวทช. เป็นเพื่อนร่วมทางที่ดี สู่สังคมฐานความรู้ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

   พันธกิจ (Strategic Mission) สวทช. มุ่งเสริมการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของ ภาคเหนือ พร้อมทั้งดำเนินกิจกรรมด้านถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคคลากร และการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

เอกสารการสมัคร

ปรับปรุงข้อมูล : 7/10/2555 10:55:37     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 9622

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ประกาศรับสมัครทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปี 2567 จำนวน 41 ทุน ๆ ละ 6,000 บาท
ประกาศรับสมัครทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปี 2567 จำนวน 41 ทุน ๆ ละ 6,000 บาทคุณสมบัติ1. เป็นนักศึกษาของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ชั้นปีที่ 2-42. ไม่ถูกพักการศึกษา ไม่ถูกลงทางวินัย และไม่ได้รับทุนการศึกษาอื่นใด ยกเว้น กยศ.3. มีผลการเรียนเฉลี่ย ไม่น้อยกว่า 2.00การรับสมัครเปิดรับสมัครตั้งแต่วันประกาศถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 โดยผู้สมัครสแกน QR Code กรอกรายละเอียดและอัพโหลดเอกสารแนบ (บัตรนักศึกษาและสำเนาผลการเรียน) สอบถามเพิ่มเติมงานกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดี ชั้น 1 อาคารเรียนรวมสาขาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
20 กรกฎาคม 2567     |      13
ครงการนักวิจัยพบแหล่งทุนภายนอก โดยครั้งนี้ จัดในหัวข้อเรื่อง "การขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุน FTA"
งานบริการวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรขอเชิญชวนบุคลากรทุกท่าน เข้าร่วมโครงการนักวิจัยพบแหล่งทุนภายนอกโดยครั้งนี้ จัดในหัวข้อเรื่อง "การขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุน FTA"วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00-12.00 น.ผ่านระบบ microsoft Teamกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนเงินทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ในการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ปฏิรูปผลิตผลทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพ การแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและอาหารhttps://www.ftaoae.com/index
20 กรกฎาคม 2567     |      10