คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

      เครื่องหั่นย่อยขนาดเล็ก มหาวิทยาลัย.แม่โจ้ ช่วยลดปัญหาการเผากิ่งไม้ ใบไม้ แถมได้ปุ๋ยหมักใช้ฟรี รองศาสตราจารย์บัณฑิต หิรัญสถิตย์พร ภาควิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า ปัจจุบัน มีการรณรงค์ให้ลด ละ เลิก การเผากิ่งไม้และใบไม้ ตามชุมชนและบ้านเรือน เนื่องจากปัญหาควันไฟ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ มีปัญหามลพิษทางอากาศค่อนข้างมาก สาเหตุหนึ่งมาจากการเผากิ่งไม้และใบไม้ตามชุมชนและบ้านเรือน เนื่องจากประชาชนไม่สามารถจะจัดการกับกิ่งไม้และใบไม้ได้ ทำให้เจ้าของบ้านบางหลังก็นำเอากิ่งไม้ ใบไม้ ไปกองสุมหรือนำไปทิ้งเอาไว้ในบริเวณที่ดินว่างเปล่าของผู้อื่น

 

    ส่งผลให้เป็นที่อยู่ของสัตว์มีพิษและเชื้อโรคต่างๆ เจ้าของบ้านบ้างหลังที่ไม่มีที่ให้กองสุมหรือนำไปทิ้งในที่ดินว่างเปล่าของผู้อื่น ก็จะเผาทำลาย จนเป็นเหตุให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ ดังที่ได้ประสบมา ดังนั้น ถ้ามีการหั่นย่อยกิ่งไม้และใบไม้แล้ว ก็จะทำให้พื้นที่ในการกองกิ่งไม้และใบไม้ลดลง นอกจากนี้ ยังสามารถนำกิ่งไม้และใบไม้ไปทำปุ๋ยหมักหรือเป็นวัสดุคลุมดินได้ แต่เครื่องหั่นย่อยที่มีการผลิตและจำหน่ายในประเทศส่วนใหญ่มีราคาค่อนข้างแพง ขนาดใหญ่ และใช้ต้นทุนสูง จึงไม่เหมาะกับการนำมาใช้ในบ้านเรือน ส่วนเครื่องหั่นย่อยขนาดเล็กที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศมาจำหน่ายก็มีปัญหาขาดความแข็งแรง ทนทาน และความยุ่งยากในการซ่อมบำรุง เนื่องจากอะไหล่บางชนิดหายาก เช่น มอเตอร์ สวิตช์ และใบมีด เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้ประชาชนทั่วไปไม่มั่นใจในการนำเครื่องหั่นย่อยที่นำเข้าจากต่างประเทศไปใช้งาน จากข้อมูลข้างต้นและจากข้อมูลที่ได้สำรวจ พบว่า ประชาชนทั่วไปมีความต้องการใช้เครื่องหั่นย่อยเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ติดปัญหาที่เครื่องมีราคาค่อนข้างแพง และไม่มั่นใจในการซ่อมบำรุง ดังนั้น ถ้ามีการออกแบบเครื่องหั่นย่อยขนาดเล็กให้มีราคาถูก ซ่อมบำรุงรักษาง่าย และมีขนาดเล็ก ใช้พื้นที่ในการเก็บน้อย ก็จะทำให้ประชาชนทั่วไปมีความสนใจที่จะหันมาหั่นย่อยกิ่งไม้และใบไม้เพื่อใช้ทำปุ๋ยหมักหรือเป็นวัสดุคลุมดินแทนการเผาทำลาย ซึ่งจะช่วยลดปัญหามลพิษทางอากาศ และลดการขาดดุลเงินตราจากการนำเข้าเครื่องหั่นย่อยขนาดเล็กจากต่างประเทศ รองศาสตราจารย์บัณฑิต กล่าวอีกว่าดังนั้น จึงได้ออกแบบและสร้างเครื่องหั่นย่อยขนาดเล็กขึ้น จากการสนับสนุนโครงการวิจัยโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เครือข่ายภาคเหนือ การทดสอบใช้กิ่งมะม่วง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 1.5 นิ้ว โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 1.5 แรงม้า เท่านั้น และใบไม้แห้งเป็นวัสดุในการทดสอบ พบว่า สามารถหั่นย่อยกิ่งมะม่วงได้ 252 กิโลกรัม ต่อชั่วโมง และย่อยใบไม้แห้งได้ 48 กิโลกรัม ต่อชั่วโมง หรือ 1.58 ลูกบาศก์เมตร ต่อชั่วโมง (ประมาณ 20 เข่ง ต่อชั่วโมง) เมื่อย่อยใบไม้แห้งแล้วปริมาตรจะลดลง 60-70 เปอร์เซ็นต์ (จากใบไม้แห้งก่อนย่อย 20 เข่ง จะเหลือเพียง 6-7 เข่ง) โดยเครื่องหั่นย่อยขนาดเล็กนี้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง มีความทนทาน และซ่อมบำรุงรักษาง่าย นอกจากนี้ เครื่องหั่นย่อยขนาดเล็กนี้ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2552 ซึ่งจัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ ภายหลังจากการทำวิจัยแล้วเสร็จ ได้ยื่นจดอนุสิทธิบัตร และได้ผลิตเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจนำไปใช้งาน โดยมีผู้ซื้อไปใช้งานแล้วจำนวนหลายราย นอกจากจะได้เครื่องหั่นย่อยขนาดเล็กแล้ว ยังได้ศึกษากระบวนการทำปุ๋ยหมักอย่างง่าย เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ผู้ซื้อเครื่องไปใช้งาน สามารถนำวัสดุที่ย่อยแล้วไปทำปุ๋ยหมักไว้ใช้ในบ้านหรือในหน่วยงานได้ โดยกระบวนการทำปุ๋ยหมักอย่างง่ายนี้ ได้เผยแพร่ไปแล้ว ได้ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากกระบวนการทำปุ๋ยหมักอย่างง่ายนี้ ไม่ซับซ้อน ทำง่าย ไม่ต้องดูแลมากนัก ใช้ระยะเวลาในการหมักน้อย โดยการทำปุ๋ยหมักมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือการทำปุ๋ยหมักจากใบไม้แห้งหรือสด และการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร สำหรับรายละเอียดวิธีการทำปุ๋ยหมักเข้าถึงได้ใน www.machinery.mju.ac.th หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ รองศาสตราจารย์บัณฑิต หิรัญสถิตย์พร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290 โทร. (053) 878-123 หรือ (081) 595-4432 หรือสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เครือข่ายภาคเหนือ โทร. (053) 226-264 ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปัญหามลพิษทางอากาศ โดยสามารถนำกิ่งไม้และใบไม้มาย่อย แล้วนำไปทำปุ๋ยหมักหรือเป็นวัสดุคลุมดินแทนการเผาทำลาย

ที่มา :

รองศาสตราจารย์บัณฑิต หิรัญสถิตย์พร
2012-03-22

ปรับปรุงข้อมูล : 8/1/2555 10:10:42     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 8180

กลุ่มข่าวสาร : บทความน่าสนใจ

ข่าวล่าสุด

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023
รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษา ปริญญาตรี และปริญญาโท ทีมปันแสน และ ทีมREISSCHEIN คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 จากกิจกรรมการนำเสนอผลงานนวัตกรรมสู่การพัฒนาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Startup Gate Pitching Challenge 2023) จากทั้งหมด 12 ทีม จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร (MAP) ในวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 "ทีมปันแสน" นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร กับผลงาน "เยลลี่บุกเสริมสารสกัดจากขมิ้นชันคุมหิวผิวสวย" ประกอบด้วย1. นางสาวเสาวลักษณ์ มณีทอง2. นายณัฐพงษ์ มุงเมือง3. นายอาทิตย์ ด่านกระโทก4. ผศ.ดร.ธีระพล เสนพันธุ์ (อ.ที่ปรึกษาทีม)ชนะเลิศอันดับ 2 "ทีม REISSCHEIN" กับผลงาน "ไวน์ข้าวออร์แกนนิค" นักศึกษา ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ประกอบด้วย1.น.ส.นันทกานต์ นันสาย2.น.ส.นัทธมน ขวัญทัย3.ผศ.ดร.กนกวรรณ ตาลดี (อ.ที่ปรึกษาทีม)
21 ตุลาคม 2566     |      190
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"ในวันที่ 27 กันยายน 2566 การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน Rubber Innovation Matching Day นำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการจับคู่ธุรกิจ ภายใต้โครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด 198 คน ทีมผู้เข้าร่วม 28 ทีม 91 คนผศ.ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นที่ปรึกษาโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางการพัฒนาด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยาง (Natural Rubber Startup Acceleration Program Batch 3) จากโครงการเรื่อง มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก โดยมีสมาชิก นายคณินทร์ชัย เอกพุฒิวงศ์ เกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลห้วยซ้อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ได้รับรางวัลชมเชยผลงานระดับ Product to Market (P2M) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพาราเข้าสู่ตลาด
21 ตุลาคม 2566     |      155
RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ
ทีม RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ ทีม : RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศ ผ่านเข้ารอบการแข่งขันการประกวดความเป็นไปได้ทางธุรกิจภายใต้โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 11 (Research to Market) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ฯทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และเป็นตัวแทนในการแข่งขันภูมิภาคเหนือต่อไป จำนวน 3 ทีม มีดังนี้ทีม : RUBBER GUARDผลงานวิจัย : น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิมอาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ทีมนักศึกษา1. นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร2. นางสาวขวัญกมล โนภา คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร3. นายรณกร เครือหงษ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร4. นางสาวธันชนก คำมา คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวณัฐกฤตา วงษ์สุวรรณ คณะบริหารธุรกิจ ทีม : AES Re-Energyผลงานวิจัย : การพัฒนาฉนวนกันความร้อนแบบคอนกรีตบล็อกผสมเถ้าชีวมวลอาจารย์ที่ปรึกษา : ดร. ภคมน ปินตานาทีมนักศึกษา1. นางสาวลลิตา เพชรใจหาญ คณะพลังงานทดแทน2. นางสาวศุภมาส ทวีสุข คณะพลังงานทดแทน3. นางสาวจรรยพร หลู่จิ่ง คณะพลังงานทดแทน4. นางสาวธัญรดา เอี่ยมหอม คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวรดาดาว มงคลแก้ว คณะบริหารธุรกิจ ทีม : Blis teamผลงานวิจัย : แผ่นมาสก์ปาก “Blis Balm”อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร. ศักดินันท์ นันตังทีมนักศึกษา1. นายเทพฤทธิ์ จาง คณะวิทยาศาสตร์2. นางสาววรรณวิษา กระจ่างฉาย คณะวิทยาศาสตร์3. นายธนชัญ คำภีระ คณะวิทยาศาสตร์4. นางสาวณัฐวิภา เผ่าดี คณะบริหารธุรกิจ5. นายพฤษชาติ แสนเขื่อนแก้ว คณะบริหารธุรกิจทั้งนี้ทีมนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจะเป็นตัวแทนในการแข่งขัน R2M ระดับภูมิภาคเหนือร่วมกับทีมตัวแทนจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมทั้งหมด 21 ทีม เพื่อคัดเลือกทีมนักศึกษา จำนวน 9 ทีม แข่งขันในระดับประเทศต่อไป โดยการแข่งขันระดับภูมิภาคเหนือจะจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย -1 ธ.ค 66 นี้ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
21 ตุลาคม 2566     |      204
Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท
ขอแสดงความยินดีกับทีม Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยฝ่ายบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (นักศึกษาปัจจุบัน และ ผู้จบการศึกษาไม่เกิน 5 ปี) จำนวน 4 ราย ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท (Ideation Incentive Program : #IDEA) รอบที่ 2/2566 จากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) เพื่อนำไปพัฒนาต้นแบบ (Mockup) และแผนธุรกิจฉบับสมบูรณ์ โดยการบ่มเพาะของเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MAP)1. โครงการ Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม"โดย นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง นักศึกษาจากสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ และนางสาวขวัญกมล โนภา นักศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ อาจารย์ประจำคณะคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่โจ้2. โครงการ PEAT PLANT วัสดุเพาะเมล็ดและต้นกล้าจากวัตถุอินทรีย์ธรรมชาติ โดย นายเกรียงไกร ใจยสุข นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาวิชาเกษตรอัจฉริยะ (ต่อเนื่อง) และทีมงานศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร อาจารย์ประจำคณะผลิตกรรมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สัตวศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้3.โครงการระบบเพาะเห็ดแบบแม่นยำ โดย นายพุทธพงษ์ สุวรรณกูล นักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทน นายนิติพัฒน์ ปัญญา และนายปิติพล จิ่งต่า ศิษย์เก่าวิทยาลัยพลังงานทดแทนอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.ภคมน ปินตานา และ อาจารย์ ดร.สุระพล ริยะนา อาจารย์ประจำวิทยาลัยพลังงานทดแทน วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ School of Renewable Energy, MJU.4.โครงการโจ๊กผำแม่โจ้ 1 เอ โดย นางสาวเกตุวลิน ล้ำเลิศนางสาวสุดา จันทะบัตร นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ นางสาวพิมลพรรณ เพ็งสุริยา นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร อายุมั่น อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
21 ตุลาคม 2566     |      216