คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

   อินทผลัม...หรือ “อันนัคลุ้” เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจในกิจกรรมนี้ เนื่องจากมีบันทึกว่าเป็น พืชยืนต้นที่มีเกียรติที่สุด ด้วยท่าน นบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮวะซัลลัม รับประทานทุกวัน วันละ 7 เม็ด โดยยืนยันว่า มันป้องกันไสยศาสตร์และพิษต่างๆได้ โดยการอนุมัติของ อัลลอฮ์ฺ ที่มีต่อประชาชาติของท่าน... และท่าน ร่อซูล จะละศีลอดด้วยกิน อินทผลัมสด

ผศ.ดร.อุมาพร (ขวา) และนางสุวิน กับน้ำอินทผลัมพร้อมดื่ม.

กับครั้งนี้....อินทผลัมที่นำไปแสดงมันโดดเด่น เพราะเป็น ต้นไม้ที่ปลูกและให้ผลผลิตในบ้านเรา ซึ่งบ้านสวนโกหลัก 37 หมู่ 1 ศรีดงเย็น ไชยปราการ เชียงใหม่ นำไปโชว์ ณ C1-D หน้า อาคารจำหน่ายสินค้าโอทอป

อินทผลัมกินผลสดต้นนี้เป็นฝีมือการวิจัยและพัฒนาพันธุ์โดย นายศักดิ์ ลำจวน โดยมีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถให้ผลผลิตได้ภายใน 2 ปี (ตามปกติใช้เวลาราวๆ 6 ปี) ทดสอบจนสายพันธุ์นิ่ง จึงให้ชื่อว่า “อินทผลัมไทย แม่โจ้ 36” เพื่อเป็นเกียรติแก่สถาบันและรุ่นที่ตนเรียนมา...

นายศักดิ์ ลำจวน

 
โดยมี นายชาติชาย ชัยเลิศ (แม่โจ้ 36) เพื่อนและรุ่นน้องแม่โจ้ นายนิรันดร์ ดิษฐ์กระจัน (กรมวิชาการเกษตร) นายวีรศักดิ์ แก้วคราม (กรมส่งเสริมการเกษตร) และ นายธงชัย พุ่มพวง (โครงการหลวงฯ) ร่วมทีม

ผลผลิตอินทผลัมสวนโกหลักได้เปิดตัวสู่สังคม เมื่อฤดูเก็บเกี่ยวปีที่ผ่านมา “เดอะมอลล์” สนับสนุนให้นำผลสดเข้าจำหน่ายในเครือทุกสาขา ทั่วประเทศ ซึ่งก็ได้รับความสำเร็จมีลูกค้าอย่างล้นหลาม

แม้ว่าผลงานจะผ่านเข้าสู่ตลาดอย่างฉลุยแล้ว นายศักดิ์ก็มิได้ถอยห่าง ยังเดินหน้าต่อในวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปอาหาร โดยประสานกับมหาวิทยาลัย เพื่อให้อินทผลัมเป็นศาสตร์ที่สามารถถ่ายทอดเป็นการเรียนการสอนศิษย์รุ่นน้อง ได้ต่อไปในอนาคต

นางสุวิน ลำจวน ผู้เป็นภรรยา ได้เอา ภูมิปัญญาชาวบ้าน มาทำน้ำอินทผลัมพร้อมดื่ม เป็นการช่วยพัฒนาการแปรรูปอีกทางหนึ่ง ซึ่งก็ได้รับความสนใจแก่ผู้เข้าชมงานไม่น้อยแม้ว่าจะไม่ถูกต้องตามสุขอนามัยเท่าใดนัก ประจวบกับ ผลงานวิจัยการแปรรูปของทางมหาวิทยาลัยแล้วเสร็จ จึงได้ปรับปรุงตามหลักวิชาการ เพื่อผลิตภัณฑ์การแปรรูปมีคุณภาพและได้มาตรฐานยิ่งขึ้น

ผศ.ดร.อุมาพร อุประ คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อธิบาย ถึง น้ำอินทผลัมพร้อมดื่ม ซึ่งผ่านการวิจัยอย่างลงตัว

กระบวนการแปรรูปไม่ยากนัก เนื่องจาก วัตถุดิบมีความหวานที่พอเพียง อยู่แล้ว เพียงแต่นำผลที่อบแห้งมาผสมกับน้ำปั่นให้เนื้อเข้ากัน โดยไม่ใส่ยากันบูด นำไปเคี่ยวให้ได้ความหวาน 12 บริกซ์ นึ่งในหม้อความดัน 15 ปอนด์ 15 นาที ก็เป็นเครื่องดื่มได้อย่างสมบูรณ์แบบ และไม่ต้องห่วงในเรื่องบูดเน่าเสีย

คุณค่าทางอาหารของอินทผลัม มีสารเบต้าแคโรทีน วิตามินซี โปแตสเซียม ไนอาซีน ทองแดง ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และสรรพคุณทางโอสถสารรักษาอาการทางกระเพาะ ลดไข้ เจ็บคอ หวัด เสมหะ และแก้อาการเมาค้าง กับอีกคุณสมบัติที่รู้ๆกัน แต่ไม่มีใครจะก๋าออกมายืนยันคือ เสริมสมรรถภาพทางเพศ

สนใจข้อมูล...ชม-ชิม โทร. 0-5345-7081,08-9855-9569, 08-1582-4444 และ 08-1952-1989

ข้อความและภาพจาก ไทยรัฐออนไลน์

ปรับปรุงข้อมูล : 8/1/2555 10:17:46     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 12586

กลุ่มข่าวสาร : บทความน่าสนใจ

ข่าวล่าสุด

ประกาศรับสมัครทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปี 2567 จำนวน 41 ทุน ๆ ละ 6,000 บาท
ประกาศรับสมัครทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปี 2567 จำนวน 41 ทุน ๆ ละ 6,000 บาทคุณสมบัติ1. เป็นนักศึกษาของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ชั้นปีที่ 2-42. ไม่ถูกพักการศึกษา ไม่ถูกลงทางวินัย และไม่ได้รับทุนการศึกษาอื่นใด ยกเว้น กยศ.3. มีผลการเรียนเฉลี่ย ไม่น้อยกว่า 2.00การรับสมัครเปิดรับสมัครตั้งแต่วันประกาศถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 โดยผู้สมัครสแกน QR Code กรอกรายละเอียดและอัพโหลดเอกสารแนบ (บัตรนักศึกษาและสำเนาผลการเรียน) สอบถามเพิ่มเติมงานกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดี ชั้น 1 อาคารเรียนรวมสาขาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
20 กรกฎาคม 2567     |      13
ครงการนักวิจัยพบแหล่งทุนภายนอก โดยครั้งนี้ จัดในหัวข้อเรื่อง "การขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุน FTA"
งานบริการวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรขอเชิญชวนบุคลากรทุกท่าน เข้าร่วมโครงการนักวิจัยพบแหล่งทุนภายนอกโดยครั้งนี้ จัดในหัวข้อเรื่อง "การขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุน FTA"วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00-12.00 น.ผ่านระบบ microsoft Teamกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนเงินทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ในการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ปฏิรูปผลิตผลทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพ การแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและอาหารhttps://www.ftaoae.com/index
20 กรกฎาคม 2567     |      10