คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

   อินทผลัม...หรือ “อันนัคลุ้” เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจในกิจกรรมนี้ เนื่องจากมีบันทึกว่าเป็น พืชยืนต้นที่มีเกียรติที่สุด ด้วยท่าน นบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮวะซัลลัม รับประทานทุกวัน วันละ 7 เม็ด โดยยืนยันว่า มันป้องกันไสยศาสตร์และพิษต่างๆได้ โดยการอนุมัติของ อัลลอฮ์ฺ ที่มีต่อประชาชาติของท่าน... และท่าน ร่อซูล จะละศีลอดด้วยกิน อินทผลัมสด

ผศ.ดร.อุมาพร (ขวา) และนางสุวิน กับน้ำอินทผลัมพร้อมดื่ม.

กับครั้งนี้....อินทผลัมที่นำไปแสดงมันโดดเด่น เพราะเป็น ต้นไม้ที่ปลูกและให้ผลผลิตในบ้านเรา ซึ่งบ้านสวนโกหลัก 37 หมู่ 1 ศรีดงเย็น ไชยปราการ เชียงใหม่ นำไปโชว์ ณ C1-D หน้า อาคารจำหน่ายสินค้าโอทอป

อินทผลัมกินผลสดต้นนี้เป็นฝีมือการวิจัยและพัฒนาพันธุ์โดย นายศักดิ์ ลำจวน โดยมีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถให้ผลผลิตได้ภายใน 2 ปี (ตามปกติใช้เวลาราวๆ 6 ปี) ทดสอบจนสายพันธุ์นิ่ง จึงให้ชื่อว่า “อินทผลัมไทย แม่โจ้ 36” เพื่อเป็นเกียรติแก่สถาบันและรุ่นที่ตนเรียนมา...

นายศักดิ์ ลำจวน

 
โดยมี นายชาติชาย ชัยเลิศ (แม่โจ้ 36) เพื่อนและรุ่นน้องแม่โจ้ นายนิรันดร์ ดิษฐ์กระจัน (กรมวิชาการเกษตร) นายวีรศักดิ์ แก้วคราม (กรมส่งเสริมการเกษตร) และ นายธงชัย พุ่มพวง (โครงการหลวงฯ) ร่วมทีม

ผลผลิตอินทผลัมสวนโกหลักได้เปิดตัวสู่สังคม เมื่อฤดูเก็บเกี่ยวปีที่ผ่านมา “เดอะมอลล์” สนับสนุนให้นำผลสดเข้าจำหน่ายในเครือทุกสาขา ทั่วประเทศ ซึ่งก็ได้รับความสำเร็จมีลูกค้าอย่างล้นหลาม

แม้ว่าผลงานจะผ่านเข้าสู่ตลาดอย่างฉลุยแล้ว นายศักดิ์ก็มิได้ถอยห่าง ยังเดินหน้าต่อในวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปอาหาร โดยประสานกับมหาวิทยาลัย เพื่อให้อินทผลัมเป็นศาสตร์ที่สามารถถ่ายทอดเป็นการเรียนการสอนศิษย์รุ่นน้อง ได้ต่อไปในอนาคต

นางสุวิน ลำจวน ผู้เป็นภรรยา ได้เอา ภูมิปัญญาชาวบ้าน มาทำน้ำอินทผลัมพร้อมดื่ม เป็นการช่วยพัฒนาการแปรรูปอีกทางหนึ่ง ซึ่งก็ได้รับความสนใจแก่ผู้เข้าชมงานไม่น้อยแม้ว่าจะไม่ถูกต้องตามสุขอนามัยเท่าใดนัก ประจวบกับ ผลงานวิจัยการแปรรูปของทางมหาวิทยาลัยแล้วเสร็จ จึงได้ปรับปรุงตามหลักวิชาการ เพื่อผลิตภัณฑ์การแปรรูปมีคุณภาพและได้มาตรฐานยิ่งขึ้น

ผศ.ดร.อุมาพร อุประ คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อธิบาย ถึง น้ำอินทผลัมพร้อมดื่ม ซึ่งผ่านการวิจัยอย่างลงตัว

กระบวนการแปรรูปไม่ยากนัก เนื่องจาก วัตถุดิบมีความหวานที่พอเพียง อยู่แล้ว เพียงแต่นำผลที่อบแห้งมาผสมกับน้ำปั่นให้เนื้อเข้ากัน โดยไม่ใส่ยากันบูด นำไปเคี่ยวให้ได้ความหวาน 12 บริกซ์ นึ่งในหม้อความดัน 15 ปอนด์ 15 นาที ก็เป็นเครื่องดื่มได้อย่างสมบูรณ์แบบ และไม่ต้องห่วงในเรื่องบูดเน่าเสีย

คุณค่าทางอาหารของอินทผลัม มีสารเบต้าแคโรทีน วิตามินซี โปแตสเซียม ไนอาซีน ทองแดง ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และสรรพคุณทางโอสถสารรักษาอาการทางกระเพาะ ลดไข้ เจ็บคอ หวัด เสมหะ และแก้อาการเมาค้าง กับอีกคุณสมบัติที่รู้ๆกัน แต่ไม่มีใครจะก๋าออกมายืนยันคือ เสริมสมรรถภาพทางเพศ

สนใจข้อมูล...ชม-ชิม โทร. 0-5345-7081,08-9855-9569, 08-1582-4444 และ 08-1952-1989

ข้อความและภาพจาก ไทยรัฐออนไลน์

ปรับปรุงข้อมูล : 8/1/2555 10:17:46     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 12692

กลุ่มข่าวสาร : บทความน่าสนใจ

ข่าวล่าสุด

พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร กับสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร กับสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม 2568 คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร และสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการร่วมกัน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นำพร ปัญโญใหญ่ รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินันท์ รัตนพรหม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและการต่างประเทศ อาจารย์ ดร.แพรวพรรณ จอมงาม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยี นวัตกรรมและจัดหารายได้  นายสุมิตร เชื่อมชัยตระกูล หัวหน้าศูนย์บริการวิชาการ เข้าร่วมลงนามความร่วมมือ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน ผู้อํานวยการสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา ซูแสวงทรัพย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม นางริมฤทัย พุทธวงค์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและห้องปฏิบัติการ เข้าร่วมลงนามความร่วมมือ ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารเรียนรวม สาขาวิศวกรรมศาสตร์ การทำความร่วมร่วมมือในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และสนับสนุนการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ร่วมกัน รวมถึงการร่วมมือกันพัฒนาองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมทั้งถ่ายทอดความรู้การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้แก่บุคลากรและนักศึกษา คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งเป็นนิมิตหมายอันดีในการร่วมมือกันเพิ่มประสิทธภาพในการทำงาน และพัฒนาองค์กรให้ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป
20 พฤษภาคม 2568     |      49
ขอแสดงความยินดี! อาจารย์คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คว้า 5 เหรียญจากว่ายน้ำ “ตุมปังเกมส์” พร้อมประเดิมเหรียญแรกให้แม่โจ้
ขอแสดงความยินดี! อาจารย์คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คว้า 5 เหรียญจากว่ายน้ำ “ตุมปังเกมส์” พร้อมประเดิมเหรียญแรกให้แม่โจ้คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ที่สามารถคว้าเหรียญรางวัลรวม 5 เหรียญ จากการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 “ตุมปังเกมส์” ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยประกอบด้วยเหรียญทอง จากรายการ กรรเชียง 50 เมตร รุ่นอายุ 50-54 ปี ชายเหรียญเงิน จากรายการ กบ 50 เมตร รุ่นอายุ 50-54 ปี ชายเหรียญเงิน จากรายการ ผลัดผสม 4x50 เมตร รุ่นอายุ 40-44 ปี ชายเหรียญเงิน จากรายการ ผลัดฟรีสไตล์ 4x50 เมตร รุ่นอายุ 40-44 ปี ชายเหรียญทองแดง จากรายการ ฟรีสไตล์ 50 เมตร รุ่นอายุ 50-54 ปี ชายโดยเฉพาะ เหรียญทองแดงจากฟรีสไตล์ 50 เมตรชาย รุ่นอายุ 50-54 ปี นับเป็น เหรียญรางวัลแรกของทัพนักกีฬาแม่โจ้ ในการแข่งขัน “ตุมปังเกมส์” ปีนี้ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3–10 พฤษภาคม 2568 ภายใต้แนวคิด “Power of Spirit” มีนักกีฬาบุคลากรจาก 59 สถาบันอุดมศึกษา เข้าร่วมแข่งขันใน 17 ชนิดกีฬาความสำเร็จในครั้งนี้ไม่เพียงสะท้อนถึงศักยภาพของบุคลากรในด้านกีฬา แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสมดุลระหว่างสุขภาพ การทำงาน และความเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชาวมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทุกคน
20 พฤษภาคม 2568     |      67
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ?? ร่วมงานประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 11 “นวัตกรรมสาหร่ายและแพลงก์ตอนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Algae & Plankton Innovation for Sustainable Development Goals - SDGs)
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ?? ร่วมงานประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 11“นวัตกรรมสาหร่ายและแพลงก์ตอนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”(Algae & Plankton Innovation for Sustainable Development Goals - SDGs)ระหว่างวันที่ 1–2 พฤษภาคม 2568 ณ โรงแรมแคนทารี ฮิลส์ จังหวัดเชียงใหม่ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ??ร่วมงานการประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 11 ซึ่งจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสาหร่ายและแพลงก์ตอนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัย แลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านสาหร่ายและแพลงก์ตอนกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศในพิธีเปิดการประชุม ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินันท์ รัตนพรหมรองคณบดีฝ่ายวิชาการและการต่างประเทศคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมเป็นผู้แทนคณะฯ เพื่อแสดงเจตจำนงในการส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรชีวภาพและความยั่งยืนพร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ จตุรงค์ล้ำเลิศ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้รับเกียรติร่วมเสวนาในหัวข้อ “ไข่ผำน้ำ” นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญของเวทีสัมมนาวิชาการ โดยได้นำเสนอมุมมองเชิงนวัตกรรมเกี่ยวกับการใช้สาหร่ายและจุลินทรีย์ในการพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ ที่ตอบโจทย์ความมั่นคงทางอาหารและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)การประชุมในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักวิจัย นักศึกษา และผู้ประกอบการจากทั่วประเทศ นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการผลักดันงานวิจัยจากห้องปฏิบัติการสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และเพื่อสังคมอย่างแท้จริง
20 พฤษภาคม 2568     |      45
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงนามความร่วมมือกับภาคเอกชน พัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพสู่ระดับสากล
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงนามความร่วมมือกับภาคเอกชน พัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพสู่ระดับสากลวันพุธที่ 30 เมษายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.แพรวพรรณ จอมงาม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยี นวัตกรรมและจัดหารายได้ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นักรบ นาคประสม ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการกับภาคเอกชน เพื่อการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพพิธีลงนามได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานกล่าวต้อนรับผู้บริหารจาก บริษัท อีฟ แอนด์ บี จำกัด และ บริษัท บิสท์ อินโน รีฟอร์ม จำกัด ณ ห้องประชุมสภา ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัยความร่วมมือครั้งนี้ เป็นการเชื่อมโยงผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ภาคอุตสาหกรรม โดยมหาวิทยาลัยอนุญาตให้ บริษัท บิสท์ อินโน รีฟอร์ม จำกัด นำเทคโนโลยีจากงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นักรบ นาคประสม และทีมศูนย์ความเป็นเลิศด้านวัตกรรมฯ ไปต่อยอดในระดับอุตสาหกรรม พร้อมขยายความร่วมมือด้านการตลาดร่วมกับ บริษัท อีฟ แอนด์ บี จำกัด เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีงานวิจัยรองรับ ตอบโจทย์ธุรกิจในระดับสากล
20 พฤษภาคม 2568     |      51