คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

ดร. กรผกา อรรคนิตย์ รับรางวัลบุคคลตัวอย่างแห่งปี 2564 จาก มูลนิธิเพื่อสังคมไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรผกา อรรคนิตย์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ที่สร้างผลงานมาอย่างตลอด ได้รับรางวัลบุคลตัวอย่างแห่งปี รางวัลความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน ประจำปี 2564 ตามที่ มูลนิธิเพื่อสังคมไทย มีหนังสือที่ บค. 2564/066 ลงวันที่ 17 มกราคม 2564 เรื่องประกาศผลและเชิญเข้ารับรางวัล" บุคคลตัวอย่างแห่งปี" พุทธศักราช 2564 โครงการหนึ่งล้านกล้าความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน มูลนิธิเพื่อสังคมไทย

คณะกรรมการและคณะทางาน รางวัล ความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน ประจำปี 2564 ได้ร่วมกัน พิจารณาประวัติอันทรงคุณค่าและผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนของ ผศ.ดร.กรผกา อรรคนิตย์ ผู้อำนวยการ สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้" คณะกรรมการมีความเห็นพ้องกัน ว่าท่านเป็น "บุคคล" ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม เป็นผู้ที่มีความสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติจริง มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศใน การบริหารงานกิจการต่าง ๆ ให้สำเร็จ โดยอาศัยความรู้ความสามารถของตนเองและความร่วมมือของผู้อื่น ประพฤติ ตนอยู่ในกรอบของคุณงามความดี มีคุณธรรมจริยธรรม อีกทั้งมีการตอบแทนคุณแผ่นดินในรูปแบบต่าง ๆ สมควรยก ย่องให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมและสาธารณชนสืบไป คณะกรรมการจึงได้มีมติเป็นเอกฉันท์พิจารณาให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร. กรผกา อรรคนิตย์ ผู้อำนวยการสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการประกาศเกียรติคุณรางวัล "ความดีตอบแทนคุณแผ่นดินพุทธศักราช ๒๕๖๔ สาขา บริหารและพัฒนาองค์กร

เข้ารับรางวัลในวันที่ 5 มีนาคม 2564 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ หอประชุมกองทัพอากาศ กรุงเทพฯ

ทั้งนี้ โครงการหนึ่งล้านกล้าความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน มูลนิธิเพื่อสังคมไทย เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้คนไทยประกอบคุณงามความดี มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทำคุณประโยชน์ต่อส่วนรวม สังคม ประเทศชาติ ตอบแทนคุณแผ่นดินในรูปแบบต่างๆ โดยคณะทำงานของโครงการฯ จะคัดเลือก คัดสรรบุคคลและองค์กรที่มีผลงานเชิงประจักษ์ ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน มีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติ ให้เข้ารับรางวัลดังกล่าว

ดร. กรผกา อรรคนิตย์ รับรางวัลบุคคลตัวอย่างแห่งปี 2564 จาก มูลนิธิเพื่อสังคมไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรผกา อรรคนิตย์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่สร้างผลงานมาอย่างตลอด ได้รับรางวัลบุคลตัวอย่างแห่งปี รางวัลความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน ประจำปี 2564 ตามที่ มูลนิธิเพื่อสังคมไทย มีหนังสือที่ บค. 2564/066 ลงวันที่ 17 มกราคม 2564 เรื่องประกาศผลและเชิญเข้ารับรางวัล" บุคคลตัวอย่างแห่งปี" พุทธศักราช 2564 โครงการหนึ่งล้านกล้าความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน มูลนิธิเพื่อสังคมไทย

คณะกรรมการและคณะทางาน รางวัล ความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน ประจำปี 2564 ได้ร่วมกัน พิจารณาประวัติอันทรงคุณค่าและผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนของ ผศ.ดร.กรผกา อรรคนิตย์ ผู้อำนวยการ สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้" คณะกรรมการมีความเห็นพ้องกัน ว่าท่านเป็น "บุคคล" ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม เป็นผู้ที่มีความสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติจริง มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศใน การบริหารงานกิจการต่าง ๆ ให้สำเร็จ โดยอาศัยความรู้ความสามารถของตนเองและความร่วมมือของผู้อื่น ประพฤติ ตนอยู่ในกรอบของคุณงามความดี มีคุณธรรมจริยธรรม อีกทั้งมีการตอบแทนคุณแผ่นดินในรูปแบบต่าง ๆ สมควรยก ย่องให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมและสาธารณชนสืบไป คณะกรรมการจึงได้มีมติเป็นเอกฉันท์พิจารณาให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรผกา อรรคนิตย์ ผู้อำนวยการสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการประกาศเกียรติคุณรางวัล "ความดีตอบแทนคุณแผ่นดินพุทธศักราช ๒๕๖๔ สาขา บริหารและพัฒนาองค์กร

เข้ารับรางวัลในวันที่ 5 มีนาคม 2564 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ หอประชุมกองทัพอากาศ กรุงเทพฯ

ทั้งนี้ โครงการหนึ่งล้านกล้าความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน มูลนิธิเพื่อสังคมไทย เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้คนไทยประกอบคุณงามความดี มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทำคุณประโยชน์ต่อส่วนรวม สังคม ประเทศชาติ ตอบแทนคุณแผ่นดินในรูปแบบต่างๆ โดยคณะทำงานของโครงการฯ จะคัดเลือก คัดสรรบุคคลและองค์กรที่มีผลงานเชิงประจักษ์ ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน มีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติ ให้เข้ารับรางวัลดังกล่าว

ปรับปรุงข้อมูล : 7/3/2564 16:03:33     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 2201

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปางวันนี้ 31 มีนาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร พร้อมด้วยผู้บริหาร ให้การต้อนรับคุณสมฤดี อินทรฉิม จากบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง ซึ่งได้เข้ามาแนะนำบริษัท ทำความรู้จัก และสร้างความสัมพันธ์เพื่อความร่วมมือในอนาคตการพบปะครั้งนี้เป็นก้าวแรกของการเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เพื่อเปิดโอกาสสู่ความร่วมมือในด้านการศึกษา สหกิจศึกษา ฝึกงาน และโอกาสทางอาชีพ คณะฯ ขอขอบคุณบริษัทเนเจอรี่ จำกัด ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่าย และหวังว่าจะได้ร่วมงานกันในอนาคต
11 เมษายน 2568     |      119
โครงการการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพร
เมื่อวันที่ 1-2 เมษายน 2568 งานบริการวิชาการและวิจัย ได้จัดโครงการการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพร ณ อาคารโรงงานนำร่อง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร โดย อาจารย์ ดร.แพรวพรรณ จอมงาม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยี นวัตกรรมและจัดหารายได้ เป็นหัวหน้าโครงการโครงการนี้จัดขึ้นเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยทางด้านการทำแห้งเพื่อคงปริมาณสารสำคัญ ได้แก่ ข้าวเกรียบสมุนไพร ไส้อั่วปลาอบแห้งโรยข้าว และการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมผลไม้ โดยมีวิทยากร ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม ผศ.ดร.ศรัญญา สุวรรณอังกูร อาจารย์ ดร.ตรีทิพย์ ชื่นสันต์ เป็นผู้นำองค์ความรู้มาถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในตำบลสันป่าเปา ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย ให้ชุมชนเกิดการพัฒนาตนเองด้านการแปรรูปอาหาร สร้างความยั่งยืนในอนาคต
11 เมษายน 2568     |      100
นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็น 1 ใน 5 ทีม นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568เมื่อวันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้นำทีมนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ประจำปี 2568 ณ ห้องประชุม 105 อาคารประเสริฐ ณ นคร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีและกล่าวเปิดโครงการ ซึ่งเป็นเวทีให้นักศึกษาได้มีโอกาสนำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและยกระดับศักยภาพของชุมชนในครั้งนี้ คณะวิศวกรรมฯ ได้ร่วมมือกับ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ส่งทีมนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันภายใต้ชื่อทีม "ชาลำ บำรุงสุข" ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 ทีมที่ได้นำเสนอผลงาน ในรอบนี้ ทีมชาลำ บำรุงสุข ได้ร่วมพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง บ้านสันป่าเหียน จังหวัดลำพูน โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้มากขึ้นการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ การพัฒนาแนวคิดเชิงธุรกิจ และการทำงานร่วมกับชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตอย่างยั่งยืน
11 เมษายน 2568     |      85
ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมลงนามในฐานะผู้แทนฝ่ายเจ้าภาพ ณ อาคารคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พิธีลงนามในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อวางรากฐานความร่วมมือในด้านการเรียนการสอนและการใช้ทรัพยากรร่วมกันในช่วงสถานการณ์วิกฤต อาทิ ภัยธรรมชาติ เหตุเพลิงไหม้ หรือเหตุการณ์ไม่สงบที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษา โดยทั้งสองหน่วยงานตกลงร่วมมือกันในการสนับสนุนการใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารสถานที่ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องมือ และวัสดุต่าง ๆ ตามความเหมาะสม โดยยังคงอยู่ภายใต้การดูแลและความรับผิดชอบของแต่ละสถาบัน ทั้งในด้านค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้จ่ายจากการใช้ทรัพยากรเฉพาะกรณีความร่วมมือครั้งนี้ยังครอบคลุมถึงการผลักดันกิจกรรมวิจัย การบริการวิชาการ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอาหารและผลิตผลเกษตร โดยมุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการพัฒนาโครงการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมจริงภายหลังพิธีลงนาม คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พาคณะผู้บริหารและบุคลากรจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ (FIN) รวมถึงอาคารเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงงานต้นแบบ และอาคาร CMU BIOPOLIS ซึ่งถือเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ความร่วมมือระหว่างทั้งสองสถาบันในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการและวิจัยของประเทศ พร้อมร่วมกันผลักดันความเจริญก้าวหน้าในภาคอุตสาหกรรมเกษตรอย่างมั่นคงและยั่งยืนCr :ขอบคุณรูปภาพจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
11 เมษายน 2568     |      106