คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

       กรณีการเลื่อนเวลาปิดเปิดเทอมมหาวิทยาลัยไทยตามอาเซียนที่เป็นอยู่ขณะนี้คือ จากเดิมที่เคยเปิดเทอมแรกในเดือนมิถุนายนแล้วไปปิดเทอมย่อยในเดือนตุลาคม และไปเปิดเทอมสองในเดือนพฤศจิกายนแล้วไปปิดเทอมใหญ่ในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมนั้น ได้เปลี่ยนมาเปิดเทอมแรกในเดือนสิงหาคมแล้วไปปิดเทอมย่อยในเดือนธันวาคม และเปิดเทอมสองในเดือนมกราคมแล้วไปปิดเทอมใหญ่กลางเดือนพฤษภาคมถึงปลายเดือนกรกฎาคม กล่าวคือ มหาวิทยาลัยไทยเลื่อนเวลาเรียนออกไปราว 2 เดือนทั้งระบบ โดยอ้างว่าเป็นการปิดเปิดเทอมตามอาเซียนที่กำลังจะรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนปลายปีนี้ ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยไทยต้องเปิดให้มีการเรียนการสอนตรงกับช่วงฤดูฝน (มิถุนายน-กันยายน) อย่างเต็มๆ ในเทอมแรก และต้องเรียนต้องสอนกันในช่วงฤดูร้อน (มีนาคม-พฤษภาคม) อย่างเต็มๆ ในเทอมสอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดูไม่เข้าท่า

       ตั้งแต่แรกแล้ว และไม่มีใครคาดคิดว่าสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะดำเนินการอย่างนี้จริงๆ เพราะเชื่อว่าผู้บริหารการศึกษาระดับสูงน่าจะคิดได้ถึงผลกระทบที่จะมีต่อภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย ดังนั้น จึงไม่มีใครออกมาคัดค้านอย่างจริงจังเสียแต่แรก แต่เมื่อ สกอ.สั่งการลงมาจริงๆ มหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ทำตามเหมือนเด็กว่าง่าย เพราะอธิการบดีส่วนใหญ่คงตกอยู่ในบริบทที่ว่า ตามเขาดูเหมือนเก่ง บ้างก็ว่าทดลองดูไปก่อน หากไม่เหมาะสมก็เปลี่ยนกลับมาแบบเดิม ซึ่งสุดท้ายก็เกิดปัญหามากมายตามมาอย่างที่ทราบๆ กันอยู่ 

      สำหรับ ความไม่เหมาะสมของการปิดเปิดเทอมมหาวิทยาลัยตามอาเซียนนั้นเป็นเพราะมีการ เรียนการสอนในช่วงที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะเกิดพายุและน้ำท่วม (กันยายนและตุลาคม) ในช่วงเทอมแรก และมีการเรียนการสอนในช่วงที่อากาศร้อนสุดสุด (เมษายนและพฤษภาคม) ในช่วงเทอมสองนั่นเอง และปัญหาอื่นๆ ที่ตามมาอีกมากมายดังที่ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ได้เคยสรุปไว้ในมติของ ปอมท. เรื่องการปิดเปิดเทอมมหาวิทยาลัยไทยตามอาเซียนในคราวประชุม ปอมท. ครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (นสพ.มติชน ฉบับวันที่ 23 มิถุนายน 2558) 

หลังจากปล่อยให้มีการปิดเปิดเทอมมหาวิทยาลัยตามอาเซียนมาจนครบหนึ่งปีการศึกษา (2557) แล้ว มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ก็พบปัญหาที่ตามมามากมาย หลายฝ่ายจึงออกมาคัดค้านอย่างจริงจัง อาทิ กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยไทยได้รณรงค์คัดค้านเรื่องนี้ผ่านทาง www.change.org ซึ่งขณะนี้มีผู้ลงชื่อคัดค้านแล้วกว่า 2 หมื่นรายชื่อ ขณะที่ตัวแทนคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มีมติเสนอให้ สกอ.ทบทวนเรื่องนี้ แต่ สกอ.ก็ยังคงยืนยันจะไม่ทบทวน และขณะนี้ได้เปิดเทอมแรกของปีการศึกษา (2558) ไปแล้ว นั่นหมายความว่า มหาวิทยาลัยไทยจะต้องเปิดเทอมที่สองตามอาเซียนต่อไปอีกหนึ่งปีการศึกษาเป็นอย่างน้อย

ตามข้ออ้างของผู้เสนอให้มหาวิทยาลัยมีการปิดเปิดเทอมตามอาเซียนนั้น นับเป็นเรื่องตลกร้ายที่สุดเพราะแท้จริงแล้วกลับพบว่า การปิดเปิดเทอมของมหาวิทยาลัยไทยที่เปลี่ยนไปนี้ ไม่ได้สอดคล้องอะไรกับมหาวิทยาลัยของประเทศต่างๆ ในอาเซียนเลย เพราะแต่ละประเทศในอาเซียนมีช่วงเวลาปิดเปิดเทอมที่หลากหลาย (ดังตาราง) แม้แต่ประเทศลาวที่ดูเหมือนมีช่วงปิดเปิดเทอมตรงที่สุดกับประเทศไทย (ดูเหมือนไทยเปลี่ยนตามลาว) ก็ยังไม่จริง เพราะเทอมแรกของมหาวิทยาลัยไทยตรงกับเทอมสองของมหาวิทยาลัยลาว แล้วอย่างนี้จะอ้างว่า เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของอาเซียนได้อย่างไร?

ถึงตรงนี้ จึงไม่ทราบว่าใครถูกหลอกและใครหลอกใคร ระหว่างที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และคนในมหาวิทยาลัยที่ถูกหลอกมาตลอด เชื่อว่าเรื่องนี้จะต้องมีเบื้องหน้าเบื้องหลังในการเสนออย่างแน่นอน แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะประเด็นสำคัญคือ เราจะยอมให้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนี้บั่นทอนคุณภาพของอุดมศึกษาไทยต่อไปอีกหรือ? เพราะได้เห็นกันชัดๆ แล้วว่า ในปีการศึกษา 2557 ที่ผ่านมา การปิดเปิดเทอมที่ว่าตามอาเซียนนั้น นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์อย่างเป็นชิ้นเป็นอันต่อวงการอุดมศึกษาไทยในภาพรวมแล้ว แต่กลับเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงต่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ และเป็นอุปสรรคต่อการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไทย ซึ่งล้วนเป็นภารกิจหลักที่สำคัญของมหาวิทยาลัยไทยทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีผลกระทบไปถึงครอบครัว สังคม และประเทศชาติในด้านการใช้พลังงานและทรัพยากรอีกด้วย 

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยไทยนับว่าอยู่รั้งท้ายในกลุ่มอาเซียน แต่ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่บ่งบอกถึงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ได้ผลอย่างชัดเจน ทั้งการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก การปรับเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และการปรับโครงสร้างกระทรวง รวมทั้งการปรับเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีเป็นว่าเล่น ดูเหมือนจะมีแต่การเปลี่ยนแปลงที่ล้วนบั่นทอนคุณภาพการศึกษาและลดประสิทธิภาพการทำงานของมหาวิทยาลัยลงไปอีกแทบทั้งสิ้น

ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการก็เพิ่งได้รัฐมนตรีว่าการและช่วยว่าการชุดใหม่ รวมทั้งกำลังจะได้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาคนใหม่ จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้มีการทบทวนเรื่องนี้กันอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง เพราะผู้บริหารชุดที่แล้วเคยยืนยันว่าจะไม่ทบทวนเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่มีหลายฝ่ายออกมาให้ข้อมูลและเหตุผลว่าควรปรับคืนไปเหมือนเดิม แต่ไม่รู้ว่าด้วยอัตตาที่สูงเกินขีดธรรมดา หรือเป็นเพราะยังคงอยู่ในบริบทที่ว่า "ตามเขาดูเหมือนเก่ง คิดเองดูเหมือนโง่" ปัญหาจึงยังคงอยู่ 

หากปล่อยให้เวลาล่วงเลยต่อไป การเปลี่ยนแปลงแก้ไขก็จะยิ่งยุ่งยากซับซ้อนไปอีก เพราะธรรมชาติของผู้ปฏิบัติมักจะเคยชินกับงานประจำจนมองไม่เห็นปัญหา เหมือนอีกหลายๆ เรื่องในวงการศึกษาไทยที่พลาดไปจนไม่อาจแก้ไขได้ในทุกวันนี้

 
 
Cr: มติชนรายวัน 29 กันยายน 2558
     สุพจน์ เอี้ยงกุญชร 
     คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่โจ้
ปรับปรุงข้อมูล : 10/10/2558 8:27:34     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 658

กลุ่มข่าวสาร : บทความน่าสนใจ

ข่าวล่าสุด

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023
รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษา ปริญญาตรี และปริญญาโท ทีมปันแสน และ ทีมREISSCHEIN คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 จากกิจกรรมการนำเสนอผลงานนวัตกรรมสู่การพัฒนาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Startup Gate Pitching Challenge 2023) จากทั้งหมด 12 ทีม จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร (MAP) ในวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 "ทีมปันแสน" นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร กับผลงาน "เยลลี่บุกเสริมสารสกัดจากขมิ้นชันคุมหิวผิวสวย" ประกอบด้วย1. นางสาวเสาวลักษณ์ มณีทอง2. นายณัฐพงษ์ มุงเมือง3. นายอาทิตย์ ด่านกระโทก4. ผศ.ดร.ธีระพล เสนพันธุ์ (อ.ที่ปรึกษาทีม)ชนะเลิศอันดับ 2 "ทีม REISSCHEIN" กับผลงาน "ไวน์ข้าวออร์แกนนิค" นักศึกษา ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ประกอบด้วย1.น.ส.นันทกานต์ นันสาย2.น.ส.นัทธมน ขวัญทัย3.ผศ.ดร.กนกวรรณ ตาลดี (อ.ที่ปรึกษาทีม)
21 ตุลาคม 2566     |      199
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"ในวันที่ 27 กันยายน 2566 การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน Rubber Innovation Matching Day นำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการจับคู่ธุรกิจ ภายใต้โครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด 198 คน ทีมผู้เข้าร่วม 28 ทีม 91 คนผศ.ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นที่ปรึกษาโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางการพัฒนาด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยาง (Natural Rubber Startup Acceleration Program Batch 3) จากโครงการเรื่อง มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก โดยมีสมาชิก นายคณินทร์ชัย เอกพุฒิวงศ์ เกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลห้วยซ้อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ได้รับรางวัลชมเชยผลงานระดับ Product to Market (P2M) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพาราเข้าสู่ตลาด
21 ตุลาคม 2566     |      164
RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ
ทีม RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ ทีม : RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศ ผ่านเข้ารอบการแข่งขันการประกวดความเป็นไปได้ทางธุรกิจภายใต้โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 11 (Research to Market) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ฯทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และเป็นตัวแทนในการแข่งขันภูมิภาคเหนือต่อไป จำนวน 3 ทีม มีดังนี้ทีม : RUBBER GUARDผลงานวิจัย : น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิมอาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ทีมนักศึกษา1. นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร2. นางสาวขวัญกมล โนภา คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร3. นายรณกร เครือหงษ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร4. นางสาวธันชนก คำมา คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวณัฐกฤตา วงษ์สุวรรณ คณะบริหารธุรกิจ ทีม : AES Re-Energyผลงานวิจัย : การพัฒนาฉนวนกันความร้อนแบบคอนกรีตบล็อกผสมเถ้าชีวมวลอาจารย์ที่ปรึกษา : ดร. ภคมน ปินตานาทีมนักศึกษา1. นางสาวลลิตา เพชรใจหาญ คณะพลังงานทดแทน2. นางสาวศุภมาส ทวีสุข คณะพลังงานทดแทน3. นางสาวจรรยพร หลู่จิ่ง คณะพลังงานทดแทน4. นางสาวธัญรดา เอี่ยมหอม คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวรดาดาว มงคลแก้ว คณะบริหารธุรกิจ ทีม : Blis teamผลงานวิจัย : แผ่นมาสก์ปาก “Blis Balm”อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร. ศักดินันท์ นันตังทีมนักศึกษา1. นายเทพฤทธิ์ จาง คณะวิทยาศาสตร์2. นางสาววรรณวิษา กระจ่างฉาย คณะวิทยาศาสตร์3. นายธนชัญ คำภีระ คณะวิทยาศาสตร์4. นางสาวณัฐวิภา เผ่าดี คณะบริหารธุรกิจ5. นายพฤษชาติ แสนเขื่อนแก้ว คณะบริหารธุรกิจทั้งนี้ทีมนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจะเป็นตัวแทนในการแข่งขัน R2M ระดับภูมิภาคเหนือร่วมกับทีมตัวแทนจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมทั้งหมด 21 ทีม เพื่อคัดเลือกทีมนักศึกษา จำนวน 9 ทีม แข่งขันในระดับประเทศต่อไป โดยการแข่งขันระดับภูมิภาคเหนือจะจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย -1 ธ.ค 66 นี้ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
21 ตุลาคม 2566     |      212
Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท
ขอแสดงความยินดีกับทีม Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยฝ่ายบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (นักศึกษาปัจจุบัน และ ผู้จบการศึกษาไม่เกิน 5 ปี) จำนวน 4 ราย ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท (Ideation Incentive Program : #IDEA) รอบที่ 2/2566 จากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) เพื่อนำไปพัฒนาต้นแบบ (Mockup) และแผนธุรกิจฉบับสมบูรณ์ โดยการบ่มเพาะของเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MAP)1. โครงการ Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม"โดย นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง นักศึกษาจากสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ และนางสาวขวัญกมล โนภา นักศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ อาจารย์ประจำคณะคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่โจ้2. โครงการ PEAT PLANT วัสดุเพาะเมล็ดและต้นกล้าจากวัตถุอินทรีย์ธรรมชาติ โดย นายเกรียงไกร ใจยสุข นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาวิชาเกษตรอัจฉริยะ (ต่อเนื่อง) และทีมงานศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร อาจารย์ประจำคณะผลิตกรรมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สัตวศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้3.โครงการระบบเพาะเห็ดแบบแม่นยำ โดย นายพุทธพงษ์ สุวรรณกูล นักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทน นายนิติพัฒน์ ปัญญา และนายปิติพล จิ่งต่า ศิษย์เก่าวิทยาลัยพลังงานทดแทนอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.ภคมน ปินตานา และ อาจารย์ ดร.สุระพล ริยะนา อาจารย์ประจำวิทยาลัยพลังงานทดแทน วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ School of Renewable Energy, MJU.4.โครงการโจ๊กผำแม่โจ้ 1 เอ โดย นางสาวเกตุวลิน ล้ำเลิศนางสาวสุดา จันทะบัตร นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ นางสาวพิมลพรรณ เพ็งสุริยา นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร อายุมั่น อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
21 ตุลาคม 2566     |      224