คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

    ตามที่ประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ 9/2558 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2558 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา มีมติคัดเลือกอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท. ประจำปี 2558 จำนวน 5 ท่านใน 5 สาขา

   โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระพงษ์  สว่างปัญญางกูร จากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้    ได้รับคัดเลือกให้เป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท. สาขา รับใช้สังคม ที่มีการนำศาสตร์ที่เป็นองค์ความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญ ไปรับใช้สังคมหรือบริการวิชาการก่อให้เกิดประโยชน์ เห็นผลเป็นรูปธรรม โดยไม่หวังผลตอบแทนส่วนบุคคลในเชิงธุรกิจ และมีผลทางสังคมเป็นที่ยอมรับ มีผลงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม  ซึ่งส่งผลให้ชุมชน สังคมมีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระพงษ์  สว่างปัญญางกูร  สังกัดสาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร  ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธา ระดับปริญญาโทสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้กับการทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งเดิมมีความยากที่ต้องเปลืองแรงงานในการพลิกกลับกองปุ๋ย  ดังนั้นในปี 2545 ได้ประดิษฐ์คิดค้นระบบกองเติมอากาศที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยหมักได้ครั้งละ 10 กอง กองละ 1 ตัน เสร็จในเวลาเพียง 1 เดือนโดยไม่ต้องพลิกกลับกองเลย จากการอัดอากาศเข้ากองปุ๋ยด้วยพัดลมโบลเวอร์ ต่อมาในปี 2552 ก็ได้ทำการวิจัยเพิ่มเติม พัฒนาไปสู่นวัตกรรมการผลิตปุ๋ยหมักวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าและพัดลมอีกต่อไป เป็นการกองปุ๋ยเป็นรูปสามเหลี่ยมแถวยาวที่ไม่ต้องพลิกกลับกองเลย วัตถุดิบมีเพียงเศษพืชและมูลสัตว์เท่านั้น ใช้เวลาเพียงสองเดือน โดยอาศัยหลักการทางวิศวกรรม “การพาความร้อน” ช่วยให้มีการเติมอากาศเข้าไปในกองปุ๋ยตลอดเวลาตามธรรมชาติ ปุ๋ยหมักที่ผลิตได้มีค่าคุณภาพสูงผ่านมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของประเทศทุกครั้ง เกษตรกรจะสามารถผลิตปุ๋ยหมักได้ครั้งละ 10-1,000 ตัน ช่วยให้มีการใช้ประโยชน์จากเศษพืช ลดการเผา ลดต้นทุน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี นำไปสู่การผลิตพืชผักและข้าวแบบอินทรีย์ที่ผลผลิตมีราคาสูง ส่งผลให้เกษตรกรหลายแห่งมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นที่ประจักษ์ นับเป็นตัวอย่างอาจารย์ที่ดี ได้ใช้ชีวิตรับราชการอย่างทุ่มเท ทั้งด้านงานสอน งานวิจัย และงานบริการรับใช้สังคม โดยมีผลงานบูรณาการงานสอนเข้ากับงานบริการวิชาการและงานวิจัย ได้สร้างทีมงานอาจารย์ที่สามารถถ่ายทอดผลงานต่อไปได้ในระยะยาว ผลงานวิจัยได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกในการดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อใช้แก้ปัญหาหมอกควันพิษจากการเผาเศษพืช   ท่านได้จัดตั้งฐานเรียนรู้การผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองตั้งแต่ปี 2547 เพื่อให้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมได้ตลอดทั้งปี และนอกจากนั้น ปัจจุบันยังได้ให้บริการวิชาการผ่านสังคมออนไลน์ โดยเปิดสอนการทำปุ๋ยหมักในเว็บบอร์ดเกษตรพอเพียงดอทคอม www.kasetporpeang.com และทางเฟสบุ๊คเพจ ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกองแม่โจ้ อีกด้วย

 

     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระพงษ์  สว่างปัญญางกูร จะเข้ารับโล่และรางวัลเกียรติยศจากที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยอย่างสมเกียรติ ในการประชุมวิชาการประจำปีของที่ประชุม ปอมท. ประจำปี 2558 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่  26-27 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องแมนดารินแกรนด์  บอลรูม โรงแรมแมนดารินแมนเนจบายเซนเตอร์พอยท์ กรุงเทพฯ

Cr: งานประชาสัมพันธ์ และงานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

 

ปรับปรุงข้อมูล : 10/10/2558 8:28:16     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 935

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023
รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษา ปริญญาตรี และปริญญาโท ทีมปันแสน และ ทีมREISSCHEIN คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 จากกิจกรรมการนำเสนอผลงานนวัตกรรมสู่การพัฒนาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Startup Gate Pitching Challenge 2023) จากทั้งหมด 12 ทีม จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร (MAP) ในวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 "ทีมปันแสน" นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร กับผลงาน "เยลลี่บุกเสริมสารสกัดจากขมิ้นชันคุมหิวผิวสวย" ประกอบด้วย1. นางสาวเสาวลักษณ์ มณีทอง2. นายณัฐพงษ์ มุงเมือง3. นายอาทิตย์ ด่านกระโทก4. ผศ.ดร.ธีระพล เสนพันธุ์ (อ.ที่ปรึกษาทีม)ชนะเลิศอันดับ 2 "ทีม REISSCHEIN" กับผลงาน "ไวน์ข้าวออร์แกนนิค" นักศึกษา ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ประกอบด้วย1.น.ส.นันทกานต์ นันสาย2.น.ส.นัทธมน ขวัญทัย3.ผศ.ดร.กนกวรรณ ตาลดี (อ.ที่ปรึกษาทีม)
21 ตุลาคม 2566     |      175
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"ในวันที่ 27 กันยายน 2566 การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน Rubber Innovation Matching Day นำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการจับคู่ธุรกิจ ภายใต้โครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด 198 คน ทีมผู้เข้าร่วม 28 ทีม 91 คนผศ.ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นที่ปรึกษาโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางการพัฒนาด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยาง (Natural Rubber Startup Acceleration Program Batch 3) จากโครงการเรื่อง มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก โดยมีสมาชิก นายคณินทร์ชัย เอกพุฒิวงศ์ เกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลห้วยซ้อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ได้รับรางวัลชมเชยผลงานระดับ Product to Market (P2M) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพาราเข้าสู่ตลาด
21 ตุลาคม 2566     |      147
RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ
ทีม RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ ทีม : RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศ ผ่านเข้ารอบการแข่งขันการประกวดความเป็นไปได้ทางธุรกิจภายใต้โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 11 (Research to Market) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ฯทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และเป็นตัวแทนในการแข่งขันภูมิภาคเหนือต่อไป จำนวน 3 ทีม มีดังนี้ทีม : RUBBER GUARDผลงานวิจัย : น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิมอาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ทีมนักศึกษา1. นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร2. นางสาวขวัญกมล โนภา คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร3. นายรณกร เครือหงษ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร4. นางสาวธันชนก คำมา คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวณัฐกฤตา วงษ์สุวรรณ คณะบริหารธุรกิจ ทีม : AES Re-Energyผลงานวิจัย : การพัฒนาฉนวนกันความร้อนแบบคอนกรีตบล็อกผสมเถ้าชีวมวลอาจารย์ที่ปรึกษา : ดร. ภคมน ปินตานาทีมนักศึกษา1. นางสาวลลิตา เพชรใจหาญ คณะพลังงานทดแทน2. นางสาวศุภมาส ทวีสุข คณะพลังงานทดแทน3. นางสาวจรรยพร หลู่จิ่ง คณะพลังงานทดแทน4. นางสาวธัญรดา เอี่ยมหอม คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวรดาดาว มงคลแก้ว คณะบริหารธุรกิจ ทีม : Blis teamผลงานวิจัย : แผ่นมาสก์ปาก “Blis Balm”อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร. ศักดินันท์ นันตังทีมนักศึกษา1. นายเทพฤทธิ์ จาง คณะวิทยาศาสตร์2. นางสาววรรณวิษา กระจ่างฉาย คณะวิทยาศาสตร์3. นายธนชัญ คำภีระ คณะวิทยาศาสตร์4. นางสาวณัฐวิภา เผ่าดี คณะบริหารธุรกิจ5. นายพฤษชาติ แสนเขื่อนแก้ว คณะบริหารธุรกิจทั้งนี้ทีมนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจะเป็นตัวแทนในการแข่งขัน R2M ระดับภูมิภาคเหนือร่วมกับทีมตัวแทนจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมทั้งหมด 21 ทีม เพื่อคัดเลือกทีมนักศึกษา จำนวน 9 ทีม แข่งขันในระดับประเทศต่อไป โดยการแข่งขันระดับภูมิภาคเหนือจะจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย -1 ธ.ค 66 นี้ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
21 ตุลาคม 2566     |      195
Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท
ขอแสดงความยินดีกับทีม Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยฝ่ายบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (นักศึกษาปัจจุบัน และ ผู้จบการศึกษาไม่เกิน 5 ปี) จำนวน 4 ราย ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท (Ideation Incentive Program : #IDEA) รอบที่ 2/2566 จากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) เพื่อนำไปพัฒนาต้นแบบ (Mockup) และแผนธุรกิจฉบับสมบูรณ์ โดยการบ่มเพาะของเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MAP)1. โครงการ Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม"โดย นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง นักศึกษาจากสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ และนางสาวขวัญกมล โนภา นักศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ อาจารย์ประจำคณะคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่โจ้2. โครงการ PEAT PLANT วัสดุเพาะเมล็ดและต้นกล้าจากวัตถุอินทรีย์ธรรมชาติ โดย นายเกรียงไกร ใจยสุข นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาวิชาเกษตรอัจฉริยะ (ต่อเนื่อง) และทีมงานศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร อาจารย์ประจำคณะผลิตกรรมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สัตวศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้3.โครงการระบบเพาะเห็ดแบบแม่นยำ โดย นายพุทธพงษ์ สุวรรณกูล นักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทน นายนิติพัฒน์ ปัญญา และนายปิติพล จิ่งต่า ศิษย์เก่าวิทยาลัยพลังงานทดแทนอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.ภคมน ปินตานา และ อาจารย์ ดร.สุระพล ริยะนา อาจารย์ประจำวิทยาลัยพลังงานทดแทน วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ School of Renewable Energy, MJU.4.โครงการโจ๊กผำแม่โจ้ 1 เอ โดย นางสาวเกตุวลิน ล้ำเลิศนางสาวสุดา จันทะบัตร นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ นางสาวพิมลพรรณ เพ็งสุริยา นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร อายุมั่น อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
21 ตุลาคม 2566     |      207