คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

    ตามที่ประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ 9/2558 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2558 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา มีมติคัดเลือกอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท. ประจำปี 2558 จำนวน 5 ท่านใน 5 สาขา

   โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระพงษ์  สว่างปัญญางกูร จากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้    ได้รับคัดเลือกให้เป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท. สาขา รับใช้สังคม ที่มีการนำศาสตร์ที่เป็นองค์ความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญ ไปรับใช้สังคมหรือบริการวิชาการก่อให้เกิดประโยชน์ เห็นผลเป็นรูปธรรม โดยไม่หวังผลตอบแทนส่วนบุคคลในเชิงธุรกิจ และมีผลทางสังคมเป็นที่ยอมรับ มีผลงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม  ซึ่งส่งผลให้ชุมชน สังคมมีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระพงษ์  สว่างปัญญางกูร  สังกัดสาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร  ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธา ระดับปริญญาโทสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้กับการทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งเดิมมีความยากที่ต้องเปลืองแรงงานในการพลิกกลับกองปุ๋ย  ดังนั้นในปี 2545 ได้ประดิษฐ์คิดค้นระบบกองเติมอากาศที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยหมักได้ครั้งละ 10 กอง กองละ 1 ตัน เสร็จในเวลาเพียง 1 เดือนโดยไม่ต้องพลิกกลับกองเลย จากการอัดอากาศเข้ากองปุ๋ยด้วยพัดลมโบลเวอร์ ต่อมาในปี 2552 ก็ได้ทำการวิจัยเพิ่มเติม พัฒนาไปสู่นวัตกรรมการผลิตปุ๋ยหมักวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าและพัดลมอีกต่อไป เป็นการกองปุ๋ยเป็นรูปสามเหลี่ยมแถวยาวที่ไม่ต้องพลิกกลับกองเลย วัตถุดิบมีเพียงเศษพืชและมูลสัตว์เท่านั้น ใช้เวลาเพียงสองเดือน โดยอาศัยหลักการทางวิศวกรรม “การพาความร้อน” ช่วยให้มีการเติมอากาศเข้าไปในกองปุ๋ยตลอดเวลาตามธรรมชาติ ปุ๋ยหมักที่ผลิตได้มีค่าคุณภาพสูงผ่านมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของประเทศทุกครั้ง เกษตรกรจะสามารถผลิตปุ๋ยหมักได้ครั้งละ 10-1,000 ตัน ช่วยให้มีการใช้ประโยชน์จากเศษพืช ลดการเผา ลดต้นทุน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี นำไปสู่การผลิตพืชผักและข้าวแบบอินทรีย์ที่ผลผลิตมีราคาสูง ส่งผลให้เกษตรกรหลายแห่งมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นที่ประจักษ์ นับเป็นตัวอย่างอาจารย์ที่ดี ได้ใช้ชีวิตรับราชการอย่างทุ่มเท ทั้งด้านงานสอน งานวิจัย และงานบริการรับใช้สังคม โดยมีผลงานบูรณาการงานสอนเข้ากับงานบริการวิชาการและงานวิจัย ได้สร้างทีมงานอาจารย์ที่สามารถถ่ายทอดผลงานต่อไปได้ในระยะยาว ผลงานวิจัยได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกในการดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อใช้แก้ปัญหาหมอกควันพิษจากการเผาเศษพืช   ท่านได้จัดตั้งฐานเรียนรู้การผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองตั้งแต่ปี 2547 เพื่อให้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมได้ตลอดทั้งปี และนอกจากนั้น ปัจจุบันยังได้ให้บริการวิชาการผ่านสังคมออนไลน์ โดยเปิดสอนการทำปุ๋ยหมักในเว็บบอร์ดเกษตรพอเพียงดอทคอม www.kasetporpeang.com และทางเฟสบุ๊คเพจ ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกองแม่โจ้ อีกด้วย

 

     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระพงษ์  สว่างปัญญางกูร จะเข้ารับโล่และรางวัลเกียรติยศจากที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยอย่างสมเกียรติ ในการประชุมวิชาการประจำปีของที่ประชุม ปอมท. ประจำปี 2558 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่  26-27 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องแมนดารินแกรนด์  บอลรูม โรงแรมแมนดารินแมนเนจบายเซนเตอร์พอยท์ กรุงเทพฯ

Cr: งานประชาสัมพันธ์ และงานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

 

ปรับปรุงข้อมูล : 10/10/2558 8:28:16     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 1428

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปางวันนี้ 31 มีนาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร พร้อมด้วยผู้บริหาร ให้การต้อนรับคุณสมฤดี อินทรฉิม จากบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง ซึ่งได้เข้ามาแนะนำบริษัท ทำความรู้จัก และสร้างความสัมพันธ์เพื่อความร่วมมือในอนาคตการพบปะครั้งนี้เป็นก้าวแรกของการเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เพื่อเปิดโอกาสสู่ความร่วมมือในด้านการศึกษา สหกิจศึกษา ฝึกงาน และโอกาสทางอาชีพ คณะฯ ขอขอบคุณบริษัทเนเจอรี่ จำกัด ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่าย และหวังว่าจะได้ร่วมงานกันในอนาคต
11 เมษายน 2568     |      119
โครงการการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพร
เมื่อวันที่ 1-2 เมษายน 2568 งานบริการวิชาการและวิจัย ได้จัดโครงการการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพร ณ อาคารโรงงานนำร่อง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร โดย อาจารย์ ดร.แพรวพรรณ จอมงาม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยี นวัตกรรมและจัดหารายได้ เป็นหัวหน้าโครงการโครงการนี้จัดขึ้นเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยทางด้านการทำแห้งเพื่อคงปริมาณสารสำคัญ ได้แก่ ข้าวเกรียบสมุนไพร ไส้อั่วปลาอบแห้งโรยข้าว และการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมผลไม้ โดยมีวิทยากร ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม ผศ.ดร.ศรัญญา สุวรรณอังกูร อาจารย์ ดร.ตรีทิพย์ ชื่นสันต์ เป็นผู้นำองค์ความรู้มาถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในตำบลสันป่าเปา ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย ให้ชุมชนเกิดการพัฒนาตนเองด้านการแปรรูปอาหาร สร้างความยั่งยืนในอนาคต
11 เมษายน 2568     |      100
นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็น 1 ใน 5 ทีม นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568เมื่อวันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้นำทีมนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ประจำปี 2568 ณ ห้องประชุม 105 อาคารประเสริฐ ณ นคร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีและกล่าวเปิดโครงการ ซึ่งเป็นเวทีให้นักศึกษาได้มีโอกาสนำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและยกระดับศักยภาพของชุมชนในครั้งนี้ คณะวิศวกรรมฯ ได้ร่วมมือกับ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ส่งทีมนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันภายใต้ชื่อทีม "ชาลำ บำรุงสุข" ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 ทีมที่ได้นำเสนอผลงาน ในรอบนี้ ทีมชาลำ บำรุงสุข ได้ร่วมพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง บ้านสันป่าเหียน จังหวัดลำพูน โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้มากขึ้นการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ การพัฒนาแนวคิดเชิงธุรกิจ และการทำงานร่วมกับชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตอย่างยั่งยืน
11 เมษายน 2568     |      85
ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมลงนามในฐานะผู้แทนฝ่ายเจ้าภาพ ณ อาคารคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พิธีลงนามในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อวางรากฐานความร่วมมือในด้านการเรียนการสอนและการใช้ทรัพยากรร่วมกันในช่วงสถานการณ์วิกฤต อาทิ ภัยธรรมชาติ เหตุเพลิงไหม้ หรือเหตุการณ์ไม่สงบที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษา โดยทั้งสองหน่วยงานตกลงร่วมมือกันในการสนับสนุนการใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารสถานที่ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องมือ และวัสดุต่าง ๆ ตามความเหมาะสม โดยยังคงอยู่ภายใต้การดูแลและความรับผิดชอบของแต่ละสถาบัน ทั้งในด้านค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้จ่ายจากการใช้ทรัพยากรเฉพาะกรณีความร่วมมือครั้งนี้ยังครอบคลุมถึงการผลักดันกิจกรรมวิจัย การบริการวิชาการ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอาหารและผลิตผลเกษตร โดยมุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการพัฒนาโครงการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมจริงภายหลังพิธีลงนาม คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พาคณะผู้บริหารและบุคลากรจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ (FIN) รวมถึงอาคารเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงงานต้นแบบ และอาคาร CMU BIOPOLIS ซึ่งถือเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ความร่วมมือระหว่างทั้งสองสถาบันในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการและวิจัยของประเทศ พร้อมร่วมกันผลักดันความเจริญก้าวหน้าในภาคอุตสาหกรรมเกษตรอย่างมั่นคงและยั่งยืนCr :ขอบคุณรูปภาพจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
11 เมษายน 2568     |      106