คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

ทีมงานวิจัย จากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผศ.จักรพงษ์ พิมพ์พิมล พร้อมทีมวิจัย ได้ดำเนินการวิจัยเรื่อง ปัญหาปริมาณสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในลำไยพร้อมกับออกแบบห้องรม SO2 ทั้งจากการเผาผงกำมะถัน และจาก ถังอัดความดันโดยตรงกับผลลำไยสดด้วยระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับแนวตั้ง

 

ห้องรม SO2 ระบบหมุนเวียน

เมื่อเทียบกับระดับ ความเข้มข้นของ ซัลเฟอร์ได-ออกไซด์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ป้องกันการเกิดโรคและการเกิดสีน้ำตาลที่เปลือกผลลำไยได้ ไม่ต่ำกว่า 20 วัน รวมทั้งสารตกค้าง

ลำไยสด...หลังการเก็บเกี่ยวจะต้องใช้เทคโนโลยีที่จำเป็น คือ การรมด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ซึ่งมีความสำคัญต่อผลผลิตในการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ

ปัจจุบันมักเกิดปัญหาปริมาณสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในผลลำไยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ทำให้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดเข้มงวดมากขึ้น

ผศ.จักรพงษ์ พิมพ์พิมล พร้อมกับทีมงานวิจัย จากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการวิจัยเรื่อง...ปัญหาปริมาณสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในลำไยพร้อมกับออกแบบห้องรม SO2 ทั้งจากการเผาผงกำมะถัน และจาก ถังอัดความดันโดยตรงกับผลลำไยสดด้วยระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับแนวตั้ง

 

 

ผศ.จักรพงษ์ พิมพ์พิมล



ผศ.จักรพงษ์ บอกว่า การทำงานเริ่มจากการสุ่มเก็บตัวอย่างผลลำไยสด จากสถาน ประกอบการจำนวน 7 แห่ง ในเขต จังหวัดเชียงใหม่ และ ลำพูน ผลปรากฏว่าระดับความเข้มข้นของ SO2 แตกต่างกัน จากนั้นนำมาคำนวณในเชิงเปรียบเทียบถึงปริมาณ แก๊ส SO2 จากถังอัดความดันโดยตรงที่ต้องปล่อยเข้าไปในห้องรม SO2 ที่ได้ออกแบบขึ้นมา ซึ่ง มีความจุ 22.5 ลูกบาศก์เมตร พบว่าในกรณีที่มีปริมาณผลลำไยเท่ากัน การใช้ ระบบหมุนเวียนอากาศแบบปกติต้องปล่อยแก๊สเข้าไปในห้องมากกว่าการ ใช้ระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับแนวตั้งประมาณร้อยละ 45 หมายความว่า ระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับสามารถลดปริมาณแก๊ส SO2 ได้ประมาณครึ่งหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ ระบบหมุนเวียนอากาศแบบปกติ

 

"  ระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับแนวตั้ง มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้ในกระบวนการรมผลลำไยสด สามารถลดระดับความเข้มข้นของ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ให้เหลือเพียง 4,000 ppm หรือประมาณ 4-5 เท่า เมื่อเทียบกับระดับ ความเข้มข้นของ SO2 ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ 15,000-20,000 ppm โดยยังคงป้องกันการเกิดโรคและการเกิดสีน้ำตาลที่เปลือกผลลำไยได้ ไม่ต่ำกว่า 20 วัน หลังจากเก็บรักษาที่ อุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส และ ความชื้นสัมพัทธ์ 95 เปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญคือช่วยให้ผลลำไยมีปริมาณ SO2 ตกค้าง ในเนื้อผลไม่เกิน 8 ppm ต่ำกว่าเกณฑ์สูงสุด ที่ ประเทศแคนาดา กำหนดไว้ 10 ppm และ สาธารณรัฐ ประชาชนจีน กำหนดไว้ 50 ppm อีกทั้งไม่พบการตกค้างในเนื้อลำไยหลังจากเก็บรักษา 5 วัน" ผศ.จักรพงษ์ กล่าวและว่า

สิ่งที่เป็นข้อแตกต่างสรุปได้ คือ ผลลำไยที่ผ่านการรม SO2 จากถังอัดความดันโดยตรงมีความสดของผิวเปลือก ด้านในขาวและมองเห็นส่วนต่างๆของเซลล์ผิวได้ชัดเจนกว่า ผลลำไยจากสถานประกอบการ ซึ่งมีสีน้ำตาลและเซลล์ผิวค่อนข้างแห้ง สาเหตุเพราะกระบวนการรม SO2 ของสถานประกอบการเป็นการเผาผงกำมะถัน เพื่อให้ได้แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกมาต้องใช้ ความร้อนสูงถึง 250 องศาเซลเซียส จึงจะสามารถเผาไหม้ผงกำมะถันได้ ดังนั้น จึงทำให้ภายในห้องรมความร้อนเกิดขึ้น และ ส่งผลกระทบ ต่อคุณภาพของผลลำไย นั่นเอง

ผู้สนใจต้องการไปชมหรือสอบถามเพิ่มเติมที่ ผศ.จักรพงษ์ 0-5387-8117, 08-1366-2993 โทรสาร: 0-5387-8122 E-mail: jakrapho@mju.ac.th ในวันและเวลาราชการ.

ไชยรัตน์ ส้มฉุน

 


โดย ไชยรัตน์ ส้มฉุน
10 พ.ค. 2553, 05:00 น.
ปรับปรุงข้อมูล : 6/2/2554 10:41:43     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 3065

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ประกาศรับสมัครทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปี 2567 จำนวน 41 ทุน ๆ ละ 6,000 บาท
ประกาศรับสมัครทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปี 2567 จำนวน 41 ทุน ๆ ละ 6,000 บาทคุณสมบัติ1. เป็นนักศึกษาของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ชั้นปีที่ 2-42. ไม่ถูกพักการศึกษา ไม่ถูกลงทางวินัย และไม่ได้รับทุนการศึกษาอื่นใด ยกเว้น กยศ.3. มีผลการเรียนเฉลี่ย ไม่น้อยกว่า 2.00การรับสมัครเปิดรับสมัครตั้งแต่วันประกาศถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 โดยผู้สมัครสแกน QR Code กรอกรายละเอียดและอัพโหลดเอกสารแนบ (บัตรนักศึกษาและสำเนาผลการเรียน) สอบถามเพิ่มเติมงานกิจการนักศึกษา สำนักงานคณบดี ชั้น 1 อาคารเรียนรวมสาขาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
20 กรกฎาคม 2567     |      13
ครงการนักวิจัยพบแหล่งทุนภายนอก โดยครั้งนี้ จัดในหัวข้อเรื่อง "การขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุน FTA"
งานบริการวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรขอเชิญชวนบุคลากรทุกท่าน เข้าร่วมโครงการนักวิจัยพบแหล่งทุนภายนอกโดยครั้งนี้ จัดในหัวข้อเรื่อง "การขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุน FTA"วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00-12.00 น.ผ่านระบบ microsoft Teamกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนเงินทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ในการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ปฏิรูปผลิตผลทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพ การแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและอาหารhttps://www.ftaoae.com/index
20 กรกฎาคม 2567     |      10