คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

กิจกรรมงานประเพณีรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส ของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร วันพฤหัสบดีที่ 24 เม.ย. 2557 ณ อาคารเรียนรวมสาขาวิศวกรรมศาสตร์ รายละเอียดและกิจกรรมภายในงาน 

ขนมจ็อก ขนมนมสาว

   

ขนมจ็อก  (ทางภาคกลางเรียกขนมเทียน) ขนมนมสาว รูปทรงสามเหลี่ยม ทำมาจากแป้งข้าวเหนียว ข้างในไส้ถั่วเขียวกวนบด ใส่มะพร้าวและน้ำตาลจะได้ไส้หวาน หรือถ้าใส่เกลือและพริกไทยจะได้ไส้เค็ม  หอมอร่อย นิยมนำไปทำบุญ ใช้ในงานมงคลต่างๆโดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์  ปี๋ใหม่เมืองของคนเหนือ

 

ส่วนผสมขนมจ็อก

ไส้เค็ม

ถั่วเขียวเลาะเปลือก

1

ถ้วย

น้ำตาลทราย

2

ช้อนโต๊ะ

เกลือป่น

1

ช้อนชา

พริกไทยป่น

2

ช้อนชา

หอมแดงสับ

2

ช้อนโต๊ะ


ไส้หวาน

น้ำตาลปี๊ป

100

กรัม

มะพร้าวทึนทึก

2

ถ้วย

น้ำเปล่า

1

ถ้วย


แป้ง

แป้งข้าวเหนียว

200

กรัม

น้ำตาลปี๊บ

100

กรัม

น้ำกะทิ

2

ถ้วย

วิธีทำขนมเทียน

  1. ไส้เค็ม
    • นำถั่วเขียวแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง แล้วนำไปนึ่งให้สุก
    • นำถั่วนึ่งไปบดให้ละเอียด โดยใช้เครื่องบด แล้วตักพักไว้
    • ตั้งกะทะใช้ไฟปานกลาง เจียวหอมแดงกับน้ำมันให้พอเหลือง
    • ใส่ถั่วบด น้ำตาลทราย เกลือ และพริกไทย ลงไปผัดในกะทะ กวนพอแห้ง พักไว้
  2. ไส้หวาน
    • นำน้ำตาลปี๊บ และน้ำเปล่าใส่ในกะทะใช้ไฟปานกลาง เคี่ยวจนแตกฟอง
    • ใส่มะพร้าวทึนทึก ลงไปเคี่ยวด้วย จนเหนียวและแห้งที่จะปั้นได้ ประมาณ 10-15 นาที แล้วพักไว้
  3. แป้ง
    • นำกะทิใส่หม้อตั้งไฟอ่อน แล้วเติมน้ำตาลปี๊บลงไป คนจนน้ำตาลละลาย ปิดไฟ
    • นำแป้งข้าวเหนียวมานวด โดยค่อยๆเทส่วนผสมกะทืลงไปนวด จนเข้ากันดี พักไว้
  4. ห่อขนม
    • นำใบตองผึ่งแดดเล็กน้อย เพื่อไม่ให้แตกขณะห่อ
    • ตัดใบตองเป็นวงกลม เช็ดด้วยน้ำมันพืชเล็กน้อย ขนมจะได้ไม่ติดใบตอง
    • ปั้นไส้ขนมหวานหรือเค็มตามชอบ ขนาดพอคำ แล้วนำแป้งที่นวดไว้หุ้มเป็นก้อนอีกที
    • ใช้ใบตองซ้อนกัน จีบทำเป็นรูปกรวย และวางขนมลงไป
    • พับทบล่าง ซ้าย ขวา นำด้านที่แหลมสอด พับ  แล้วห่อจะได้ขนมทรงสามเหลี่ยม 
    • นำขนมไปนึ่ง โดยใช้ไฟแรงประมาณ 20 นาที พักให้เย็น พร้อมทาน

 

 

ไข่ป่าม 

   

ส่วนผสม ไข่ป่าม

  1. ไข่
  2. น้ำปลา
  3. ใบตองเป็นกระทง
  4. ต้นหอม

วิธีทำ ไข่ป่าม แสนอร่อย

  1. ตีไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา
  2. พับใบตองเป็นกระทง ใส่ไข่ที่ตีแล้วลงไป โรยด้วยต้นหอม
  3. นำไปย่างไฟอ่อน ๆ จนไข่สุกเหลือง น่ากิน

 

 

ตุงไ่ส้หมู

   

 

"ตุงไ่ส้หมู" เป้นชื่อที่นิยมใช้กันในจังหวัดเชียงใหม่ ในถิ่นอื่นอาจเรียกแตกต่างกันไป เช่น ลำปางเรียกช่อพญายอ จังหวัดเชียงรายและลำพูนเรียกว่า ตุงไส้ช้างภาคกลางเรียก พวงมโหตร

 

ลักษณะตุงไส้หมูมีรูปทรงเหมือนเจดีย์ ทำจากกระดาษว่าวหลากสี ใช้ปักบนกองเจดีย์ทรายคุ๋กับตุง 12 ราศี เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี และพระธาตุประจำปีเกิด

วัสดุที่ใช้ทำตุงไส้หมู

1.กระดาษว่าว 
2.กระดาษแข็ง 
3.ไม้ไผ่ 
4.กรรไกร 
5.เข็ม 
6.เชือก
7.กาว   

วิธีทำตุงไส้หมู

    

1.นำกระดาษว่าว 2 แผ่นๆ คละสีมาซ้อนกันพับให้เป้นสามเหลี่ยมด้านเท่า ตัดส่วนปลายที่เหลือออก
2.พับครึ่งรูปสามเหลี่ยมอีก 2 ครั้ง ตัดชายด้านที่ไม่เท่ากันให้เป็นลวดลายตามต้องการ
3.ใช้กรรไกรตัดเส้นตรงจากด้านที่เปิดได้เข้าไปลึก เหลือช่องว่างไม่ให้ขาดไว้พอประมาณ กลับด้านแล้วตัดเส้นตรงขนานกับเส้นแรก จากนั้นตัดสลับกันไปตลอดความกว้างจนถึงปลาย เหลือปลายไว้ประมาณ 4 เซนติเมตร เพื่อทำหัวตุง
4.ตัดเสร็จแล้ววางลงให้เหมือนเดิมแล้วเปิดด้านข้างที่ซ้อนกันออกจน เป้นสามเหลี่ยมด้านเท่า จับปลายด้านที่ซ้อนกันเปิดเป็นสี่เหลี่ยมทั้งสองแผ่น จับตรงกลางกระดาษยกขึ้น
5.ตักกระดาาแข็งเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่งนิ้ว ทากาวติดด้านในของหัวตุง ใช้ดายร้อยด้านบน นำไปผูกติดกับปลายไม้ไผ่ เป้นอันเสร็จนำไปใช้งานได้

 

 

 

ปรับปรุงข้อมูล : 29/4/2557 14:37:09     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 2266

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023
รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษา ปริญญาตรี และปริญญาโท ทีมปันแสน และ ทีมREISSCHEIN คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 จากกิจกรรมการนำเสนอผลงานนวัตกรรมสู่การพัฒนาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Startup Gate Pitching Challenge 2023) จากทั้งหมด 12 ทีม จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร (MAP) ในวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 "ทีมปันแสน" นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร กับผลงาน "เยลลี่บุกเสริมสารสกัดจากขมิ้นชันคุมหิวผิวสวย" ประกอบด้วย1. นางสาวเสาวลักษณ์ มณีทอง2. นายณัฐพงษ์ มุงเมือง3. นายอาทิตย์ ด่านกระโทก4. ผศ.ดร.ธีระพล เสนพันธุ์ (อ.ที่ปรึกษาทีม)ชนะเลิศอันดับ 2 "ทีม REISSCHEIN" กับผลงาน "ไวน์ข้าวออร์แกนนิค" นักศึกษา ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ประกอบด้วย1.น.ส.นันทกานต์ นันสาย2.น.ส.นัทธมน ขวัญทัย3.ผศ.ดร.กนกวรรณ ตาลดี (อ.ที่ปรึกษาทีม)
21 ตุลาคม 2566     |      177
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"ในวันที่ 27 กันยายน 2566 การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน Rubber Innovation Matching Day นำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการจับคู่ธุรกิจ ภายใต้โครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด 198 คน ทีมผู้เข้าร่วม 28 ทีม 91 คนผศ.ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นที่ปรึกษาโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางการพัฒนาด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยาง (Natural Rubber Startup Acceleration Program Batch 3) จากโครงการเรื่อง มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก โดยมีสมาชิก นายคณินทร์ชัย เอกพุฒิวงศ์ เกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลห้วยซ้อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ได้รับรางวัลชมเชยผลงานระดับ Product to Market (P2M) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพาราเข้าสู่ตลาด
21 ตุลาคม 2566     |      148
RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ
ทีม RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ ทีม : RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศ ผ่านเข้ารอบการแข่งขันการประกวดความเป็นไปได้ทางธุรกิจภายใต้โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 11 (Research to Market) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ฯทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และเป็นตัวแทนในการแข่งขันภูมิภาคเหนือต่อไป จำนวน 3 ทีม มีดังนี้ทีม : RUBBER GUARDผลงานวิจัย : น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิมอาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ทีมนักศึกษา1. นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร2. นางสาวขวัญกมล โนภา คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร3. นายรณกร เครือหงษ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร4. นางสาวธันชนก คำมา คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวณัฐกฤตา วงษ์สุวรรณ คณะบริหารธุรกิจ ทีม : AES Re-Energyผลงานวิจัย : การพัฒนาฉนวนกันความร้อนแบบคอนกรีตบล็อกผสมเถ้าชีวมวลอาจารย์ที่ปรึกษา : ดร. ภคมน ปินตานาทีมนักศึกษา1. นางสาวลลิตา เพชรใจหาญ คณะพลังงานทดแทน2. นางสาวศุภมาส ทวีสุข คณะพลังงานทดแทน3. นางสาวจรรยพร หลู่จิ่ง คณะพลังงานทดแทน4. นางสาวธัญรดา เอี่ยมหอม คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวรดาดาว มงคลแก้ว คณะบริหารธุรกิจ ทีม : Blis teamผลงานวิจัย : แผ่นมาสก์ปาก “Blis Balm”อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร. ศักดินันท์ นันตังทีมนักศึกษา1. นายเทพฤทธิ์ จาง คณะวิทยาศาสตร์2. นางสาววรรณวิษา กระจ่างฉาย คณะวิทยาศาสตร์3. นายธนชัญ คำภีระ คณะวิทยาศาสตร์4. นางสาวณัฐวิภา เผ่าดี คณะบริหารธุรกิจ5. นายพฤษชาติ แสนเขื่อนแก้ว คณะบริหารธุรกิจทั้งนี้ทีมนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจะเป็นตัวแทนในการแข่งขัน R2M ระดับภูมิภาคเหนือร่วมกับทีมตัวแทนจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมทั้งหมด 21 ทีม เพื่อคัดเลือกทีมนักศึกษา จำนวน 9 ทีม แข่งขันในระดับประเทศต่อไป โดยการแข่งขันระดับภูมิภาคเหนือจะจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย -1 ธ.ค 66 นี้ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
21 ตุลาคม 2566     |      196
Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท
ขอแสดงความยินดีกับทีม Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยฝ่ายบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (นักศึกษาปัจจุบัน และ ผู้จบการศึกษาไม่เกิน 5 ปี) จำนวน 4 ราย ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท (Ideation Incentive Program : #IDEA) รอบที่ 2/2566 จากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) เพื่อนำไปพัฒนาต้นแบบ (Mockup) และแผนธุรกิจฉบับสมบูรณ์ โดยการบ่มเพาะของเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MAP)1. โครงการ Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม"โดย นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง นักศึกษาจากสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ และนางสาวขวัญกมล โนภา นักศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ อาจารย์ประจำคณะคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่โจ้2. โครงการ PEAT PLANT วัสดุเพาะเมล็ดและต้นกล้าจากวัตถุอินทรีย์ธรรมชาติ โดย นายเกรียงไกร ใจยสุข นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาวิชาเกษตรอัจฉริยะ (ต่อเนื่อง) และทีมงานศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร อาจารย์ประจำคณะผลิตกรรมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สัตวศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้3.โครงการระบบเพาะเห็ดแบบแม่นยำ โดย นายพุทธพงษ์ สุวรรณกูล นักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทน นายนิติพัฒน์ ปัญญา และนายปิติพล จิ่งต่า ศิษย์เก่าวิทยาลัยพลังงานทดแทนอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.ภคมน ปินตานา และ อาจารย์ ดร.สุระพล ริยะนา อาจารย์ประจำวิทยาลัยพลังงานทดแทน วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ School of Renewable Energy, MJU.4.โครงการโจ๊กผำแม่โจ้ 1 เอ โดย นางสาวเกตุวลิน ล้ำเลิศนางสาวสุดา จันทะบัตร นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ นางสาวพิมลพรรณ เพ็งสุริยา นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร อายุมั่น อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
21 ตุลาคม 2566     |      208