คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

กิจกรรมงานประเพณีรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส ของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร วันพฤหัสบดีที่ 24 เม.ย. 2557 ณ อาคารเรียนรวมสาขาวิศวกรรมศาสตร์ รายละเอียดและกิจกรรมภายในงาน 

ขนมจ็อก ขนมนมสาว

   

ขนมจ็อก  (ทางภาคกลางเรียกขนมเทียน) ขนมนมสาว รูปทรงสามเหลี่ยม ทำมาจากแป้งข้าวเหนียว ข้างในไส้ถั่วเขียวกวนบด ใส่มะพร้าวและน้ำตาลจะได้ไส้หวาน หรือถ้าใส่เกลือและพริกไทยจะได้ไส้เค็ม  หอมอร่อย นิยมนำไปทำบุญ ใช้ในงานมงคลต่างๆโดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์  ปี๋ใหม่เมืองของคนเหนือ

 

ส่วนผสมขนมจ็อก

ไส้เค็ม

ถั่วเขียวเลาะเปลือก

1

ถ้วย

น้ำตาลทราย

2

ช้อนโต๊ะ

เกลือป่น

1

ช้อนชา

พริกไทยป่น

2

ช้อนชา

หอมแดงสับ

2

ช้อนโต๊ะ


ไส้หวาน

น้ำตาลปี๊ป

100

กรัม

มะพร้าวทึนทึก

2

ถ้วย

น้ำเปล่า

1

ถ้วย


แป้ง

แป้งข้าวเหนียว

200

กรัม

น้ำตาลปี๊บ

100

กรัม

น้ำกะทิ

2

ถ้วย

วิธีทำขนมเทียน

  1. ไส้เค็ม
    • นำถั่วเขียวแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง แล้วนำไปนึ่งให้สุก
    • นำถั่วนึ่งไปบดให้ละเอียด โดยใช้เครื่องบด แล้วตักพักไว้
    • ตั้งกะทะใช้ไฟปานกลาง เจียวหอมแดงกับน้ำมันให้พอเหลือง
    • ใส่ถั่วบด น้ำตาลทราย เกลือ และพริกไทย ลงไปผัดในกะทะ กวนพอแห้ง พักไว้
  2. ไส้หวาน
    • นำน้ำตาลปี๊บ และน้ำเปล่าใส่ในกะทะใช้ไฟปานกลาง เคี่ยวจนแตกฟอง
    • ใส่มะพร้าวทึนทึก ลงไปเคี่ยวด้วย จนเหนียวและแห้งที่จะปั้นได้ ประมาณ 10-15 นาที แล้วพักไว้
  3. แป้ง
    • นำกะทิใส่หม้อตั้งไฟอ่อน แล้วเติมน้ำตาลปี๊บลงไป คนจนน้ำตาลละลาย ปิดไฟ
    • นำแป้งข้าวเหนียวมานวด โดยค่อยๆเทส่วนผสมกะทืลงไปนวด จนเข้ากันดี พักไว้
  4. ห่อขนม
    • นำใบตองผึ่งแดดเล็กน้อย เพื่อไม่ให้แตกขณะห่อ
    • ตัดใบตองเป็นวงกลม เช็ดด้วยน้ำมันพืชเล็กน้อย ขนมจะได้ไม่ติดใบตอง
    • ปั้นไส้ขนมหวานหรือเค็มตามชอบ ขนาดพอคำ แล้วนำแป้งที่นวดไว้หุ้มเป็นก้อนอีกที
    • ใช้ใบตองซ้อนกัน จีบทำเป็นรูปกรวย และวางขนมลงไป
    • พับทบล่าง ซ้าย ขวา นำด้านที่แหลมสอด พับ  แล้วห่อจะได้ขนมทรงสามเหลี่ยม 
    • นำขนมไปนึ่ง โดยใช้ไฟแรงประมาณ 20 นาที พักให้เย็น พร้อมทาน

 

 

ไข่ป่าม 

   

ส่วนผสม ไข่ป่าม

  1. ไข่
  2. น้ำปลา
  3. ใบตองเป็นกระทง
  4. ต้นหอม

วิธีทำ ไข่ป่าม แสนอร่อย

  1. ตีไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา
  2. พับใบตองเป็นกระทง ใส่ไข่ที่ตีแล้วลงไป โรยด้วยต้นหอม
  3. นำไปย่างไฟอ่อน ๆ จนไข่สุกเหลือง น่ากิน

 

 

ตุงไ่ส้หมู

   

 

"ตุงไ่ส้หมู" เป้นชื่อที่นิยมใช้กันในจังหวัดเชียงใหม่ ในถิ่นอื่นอาจเรียกแตกต่างกันไป เช่น ลำปางเรียกช่อพญายอ จังหวัดเชียงรายและลำพูนเรียกว่า ตุงไส้ช้างภาคกลางเรียก พวงมโหตร

 

ลักษณะตุงไส้หมูมีรูปทรงเหมือนเจดีย์ ทำจากกระดาษว่าวหลากสี ใช้ปักบนกองเจดีย์ทรายคุ๋กับตุง 12 ราศี เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี และพระธาตุประจำปีเกิด

วัสดุที่ใช้ทำตุงไส้หมู

1.กระดาษว่าว 
2.กระดาษแข็ง 
3.ไม้ไผ่ 
4.กรรไกร 
5.เข็ม 
6.เชือก
7.กาว   

วิธีทำตุงไส้หมู

    

1.นำกระดาษว่าว 2 แผ่นๆ คละสีมาซ้อนกันพับให้เป้นสามเหลี่ยมด้านเท่า ตัดส่วนปลายที่เหลือออก
2.พับครึ่งรูปสามเหลี่ยมอีก 2 ครั้ง ตัดชายด้านที่ไม่เท่ากันให้เป็นลวดลายตามต้องการ
3.ใช้กรรไกรตัดเส้นตรงจากด้านที่เปิดได้เข้าไปลึก เหลือช่องว่างไม่ให้ขาดไว้พอประมาณ กลับด้านแล้วตัดเส้นตรงขนานกับเส้นแรก จากนั้นตัดสลับกันไปตลอดความกว้างจนถึงปลาย เหลือปลายไว้ประมาณ 4 เซนติเมตร เพื่อทำหัวตุง
4.ตัดเสร็จแล้ววางลงให้เหมือนเดิมแล้วเปิดด้านข้างที่ซ้อนกันออกจน เป้นสามเหลี่ยมด้านเท่า จับปลายด้านที่ซ้อนกันเปิดเป็นสี่เหลี่ยมทั้งสองแผ่น จับตรงกลางกระดาษยกขึ้น
5.ตักกระดาาแข็งเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่งนิ้ว ทากาวติดด้านในของหัวตุง ใช้ดายร้อยด้านบน นำไปผูกติดกับปลายไม้ไผ่ เป้นอันเสร็จนำไปใช้งานได้

 

 

 

ปรับปรุงข้อมูล : 29/4/2557 14:37:09     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 2550

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปางวันนี้ 31 มีนาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร พร้อมด้วยผู้บริหาร ให้การต้อนรับคุณสมฤดี อินทรฉิม จากบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง ซึ่งได้เข้ามาแนะนำบริษัท ทำความรู้จัก และสร้างความสัมพันธ์เพื่อความร่วมมือในอนาคตการพบปะครั้งนี้เป็นก้าวแรกของการเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เพื่อเปิดโอกาสสู่ความร่วมมือในด้านการศึกษา สหกิจศึกษา ฝึกงาน และโอกาสทางอาชีพ คณะฯ ขอขอบคุณบริษัทเนเจอรี่ จำกัด ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่าย และหวังว่าจะได้ร่วมงานกันในอนาคต
11 เมษายน 2568     |      119
โครงการการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพร
เมื่อวันที่ 1-2 เมษายน 2568 งานบริการวิชาการและวิจัย ได้จัดโครงการการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพร ณ อาคารโรงงานนำร่อง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร โดย อาจารย์ ดร.แพรวพรรณ จอมงาม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยี นวัตกรรมและจัดหารายได้ เป็นหัวหน้าโครงการโครงการนี้จัดขึ้นเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยทางด้านการทำแห้งเพื่อคงปริมาณสารสำคัญ ได้แก่ ข้าวเกรียบสมุนไพร ไส้อั่วปลาอบแห้งโรยข้าว และการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมผลไม้ โดยมีวิทยากร ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม ผศ.ดร.ศรัญญา สุวรรณอังกูร อาจารย์ ดร.ตรีทิพย์ ชื่นสันต์ เป็นผู้นำองค์ความรู้มาถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในตำบลสันป่าเปา ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย ให้ชุมชนเกิดการพัฒนาตนเองด้านการแปรรูปอาหาร สร้างความยั่งยืนในอนาคต
11 เมษายน 2568     |      100
นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็น 1 ใน 5 ทีม นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568เมื่อวันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้นำทีมนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ประจำปี 2568 ณ ห้องประชุม 105 อาคารประเสริฐ ณ นคร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีและกล่าวเปิดโครงการ ซึ่งเป็นเวทีให้นักศึกษาได้มีโอกาสนำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและยกระดับศักยภาพของชุมชนในครั้งนี้ คณะวิศวกรรมฯ ได้ร่วมมือกับ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ส่งทีมนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันภายใต้ชื่อทีม "ชาลำ บำรุงสุข" ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 ทีมที่ได้นำเสนอผลงาน ในรอบนี้ ทีมชาลำ บำรุงสุข ได้ร่วมพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง บ้านสันป่าเหียน จังหวัดลำพูน โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้มากขึ้นการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ การพัฒนาแนวคิดเชิงธุรกิจ และการทำงานร่วมกับชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตอย่างยั่งยืน
11 เมษายน 2568     |      85
ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมลงนามในฐานะผู้แทนฝ่ายเจ้าภาพ ณ อาคารคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พิธีลงนามในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อวางรากฐานความร่วมมือในด้านการเรียนการสอนและการใช้ทรัพยากรร่วมกันในช่วงสถานการณ์วิกฤต อาทิ ภัยธรรมชาติ เหตุเพลิงไหม้ หรือเหตุการณ์ไม่สงบที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษา โดยทั้งสองหน่วยงานตกลงร่วมมือกันในการสนับสนุนการใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารสถานที่ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องมือ และวัสดุต่าง ๆ ตามความเหมาะสม โดยยังคงอยู่ภายใต้การดูแลและความรับผิดชอบของแต่ละสถาบัน ทั้งในด้านค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้จ่ายจากการใช้ทรัพยากรเฉพาะกรณีความร่วมมือครั้งนี้ยังครอบคลุมถึงการผลักดันกิจกรรมวิจัย การบริการวิชาการ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอาหารและผลิตผลเกษตร โดยมุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการพัฒนาโครงการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมจริงภายหลังพิธีลงนาม คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พาคณะผู้บริหารและบุคลากรจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ (FIN) รวมถึงอาคารเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงงานต้นแบบ และอาคาร CMU BIOPOLIS ซึ่งถือเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ความร่วมมือระหว่างทั้งสองสถาบันในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการและวิจัยของประเทศ พร้อมร่วมกันผลักดันความเจริญก้าวหน้าในภาคอุตสาหกรรมเกษตรอย่างมั่นคงและยั่งยืนCr :ขอบคุณรูปภาพจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
11 เมษายน 2568     |      106