คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY



ข้าราชการพลเรือนดีเด่นประจำปี 2554

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นายทวี วงค์สถาน  อายุ ๕๒ ปี
สถานที่ทำงานในปัจจุบัน กลุ่มงาน สนับสนุนการเรียนการสอน คณะ วิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตำบล หนองหาร อำเภอ สันทราย จังหวัด เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50290

ประวัติการทำงาน

เริ่มรับราชการ เมื่อวันที่ ๒๒ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๔ ตำแหน่ง ช่างเหล็ก
สังกัด คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553
รวมระยะเวลาปฏิบัติราชการ 29 ปี 6 เดือน
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ช่างเหล็ก ๓ ระดับ ๓

ผลงานหรืการปฏิบัติราชการที่ได้รับการยกย่องว่าดีเด่น     

 

ผลงานหรือการปฏิบัติราชการที่ได้รับการยกย่องว่าดีเด่นและเป็นที่ยอมรับ   นับย้อนหลัง 3 ปี
 (นับถึงวันสิ้นงบประมาณ พ.ศ.2553) โดยจัดพิมพ์ขยายกรอบที่กำหนดได้

 

ปีงบประมาณ

ผลงานที่ได้รับการยอมรับหรือเป็นผลงานที่ได้รางวัล

2551-2553

๑. งานบริการ 

    ๑.๑ งานบริการภายในองค์กร 

      - ทำหน้าที่ซ่อมบำรุงงานอาคารสถานที่ ภูมิทัศน์ของคณะฯ งานซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภคทั้งหมดของคณะ ประสบความสำเร็จจนได้รับคำยกย่องจากผู้บริหารและบุคลากรในคณะ

      - ร่วมจัดงาน ๔๐ ปี คณะผลิตกรรมเกษตร   โดยร่วมจัดนิทรรศการและแสดงเครื่องจักรกลของคณะฯ

      - ร่วมจัดงานโดยเป็นฝ่ายสถานที่ ๑๐๐ ปี อาจารย์พนม สมิตานนท์ จนประสบความสำเร็จด้วยดี

      - ช่วยจัดงานแสดงผลงานวิจัยเครื่องคั้นน้ำส้มอัตโนมัติ กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ เมืองทองธานี นนทบุรี ปี พ.ศ. ๒๕๕๓

      - เป็นคณะกรรมการ 5 ส ของคณะฯ ทำหน้าที่ประธานคณะอนุกรรมการ 5 ส อาคารปฏิบัติการคณะวิศวกรรม ซึ่งมีทั้งสิ้น 3 อาคาร คือ อาคารปฏิบัติการวิศวกรรม อาคารนำร่อง และอาคารปฏิบัติการคัดบรรจุ จนได้รับคำยกย่อง

      - ทำหน้าที่หัวหน้าผู้ดูแลอาคารเรียนรวมวิศวกรรมศาสตร์ และดูแลระบบไฟฟ้าสาธารณูปโภคทั้งหมดของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร

      - เป็นหัวหน้างานก่อสร้างและสิ่งปลูกสร้างของคณะ เช่น งานทำโรงจอดรถ สะพาน สนามเปตอง งานปูพื้นอิฐบล็อกลานจอดรถ และพื้นที่อ่านหนังสือของนักศึกษาที่อาคารเรียนรวมวิศวกรรมศาสตร์

      - งานปรับปรุงพื้นที่ (เกรดปรับระดับผิวหน้าดินและปรับทำคลองน้ำให้ดีขึ้น) รอบอาคารปฏิบัติการอุตสาหกรรมยาง อาคารนำร่อง และอาคารคัดบรรจุ

    

๑.๒ งานบริการชุมชนนอกมหาวิทยาลัย 

      - ช่วยงานคณะโดยนำนักศึกษาออกค่ายอาสาพัฒนาร่วมกับสโมสรนักศึกษา ปลูกป่า ทำฝายกั้นน้ำ สนามเด็กเล่น และนำนักศึกษาออกถ่ายทอดเทคโนโลยีในอำเภอที่ห่างไกล

 

2551-2553

    ๑.๓ เป็นส่วนหนึ่งของทีมวิศวกรรมประดิษฐ์ โดยนำทีมรถประหยัดเชื้อเพลิงแข่งขันจนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับภาค ปี พ.ศ. ๒๕๕๑

    ๑.๔ สนับสนุนและเป็นส่วนหนึ่งของทีมฟอร์มูล่าแม่โจ้ จนทีมได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ปี พ.ศ. ๒๕๕๒

    ๑.๕ ร่วมจัดงานวันเด็กที่กรมประชาสัมพันธ์ เขต 5 จัดสถานที่สำหรับการจัดงานวันเด็กในนามคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทุกปีตั้ง 2551, 2552 และ 2553

    ๑.๖ ได้รับรางวัล ลูกจ้างประจำดีเด่นประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรม ประจำปี ๒๕๕๒ ซึ่งรับมอบรางวัลที่สวนบัวรีสอร์ท หางดง เชียงใหม่

    ๑.๗ งานบริการชุมชนที่อาศัย

    อาสาทำงานให้กับหมู่บ้าน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี จนได้รับรางวัล พ่อดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๑ ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหาร

 

 

2551-2553

 

๒. งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 

    ๒.๑ ร่วมจัดงานวันสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นประจำปีของคณะ โดยดูและในส่วนของการจัดสถานที่ทั้งหมด

    ๒.๒ ร่วมจัดงานรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ของคณะ รับผิด ชอบงานสถานที่และขบวนแห่

    ๒.๓ ร่วมจัดขบวนแห่เทียนเข้าพรรษาของคณะเพื่อทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมของไทย

    ๒.๓ เป็นฝ่ายสถานที่จัดงานโคมลอยของคณะในนามมหาวิทยาลัย จนสำเร็จไปได้ด้วยดี

 

 

2551-2553

 

๓. งานสนับสนุนการเรียนการสอน 

    ๓.๑ ช่วยปฏิบัติงานสอนงานเชื่อมโลหะ วิชาการปฏิบัติงานทางวิศวกรรม

    ๓.๒ ช่วยปฏิบัติการสอนวิชา กธ ๓๑๐ เครื่องทุ่นแรงในฟาร์ม        กธ ๔๑๒ อุปกรณ์ในฟาร์ม และวิชาอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

    ๓.๓ ช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนโดยนำนักศึกษาไปทัศนศึกษาดูงานนอกสถานที่ทุกปีปีละหลายครั้ง

 

 

 

ปีงบประมาณ

ผลงานที่ได้รับการยอมรับหรือเป็นผลงานที่ได้รางวัล

 

2551-2553

 

๔. ความภูมิใจจากการรับราชการ 

- ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มงกุฎไทย ชั้นที่ 5

   ชื่อ เบญจมาภรณ์ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙

- ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ช้างเผือก ชั้นที่ 5

   ชื่อ เบญจมาภรณ์ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔

 

 

การใช้ชีวิต 

ประพฤติปฏิบัติตน (ระบุหลักการประพฤติปฏิบัติตนในการครองตน ครองคน และครองงาน โดยเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม)

1.  มีความประพฤติ การปฏิบัติตนชอบด้วยคุณธรรม ศีลธรรม จรรยาบรรณข้าราชการเป็นที่ยอมรับของบุคคลในส่วนราชการและสังคม

                ๑.1 การครองตน : ตั้งใจทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ แบ่งเวลาให้ความสำคัญในทุก ๆ ด้าน ทั้งครอบครัว หน้าที่การงาน  การให้บริการชุมชนและสังคม เพื่อ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จนได้รับรางวัล พ่อดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๑ ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหาร โดยยึดหลักการครองตน คือ จะปฏิบัติตนเองเป็นสมาชิกที่ดีมีคุณค่าต่อองค์กรและสังคม เป็นแบบอย่างที่ดี โดยอาศัยหลัก สัปปุริสะธรรม ๗ คือ

๑. การรู้หลักและรู้จักเหตุผล คือรู้หลักการและกฎเกณฑ์ทั้งหลาย ที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิต ในการปฏิบัติหน้าที่ และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ รู้เข้าใจสิ่งที่คนจะต้องประพฤติ ปฏิบัติ ตามเหตุผล

๒. รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล คือรู้ความหมาย และความมุ่งหมายของหลักการที่ตนปฏิบัติ เข้าใจวัตถุประสงค์ของกิจการที่ตนกระทำ รู้ว่าตนทำอย่างนั้น ดำเนินชีวิตอย่างนั้นเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร หรือควรจะบรรลุถึงผลอะไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดอะไรบ้าง เป็นผลดีหรือผลเสียอย่างไร ตลอดจนรู้คติธรรมและจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของชีวิต

๓. รู้จักตน คือรู้ความสามารถ ความถนัด กำลังความรู้ ตลอดจนนิสัยใจคอของตนเองแล้วประพฤติให้เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลดีแท้จริงที่พึงต้องการ

๔. รู้จักประมาณ คือรู้จักพอ รู้จักประมาณในการบริโภค ในการใช้จ่ายทรัพย์สิน รู้จักความเหมาะสมพอดี ในการพูด การปฏิบัติกิจ และกระทำการทุกอย่างด้วยความเข้าใจวัตถุประสงค์ มิใช่เพียงเพื่อความพอใจ ชอบใจ หรือเอาแต่ใจตนเอง แต่ทำตามความพอดีของปัจจัยทั้งหลายที่ลงตัว

๕. รู้กาล คือรู้จักกาลเวลาอันเหมาะสมที่ใช้ในการประกอบกิจ ทำหน้าที่การงาน รู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร อย่างไร และทำให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้ถูกเวลา และเหมาะเวลา ตลอดจนรู้จักกะเวลา และวางแผนการใช้เวลาอย่างได้ผล

๖. รู้ชุมชน คือ รู้จักถิ่น รู้จักชุมชน ตลอดจนรู้จักวางตัวต่อชุมชน ว่าประพฤติปฏิบัติตัวอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับสังคมนั้น

๗. รู้บุคคล คือ การรู้จักและเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล รู้จักคนที่พบปะสนทนา หรือทำงานด้วยว่าเป็นคนอย่างไร และรู้จักที่จะปฏิบัติตัวต่อบุคคลอื่นได้อย่างเหมาะสม

นอกจากนั้นยังยึดหลัก ฆราวาสธรรม ๔ ดังนี้

๑. สัจจะ ความจริง คือ ดำรงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริงทำจริง และทำอะไรก็ให้เชื่อถือไว้วางใจได้

๒. ทมะ ฝึกตน คือ การบังคับควบคุมตนเองได้ รู้จักปรับตัว และแก้ไขปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้า ดีงาม ยิ่งขึ้นอยู่เสมอ

๓. ขันติ อดทน คือ มุ่งมั่นทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็งอดทน ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคและความยากลำบาก มั่นคงในจุดหมาย ไม่ท้อถอย พยายามอยู่ตลอดเวลา

๔. จาคะ เสียสละ คือ ความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อผู้อื่น รู้จักบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สละโลภ ละทิฐิมานะได้ ร่วมงานกับคนอื่นได้ ไม่ใจแคบ เห็นแก่ตัว หรือเอาแต่ใจตนเอง

 

2.  เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับ ยกย่อง ในเพื่อน ในสังคมร่วมงานอย่างเปิดเผยทั้งต่อหน้าและลับหลัง

               ๒.1 การครองคน : การปฏิบัติตนที่ทุ่มเทในการทำงานและเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน จึงได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคนงานและเจ้าหน้าที่ในฝ่ายงานอาคารและสถานที่ของคณะ และสามารถทำให้งานสำเร็จตามความมุ่งหมายทุกครั้ง โดยมีหลักการครองคน ดังนี้

๑. หลักปฏิบัติต่อกันด้วยดี ระหว่างผู้บังคับบัญชากับลูกน้องหรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา

๑.๑ ให้งานตามกำลัง คือ มอบหมายหน้าที่การงานให้ตามกำลังความรู้ สติปัญญา ความสามารถ  รู้จักใช้คนให้ถูกกับงานตามความสามารถของเขา

๑.๒ รู้จักให้รางวัล คือ เมื่อทำดี ก็รู้จักยกย่องชมเชย และ/หรือ สนับสนุน เมื่อทำไม่ดี ก็ให้คำตักเตือน แนะนำ สั่งสอน ให้พัฒนาสมรรถภาพให้ดีขึ้น ถ้าไม่ยอมแก้ไขพัฒนาตนให้ดีขึ้น ก็ต้องตำหนิ และมีโทษตามกฎเกณฑ์ โดยชอบธรรม

๑.๓ รู้จักดูแลยามเจ็บไข้ กล่าวคือ ต้องรู้จักดูแลสารทุกข์ สุกดิบของ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ไม่เป็นผู้แล้งน้ำใจ

๑.๔ รู้จักให้ลูกน้อง หรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้ลาพักผ่อนบ้าง ตามความเหมาะสม ไม่เอาผลสัมฤทธิ์เพียงอย่างเดียว

๒. เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ด้วยหลักพรหมวิหารธรรม ๔ และสังคหวัตถุ
พรหมวิหารธรรม ๔ ประการ คือ  เมตตา กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา ส่วนสังคหวัตถุธรรม ๔ ประการ คือ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา คุณธรรม ๔ ประการนี้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้อื่นไว้ได้ และยังความสมัครสมานสามัคคีให้เกิดขึ้นระหว่างกันและกันด้วย และรู้จักการเอาใจเขามาใส่ใจเรา  ให้เกียรติแก่ผู้ร่วมงานทุกคน โดยเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งชนชั้น 

 

3. ประพฤติปฏิบัติงานในหน้าที่และนอกเหนือหน้าที่ สม่ำเสมอ เต็มใจ มีจิตมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานหน้าที่รับผิดชอบ จนมีผลงานปรากฏที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนราชการ ประชาชน มากกว่าผู้อื่นอย่างเด่นชัด

๓.1 การครองงาน : ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่และเต็มความ สามารถ โดยพยายามเรียนรู้งานและพัฒนาปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง มีความกระตือรือร้น ขยัน หมั่นเพียร เสีย สละและอุทิศเวลาให้กับราชการอย่างเต็มที่ โดยคำนึงถึงประโยชน์ขององค์กรเป็นเบื้องต้นเสมอ รับ ผิดชอบทั้งงานในหน้าที่หลักและงานบริการต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำลังความ สามารถ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน จนทำให้งานที่รับผิดชอบสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกครั้ง และมีคติหลักในการครองงาน คือ      

๑. รักและศรัทธาในงานที่ทำ หากมีความรักและมีความศรัทธา ในงานที่ทำแล้ว งานนั้นย่อมจะประสบผลสำเร็จ เพราะถ้าชอบงานอะไรแล้ว ใจก็จะ มุ่งมั่นในการทำงานนั้น จนประสบผลสำเร็จ
                        ๒. มีความขยันหมั่นเพียนในการทำงาน  หากมีความขยันหมั่นเพียรในการทำงานแล้ว งานนั้น ๆ ย่อมจะประสบผลสำเร็จโดยง่าย 

๓. เอาใจใส่ต่องานที่ทำ หากทำงานโดยมีเป้าหมายแล้ว ย่อมจะต้องเอาใจใส่ต่องานที่ทำเสมอ การทำงานที่เอาใจใส่ งานย่อมประสบผลสำเร็จ 

๔. หมั่นตรวจสอบข้อบกพร่องของานและปรับปรุงให้ดีขึ้น หากทำงานโดยมี การปรับปรุงงานให้ดีขึ้นเสมอ จึงจะถือได้ว่ามีการปรับปรุงงาน เหมือนกับการประเมินผลงานนั้นเอง

 

3.  มีผลงานเชิงประจักษ์ ดีเด่น เป็นที่ยอมรับ สมควรได้รับการยกย่อง ให้หมายรวมถึงผลการปฏิบัติหน้าที่เป็นอันดับแรก ผลงานจากการอุทิศทุ่มเท เสียสละ เกิดประโยชน์กับส่วนราชการและประชาชน ทั้งนี้อาจปรากฏเป็นผลงานด้านเอกสารที่สืบค้นได้เชิงประจักษ์ และ/หรือ ผลการปฏิบัติที่ไม่ปรากฏเป็นเอกสารแต่เป็นรูปธรรมที่ยอมรับอย่างกว้างขวางของผู้ที่เกี่ยวข้อง สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้างประจำ

การให้การยอมรับทั้งจากภายในคณะ ภายนอกคณะ และชุมชนที่อยู่อาศัย จนได้รับรางวัลพ่อดีเด่น ลูกจ้างประจำดีเด่น ตลอดจนงานที่ได้รับมอบหมายนอกเหนือจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ประจำสำเร็จลงได้ดีทุกครั้ง อีกทั้งการทุ่มเทให้กับงานบริการอื่น ๆ จนได้รับคำชมเชยอย่างต่อเนื่อง

 

ความเห็นของผู้บังคับบัญชา 



ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุมาพร อุประ

คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร

 

  นายทวี วงค์สถาน ได้ทุ่มเทอุทิศแรงกาย  แรงใจ ในการทำงานอย่างเต็มความสามารถ ด้วยความเสียสละและเอาใจใส่ จนงานที่รับผิดชอบบรรลุตามเป้าหมายด้วยดีทุกครั้ง   เป็นผู้ที่มีจิตอาสา อาสาทำงานให้กับคณาจารย์  เจ้าหน้าที่ และบุคลากรของคณะทุกคนด้วยความเต็มใจ  จนเป็นที่ยกย่องเป็นแบบอย่าง จนได้รับรางวัลลูกจ้างประจำดีเด่น คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปี ๒๕๕๒      การทำงานในหน้ารับผิดชอบหลักเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนงานที่มอบหมายอื่น ๆ  ทั้งทางด้านงานบริการทั้งภายในคณะและภายนอกมหาวิทยาลัย งานทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็สามารถทำได้สำเร็จเป็นอย่างดี จนได้รับรางวัลดังที่กล่าวมาข้างต้น  อันมีผลทำให้งานของคณะฯ มีความก้าวหน้าเป็นลำดับ

 

 

 

 

 

 

 

 

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 8413

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปางวันนี้ 31 มีนาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร พร้อมด้วยผู้บริหาร ให้การต้อนรับคุณสมฤดี อินทรฉิม จากบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง ซึ่งได้เข้ามาแนะนำบริษัท ทำความรู้จัก และสร้างความสัมพันธ์เพื่อความร่วมมือในอนาคตการพบปะครั้งนี้เป็นก้าวแรกของการเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เพื่อเปิดโอกาสสู่ความร่วมมือในด้านการศึกษา สหกิจศึกษา ฝึกงาน และโอกาสทางอาชีพ คณะฯ ขอขอบคุณบริษัทเนเจอรี่ จำกัด ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่าย และหวังว่าจะได้ร่วมงานกันในอนาคต
11 เมษายน 2568     |      121
โครงการการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพร
เมื่อวันที่ 1-2 เมษายน 2568 งานบริการวิชาการและวิจัย ได้จัดโครงการการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพร ณ อาคารโรงงานนำร่อง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร โดย อาจารย์ ดร.แพรวพรรณ จอมงาม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยี นวัตกรรมและจัดหารายได้ เป็นหัวหน้าโครงการโครงการนี้จัดขึ้นเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยทางด้านการทำแห้งเพื่อคงปริมาณสารสำคัญ ได้แก่ ข้าวเกรียบสมุนไพร ไส้อั่วปลาอบแห้งโรยข้าว และการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมผลไม้ โดยมีวิทยากร ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม ผศ.ดร.ศรัญญา สุวรรณอังกูร อาจารย์ ดร.ตรีทิพย์ ชื่นสันต์ เป็นผู้นำองค์ความรู้มาถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในตำบลสันป่าเปา ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย ให้ชุมชนเกิดการพัฒนาตนเองด้านการแปรรูปอาหาร สร้างความยั่งยืนในอนาคต
11 เมษายน 2568     |      101
นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็น 1 ใน 5 ทีม นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568เมื่อวันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้นำทีมนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ประจำปี 2568 ณ ห้องประชุม 105 อาคารประเสริฐ ณ นคร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีและกล่าวเปิดโครงการ ซึ่งเป็นเวทีให้นักศึกษาได้มีโอกาสนำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและยกระดับศักยภาพของชุมชนในครั้งนี้ คณะวิศวกรรมฯ ได้ร่วมมือกับ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ส่งทีมนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันภายใต้ชื่อทีม "ชาลำ บำรุงสุข" ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 ทีมที่ได้นำเสนอผลงาน ในรอบนี้ ทีมชาลำ บำรุงสุข ได้ร่วมพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง บ้านสันป่าเหียน จังหวัดลำพูน โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้มากขึ้นการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ การพัฒนาแนวคิดเชิงธุรกิจ และการทำงานร่วมกับชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตอย่างยั่งยืน
11 เมษายน 2568     |      86
ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมลงนามในฐานะผู้แทนฝ่ายเจ้าภาพ ณ อาคารคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พิธีลงนามในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อวางรากฐานความร่วมมือในด้านการเรียนการสอนและการใช้ทรัพยากรร่วมกันในช่วงสถานการณ์วิกฤต อาทิ ภัยธรรมชาติ เหตุเพลิงไหม้ หรือเหตุการณ์ไม่สงบที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษา โดยทั้งสองหน่วยงานตกลงร่วมมือกันในการสนับสนุนการใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารสถานที่ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องมือ และวัสดุต่าง ๆ ตามความเหมาะสม โดยยังคงอยู่ภายใต้การดูแลและความรับผิดชอบของแต่ละสถาบัน ทั้งในด้านค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้จ่ายจากการใช้ทรัพยากรเฉพาะกรณีความร่วมมือครั้งนี้ยังครอบคลุมถึงการผลักดันกิจกรรมวิจัย การบริการวิชาการ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอาหารและผลิตผลเกษตร โดยมุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการพัฒนาโครงการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมจริงภายหลังพิธีลงนาม คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พาคณะผู้บริหารและบุคลากรจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ (FIN) รวมถึงอาคารเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงงานต้นแบบ และอาคาร CMU BIOPOLIS ซึ่งถือเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ความร่วมมือระหว่างทั้งสองสถาบันในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการและวิจัยของประเทศ พร้อมร่วมกันผลักดันความเจริญก้าวหน้าในภาคอุตสาหกรรมเกษตรอย่างมั่นคงและยั่งยืนCr :ขอบคุณรูปภาพจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
11 เมษายน 2568     |      107