คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

เมื่อคนไทยนึกถึงเดือนเมษายน สิ่งหนึ่งที่ทุกคนจะคิดเหมือนๆ กันก็คือ ความร้อนและความแห้งแล้ง เนื่องจากเดือนนี้ซ้อนทับกัน

ระหว่างฤดูร้อน(Summer) และฤดูแล้ง (Dry season) ทั้งความร้อนและความแห้งแล้งจึงเป็นสภาพอากาศตามปกติที่เด่นชัดของเดือนนี้ซึ่งเป็นเหตุทำให้แทบทุกคนต่างก็บ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าร้อนๆ และโดยมากมักจะคิดเอาเองว่าร้อนมากกว่าปีที่ผ่านมาด้วย ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงมันก็ร้อนมากบ้างน้อยบ้างเป็นเช่นนี้มาทุกปี แต่ที่แน่ๆ ก็คือ เดือนเมษายนเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไทย (อ่านต่อบทความแบบ PDF คลิ๊กที่นี้ )

อากาศร้อนตามปกติของเดือนเมษายนนั้น สาเหตุเกิดจากความเข้มข้นของรังสีดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมายังพื้นดินเป็นสำคัญ เนื่องจากช่วงต้นของเดือนนี้ ดวงอาทิตย์จะเริ่มตั้งฉากกับพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย จากนั้นจะค่อยๆ เคลื่อนขึ้นมาตั้งฉากกับพื้นที่ตอนกลางของประเทศและกรุงเทพมหานครในช่วงปลายเดือน (ราววันที่ 24-27 เมษายน) และจะค่อยๆ เคลื่อนไปตั้งฉากกับพื้นที่ภาคเหนือในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม นี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เดือนเมษายนอากาศร้อนกว่าเดือนอื่นๆ

ตามสถิติอุณหภูมิอากาศจากการตรวจวัดของกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่า ฤดูร้อนของประเทศไทยจะอยู่ในราวกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 30๐ เซลเซียส จากสถิติอุณหภูมิสูงสุดของประเทศไทยในรอบกว่า 50 ปี ที่บันทึกโดยกรมอุตุนิยมวิทยาคือ 44.5๐ เซลเซียส ตรวจวัดได้ที่ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2503 ซึ่งอาจจัดเป็นปีที่ร้อนที่สุดในรอบ 50 ปี (ใกล้เคียงกับปี พ.ศ. 2535 และ 2541 ซึ่งทำสถิติอุณหภูมิสูงสุดไว้ในหลายจังหวัด)

สำหรับปีนี้ (พ.ศ. 2556) ฤดูร้อนของประเทศไทยคงอยู่ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคมเหมือนทุกปี แต่ปีนี้คล้ายกับปี พ.ศ. 2554 ตรงที่มีความกดอากาศสูง(มวลอากาศเย็น)แผ่เข้ามาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะๆ และยังมีลมตะวันตกที่พัดมาจากเทือกเขาหิมาลัยผ่านเข้ามาทางภาคเหนือตอนบนด้วย โดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนมีนาคมซึ่งถือว่าเป็นช่วงฤดูร้อนเต็มตัวแล้ว แต่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้าๆ อุณหภูมิอากาศโดยรวมในปีนี้จึงถือว่าไม่ร้อนมากนัก แม้ในบางพื้นที่จะมีอุณหภูมิสูงถึง 40-42๐ เซลเซียส แต่นั่นก็ยังนับว่าเป็นสภาพอากาศปกติของเดือนนี้

ในส่วนของความแห้งแล้งนั้น ปีนี้ก็นับว่าเป็นปกติที่ฝนจะไม่ค่อยตกในเดือนนี้ นอกจากเกิดแนวปะทะระหว่างมวลอากาศเย็นกับมวลอากาศร้อนทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะทำให้เกิดฝนตกเป็นแห่งๆ หรือเกิดพายุฤดูร้อนทำให้เกิดฝนและลูกเห็บตก แม้จะเกิดได้ค่อนข้างถี่มากที่สุดในเดือนนี้ แต่จะเกิดในบริเวณพื้นที่แคบๆ ปริมาณฝนจึงช่วยแค่บรรเทาความแห้งแล้งและลดอุณหภูมิอากาศลงได้บ้างเฉพาะบริเวณที่เกิดพายุฤดูร้อนเท่านั้น แต่ไม่สามารถบรรเทาความร้อนและความแห้งแล้งในภาพรวมได้

สงกรานต์นับเป็นเทศกาลที่สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศในเดือนนี้เป็นอย่างยิ่ง การหยุดทำการงานและมาเล่นน้ำสงกรานต์นั้น นับว่ามีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศเป็นที่สุด เพราะเป็นกิจกรรมประเพณีอันดียิ่ง บางที่อาจเป็นความชาญฉลาดของบรรพบุรุษของคนในภูมิภาคนี้ (ไทย ลาว และเขมร) ที่เลือกหากิจกรรมมาทำให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ เทศกาลสงกรานต์จึงเป็นเทศกาลยอดนิยมของคนในภูมิภาคนี้อย่างไม่เคยเสื่อมมนต์ขลัง มีแต่จะยิ่งใหญ่มากขึ้นทุกปีในทุกท้องที่ของทุกภาคส่วน สงกรานต์จึงเป็นเทศกาลที่ทั้งคนในเมืองและคนนอกเมืองต่างมีอารมณ์ร่วมต่อเทศกาลนี้สูงมากกว่าเทศกาลใดๆ

การทำกิจกรรมในเทศกาลสงกรานต์ตามประเพณีไทย ทั้งการทำบุญใส่บาตร การทอดผ้าป่า การเข้าวัดฟังธรรม การบังสุกุลกระดูกผู้ล่วงลับ การแห่พระพุทธรูปหรือการสรงน้ำพระ การก่อกองทรายหรือขนทรายเข้าวัด และการเล่นน้ำสงกรานต์ก็ดี ล้วนแต่เป็นกิจกรรมตามประเพณีไทยที่ก่อให้เกิดความเย็นกายและเย็นใจ ทำให้ลืมความร้อนและความแห้งแล้งลงไปได้เป็นอันมาก ยิ่งไปกว่านั้นการที่ภาครัฐกำหนดให้เป็นวันหยุดยาวติดต่อกัน และกำหนดให้มีวันผู้สูงอายุและวันครอบครัวด้วยนั้น นับว่าเป็นคุณูปการต่อสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง หลายคนโดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ต่างก็รอคอยวันนี้
วันที่จะได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากับลูกๆ หลานๆ ซึ่งบางครอบครัวอาจเกิดบรรยากาศเช่นนี้ได้เพียงแค่เทศกาลนี้เท่านั้น

ดังนั้น การให้ลางานหรือหยุดงานยาวๆ ในช่วงนี้ จึงนับว่ามีคุณค่าต่อสถาบันครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการส่งเสริมความรักความสามัคคีและสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัว อันเป็นรากฐานของสังคมที่แท้จริง ซึ่งจะส่งผลไปถึงความรักความสามัคคีของคนในชาติด้วย และเชื่อได้ว่าช่วงเทศกาลนี้จะไม่มีเหลืองมีแดงมาทำให้รำคาญใจด้วย

แต่อย่างไรก็ดี สงกรานต์ก็สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากมายมหาศาลทุกปี แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในทุกๆ ปีนั้น หาใช่เป็นเพราะกิจกรรมโดยตรงของสงกรานต์ แต่เกิดจากความขาดสติยั้งคิดของคนที่เข้าร่วมกิจกรรมสงกรานต์เป็นสำคัญ การเล่นสงกรานต์ด้วยความคึกคะนองด้วยวิธีพิสดารต่างๆ การแสดงอนาจารในที่สาธารณะ การลวนลามทางเพศ การดื่มสุราและเสพของมึนเมา และการใช้ยานพาหนะด้วยความประมาท ล้วนเป็นสาเหตุของความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินที่แท้จริง

เนื่องจากการจัดงานสงกรานต์ในแต่ละท้องที่จะเริ่มก่อนเริ่มหลังต่างๆ กันไป บางที่บางแห่งเริ่มกันตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน แต่บางที่บางแห่งกว่าจะเริ่มงานก็หลังวันที่ 20 เมษายนไปแล้ว เช่น สงกรานต์พระประแดง เป็นต้น ทำให้กว่าจะสิ้นสุดบรรยากาศของสงกรานต์จริงๆ ก็ตกไปถึงปลายเดือนเมษายน ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า เดือนเมษายนเกือบทั้งเดือนเป็นเทศกาลสงกรานต์ก็ว่าได้ แต่ไม่ว่าท้องที่ใดจะเริ่มจะเลิกงานสงกรานต์ช่วงไหนเวลาใดนั้นไม่สำคัญ แต่ความสำคัญนั้นอยู่ที่กิจกรรมตามประเพณีที่พึงปฏิบัติในเทศกาลสงกรานต์นี้เท่านั้น

แม้สภาพอากาศช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ อาจจะร้อนแล้งมากยิ่งขึ้นไปอีกได้(หากไม่มีฝนตกลงมาช่วยลดอุณหภูมิและบรรเทาความแห้งแล้ง) แต่เชื่อได้ว่า การทำกิจกรรมตามประเพณีของเทศกาลสงกรานต์น่าจะช่วยผ่อนคลายความร้อนความแล้ง
ในใจลงได้ไม่มากก็น้อย ฉะนั้น ใครที่ยังไม่ได้ทำกิจกรรมดีๆ ตามประเพณีของเทศกาลสงกรานต์นี้ ก็ควรรีบลงมือทำก่อนในตอนนี้
อย่าปล่อยให้เทศกาลนี้ผ่านไปโดยไม่ได้ทำอะไรดีๆ บ้างเลยอย่ารอโอกาสหน้า เพราะเวลาและวารีไม่เคยคอยใคร บางทีปีหน้าอาจไม่มีโอกาสอีกก็เป็นได้ เพราะพระพุทธองค์ทรงสอนพุทธบริษัทให้ดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท

 

ผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ที่มา :เนื้อหาจาก (แนวหน้า )  21 เม.ย 2556

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 2139

กลุ่มข่าวสาร : บทความน่าสนใจ

ข่าวล่าสุด

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023
รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ในงาน Startup Gate Pitching Challeng 2023คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษา ปริญญาตรี และปริญญาโท ทีมปันแสน และ ทีมREISSCHEIN คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และ รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 จากกิจกรรมการนำเสนอผลงานนวัตกรรมสู่การพัฒนาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Startup Gate Pitching Challenge 2023) จากทั้งหมด 12 ทีม จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร (MAP) ในวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 "ทีมปันแสน" นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร กับผลงาน "เยลลี่บุกเสริมสารสกัดจากขมิ้นชันคุมหิวผิวสวย" ประกอบด้วย1. นางสาวเสาวลักษณ์ มณีทอง2. นายณัฐพงษ์ มุงเมือง3. นายอาทิตย์ ด่านกระโทก4. ผศ.ดร.ธีระพล เสนพันธุ์ (อ.ที่ปรึกษาทีม)ชนะเลิศอันดับ 2 "ทีม REISSCHEIN" กับผลงาน "ไวน์ข้าวออร์แกนนิค" นักศึกษา ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ประกอบด้วย1.น.ส.นันทกานต์ นันสาย2.น.ส.นัทธมน ขวัญทัย3.ผศ.ดร.กนกวรรณ ตาลดี (อ.ที่ปรึกษาทีม)
21 ตุลาคม 2566     |      197
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"
"รางวัลชมเชยระดับประเทศ มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก"ในวันที่ 27 กันยายน 2566 การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน Rubber Innovation Matching Day นำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการจับคู่ธุรกิจ ภายใต้โครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด 198 คน ทีมผู้เข้าร่วม 28 ทีม 91 คนผศ.ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นที่ปรึกษาโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางการพัฒนาด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยาง (Natural Rubber Startup Acceleration Program Batch 3) จากโครงการเรื่อง มีดกรีดยางอินทรี/มีดกรีดยางแบบมีกลไก โดยมีสมาชิก นายคณินทร์ชัย เอกพุฒิวงศ์ เกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลห้วยซ้อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ได้รับรางวัลชมเชยผลงานระดับ Product to Market (P2M) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพาราเข้าสู่ตลาด
21 ตุลาคม 2566     |      162
RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ
ทีม RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับภูมิภาคเหนือ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ขอแสดงความยินดีกับ ทีม : RUBBER GUARD คว้ารางวัลชนะเลิศ ผ่านเข้ารอบการแข่งขันการประกวดความเป็นไปได้ทางธุรกิจภายใต้โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 11 (Research to Market) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ฯทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และเป็นตัวแทนในการแข่งขันภูมิภาคเหนือต่อไป จำนวน 3 ทีม มีดังนี้ทีม : RUBBER GUARDผลงานวิจัย : น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิมอาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ทีมนักศึกษา1. นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร2. นางสาวขวัญกมล โนภา คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร3. นายรณกร เครือหงษ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร4. นางสาวธันชนก คำมา คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวณัฐกฤตา วงษ์สุวรรณ คณะบริหารธุรกิจ ทีม : AES Re-Energyผลงานวิจัย : การพัฒนาฉนวนกันความร้อนแบบคอนกรีตบล็อกผสมเถ้าชีวมวลอาจารย์ที่ปรึกษา : ดร. ภคมน ปินตานาทีมนักศึกษา1. นางสาวลลิตา เพชรใจหาญ คณะพลังงานทดแทน2. นางสาวศุภมาส ทวีสุข คณะพลังงานทดแทน3. นางสาวจรรยพร หลู่จิ่ง คณะพลังงานทดแทน4. นางสาวธัญรดา เอี่ยมหอม คณะบริหารธุรกิจ5. นางสาวรดาดาว มงคลแก้ว คณะบริหารธุรกิจ ทีม : Blis teamผลงานวิจัย : แผ่นมาสก์ปาก “Blis Balm”อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ. ดร. ศักดินันท์ นันตังทีมนักศึกษา1. นายเทพฤทธิ์ จาง คณะวิทยาศาสตร์2. นางสาววรรณวิษา กระจ่างฉาย คณะวิทยาศาสตร์3. นายธนชัญ คำภีระ คณะวิทยาศาสตร์4. นางสาวณัฐวิภา เผ่าดี คณะบริหารธุรกิจ5. นายพฤษชาติ แสนเขื่อนแก้ว คณะบริหารธุรกิจทั้งนี้ทีมนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจะเป็นตัวแทนในการแข่งขัน R2M ระดับภูมิภาคเหนือร่วมกับทีมตัวแทนจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมทั้งหมด 21 ทีม เพื่อคัดเลือกทีมนักศึกษา จำนวน 9 ทีม แข่งขันในระดับประเทศต่อไป โดยการแข่งขันระดับภูมิภาคเหนือจะจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย -1 ธ.ค 66 นี้ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
21 ตุลาคม 2566     |      210
Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท
ขอแสดงความยินดีกับทีม Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม" ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยฝ่ายบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (นักศึกษาปัจจุบัน และ ผู้จบการศึกษาไม่เกิน 5 ปี) จำนวน 4 ราย ที่ได้รับการพิจารณาทุนอุดหนุนแบบให้เปล่า 100,000 บาท (Ideation Incentive Program : #IDEA) รอบที่ 2/2566 จากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) เพื่อนำไปพัฒนาต้นแบบ (Mockup) และแผนธุรกิจฉบับสมบูรณ์ โดยการบ่มเพาะของเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MAP)1. โครงการ Rubber Guard "น้ำยางพาราเคลือบเหล็กป้องกันสนิม"โดย นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง นักศึกษาจากสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ และนางสาวขวัญกมล โนภา นักศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ อาจารย์ประจำคณะคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่โจ้2. โครงการ PEAT PLANT วัสดุเพาะเมล็ดและต้นกล้าจากวัตถุอินทรีย์ธรรมชาติ โดย นายเกรียงไกร ใจยสุข นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาวิชาเกษตรอัจฉริยะ (ต่อเนื่อง) และทีมงานศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร อาจารย์ประจำคณะผลิตกรรมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้สัตวศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้3.โครงการระบบเพาะเห็ดแบบแม่นยำ โดย นายพุทธพงษ์ สุวรรณกูล นักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทน นายนิติพัฒน์ ปัญญา และนายปิติพล จิ่งต่า ศิษย์เก่าวิทยาลัยพลังงานทดแทนอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.ภคมน ปินตานา และ อาจารย์ ดร.สุระพล ริยะนา อาจารย์ประจำวิทยาลัยพลังงานทดแทน วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ School of Renewable Energy, MJU.4.โครงการโจ๊กผำแม่โจ้ 1 เอ โดย นางสาวเกตุวลิน ล้ำเลิศนางสาวสุดา จันทะบัตร นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ นางสาวพิมลพรรณ เพ็งสุริยา นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร อายุมั่น อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
21 ตุลาคม 2566     |      222