คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

      ในขณะนี้มีจังหวัดทางภาคเหนือที่มีการปลูกยางพาราและสามารถกรีดยางได้แล้ว ได้แก่ เชียงราย เพชรบูรณ์ น่าน พะเยา พิษณุโลก และอุทัยธานี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่ผลผลิตส่วนใหญ่เป็นผลจากการจัดการระบบการผลิตขั้นปฐมภูมิคือ เป็นเพียงผลผลิตวัตถุดิบ เช่น น้ำยางสด ยางแผ่นรมควันและยางแผ่นผึ่งแห้ง ดังนั้นเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยางทางภาคเหนือ และเพื่อให้เกษตรกรทราบถึงกระบวนการแปรรูปน้ำยางพารา การฝึกอบรมเกี่ยวกับการแปรรูปน้ำยางให้แก่เกษตรกรจึงเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อเนื่อง ซึ่งการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การทำถุงมือยางจากน้ำยางธรรมชาติ” เป็นโครงการหนึ่งที่สามารถช่วยสนับสนุนนโยบายส่งเสริมการปลูกยางได้ เนื่องจากใช้อุปกรณ์และเครื่องมือที่ไม่ซับซ้อน สามารถผลิตได้ในระดับครัวเรือนหรือกลุ่มชุมชน

ดังนั้น สวทช. ภาคเหนือ จึงได้ร่วมกับคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การทำถุงมือยางจากน้ำยางธรรมชาติ” ขึ้น เพื่อให้ความรู้การผลิตถุงมือยางจากน้ำยางพาราให้แก่กลุ่มเกษตรกรและผู้ที่สนใจ และเพื่อเป็นทางเลือกในการเพิ่มมูลค่าน้ำยางพารานอกจากการจัดจำหน่ายในรูปน้ำยางสดหรือยางแผ่นดิบ

_____________________________

การอบรม : ฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

เรื่อง      การทำถุงมือยางจากน้ำยางธรรมชาติ 

วันที่      11 กรกฎาคม 2555   เวลา 8.30 – 16.00 น.

สถานที่  อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์  

            คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

จัดโดย:  สวทช. ภาคเหนือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  www.nnr.nstda.or.th  

__________________________________________________________________________

สวทช. ภาคเหนือ เป็นหน่วยงานในกำกับของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2540 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานให้เกิดการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ทั้งภาคเอกชน ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ในเขตภาคเหนือ เพื่อดำเนินการวิจัยพัฒนา ออกแบบและวิศวกรรม การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคการผลิตและชุมชน

วิสัยทัศน์ (Vision) สวทช. เป็นเพื่อนร่วมทางที่ดี สู่สังคมฐานความรู้ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

   พันธกิจ (Strategic Mission) สวทช. มุ่งเสริมการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของ ภาคเหนือ พร้อมทั้งดำเนินกิจกรรมด้านถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคคลากร และการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น สวทช. ภาคเหนือ จึงได้ร่วมกับคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การทำถุงมือยางจากน้ำยางธรรมชาติ ขึ้น เพื่อให้ความรู้การผลิตถุงมือยางจากน้ำยางพาราให้แก่กลุ่มเกษตรกรและผู้ที่สนใจ และเพื่อเป็นทางเลือกในการเพิ่มมูลค่าน้ำยางพารานอกจากการจัดจำหน่ายในรูปน้ำยางสดหรือยางแผ่นดิบ

_______________________________________________________________________________________________________

สวทช. ภาคเหนือ เป็นหน่วยงานในกำกับของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2540 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานให้เกิดการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ทั้งภาคเอกชน ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ในเขตภาคเหนือ เพื่อดำเนินการวิจัยพัฒนา ออกแบบและวิศวกรรม การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคการผลิตและชุมชน

วิสัยทัศน์ (Vision) สวทช. เป็นเพื่อนร่วมทางที่ดี สู่สังคมฐานความรู้ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

   พันธกิจ (Strategic Mission) สวทช. มุ่งเสริมการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของ ภาคเหนือ พร้อมทั้งดำเนินกิจกรรมด้านถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคคลากร และการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

เอกสารการสมัคร

ปรับปรุงข้อมูล : 7/10/2555 10:55:37     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 9817

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปางวันนี้ 31 มีนาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร พร้อมด้วยผู้บริหาร ให้การต้อนรับคุณสมฤดี อินทรฉิม จากบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง ซึ่งได้เข้ามาแนะนำบริษัท ทำความรู้จัก และสร้างความสัมพันธ์เพื่อความร่วมมือในอนาคตการพบปะครั้งนี้เป็นก้าวแรกของการเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เพื่อเปิดโอกาสสู่ความร่วมมือในด้านการศึกษา สหกิจศึกษา ฝึกงาน และโอกาสทางอาชีพ คณะฯ ขอขอบคุณบริษัทเนเจอรี่ จำกัด ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่าย และหวังว่าจะได้ร่วมงานกันในอนาคต
11 เมษายน 2568     |      122
โครงการการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพร
เมื่อวันที่ 1-2 เมษายน 2568 งานบริการวิชาการและวิจัย ได้จัดโครงการการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพร ณ อาคารโรงงานนำร่อง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร โดย อาจารย์ ดร.แพรวพรรณ จอมงาม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยี นวัตกรรมและจัดหารายได้ เป็นหัวหน้าโครงการโครงการนี้จัดขึ้นเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยทางด้านการทำแห้งเพื่อคงปริมาณสารสำคัญ ได้แก่ ข้าวเกรียบสมุนไพร ไส้อั่วปลาอบแห้งโรยข้าว และการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมผลไม้ โดยมีวิทยากร ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม ผศ.ดร.ศรัญญา สุวรรณอังกูร อาจารย์ ดร.ตรีทิพย์ ชื่นสันต์ เป็นผู้นำองค์ความรู้มาถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในตำบลสันป่าเปา ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย ให้ชุมชนเกิดการพัฒนาตนเองด้านการแปรรูปอาหาร สร้างความยั่งยืนในอนาคต
11 เมษายน 2568     |      102
นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็น 1 ใน 5 ทีม นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568เมื่อวันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้นำทีมนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ประจำปี 2568 ณ ห้องประชุม 105 อาคารประเสริฐ ณ นคร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีและกล่าวเปิดโครงการ ซึ่งเป็นเวทีให้นักศึกษาได้มีโอกาสนำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและยกระดับศักยภาพของชุมชนในครั้งนี้ คณะวิศวกรรมฯ ได้ร่วมมือกับ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ส่งทีมนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันภายใต้ชื่อทีม "ชาลำ บำรุงสุข" ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 ทีมที่ได้นำเสนอผลงาน ในรอบนี้ ทีมชาลำ บำรุงสุข ได้ร่วมพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง บ้านสันป่าเหียน จังหวัดลำพูน โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้มากขึ้นการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ การพัฒนาแนวคิดเชิงธุรกิจ และการทำงานร่วมกับชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตอย่างยั่งยืน
11 เมษายน 2568     |      87
ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมลงนามในฐานะผู้แทนฝ่ายเจ้าภาพ ณ อาคารคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พิธีลงนามในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อวางรากฐานความร่วมมือในด้านการเรียนการสอนและการใช้ทรัพยากรร่วมกันในช่วงสถานการณ์วิกฤต อาทิ ภัยธรรมชาติ เหตุเพลิงไหม้ หรือเหตุการณ์ไม่สงบที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษา โดยทั้งสองหน่วยงานตกลงร่วมมือกันในการสนับสนุนการใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารสถานที่ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องมือ และวัสดุต่าง ๆ ตามความเหมาะสม โดยยังคงอยู่ภายใต้การดูแลและความรับผิดชอบของแต่ละสถาบัน ทั้งในด้านค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้จ่ายจากการใช้ทรัพยากรเฉพาะกรณีความร่วมมือครั้งนี้ยังครอบคลุมถึงการผลักดันกิจกรรมวิจัย การบริการวิชาการ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอาหารและผลิตผลเกษตร โดยมุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการพัฒนาโครงการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมจริงภายหลังพิธีลงนาม คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พาคณะผู้บริหารและบุคลากรจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ (FIN) รวมถึงอาคารเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงงานต้นแบบ และอาคาร CMU BIOPOLIS ซึ่งถือเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ความร่วมมือระหว่างทั้งสองสถาบันในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการและวิจัยของประเทศ พร้อมร่วมกันผลักดันความเจริญก้าวหน้าในภาคอุตสาหกรรมเกษตรอย่างมั่นคงและยั่งยืนCr :ขอบคุณรูปภาพจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
11 เมษายน 2568     |      108