คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

ม.แม่โจ้ มอบเครื่องอบแห้งระบบถาดหมุน ผลงานนวัตกรรมของทีมวิจัย ม.แม่โจ้ ให้ มูลนิธิโครงการหลวง

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หัวหน้าโครงการวิจัย ได้มอบเครื่องอบแห้งระบบถาดหมุน จำนวน 8 เครื่อง ให้กับมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ โดยมีนายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี ประธานกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง และ พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง เป็นผู้แทนรับมอบ ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หัวหน้าโครงการวิจัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “สำหรับเครื่องอบแห้งระบบถาดหมุน ที่ส่งมอบให้กับโครงการหลวงในวันนี้ เป็นผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนโครงการวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)และทุนเพิ่มเติมจากครอบครัวอัศวราชันย์ ซึ่งเริ่มทำการศึกษาวิจัยมาตั้งแต่ปี 2556 โดยมีทีมงานวิจัยได้แก่ รองศาสตาจารย์เสมอขวัญ ตันติกุล, นายประพันธ์ จิโน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร และ นายบุญธรรม บุญเลา หัวหน้างานสนับสนุนโครงการตามพระราชดำริ กองบริหารงานบริการวิชาการ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อศึกษาพัฒนาปรับปรุงเครื่องอบแห้งให้ได้มาตรฐานให้กับโครงการหลวงสะโง๊ะ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี จากนั้น เมื่อปี 2562 ทางทีมวิจัยได้รับทุนอีกครั้งเพื่อพัฒนาเพิ่มเติมภายใต้ 
1).โครงการการพัฒนากระบวนการแปรรูปดอกคาร์โมมายล์และดอกเบญจมาศป่า(เก๊กฮวย)อบแห้ง และ
2).โครงการการพัฒนากระบวนการแปรรูปดอกคาโมมายล์ ดอกเบญจมาศป่า(เก๊กฮวย)และพืชสมุนไพรอบแห้ง ซึ่งจากเดิมได้ผลผลิตอบแห้ง 600 กิโลกรัม/ฤดูกาลเก็บเกี่ยว เพิ่มขึ้นเป็น 10.5 ตันแห้ง / ฤดูกาลเก็บเกี่ยว ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สามารถเพิ่มราคารับซื้อดอกเก๊กฮวย จาก 20 บาทเป็น 47 และคาโมมายล์ จาก 50 บาท เป็น 70 บาท สร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับเกษตรกรในโครงกการได้มากยิ่งขึ้น”

ม.แม่โจ้ มอบเครื่องอบแห้งระบบถาดหมุน ผลงานนวัตกรรมของทีมวิจัย ม.แม่โจ้ ให้ มูลนิธิโครงการหลวง

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หัวหน้าโครงการวิจัย ได้มอบเครื่องอบแห้งระบบถาดหมุน จำนวน 8 เครื่อง ให้กับมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ โดยมีนายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี ประธานกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง และ พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง เป็นผู้แทนรับมอบ ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หัวหน้าโครงการวิจัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “สำหรับเครื่องอบแห้งระบบถาดหมุน ที่ส่งมอบให้กับโครงการหลวงในวันนี้ เป็นผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนโครงการวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)และทุนเพิ่มเติมจากครอบครัวอัศวราชันย์ ซึ่งเริ่มทำการศึกษาวิจัยมาตั้งแต่ปี 2556 โดยมีทีมงานวิจัยได้แก่ รองศาสตาจารย์เสมอขวัญ ตันติกุล, นายประพันธ์ จิโน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร และ นายบุญธรรม บุญเลา หัวหน้างานสนับสนุนโครงการตามพระราชดำริ กองบริหารงานบริการวิชาการ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อศึกษาพัฒนาปรับปรุงเครื่องอบแห้งให้ได้มาตรฐานให้กับโครงการหลวงสะโง๊ะ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี จากนั้น เมื่อปี 2562 ทางทีมวิจัยได้รับทุนอีกครั้งเพื่อพัฒนาเพิ่มเติมภายใต้ 
1).โครงการการพัฒนากระบวนการแปรรูปดอกคาร์โมมายล์และดอกเบญจมาศป่า(เก๊กฮวย)อบแห้ง และ
2).โครงการการพัฒนากระบวนการแปรรูปดอกคาโมมายล์ ดอกเบญจมาศป่า(เก๊กฮวย)และพืชสมุนไพรอบแห้ง ซึ่งจากเดิมได้ผลผลิตอบแห้ง 600 กิโลกรัม/ฤดูกาลเก็บเกี่ยว เพิ่มขึ้นเป็น 10.5 ตันแห้ง / ฤดูกาลเก็บเกี่ยว ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สามารถเพิ่มราคารับซื้อดอกเก๊กฮวย จาก 20 บาทเป็น 47 และคาโมมายล์ จาก 50 บาท เป็น 70 บาท สร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับเกษตรกรในโครงกการได้มากยิ่งขึ้น”

ปรับปรุงข้อมูล : 24/3/2564 15:39:32     ที่มา : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 26267

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปางวันนี้ 31 มีนาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร พร้อมด้วยผู้บริหาร ให้การต้อนรับคุณสมฤดี อินทรฉิม จากบริษัทเนเจอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง ซึ่งได้เข้ามาแนะนำบริษัท ทำความรู้จัก และสร้างความสัมพันธ์เพื่อความร่วมมือในอนาคตการพบปะครั้งนี้เป็นก้าวแรกของการเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เพื่อเปิดโอกาสสู่ความร่วมมือในด้านการศึกษา สหกิจศึกษา ฝึกงาน และโอกาสทางอาชีพ คณะฯ ขอขอบคุณบริษัทเนเจอรี่ จำกัด ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่าย และหวังว่าจะได้ร่วมงานกันในอนาคต
11 เมษายน 2568     |      105
โครงการการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพร
เมื่อวันที่ 1-2 เมษายน 2568 งานบริการวิชาการและวิจัย ได้จัดโครงการการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพร ณ อาคารโรงงานนำร่อง คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร โดย อาจารย์ ดร.แพรวพรรณ จอมงาม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยี นวัตกรรมและจัดหารายได้ เป็นหัวหน้าโครงการโครงการนี้จัดขึ้นเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยทางด้านการทำแห้งเพื่อคงปริมาณสารสำคัญ ได้แก่ ข้าวเกรียบสมุนไพร ไส้อั่วปลาอบแห้งโรยข้าว และการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมผลไม้ โดยมีวิทยากร ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม ผศ.ดร.ศรัญญา สุวรรณอังกูร อาจารย์ ดร.ตรีทิพย์ ชื่นสันต์ เป็นผู้นำองค์ความรู้มาถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในตำบลสันป่าเปา ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย ให้ชุมชนเกิดการพัฒนาตนเองด้านการแปรรูปอาหาร สร้างความยั่งยืนในอนาคต
11 เมษายน 2568     |      94
นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็น 1 ใน 5 ทีม นำเสนอผลงานในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568เมื่อวันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้นำทีมนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ประจำปี 2568 ณ ห้องประชุม 105 อาคารประเสริฐ ณ นคร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีและกล่าวเปิดโครงการ ซึ่งเป็นเวทีให้นักศึกษาได้มีโอกาสนำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและยกระดับศักยภาพของชุมชนในครั้งนี้ คณะวิศวกรรมฯ ได้ร่วมมือกับ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ส่งทีมนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันภายใต้ชื่อทีม "ชาลำ บำรุงสุข" ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 ทีมที่ได้นำเสนอผลงาน ในรอบนี้ ทีมชาลำ บำรุงสุข ได้ร่วมพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง บ้านสันป่าเหียน จังหวัดลำพูน โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้มากขึ้นการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ การพัฒนาแนวคิดเชิงธุรกิจ และการทำงานร่วมกับชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตอย่างยั่งยืน
11 เมษายน 2568     |      81
ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมลงนามในฐานะผู้แทนฝ่ายเจ้าภาพ ณ อาคารคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พิธีลงนามในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อวางรากฐานความร่วมมือในด้านการเรียนการสอนและการใช้ทรัพยากรร่วมกันในช่วงสถานการณ์วิกฤต อาทิ ภัยธรรมชาติ เหตุเพลิงไหม้ หรือเหตุการณ์ไม่สงบที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษา โดยทั้งสองหน่วยงานตกลงร่วมมือกันในการสนับสนุนการใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารสถานที่ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องมือ และวัสดุต่าง ๆ ตามความเหมาะสม โดยยังคงอยู่ภายใต้การดูแลและความรับผิดชอบของแต่ละสถาบัน ทั้งในด้านค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้จ่ายจากการใช้ทรัพยากรเฉพาะกรณีความร่วมมือครั้งนี้ยังครอบคลุมถึงการผลักดันกิจกรรมวิจัย การบริการวิชาการ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอาหารและผลิตผลเกษตร โดยมุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการพัฒนาโครงการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมจริงภายหลังพิธีลงนาม คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พาคณะผู้บริหารและบุคลากรจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ (FIN) รวมถึงอาคารเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงงานต้นแบบ และอาคาร CMU BIOPOLIS ซึ่งถือเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ความร่วมมือระหว่างทั้งสองสถาบันในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการและวิจัยของประเทศ พร้อมร่วมกันผลักดันความเจริญก้าวหน้าในภาคอุตสาหกรรมเกษตรอย่างมั่นคงและยั่งยืนCr :ขอบคุณรูปภาพจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
11 เมษายน 2568     |      98