คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FACULTY OF ENGINEERING AND AGRO-INDUSTRY, MAEJO UNIVERSITY

ประวัติความเป็นมา

    คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการจัดตั้งตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114 ตอนที่ 19 ก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2540 เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาที่ขาดแคลน คือ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และสาขาอุตสาหกรรมเกษตร เป็นการรวมภาควิชาเกษตรกลวิธานซึ่งเดิมสังกัดคณะผลิตกรรมการเกษตร และภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตรซึ่งเดิมสังกัดในคณะธุรกิจการเกษตร เข้าด้วยกัน

การแบ่งส่วนงานคณะประกอบด้วย สำนักงานคณบดี และศูนย์บริการวิชาการ

หลักสูตรที่เป็นสอนในคณะ มีทั้งหมด 9 หลักสูตร แบ่งเป็นหลักสูตรปริญญาตรี 5 หลักสูตร หลักสูตรปริญญาโท 3 หลักสูตร และหลักสูตรปริญญาเอก 1 หลักสูตร ดังนี้

หลักสูตรปริญญาตรี

1) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร

2) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร

3) วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

4) วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)  สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

5) วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์

หลักสูตรปริญญาโท

1) วิศวกรรมศาสตรมหาบัฒฑิต(วศ.ม.) สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร

2) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร

3) วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร

หลักสูตรปริญญาเอก

1) วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต(วศ.ด.) สาขาวิศวกรรมอาหาร

 

ปรัชญา

บัณฑิตผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร อุดมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม

วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ด้านวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรที่ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ตามบริบทสังคม

พันธกิจ

1.สร้างบัณฑิตให้มีความรู้และเป็นนักปฏิบัติด้านวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ที่เท่าทันกับการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
2.สร้างและพัฒนางานวิจัยนวัตกรรม และการเป็นผู้ประกอบการและเพื่อประโยชน์สู่สังคมในทุกระดับ และเพื่อพัฒนาวิชาชีพบูรณาการองค์ความรู้
3.เพื่อถ่ายทอด เพื่อพัฒนาและรับใช้สังคม โดยสอดคล้องกับบริบริททางศิลป วัฒนธรรมของพื้นที่ ตลอดจนสร้างความร่วมมือในระดับประเทศและนานาชาติ
4.บริหารจัดการองค์กรอย่างมืออาชีพ ยึดประโยชน์ข ององค์กร ด้วยหลักธรรมาภิบาล

อัตลักษณ์

“ เราคือ นักปฏิบัติมืออาชีพ ด้านวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง”