เตาเผาถ่าน 200 ลิตร

 

เตาเผาถ่าน 200 ลิตร มีประสิทธิภาพสูงกว่าเตาแบบดั้งเดิม เตาประเภทนี้อาศัยความร้อนไล่ความชื้นในเนื้อไม้ที่อยู่ในเตา ทำให้ไม้กลายเป็นถ่าน เรียกว่า กระบวนการคาร์บอนไนเซชั่น (Carbonization) โครงสร้างเป็นระบบบิด สามารถควบคุมอากาศได้ จึงไม่มีการลุกติดไฟของเนื้อไม้ ดังนั้นถ่านที่ได้จึงมีคุณภาพสูง เกิดขี้เถ้าน้อย และผลพลอยได้จากกระบวนการเผาถ่านอีกอย่างหนึ่งคือ น้ำส้มควันไม้ (Wood Vinegar)

ส่วนประกอบของเตาเผาถ่าน 200 ลิตร
เตาเผาถ่าน 200 ลิตร ประกอบด้วยส่วนประกอบต่างๆ คือ
1. ตัวเตา ผลิตจากถังขนาด 200 ลิตร
2. ฝาเตา และท่อเร่งไฟ
3. ท่อควัน3 ท่อ
4. ส่วนควบแน่นน้ำส้มควันไม้
5. ตระแกรงรองไม้ด้านใน
6. ช่องเชื้อเพลิง
7. รูเก็บน้ำส้มควันไม้

| เตาเผาถ่าน 200 ลิตร (แบบตั้ง)

การเกษตกร | วันที่ 10 มิถุนายน 2557 | ผู้บันทึก: xers | ผู้ชม: 35,686

อ่าน เรื่อง “ฟืน ถ่าน หม้อข้าวและหม้อแกง” โดย วีระ สุดสังข์ ในทางอีศานฉบับที่ 26 ประจำมิถุนายน 2557 ที่พูดถึงคุณประโยชน์ของฟืนไฟและถ่านที่มีต่อชีวิตประจำวันของชาวบ้านมาช้า นาน โดยในบทความกล่าวถึงวิธีเผาถ่านที่นิยมของชาวบ้านที่มีมาแต่โบราณ 2 วิธี และยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือการเผาด้วยแกลบ และการเผาด้วยเตาดิน

จึง ค้นคว้าเพิ่มเติมหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับการเผาถ่าน ถ้าหากว่าต้องการใช้ภายในครัวเรือน หรือใช้งานเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม้ไม่ใหญ่มาก เศษไม้ตามบ้านเรือนตามป่าเขาก็ได้ หรือต้นไม้ที่ตัดทิ้งตากไว้ 1-2 อาทิตย์ก็นำมาใช้ได้ แถมสามารถเก็บน้ำส้มควันไม้ที่ใช้งานได้สารพัดประโยชน์ เช่น ใช้ราดทำลายปลวก ป้องกัน มด ตะขาบ แมลงป่อง ใช้ผลิตสารระงับกลิ่นตัว ดับกลิ่นในห้องน้ำ ห้องครัว ถังขยะ ฯลฯ

การเผาถ่านแบบเตาถัง 200 ลิตร เป็นการเผาแบบต้องการเนื้อที่น้อย  ใช้เวลาไม่นาน หากไม่ต้องการเก็บน้ำส้มควันไม้ยิ่งลดเวลาไปได้มาก เหมาะสำหรับการเกษตรแบบครบวงจรที่ผลิตทุกอย่างเอง หมุนเวียนใช้ภายในครัวเรือน หากเหลือยังพอขายได้ และถ่านที่ได้ยังบริสุทธิ์ สามารถลดสารก่อมะเร็งที่อยู่ในถ่านจากขั้นตอนการเผา ที่นำมาให้อ่านเป็นข้อมูลจาก คู่มือเตาเผาถ่าน 200 ลิตร…ดาวน์โหลดคลิก ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ขอขอบคุณในข้อมูลที่เผยแพร่ให้เป็นประโยชน์กับสังคมนี้ด้วยครับ

ทีมงานทางอีศาน

เตาเผาถ่าน200 ลิตรแบบตั้ง

เตาเผาถ่าน 200 ลิตร (แบบตั้ง)

ข้อมูลจาก:
ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์ 053-875140 โทรสาร 053-878333
Website: http://www.energy.mju.ac.th

เตา เผาถ่าน 200 ลิตร มีประสิทธิภาพสูงกว่าเตาแบบดั้งเดิม เตาประเภทนี้อาศัยความร้อนไล่ความชื้นในเนื้อไม้ที่อยู่ในเตา ทำให้ไม้กลายเป็นถ่าน เรียกว่า กระบวนการคาร์บอนไนเซชั่น (Carbonization) โครงสร้างเป็นระบบบิด สามารถควบคุมอากาศได้ จึงไม่มีการลุกติดไฟของเนื้อไม้ ดังนั้นถ่านที่ได้จึงมีคุณภาพสูง เกิดขี้เถ้าน้อย และผลพลอยได้จากกระบวนการเผาถ่านอีกอย่างหนึ่งคือ น้ำส้มควันไม้ (Wood Vinegar)

ส่วนประกอบของเตาเผาถ่าน 200 ลิตร
เตาเผาถ่าน 200 ลิตร ประกอบด้วยส่วนประกอบต่างๆ คือ
1. ตัวเตา ผลิตจากถังขนาด 200 ลิตร
2. ฝาเตา และท่อเร่งไฟ
3. ท่อควัน3 ท่อ
4. ส่วนควบแน่นน้ำส้มควันไม้
5. ตระแกรงรองไม้ด้านใน
6. ช่องเชื้อเพลิง
7. รูเก็บน้ำส้มควันไม้

เตาเผาถ่าน200 ลิตรแบบตั้ง2

ลักษณะเด่น

ด้านวัตถุดิบและอุปกรณ์
1 ไม้ที่นำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงหาง่าย สามารถใช้เศษไม้ชนิดต่างกันได้ และใช้เชื้อเพลิงน้อยประมาณ 4 กิโลกรัมต่อการเผา 1 ครั้ง
2 สามารถใช้ไม้ขนาดเล็กมาเผาเป็นถ่านได้ ลดปัญหาด้านการตัดไม้ทำลายป่า
3 อุปกรณ์ที่ใช้งานการสร้างสามารถหาชื้อได้ง่าย
4 ตัวเตาดูแลรักษาง่าย อายุการใช้งานนาน ประมาณ 1-2 ปี หรือ ประมาณ 100-150 ครั้งของการเผา แต่หากมีการสร้างโรงเรือนเพื่อป้องกันน้ำ จะสามารถยืดอายุการใช้งานได้

ด้านกรรมวิธีการผลิต
1. ใช้เวลาทำการเผาสั้นประมาณ 16 ชั่วโมง หรือน้อยกว่านั้นหากไม่ต้องการเก็บน้ำส้มควันไม้
2. สามารถควบคุมอากาศได้ตลอดเวลาของการเผา
3. เกิดขี้เถ้าน้อย ประมาณ 0.1 กิโลกรัม ต่อ ครั้ง (กรณีการเผาถ่านสมบูรณ์)
4. ใช้แรงงานน้อย สามารถดำเนินการได้โดยใช้แรงงาน 1 คน

ด้านผลผลิต
1. ได้ถ่านคุณภาพสูง ดีต่อสุขภาพ เพราะมีกระบวนการทำถ่านให้บริสุทธิ์ กำจัดน้ำมันดิบ (ทาร์) ออกจากเนื้อไม้
2. ได้ปริมาณผลผลิตถ่านดี ประมาณ 20-23% โดยน้ำหนัก ของปริมาณไม้ที่นำมาเผา
3. ได้น้ำส้มควันไม้ ประมาณ 0.5 – 1.0 ลิตรต่อครั้ง ขึ้นกับความชื้น และชนิดของไม้ที่นำมาเผา

ด้านการลงทุน
– ลงทุนน้อย เหมาะกับการใช้งานในครัวเรือน โดยมีต้นทุนด้านอุปกรณ์ในการผลิตประมาณ 1,500 – 2,000 บาท

ขั้นตอนการเผาถ่านโดยใช้เตาเผาถ่าน 200 ลิตร

1) การเตรียมไม้ใส่เตา

1. จัดวางเตาให้ได้ระดับ ห้ามเอียง เนื่องจากหากเตาเอียงจะทำให้เก็บน้ำส้มควันไม้ได้ยาก
2. ควรแยกไม้ระหว่างไม้แห้งและไม้ดิบ ถ้าให้ดีควรตัดไม้ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์
3. ขนาดไม้ ควรแยกให้มีขนาดใกล้เคียงกัน ถ้าเป็นไม้ใหญ่ให้ใส่ด้านหน้าเตา ไม้เล็กใส่ด้านหลังเตาและให้ปลายไม้ชี้ลงเนื่องจากด้านบนความร้อนจะสูงกว่า
4. ชนิดของไม้ ควรแยกระหว่างไม้เนื้ออ่อนและไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ลำไยอาจรวมกับไม้มะขาม ไม้ไผ่แยกเผาอีกครั้ง
5. ไม้ที่ใส่ในถังควรมีขนาดใกล้เคียงกับความสูงของเตาหรือยาวประมาณ 60 ซม. และควรมีขนาดใกล้เคียงกัน

2) การเผาถ่าน

จุดเตา
1 เมื่อเรียงไม้เข้าเตาเรียบร้อย ให้ทำการปิดฝาเตาให้สนิท โดยให้ท่อเร่งไฟอยู่ตรงข้ามกับช่องเชื้อเพลิงตรงกับท่อควัน
2 เริ่มทำการจุดไฟเตา บริเวณหน้าเตาที่ช่องเชื้อเพลิง โดยจุดที่จุดไฟอยู่บริเวณปากของช่องเชื้อเพลิงเติมฟืนเรื่อยๆ ช่วงนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง ขึ้นกับความชื้นของไม้ที่นำมาเผา

เตาเผาถ่าน200 ลิตรแบบตั้ง3

เตาติด (ควันบ้า)
3 สังเกตควันที่ปล่องควันและท่อเร่งไฟ ขณะทำการไล่ความชื้น ควันที่ออกมาจะมีสีขาว ควันจะมีกลิ่นเหม็น ซึ่งเป็นกลิ่นกรดประเภท เมธานอล ที่อยู่ในเนื้อ อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควันประมาณ 55-60 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิภายในเตาประมาณ 150 องศาเซลเซียส ถ้าความชื้นถูกไล่หมด และไม้ในเตาเริ่มติดไฟ (ประมาณ 2-4 ชั่วโมง หลังจากจุดเตา) จะเห็นควันที่ปล่องควัน ลักษณะเป็นควันขาวขุ่นปนเทา พุ่งออกมาจำนวนมาก เรียกว่าควันบ้า

เตาเผาถ่าน200 ลิตรแบบตั้ง4

เก็บน้ำส้มควันไม้
4 เมื่อเกิดควันบ้าให้ หยุดป้อนเชื้อเพลิง และเริ่มทำการเก็บน้ำส้มควันไม้ โดยใช้กระป๋อง รองที่รูรับน้ำส้มควันไม้ ด้านล่างของท่อควันทั้ง 3 ท่อ

– เติมน้ำที่ปล่องด้านข้างพร้อมทั้งเปิดน๊อตสำหรับเก็บน้ำส้มควันไม้ หาภาชนะรองน้ำส้มควันไม้
– หมั่นเติมน้ำที่ปล่องด้านข้างเพื่อให้ควันเย็นจะได้น้ำส้มควันไม้เพิ่มขึ้น (ถ้าต้องการน้ำส้มควันไม้มากควรเลือกใช้เตาแบบเตานอนซึ่งจะให้ปริมาณน้ำส้ม ควันไม้มากกว่าเตาตั้ง)
– สังเกตที่ควัน ถ้าปล่องใดควันใส มีเฉพาะไอร้อนออกมาให้ปิดปล่องนั้นก่อน โดยปกติถ้าเริ่มเผา 8 โมงเช้าจะปิดเตาได้ประมาณ 4-5 โมงเย็น สังเกตถ้ายังมียางเหนียวที่ปล่องควันยังปิดปล่องไม่ได้ ถ้าปล่องลื่นให้ปิดปล่องนั้นได้

เตาเผาถ่าน200 ลิตรแบบตั้ง5
 การเก็บน้ำส้มควัน

น้ำส้ม ควันไม้ที่ได้จากการเผาถ่านต้องปล่อยให้ตกตะกอน โดยนำน้ำส้มควันไม้ที่กลั่นได้ ทิ้งให้ตกตะกอน 90 วัน จะทำให้น้ำส้มควันไม้แยกตัวเป็น 3 ระดับ ชั้นบนจะเป็นน้ำมันใส (น้ำ) ชั้นกลางจะเป็นของเหลวสีชา คือน้ำส้มควันไม้ที่จะนำไปใช้ได้ ส่วนชั้นล่างสุดเป็นของเหลวข้นดำ (ตะกอน) เราสามารถลดเวลาการตกตะกอนโดยการผสม ผงถ่านประมาณ 5 % ของน้ำหนักรวมของน้ำส้มควันไม้ทั้งหมด โดยผงถ่านจะดูดซับทั้งน้ำมันใสชั้นบนและน้ำมันดินลงสู่ชั้นล่างสุดในเวลา 45 วัน

5 หลังจากหยุดการป้อนเชื้อเพลิงหน้าเตา จะต้องควบคุมอากาศโดยการหรี่หน้าเตา ปิดหน้าเตาให้เหลือไว้ประมาณ 1 ใน 4

6 ปิดปล่องเร่งไฟตรงกลาง (ท่อกลาง) และสังเกตท่อควันทั้ง 3 ท่อ หากท่อไดที่ควันกลายเป็นสีฟ้าใส ให้ทำการปิดท่อควันได้ (ท่อไหนเป็นสีฟ้าใสก่อนให้ปิดก่อน)

การปิดเตาและการทำถ่านให้บริสุทธิ์

7 หลังจากควันเริ่มใส มีเฉพาะไอร้อนออกจากปล่องควัน (ปล่องสุดท้าย) ให้เปิดปล่องเร่งไฟ และเปิดปล่องควันทั้งหมด พร้อมกับเปิดหน้าเตาประมาณ 50% เพื่อให้อากาศเข้าไปทำปฏิกิริยากับถ่านซึ่งจะทำให้ถ่านบริสุทธิ์ขึ้น ลดสารก่อมะเร็ง โดยขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที

8 เมื่อครบ 30 นาที ให้ปิดปล่องทุกปล่อง (ปล่องเร่งไฟ และปล่องควัน) โดยปล่องเร่งไฟใช้ผ้าหอดินชุบน้ำ วางปิดไว้ ส่วนท่อควันใช้กระป๋องครอบ ปิดหน้าเตาพร้อมใช้ดินเหนียวยาหน้าเตาป้องกันอากาศเข้า และปิดท่อเก็บน้ำส้มควันไม้ (หากมีรอยรั่ว ณ จุดอื่นต้องปิดรอยรั่วทั้งหมด)

9 ทิ้งให้เตาเผาถ่านเย็นตัวลง ประมาณ 3-4 ชั่วโมง หรือทิ้งไว้ค้างคืน ตอนเช้าสามารถเปิดเตาเก็บถ่านและเผาต่อในครั้งต่อไปได้

เตาเผาถ่าน200 ลิตรแบบตั้ง6

3) แนวทางการแก้ปัญหาเบื้องต้น

เตาไม่ติดไฟ
1. ห้ามใส่เชื้อเพลิงมาก ให้ใส่เชื้อเพลิงทีละน้อย ปกติจะใช้เวลาขั้นต่ำ 2-3 ชั่วโมง ให้สังเกตควันออกจากปล่องอย่างรุนแรง (ควันบ้า) จึงหยุดใส่เชื้อเพลิงและลดหน้าเตาเหลือ 1 ใน 4
2. หลังจากหยุดใส่เชื้อเพลิง หากเตาเย็นตัวลง อาจทำการช่วยโดยการจุดไฟที่หน้าเตาใหม่อีกครั้งหรือใส่ไฟอ่อน ที่หน้าเตาขณะเกิดควันบ้า
3. ถ้าไม่แน่ใจว่าไฟติดหรือไม่ช่วงแรก ๆ ที่ยังเผาไม่ชำนาญ ให้เปิดฝาเตาดูไม้ในเตาได้ ว่าไม้แห้งและติดไฟหรือยัง ถ้ายังให้ใส่ไฟหน้าเตาต่อ

เตาเป็นถ่านไม่สม่ำเสมอ
1. ขนาดไม้แตกต่างกันเกินไป ควรใช้ไม้ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน
2. ปิดปล่องเร็วเกินไป ให้สังเกตว่าปล่องที่จะปิดได้จะมีเฉพาะเป็นไอลอยขึ้นมาจะไม่มีควัน หรือให้ดูที่ปล่องว่ายังมียางเหนียวหรือไม่ ถ้ายังมียางเหนียวยังปิดปล่องไม่ได้ ให้สังเกตว่าถ้าไม้เป็นถ่านหมดแล้วปล่องจะลื่น

เก็บน้ำส้มควันไม้ได้น้อย
1. ให้เปลี่ยนน้ำที่ปล่องบ่อยๆ ไม่ให้น้ำร้อนเกินไปจะทำให้ควันไม่ควบแน่น
2. ทำให้ปล่องเย็นโดยการพันด้วยผ้าชุ่มน้ำ
3. รูเก็บน้ำส้มควันไม้ตัน
4. อาจตั้งเตาเอียงน้ำส้มควันไม้ไหลย้อยกลับไปในเตา
5. ถ้าต้องการน้ำส้มควันไม้เตาแบบนอนจะให้น้ำส้มควันไม้ดีกว่า

เตาเป็นเถ้าหมด/ได้ถ่านน้อยเกินไป
1. เปิดหน้าเตาตอนทำถ่านบริสุทธิ์นานเกินไป
2. ปิดปล่องช้าเกินไป
3. ใช้ดินปิดหน้าเตาไม่สนิทอากาศเข้าได้
4. ใช้ไม้ต่างขนาดกันเกินไปทำให้ไม้เล็กเป็นเถ้าไม้ใหญ่ไม่สุก

4) แนวทางการใช้น้ำส้มควันไม้

น้ำ ส้มควันไม้เป็นของเหลวสีน้ำตาลใส มีกลิ่นควันไม้ ได้มาจากการควบแน่นของควันที่เกิดจากการผลิตถ่านไม้ ช่วงที่ไม้กำลังจะเปลี่ยนเป็นถ่าน โดยอุณหภูมิในเตาอยู่ระหว่าง 300 – 400 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้ง่ายโดยอาศัยการถ่ายเทความร้อนจากปล่องดักควันสู่อากาศ ความชื้นในควันจะควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำ ซึ่งจะได้น้ำส้มประมาณ 2.5% ของน้ำหนักฟืน หากต้องการปริมาณเพิ่มขึ้น โดยการนำท่อน้ำหล่อเย็นติดตั้งในปล่องดักควัน ซึ่งจะได้น้ำส้มควันไม้ถึง 5% ของน้ำหนักฟืน

น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆมากกว่า 200 ชนิด สารประกอบที่สำคัญได้แก่ น้ำ 85% กรดอินทรีย์ ประมาณ 3% สารอินทรีย์ อื่นๆอีกประมาณ 12% ซึ่งกรดอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำส้มควันไม้มีหลายชนิด ที่สำคัญคือ กรดอะซิติก ( acetic acid ) กรดฟอร์มิค (กรดมด) ฟอร์มาลดิไฮด์ (formaldehyde ) เอธิล เอ็น วาเลอเรต (ethyl-n-valerate ) เมธานอล ( methanol ) น้ำมันทาร์ ( tar ) อะซีโตน ( acetone ) ฟีนอล ( phenol ) ฯลฯ

คุณสมบัติของสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำส้มควันไม้
1. กรดอะซิตริก ( กรดน้ำส้ม ) เป็นสารกลุ่มออกฤทธิ์ ฆ่า เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และไวรัส
2. สารประกอบฟีนอล เป็นสารกลุ่มควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และสารฆ่าแมลง ใช้ล้างแผลทำยาจำพวกแอสไพริน
3. ฟอร์มัลดีไฮด์ เป็นสารกลุ่มออฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค และแมลงศัตรูพืช
4. เอธิล เอ็น วาเลอเรต เป็นสารในกลุ่มเร่งการเจริญเติบโตของพืช
5. เมธานอล แอลกอฮอล์ ( ดื่มกินไม่ได้ หากเข้าตาจะทำให้ตาบอด ) เร่งการงอกของเมล็ดและราก ใช้ฆ่าเชื้อโรคได้และเป็นสารในกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส
6. อะซีโตน สารละลายวัตถุ ใช้ทำยาทาเล็บและเป็นสารเสพติด
7. น้ำมันทาร์ เป็นสารจับใบ ช่วยลดการใช้สารเคมี

การใช้ประโยชน์
1. น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำ 20 เท่า ใช้ราดทำลายปลวกและมด
2. น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำ 50 เท่า ใช้ป้องกันปลวก มด แมลงและสัตว์ต่างๆ เช่น ตะขาบ แมลงป่อง
3. น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำ 100 เท่า ใช้ฉีดพ่นถังขยะเพื่อป้องกันกลิ่นและแมลงวัน ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ ดับกลิ่นในห้องครัว และบริเวณชื้นแฉะ
4. ใช้ผลิตสารระงับกลิ่นตัว
5. ใช้ผลิตสารปรับผิวนุ่ม
6. ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารรมควัน และย้อมผ้า
7. ผลิตสารป้องกันเนื้อไม้ จากเชื้อราและแมลง

ตัวอย่างการใช้น้ำส้มควันไม้กับการเกษตร
เตาเผาถ่าน200 ลิตรแบบตั้ง7

 

โดย อ.ธเนศ ชัยชนะ ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลยแม่โจ้.

Cr:http://e-shann.com/?p=7367

เอกสารประกอบ


ปรับปรุงข้อมูล 14/6/2559 12:30:51
, จำนวนการเข้าดู 115728