สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

.......เริ่มเปิดสอน ปี พ.ศ. 2538 - ปัจจุบัน ดิมเป็นภาควิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวสังกัดคณะผลิตกรรมการเกษตร มีบัณฑิตจบการศึกษาไปแล้วถึง 15 รุ่น นักศึกษา ปี 1 - 4 ถึงปัจจุบันจำนวน 136 คน ระยะเวลาที่ใช้ศึกษา 4 ปี คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าศึกษา จบ ม. ปลาย สายวิทยาศาสตร์ / คณิตศาสตร์

สำนักงาน : อาคารสมิตตานนท์ ชั้น 5
โทรศัพท์ : สายตรง (053) 878117 สายภายใน 3922-3
โทรสาร : (053) 878122
สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
Bachelor of Science Program in Postharvest Technology
ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว)
Bachelor of Science (Postharvest Technology)
วท.บ. (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว)
B.S. (Postharvest Technology)

หลักสูตร: วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) วท. บ. (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว)

 

 

....... หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวทั้งในด้านทฤษฏีและปฏิบัติ ตลอดจนการดำเนินงานด้านวิจัยค้นคว้าและพัฒนาทางวิชาการในสาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของเกษตรกร รวมถึงผู้ประกอบการภายในประเทศและผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจส่งผลิตผลทางการเกษตรออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ

หัวข้อที่เปิดสอนในกระบวนวิชาต่าง ๆ ประกอบด้วย

- เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผัก
- เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผลไม้
- เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวไม้ดอกไม้ประดับ
- เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดพืช
- การคัดแยกทำความสะอาดและการเก็บรักษาเมล็ดพืช
- การบรรจุภัณฑ์ผลิตผลเกษตร
- การขนส่งและการตลาดผลิตผลเกษตร
- การปฏิบัติการโรงงานคัดและบรรจุผลิตผลเกษตร
- การจัดการผักและผลไม้สดพร้อมบริโภค
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 142 หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 36 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ 103 หน่วยกิต
และหมวดวิชาเลือกเสรี 3 หน่วยกิต



แนวทางการศึกษา

.....
เน้นการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลทางการเกษตร ได้แก่ ผัก ผลไม้ ดอกไม้และพืชเมล็ด โดยเน้นถึงการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว เช่น การคัดเลือกคุณภาพ การจัดมาตรฐาน วิธีการเก็บรักษาเพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพดี มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเหมาะสำหรับการวางจำหน่ายทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวจะมีความรู้ความเข้าใจในหลักการและวิธีการตลอดจนเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติผลิตผลเกษตรจากพืช เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้ พืชเมล็ด ทั้งระหว่างการเก็บเกี่ยว การขนส่ง การเก็บรักษา และการวางจำหน่าย โดยมีความรู้พื้นฐานของผลิตผลเกษตรแต่ละชนิด การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและชีวเคมีหลังการเก็บเกี่ยว มาตรฐานและกรรมวิธีเตรียมผลิตผลก่อนการบรรจุหีบห่อและวิธีการเก็บรักษาที่เหมาะสมกับผลิตผลแต่ละชนิด สามารถปฏิบัติงานในฝ่ายจัดหาจัดซื้อวัตถุดิบของโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ผู้จัดการโรงงานหรือบริษัทส่งออกผัก ผลไม้ ดอกไม้สด ผู้ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพผลิตผลเพื่อการส่งออกและการควบคุมการผลิตและคุณภาพผลิตภัณฑ์เกษตร

การวิจัยและการเสนอผลงานทางวิชาการ

....
ในปีงบประมาณ 2546 อาจารย์ในภาควิชาฯ มีโครงการวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยและจากหน่วยงานภายนอก โดยรับผิดชอบเป็นหัวหน้าโครงการ จำนวน 6 โครงการ งบประมาณ 470,170 บาท มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารปริทัศน์จำนวน 3 เรื่อง ตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการ จำนวน 1 เรื่อง นำเสนอในที่ประชุม 1 เรื่อง นำเสนอในการสัมมนาทางวิชาการแห่งชาติ จำนวน 1 เรื่อง


แหล่งทุนจากเงินงบประมาณ
โครงการวิจัยในปีงบประมาณ 2546 ได้รับการสนับสนุนแหล่งทุนจากเงินงบประมาณ คือ กองทุนสนับสนุนงานวิชาการคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร จำนวน 2 โครงการงบประมาณ 57,000 บาท

แหล่งทุนอื่นๆ

โครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนอื่น คือ จากฝ่ายวิจัย มูลนิธิโครงการหลวง ในปีงบประมาณ 2546 ได้รับการสนับสนุน จำนวน 4 โครงการ งบประมาณ 413,170 บาท ปีงบประมาณ 2547 ได้รับการสนับสนุน 3 โครงการ งบประมาณ 278,500 บาท

 


ปรับปรุงข้อมูล 26/6/2557 13:34:01
, จำนวนการเข้าดู 16285