สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

เริ่มเปิดสอน ปี พ.ศ. 2538 - ปัจจุบัน ดิมเป็นภาควิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวสังกัดคณะผลิตกรรมการเกษตร มีบัณฑิตจบการศึกษาไปแล้วถึง 15 รุ่น นัก ศึกษา ปี 1 - 4 ถึงปัจจุบันจำนวน 136 คน ระยะเวลาที่ใช้ศึกษา 4 ปี คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าศึกษา จบ ม. ปลาย สายวิทยาศาสตร์ / คณิตศาสตร์

สำนักงาน : อาคารสมิตตานนท์ ชั้น 5

โทรศัพท์ : สายตรง (053) 878117 สายภายใน 3922-3
โทรสาร : (053) 878122
สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
Bachelor of Science Program in Postharvest Technology
ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว)
Bachelor of Science (Postharvest Technology)
วท.บ. (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว)
B.S. (Postharvest Technology)
หลักสูตร: วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) วท. บ. (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว)
เน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการผลิตผลเกษตรหลังการ เก็บเกี่ยวทั้งในด้านทฤษฏีและปฏิบัติ ตลอดจนการดำเนินงานด้านวิจัยค้นคว้าและพัฒนาทางวิชาการในสาขาเทคโนโลยีหลัง การเก็บเกี่ยวให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของเกษตรกร รวมถึงผู้ประกอบการภายในประเทศและผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจส่งผลิตผลทาง การเกษตรออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ

แนวทางการศึกษา
การศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลทางการเกษตร ได้แก่ ผัก ผลไม้ ดอกไม้และพืชเมล็ด โดยเน้นถึงการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว เช่น การคัดเลือกคุณภาพ การจัดมาตรฐาน วิธีการเก็บรักษาเพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพดี มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเหมาะสำหรับการวางจำหน่ายทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวจะมีความรู้ความเข้าใจใน หลักการและวิธีการตลอดจนเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติผลิตผลเกษตรจากพืช เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้ พืชเมล็ด ทั้งระหว่างการเก็บเกี่ยว การขนส่ง การเก็บรักษา และการวางจำหน่าย โดยมีความรู้พื้นฐานของผลิตผลเกษตรแต่ละชนิด การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและชีวเคมีหลังการเก็บเกี่ยว มาตรฐานและกรรมวิธีเตรียมผลิตผลก่อนการบรรจุหีบห่อและวิธีการเก็บรักษาที่ เหมาะสมกับผลิตผลแต่ละชนิด สามารถปฏิบัติงานในฝ่ายจัดหาจัดซื้อวัตถุดิบของโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ผู้จัดการโรงงานหรือบริษัทส่งออกผัก ผลไม้ ดอกไม้สด ผู้ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพผลิตผลเพื่อการส่งออกและการควบคุมการผลิตและ คุณภาพผลิตภัณฑ์เกษตร

หัวข้อที่เปิดสอนในกระบวนวิชาต่าง ๆ ประกอบด้วย

- เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผัก
- เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผลไม้
- เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวไม้ดอกไม้ประดับ
- เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดพืช
- การคัดแยกทำความสะอาดและการเก็บรักษาเมล็ดพืช
- การบรรจุภัณฑ์ผลิตผลเกษตร
- การขนส่งและการตลาดผลิตผลเกษตร
- การปฏิบัติการโรงงานคัดและบรรจุผลิตผลเกษตร
- การจัดการผักและผลไม้สดพร้อมบริโภค

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 142 หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 36 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ 103 หน่วยกิต
และหมวดวิชาเลือกเสรี 3 หน่วยกิต
การวิจัยและการเสนอผลงานทางวิชาการ
ใน ปีงบประมาณ 2546 อาจารย์ในภาควิชาฯ มีโครงการวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยและจาก หน่วยงานภายนอก โดยรับผิดชอบเป็นหัวหน้าโครงการ จำนวน 6 โครงการ งบประมาณ 470,170 บาท มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารปริทัศน์จำนวน 3 เรื่อง ตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการ จำนวน 1 เรื่อง นำเสนอในที่ประชุม 1 เรื่อง นำเสนอในการสัมมนาทางวิชาการแห่งชาติ จำนวน 1 เรื่อง
แหล่งทุนจากเงินงบประมาณ
โครงการ วิจัยในปีงบประมาณ 2546 ได้รับการสนับสนุนแหล่งทุนจากเงินงบประมาณ คือ กองทุนสนับสนุนงานวิชาการคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร จำนวน 2 โครงการงบประมาณ 57,000 บาท

แหล่งทุนอื่นๆ

โครงการ วิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก แหล่งทุนอื่น คือ จากฝ่ายวิจัย มูลนิธิโครงการหลวง ในปีงบประมาณ 2546 ได้รับการสนับสนุน จำนวน 4 โครงการ งบประมาณ 413,170 บาท ปีงบประมาณ 2547 ได้รับการสนับสนุน 3 โครงการ งบประมาณ 278,500 บาท

เว็บไซต์สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

โหลดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) 

  อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
 

 

การรับนักศึกษา คุณสมบัติเฉพาะสาขาวิชา ประจำปีการศึกษา 
  คุณสมบัติผู้สมัคร                                             GPAX 2.25 ขึ้นไป
แผนการเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ GPAX 2.75  ขึ้นไป
กรณี สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. ในสาขา เกษตร , อุตสาหกรรม

วิธีการรับ  

ผู้สมัคร รอบที่ 1 และ รอบที่ 2 การรับด้วย Portfolio โดยไม่มีการสอบข้อเขียน

ผู้สมัคร รอบที่ 3 และ 4 รับด้วยคะแนนการสอบสามัญ 9 วิชา Onet, Gat, Pat, และ GPAX ตามที่ ทปอ.กำหนด

ผู้สมัคร รอบที่ 5 (รับตรงอิสระ) และโครงการพิเศษอื่นๆ ได้แก่ โควตาผู้มีความสามารถพิเศษ โควตาบุตรหลานเกษตรกร (ผ่าน สนง. สภาเกษตรจังหวัดทั่วประเทศ) โควตาเด็กดีมีที่เรียน (ผ่าน สพม.34-42) โควตาบุตรศิษย์เก่าแม่โจ้ โควตาบุตรบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ฯลฯ ต้องมีคุณสมบัติตามที่สาขาวิชากำหนดทุกประการ

จำนวนรับนักศึกษา ตามแผน 100% รับ
30
คน
    TCAS รอบที่ 1 มหาวิทยาลัยดำเนินการเอง 50% รับ
15
คน
    TCAS รอบที่ 2 มหาวิทยาลัยดำเนินการเอง 30% รับ
9
คน
    TCAS รอบที่ 3 มหาวิทยาลัยดำเนินการเอง 10% รับ
3
คน
    TCAS รอบที่ 4 มหาวิทยาลัยดำเนินการเอง 10% รับ
3
คน
    TCAS รอบที่ 5 มหาวิทยาลัยดำเนินการเอง รับเท่าที่ขาด    
           
  ปฏิทินการรับสมัคร      

 

กิจกรรมเด่น

"การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากซังข้าวโพดสำหรับการอบลำไย" คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวด NSP Innovation Award 2016 "ที่สุดแห่งนวัตกรรมจากอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ" ระบบการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้อินทรีย์

5 รางวัลจากการแข่งขันทางวิชาการ งานประชุมวิชาการโครงงานวิศวกรรมเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 22 ประจำปี 2559
ศึกษาดูงานจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่

ความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง Bogor Agricultural University กับ Maejo Universityรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมห้องรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในผลลำไยสด

รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท. ประจำปี 2558"ห้องรมซัลเฟอร์กับผลลำไยสด" แนวทางส่งออกลำไยคุณภาพสู่ตลาดจีนและยุโรป


ปรับปรุงข้อมูล 4/11/2563 10:52:49
, จำนวนการเข้าดู 2720